รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000376
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Study and Development of Database Management System in the Small and Micro Community Enterprise (SMCE) in Amphur Nong Bua, Nakhon Sawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ วิสาหกิจชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :280500
งบประมาณทั้งโครงการ :280,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 กุมภาพันธ์ 2555
วันสิ้นสุดโครงการ :31 มกราคม 2556
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :วิสาหกิจชุมชนเป็นกิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่นๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ โดยมุ่งเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานภูมิปัญญาสากล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ ที่เป็นทุนทางสังคมของชุมชน นั้นให้เป็นสินค้าและบริการของชุมชน สร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้เข้มแข็งสู่เป้าหมายคือความเข้มแข็งของชุมชน และการพึ่งตนเองได้ โดยทั่วไปข้อมูลวิสาหกิจชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปตามชุมชน สำหรับการทำวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อำเภอหนองบัว ประกอบด้วยเครือข่ายทั้งหมด 8 เครือข่าย (http://www.thaitambon.com, ตุลาคม 2553) ได้แก่ 1) ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย กลุ่มส่งเสริมอาชีพตำบลห้วยถั่วเหนือ 145/5 หมู่ที่ 1 บ้านโรงสี ตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 60110 2) กล้วยฉาบ กล้วยม้วน กลุ่มแปรรูปอาหาร 53/1 หมู่ 7 บ้านรังย้อย ต.ห้วยถั่วเหนือ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 3) ขนมดอกจอก กลุ่มแปรรูปอาหาร 53/1 หมู่ 7 บ้านรังย้อย ต.ห้วยถั่วเหนือ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 4) ข้าวเกรียบเผือก กลุ่มแปรรูปอาหาร 53/1 หมู่ 7 บ้านรังย้อย ต.ห้วยถั่วเหนือ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 5) ขนมนางเล็ด กลุ่มแปรรูปอาหาร 53/1 หมู่ 7 บ้านรังย้อย ต.ห้วยถั่วเหนือ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 6) ขนมถั่วกวน กลุ่มขนมถั่วกวน 109/1 หมู่ 1 บ้านหนองแก้ว ต.ห้วยใหญ่ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 7) จักสานหญ้าแฝก กลุ่มจักสานหญ้าแฝก เลขที่ 88/7 หมู่ที่ 8 บ้านทรัพย์ย้อย ตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 8) ผ้าลายขอพระเทพ กลุ่มทอผ้ามัดหมี่และหัตถกรรม 40 หมู่ 1 บ้านเขานางต่วม ตำบลวังบ่อ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 60110 เมื่อนำข้อมูลต่างๆ ของวิสาหกิจชุมชนมารวบรวมเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร ทำให้เกิดปัญหาในด้านของความซ้ำซ้อนของข้อมูล อีกทั้งยังใช้เวลานานในการค้นหา ปรับปรุงข้อมูลวิสาหกิจชุมชนต่างๆ การนำระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดเก็บในที่เดียวกัน ซึ่งแต่เดิมถูกจัดเก็บอยู่ในแต่ละแฟ้มข้อมูล ทำให้ข้อมูลแต่ละส่วนเกิดความซ้ำซ้อนกัน ความขัดแย้งของข้อมูลซึ่งทำให้เกิดความยากในการแก้ไข การกระจายของข้อมูล เป็นต้น มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลวิสาหกิจชุมชนของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์นั้น จะทำให้ข้อมูลวิสาหกิจชุมชนที่รวบรวมนั้นมีความซ้ำซ้อนของข้อมูลลดน้อยลง มีข้อมูลความถูกต้อง ปลอดภัยของข้อมูล มีความเป็นอิสระของข้อมูล และมีการควบคุมจากศูนย์กลาง ฐานข้อมูล ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ แยกแยกข้อมูลตามประเภท สามารถรวบรวมข้อมูลประเภทเดียวกันได้ สามารถค้นหาและเรียกใช้ได้ง่าย ไม่ว่าจะนำมาพิมพ์รายงาน นำมาคำนวณ หรือนำมาวิเคราะห์ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการรวบรวมข้อมูลวิสาหกิจชุมชนของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มาพัฒนาให้เป็นระบบฐานข้อมูล เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ แยกแยกข้อมูลตามประเภท สามารถรวบรวมข้อมูลประเภทเดียวกันได้ สามารถค้นหาและเรียกใช้ได้ง่าย ไม่ว่าจะนำมาพิมพ์รายงาน นำมาคำนวณ หรือนำมาวิเคราะห์เพื่อให้สามารถส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายเพื่อพัฒนากิจการวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้
จุดเด่นของโครงการ :ต้นแบบระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชนเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มีขอบเขตการศึกษาเฉพาะงานด้านการศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบฐานข้อมูล โดยการศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ และเก็บรวบรวมข้อมูลด้านวิสาหกิจชุมชน ในรูปแบบฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถ ค้นหา ปรับปรุง และนำข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งกำหนดขอบเขตของการวิจัยได้ดังนี้ 1. ขอบเขตด้านพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้ ทำการศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านวิสาหกิจชุมชนที่สามารถนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ และพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ดังนี้ 2.1 ข้อมูลทุติยภูมิ ทำการศึกษาจากข้อมูลเอกสารหรืองานวิจัยเผยแพร่ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี รวมทั้งผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.2 ข้อมูลปฐมภูมิ ทำการศึกษาโดยกระบวนการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อหาข้อมูลด้านวิสาหกิจที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ และพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 3. ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอ หนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 9 ตำบล และเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนตำบลหรือเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 10 หน่วยงาน 4.ขอบเขตด้านเทคโนโลยี การวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ดังนี้ 4.1 ฐานข้อมูล My SQL เป็นเครื่องมือสร้างฐานข้อมูลของระบบ 4.2 โปรแกรมภาษา PHP, HTML, ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการสร้างระบบ 4.3 ระบบทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows 4.4 กำหนดการใช้ Web server เป็น Apache 5. เขตด้านระยะเวลา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการดำเนินงานทั้งหมด 12 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ถึงเดือนมกราคม 2556
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ต้นแบบระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 2. ทราบถึงความต้องการใช้ข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ชัยณรงค์ เพชรล่อเหลียน (2545) ศึกษาเรื่อง การสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลแบบช่วงในระบบจัดการฐานข้อมูล กล่าวว่าปัจจุบันระบบฐานข้อมูลได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรูปแบบ ข้อมูลก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับการคิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานควบคู่ ไปกับระบบฐานข้อมูล วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอรูปแบบข้อมูลชนิดใหม่ คือ ข้อมูลแบบช่วง (Range Data Type) เพื่อรองรับลักษณะงานที่บันทึกข้อมูลเป็นช่วง เนื่องจากปัจจุบันผู้ต้องการใช้งานข้อมูลแบบช่วงต้องประยุกต์วิธีจัดเก็บเอง ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นรูปแบบข้อมูลชนิดนี้จึงช่วยลดความซับซ้อน และความผิดพลาดได้ รายละเอียดของวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกกล่าวถึง นิยามของ ข้อมูลแบบช่วง ข้อกำหนดต่างๆและการเสนอภาษาสอบถามเชิงโครงสร้างที่สนับสนุน การใช้งานข้อมูลแบบช่วง ส่วนที่สองกล่าวถึง โครงสร้างการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อนำไปพัฒนาใช้งานกับระบบฐานข้อมูลได้จริงจากการทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ของโครงสร้างการเข้าถึงข้อมูล โดยเปรียบเทียบจากเวลาในการสร้างโครงสร้างและ จำนวนโหนดที่อ่านเพื่อค้นหาข้อมูลพบว่า โครงสร้างแบบ Interval R-Tree มีประสิทธิภาพดีกว่าโครงสร้าง Interval B+-Tree นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลกระทบ ต่อประสิทธิภาพของโครงสร้าง ได้แก่ การกระจายตัวของข้อมูลแบบช่วงที่นำมาทดสอบ วิธีการเลือกเอนทรีเพื่อระบุกลุ่ม และจำนวนเอนทรีน้อยที่สุดในแต่ละโหนด ณฐพร รัตนชำนอง(2546) ศึกษาเรื่องการศึกษาการใช้และความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลควบคุมและติดตามหนี้ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพการใช้ ความพึงพอใจในการใช้ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการใช้ระบบฐานข้อมูลควบคุมและติดตามหนี้กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งศึกษาความต้องการเพิ่มเติมของผู้ใช้ที่มีต่อระบบฐานข้อมูลควบคุมและติดตามหนี้ของบริษัทฯโดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศักษา ได้แก่ ผู้บริหารและพนักงานผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลของบริษัทดังกล่าง จำนวน 256 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความคลาดเคลื่อนมาตราฐาน ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ข้อมูลทั่งไปของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล พบว่าส่วนใหญ่ผู้ใช้เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี โดยส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ทางด้านการบริหารธุรกิจและการเงินการธนาคาร และตำแหน่งที่รับผิดชอบ คือ ผู้จัดการฝ่ายควบคุมและติดตามหนี้ โดยมีประสบการณ์ในการทำงาน 3-4 ปีโดยประมาณ 2. สภาพการใช้ระบบฐานข้อมูลพบว่าส่วนใหญ่เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาสภาพการชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยมีการใช้ระบบฐานข้อมูลทุกวัน ประมาณวันละ 6-8 ชั่วโมง ในช่วงเวลาทำงานเช้า - เที่ยง (8.30 - 12.30) โดยระบบฐานข้อมูลย่อยที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ ระบบการสืบค้นข้อมูล 3. ความพึงพอใจในการใช้ระบบฐานข้อมูล พบว่าผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล มีความพึงพอใจด้านฮาร์ดแวร์มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องความเพียงพอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการใช้งาน ส่วนในด้านระบบฐานข้อมูลและด้านการใช้คู่มือ/การอบรมการใช้ระบบฐานข้อมูล ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง 4. ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ระบบฐานข้อมูล พบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาในด้านระบบฐานข้อมูลที่ไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลอื่นภายนอกหน่วยงานได้ รองลงมา คือ การใช้งานเวลานานในการสืบค้นข้อมูล การไม่สามารถพิมพ์รายงานเฉพาะส่วนที่ต้องการได้ รวมถึงคู่มือการใช้ที่เป็นภาษาอังกฤษเข้าใจยาก และการขาดการอบรมการใช้ระบบฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้ใช้งาน 5. ความต้องการเพิ่มเติมของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล พบว่าส่วนใหญ่ผู้ใช้มีความต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพดีขึ้น มีความสามารถในการแสดงผลข้อมูลรายวันที่เกิดขึ้นได้ทันที และความสามารถในการดึงข้อมูลไปประมวลผลต่อกับโปรแกรมอื่นของหน่วยงานภายนอกได้ จากการเปรียบเทียบ สภาพการใช้ ความพึงพอใจ ปัญหาอุปสรรค และความต้องการเพิ่มเติม ในการใช้ระบบฐานข้อมูล ระหว่างผู้บริหารและผู้ปฎิบัติงาน พบว่าเพียงบางด้านที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ณัฐวุฒิ ปาลีกุย (2552) ศึกษาเรื่อง ระบบฐานข้อมูลข่าวภายในองค์กร พัฒนาซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลข่าว โดยใช้วิธีการแบบ AGILE ลักษณะของซอฟต์แวร์คือเป็นการ นำข้อมูลข่าวซึ่งอยู่ใบรูปแบบของ ไฟล์เอกสาร รูปภาพ วีดีโอ มาจัดเก็บลงฐานข้อมูล เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งจะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบ นริชา ไชยสิทธิ์(2550) ศึกษาเรื่อง รูปแบบการบูรณาการสืบค้นข้อมูลชุมชนด้วยเทคนิคดาต้าแวร์เฮาส์ผ่านเว็บเทคโนโลยี ได้พัฒนารุปแบบและความต้องการการบูรณาการและสืบค้นข้อมูลชุมชน โดยอิงจากฐานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และฐานข้อมูลข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน (กชช.2ค.) การวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลัก และสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ ในจังหวัดลำพูน พบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่มีการทำการบูรณาการข้อมูลชุมชนด้วยการดูข้อมูลจากหลายๆ ฐานข้อมูลประกอบกัน รวมทั้งมีความต้องการข้อมูลเชิงสรุปที่แยกตามตำบล ปี และมิติต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ความรู้และการศึกษา สุขภาพและอนามัย การประกอบอาชีพและการมีงานทำ ความเข็มแข็งของชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยออกแบบและพัฒนาต้นแบบคลังข้อมูลชุมชน โดยแยกมิติตามความต้องการข้อมูลชุมชน และตามความต้องการเชิงสรุป การออกแบบคลังข้อมูลใช้โครงสร้างแบบกลุ่มดาว (Constellation) ในการเชื่อมต่อฐานข้อมลทั้งสองฐาน จากผลการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดพบว่า การนำฐานข้อมูลเข้ามาช่วยในการเก็บรวมรวมข้อมูลต่างๆนั้น สามารถช่วยลดความซ้ำซ้อนของการใช้ข้อมูลประเภทเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถ สามารถเรียกหา ค้นคืน และปรับปรุงได้รวดเร็ว ไม่ว่าจะนำมาพิมพ์รายงาน นำมาคำนวณ หรือนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :กระบวนการในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 13.1 การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย 13.2 การเก็บข้อมูลพื้นฐานในชุมชน โดยการลงพื้นที่ทั้ง 9 ตำบลในอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลและนัดหมายกำหนดการเพื่อทำการวิจัยภาคสนาม 13.3 การวิจัยภาคสนามเชิงสำรวจ โดยการลงพื้นอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสังเกต สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มกับประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 13.4 ทำการวิเคราะห์และออกแบบต้นแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชน 13.5 ทำการพัฒนาต้นแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชน 13.6 ทดสอบและประเมินผลต้นแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :433 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด