รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000377
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of the Distributions for Processed Agricultural Products in Nakhon Sawan Province by the Electronic Commerce
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สินค้าเกษตรแปรรูป พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :243100
งบประมาณทั้งโครงการ :243,100.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :29 ตุลาคม 2561
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :“สินค้าเกษตรแปรรูป” เป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูป เป็นการช่วยป้องกันการล้นตลาดของสินค้าเกษตร ซึ่งช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตร ไม่ให้ตกต่ำ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งนำมาแปรรูปเป็นสินค้าระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุดิบเพื่อแปรรูปเป็นสินค้าจำนวนมากได้ การแปรรูปให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูน รายได้ให้แก่ประชาชนรากหญ้า และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในประเทศไทยมีมาต่อเนื่อง จนทำให้ภาพการออกมาประท้วงของเกษตรกรกลายเป็นภาพชินตา และบางครั้งก็ลุกลามบานปลายไปถึงขั้นเสียเลือดเสียเนื้อ ซึ่งที่ผ่านมามักไม่ค่อยได้รับการแก้ไขในลักษณะสร้างความยั่งยืน เน้นการแทรกแซงราคาเฉพาะหน้าเป็นหลัก การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร สามารถนำมาช่วยในการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของเกษตรกรได้ ซึ่งเป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรที่อยู่ในพื้นที่นำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต ช่วยเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นเวลานานได้โดยไม่เน่าเสีย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีรูปแบบและรสชาติแตกต่างจากเดิม ช่วย เพิ่มความหลากหลายให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร ทำให้บริโภคสะดวกและง่ายขึ้น นอกจากนี้ยัง ช่วยเพิ่มช่องทางของตลาดให้มากขึ้น ตลอดจนช่วยกระจายปริมาณสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดใน ปริมาณที่สมดุล นครสวรรค์เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคกลางและภาคเหนือจึงเป็น “ประตูสู่ภาคเหนือ” และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง และมีความสำคัญตรงที่เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา ในบริเวณที่รู้จักกันในนาม “ปากน้ำโพ” จังหวัดนครสวรรค์มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดกำแพงเพชรและพิจิตรทางด้านทิศเหนือ ส่วนทิศตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ทิศใต้ติดกับจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ส่วนทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์จัดรูปการปกครองตามลักษณะการปกครองส่วนภูมิภาคโดยแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 1,433 หมู่บ้าน 128 ตำบล และจัดรูปการปกครองตามลักษณะการปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 19 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 123 แห่ง ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมของการประกอบธุรกิจได้เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แรงซื้อลดลง สินค้ามีการแข่งขันกันมากขึ้น การวางแผนการใช้เทคโนโลยีทางด้านจัดจำหน่ายสินค้าไปสู่เป้าหมายให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยี การวางแผนการตลาด การประชาสัมพันธ์สินค้า ดังนั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ คณะผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นแนวทางในศึกษาพัฒนาต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาจากการดำเนินงานทางการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อประเมินผลเทคโนโลยีช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบเจาะจง (purposive area) ซึ่งเป็นการศึกษากรณีเฉพาะและเฉพาะพื้นที่ คือ สินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และคณะผู้วิจัยจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร 1 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป จำนวน 50 กลุ่ม และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ระดับ คือ 1. ข้อมูลทุติยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. ข้อมูลปฐมภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ได้แก่ ศึกษาสภาพทั่วไป การวางกลยุทธ์ทางการตลาด สภาพปัญหาทางการตลาด แนวคิดทางการตลาด การซื้อขายสินค้าด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และความเป็นไปได้ในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบถึงสภาพปัญหาจากการดำเนินงานทางการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 2. สามารถนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการดำเนินงานทางการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ หรือแนวทางในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 3. สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การตัดสินใจนำเอาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจได้มากที่สุด
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ชนิกา หล้าโน (2554) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์สองประการคือ (1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม (2) เพื่อหาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยทำการศึกษาและพัฒนาจากระบบงานเดิมที่ควบคุม และบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานบนเอกสาร การพัฒนาโปรแกรมครั้งนี้ใช้โปรแกรม Visual Basic 6.0 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม และใช้โปรแกรม Microsoft Access 2003 เป็นฐานข้อมูล พัฒนาขึ้นมาบนระบบวินโดวส์ 2003 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 20 กองทุน กองทุนละ 3 คน รวมจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของระบบคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สามารถจัดการและรายงานข้อมูลสารสนเทศและการบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ดูแลระบบคณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้าน พนักงานบัญชี สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข สืบค้นข้อมูลและจัดทำรายงานงบการเงินได้ ผลการประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.59 มีประสิทธิภาพดีมาก แสดงให้เห็นว่าระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิริลักษณ์ ไชยวงศ์ (2552) การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนหมู่บ้านป่าพร้าวนอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้ศึกษาได้ออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน การจัดเก็บข้อมูล การกู้ยืมเงินของสมาชิก การจัดการรายได้ และค่าใช้จ่าย การจัดสรรเงินกำไร การคำนวณเงินปันผล และการออกรายงานทางบัญชี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการสืบค้นและการสูญหายของข้อมูลด้วย การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนหมู่บ้านป่าพร้าวนอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการวินโดว์สเอ็กซ์พี ใช้โปรแกรมพีเอชพีในการเขียนเว็บแอพพลิเคชัน และใช้โปรแกรมมายเอสคิวเอลเป็นระบบฐานข้อมูล ผลการประเมินการทำงานของระบบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 5 คน และสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจำนวน 32 คน พบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.72 นั่นคือระบบสามารถใช้งานได้จริงตรงตามวัตถุประสงค์และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี นิพนธ์ น้ำเงินสกุลมี (2553) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนพัฒนาบุคลากร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยจัดการข้อมูลกองทุนพัฒนาบุคลากร ทำให้สะดวกต่อการสืบค้น รวมถึงช่วยในการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเกี่ยวกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการดำเนินการศึกษาเริ่มจากการศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อกำหนดปัญหาวิเคราะห์ปัญหา กำหนดวัตถุประสงค์ และขอบเขตระบบ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบที่สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ บนพื้นฐานเว็บเบส เพื่อให้สามารถจัดการข้อมูลกองทุนพัฒนาบุคลากรเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย ภาษา PHP พัฒนาโปรแกรมเพื่อติดต่อกับผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลใช้ MySQL และ Apache ช่วยในการติดต่อฐานข้อมูลกับโปรแกรมเพื่อแสดงผลผ่านเว็บเพจ ซึ่งระบบสามารถ บันทึก เพิ่ม แก้ไข ค้นหา และสามารถสร้างรายงานได้ ผลการพัฒนาระบบ พบว่า ผู้ใช้งานระบบมีความพึงพอใจในประสิทธิภาพการใช้งานของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนพัฒนาบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดี สามารถลดขั้นตอนการทำงานของระบบ และสามารถใช้งานผ่านเว็บเทคโนโลยีได้สะดวก และรวดเร็ว จิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์ (2558) ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าว ปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาระบบ และเพื่อประเมินผล ประสิทธิภาพการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สําหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยใน เขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งทําการศึกษา และวิเคราะห์ผลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 100 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้องค์การบริหารส่วนตําบล หรือสถานศึกษาในท้องถิ่นเป็นผู้นําเสนอสินค้า โดยให้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นําเสนอสินค้าและขายสินค้าให้กับกลุ่มผู้ซื้อในประเทศ และ สามารถสั่งซื้อทางโทรศัพท์และผ่านทางเว็บไซต์ และสามารถส่งทางไปรษณีย์ หรือจัดส่งตามวิธีที่ผู้ซื้อ และขายตกลงกัน ส่วนการชําระค่าสินค้าให้เป็นเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีธนาคาร จากข้อมูลดังกล่าว ผู้ศึกษาได้นําผลการวิเคราะห์นี้มาพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการพัฒนาฐานข้อมูลจาก MySQL และพัฒนา Web Application ด้วยภาษา PHP และทําประเมินความพึงพอใจการทํางาน ของโปรแกรม โดยสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน คน 200 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความพึงพอใจระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาก
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :วงจรการพัฒนาระบบ (ธีรวัฒน์ ประกอบผล : 2552) ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ - ระยะวางแผนโครงการ วัตถุประสงค์คือ การกำหนดข้อสรุปความจำเป็นและแนวทางสำหรับการพัฒนาระบบ โดยทำความเข้าใจกับปัญหาพร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาจากนั้นจึงศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมพร้อมกำหนดแผนผังสำหรับการพัฒนาระบบ - ระยะวิเคราะห์ระบบ วัตถุประสงค์คือ การศึกษาทำความเข้าใจกับระบบงานปัจจุบันอย่างละเอียดเพื่อกำหนดแนวทางสำหรับการออกแบบระบบ การรวบรวมความต้องการเป็นหลัก (Requirement Gathering) โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลด้านความต้องการจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและนำมาวิเคราะห์จนได้ข้อสรุปที่เป็นความต้องการที่แท้จริงที่ชัดเจน พร้อมเสนอแนวทางสำหรับการออกแบบระบบออกมาเป็นระบบใหม่ที่ตอบสนองต่อความต้องการ โดยใช้แบบจำลองในการสื่อสารความเข้าใจให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ ได้แก่ การใช้ผังงานระบบ (System Flowchart) การใช้แผนผังกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) เป็นต้น - ระยะออกแบบระบบ วัตถุประสงค์คือการออกแบบระบบขึ้นมาใหม่ โดยทั่วไปเป็นการกำหนดองค์ประกอบและกระบวนการต่าง ๆ ของระบบที่สอดคล้องกับความต้องการที่ได้วิเคราะห์มาแล้วให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ระบบนี้ทำงาน และอยู่ในขอบเขตที่กำหนด ได้แก่ การกำหนดวิธีการนำข้อมูลเข้าไปในระบบ การประมวลผลข้อมูลในระบบ การแสดงผลลัพธ์การทำงาน การประมวลผลข้อมูลในระบบ การแสดงผลลัพธ์การทำงานของแต่ละขั้นตอนของระบบ ทั้งผลลัพธ์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือการพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ในรูปของรายงานหรือเอกสาร การออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface) - ระยะการนำระบบไปใช้ วัตถุประสงค์ การทำให้ระบบที่ออกแบบใหม่นั้นเกิดขึ้นจริง หรือการนำพิมพ์เขียวที่ออกแบบไว้มาทำให้เป็นผลในรูปธรรม โดยการสร้างขึ้นมาทดสอบการทำงาน และนำไปติดตั้งใช้งาน และประเมินผลว่าระบบนั้นตรงกับความต้องการที่แท้จริง แนวคิดเรื่องระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Systems) - แนวคิดเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันองค์การต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ล้วนแต่นิยมนำระบบสารสนเทศ (Information System) หรือ IS เข้ามาเป็นเครื่องมือสนับสนุนด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) เพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์การให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทุกๆ ด้าน ทำ ให้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและการขับดันกลยุทธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์การ ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เพราะสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง แต่การตัดสินใจใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องเกิดความเข้าใจถึงพื้นฐานเทคโนโลยีและศักยภาพ มิใช่แค่การตัดสินใจตามกระแสเท่านั้น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เป็นชื่อที่ถูกตั้งโดยสำนักงาน ECAPMO (Electronic Commerce Acquisition Program Management Office) เป็นการรวมตัวของหน่วยงานต่างๆ ภายใต้การประสานงานของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อการวางกรอบยุทธศาสตร์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดย ECAPMO ได้ระบุความหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ว่า เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยในคำจำกัดความนี้มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่เป็นหัวใจของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ "แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจ" และ "ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์" ถ้าจะกล่าวกันสั้นๆ ก็คือการทำ ”การค้า”ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่ นิยมและมีความแพร่หลายในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและมีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่จะเข้าใจไปว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง นอกจากนั้นปัจจุบันอาจได้ยินอีกหลายๆ คำ อาทิ e-Business, e-Procurement, e-Readiness, e-Government ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ในการที่นำเอา เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน ส่วนคำว่า e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ” ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ BI=Business Intelligence: การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน EC=E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ตCRM=Customer Relationship Management: การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า SCM=Supply Chain Management: การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค ERP=Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน - ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจำแนกประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Classification of E-Commerce) ได้มีผู้สนใจทำการแบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กันหลากหลาย แต่ไม่ว่าจะเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทใดก็ตาม ก็ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจและเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริม และเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจ ซึ่งแฝงไปด้วยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้เสียอื่นในสังคม ทั้งนี้ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้นก็มีหลายๆ รูปแบบ ทำให้ผู้เขียนสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้ 1) ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น 2) ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆ กันไป 3) ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น 4) ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่าe-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพิธีการศุลกากรของกรมศุลกากร www.customs.go.th 5) ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆและสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ 1) การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์ 2) การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือ การใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ และ 3) การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในการติดต่อท
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษาเอกสาร งานวิจัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ แนวคิดทางการตลาด การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า และการซื้อ-ขายสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. วางแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย กำหนดขอบเขตของระบบ กำหนดประเด็นในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล วางแผนการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนาเครื่องมือเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการนัดหมายและลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด 3. วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคการดำเนินงานทางการตลาด ด้วยวิธี SWOT ของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 4. การวิเคราะห์ระบบ ศึกษาทำความเข้าใจกับสภาพปัจจุบัน และสภาพปัญหาของการดำเนินงานทางการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ อย่างละเอียดเพื่อกำหนดแนวทางสำหรับการออกแบบระบบงานให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยนำข้อมูลความต้องการระบบงานใหม่มาวิเคราะห์นำเสนอแนวทางสำหรับการออกแบบระบบใหม่โดยใช้แบบจำลอง ได้แก่ แผนภาพบริบท (Context Diagram) แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) แผนภาพความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) ตารางข้อมูล (Data Table) และทำการบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูล 5. การออกแบบระบบ ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นระบบงานใหม่ ได้แก่ การออกแบบสิ่งนำออก (Output Design) ประกอบด้วย การออกรายงานทางจอภาพ การออกรายงานทางเครื่องพิมพ์ การออกแบบสิ่งนำเข้า (Input Design) ประกอบด้วย จอภาพนำเข้าข้อมูล 6. การนำระบบไปใช้ การนำสิ่งที่ได้จากการออกแบบมาพัฒนาเป็นระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการทดสอบ (Testing) ดำเนินการทดสอบระบบ คณะผู้วิจัยจะเป็นผู้ทดสอบเองโดยแบ่งขั้นตอนการทดสอบออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ทดสอบในระหว่างที่ทำการพัฒนาระบบ โดยผู้พัฒนาระบบ ซึ่งใช้ข้อมูลจำลอง และใช้เทคนิคการทดสอบแบบ Black Box Testing ทดสอบขั้นสุดท้ายเมื่อทำการพัฒนาระบบเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งใช้ข้อมูลเสมือนจริง และใช้เทคนิคการทดสอบแบบ Black Box Testing 7. ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลการวิจัยแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยใช้วิธีการนำเสนอผลการวิจัย “การใช้งานช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป 8. การประเมินผลระบบ ในการประเมินผลระบบคณะผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลระบบ ได้แก่ ผู้ใช้งานช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะผู้วิจัยนำแบบประเมินไปแจกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยทำการแจกแบบประเมินและเรียกคืนโดยคณะผู้วิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเกษตรแปรรูป ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ พัฒนาระบบ เผยแพร่ระบบ ประเมินผลระบบ
จำนวนเข้าชมโครงการ :734 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสุเมธ พิลึก บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15
นางสาวลฎาภา แผนสุวรรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด