รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000375
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The study of the electronic commerce system and the opportunity to maximize the ability of community business online marketing, Nakhon Sawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์,การเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์, ธุรกิจชุมชน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :292500
งบประมาณทั้งโครงการ :292,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2561
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :สารสนเทศศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มี อย่างต่อเนื่อง ทำให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดของเรื่องเวลาและสถานที่ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่ “ความเร็ว” ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ที่ช่วยผู้ประกอบการในการเพิ่มยอดขาย ลดค่าใช้จ่ายและประชาสัมพันธ์กิจการให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จากผลการสำรวจสถานภาพพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีสัดส่วนของธุรกิจขนาดเล็ก (มีคนทำงานไม่เกิน 5 คน) มากที่สุด คือ ร้อยละ 68.5 และเป็นธุรกิจประเภท B2C ร้อยละ 73.3 ธุรกิจ e-Commerce มียอดขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้นประมาณ 608,587 ล้านบาท (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2551: ออนไลน์) แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาชุมชนที่มีหลากหลายแนวทาง แต่ภายหลังภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย กิจกรรมนี้ดูจะกลายเป็นความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนของทางราชการ จนถึงกับมีประกาศเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของกระทรวงมหาดไทย (มงคล ด่านธานินทร์, 2541 : คำนิยม) และไม่เพียงแต่ทางราชการเท่านั้น นักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนก็ได้คาดหวังให้ธุรกิจชุมชนเป็นตัวนำในการทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น ด้วยการดึงดูดรายได้จากภาคเมืองคืนสู่ชนบทบ้างและช่วยป้องกันต่อรองมิให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นธรรมมากเกินไป (ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, 2542 : 21) ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์หลายชุมชน มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบธุรกิจ แต่ปัญหาของธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ เกิดจากธุรกิจชุมชนมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายชุมชน กระจัดกระจายไม่ประสานสัมพันธ์เหนียวแน่น ความรู้ความสามารถในการจัดการเชิงธุรกิจออนไลน์ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีน้อย และความสามารถทางการตลาดของธุรกิจชุมชนมีจำกัด จึงทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่อาจแข่งขันในตลาด และเนื่องจากในปัจจุบันมีการทำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน อำนาจการตัดสินใจเข้าชมและตัดสินใจซื้อสินค้าในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นของลูกค้าเพียงฝ่ายเดียว ธุรกิจชุมชนจึงต้องสร้างระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดึงดูดความสนใจให้เข้าชมและกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยการบริหารจัดการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ความปลอดภัยในการชำระเงิน การจัดส่งสินค้า การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก และบริการหลังการขายเพื่อให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการ เป็นต้น ดังนั้นผู้ศึกษาจึงต้องการศึกษาปัญหาและกลยุทธ์การตลาดของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ เพิ่มพูนขีดความสามารถของธุรกิจชุมชน ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage) และ การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการกับประชาคมอาเซียน
จุดเด่นของโครงการ :พัฒนาโมเดลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการซื้อ-ขายสินค้าและสร้างความได้เปรียบทางแข่งขันของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษาปัญหาและกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์สำหรับสนับสนุนแนวทางเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ 2 เพื่อพัฒนาโมเดลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการซื้อ-ขายสินค้าและสร้างความได้เปรียบทางแข่งขันของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของโมเดลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตลาดออนไลน์
ขอบเขตของโครงการ :การศึกษาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ มีการกำหนดขอบเขตของการวิจัยได้ดังนี้ 1 ขอบเขตด้านพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาและกลยุทธ์การตลาดของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยทำรวบรวมข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ และหาแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน 2 ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ ได้ทำการศึกษาเรื่องระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาและกลยุทธ์การตลาดของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการศึกษาโดยกระบวนการวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ เช่น ส่วนผสมทางการตลาดออนไลน์ (6P) องค์ประกอบด้านความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน องค์ประกอบด้านเนื้อหาและการออกแบบเว็บไซต์ องค์ประกอบด้านการสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ พร้อมทั้งหาแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ 3 ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นชาวไทย และชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวข้องกับธุรกิจชุมชน จาก 15 อำเภอ ในจังหวัดนครสวรรค์ 4 ขอบเขตด้านเวลา ช่วงเวลาที่ศึกษา เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 ทราบถึงปัญหาและกลยุทธ์การตลาดของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน 2 ได้แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ 3 ทราบถึงความพึงพอใจของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ 4 เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :นุชรี ลอยประโคน (2550: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความเชื่อมันในด้านส่วนประสมการตลาดของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิจัยวิเคราะห์ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ส่วนมากเป็นเพศหญิงมากกวาเพศชาย มีอายุระหวาง 26-33 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน มีรายได้ระหว่าง 10,001-15,000 บาท และส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านระดับความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อมันในปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) มีค่าเฉลี่ยในระดับน้อย ด้านราคา (Price) มีค่าเฉลี่ยในระดับน้อย ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศที่แตกต่างกนมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างกนในด้านผลิตภัณฑ์ และ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อายุที่ต่างกันมี อิทธิพลต่อความเชื่อมันที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด การศึกษาที่แตกต่างกันไม่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมันที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายการส่งเสริมการตลาด อาชีพที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการความเชื่อมั่นที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกน ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด รายได้ที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ประสบการณ์ที่แตกต่างกนมีอิทธิพลต่อความเชื่อมันทีมีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด สุระชัย หัวไผ่ (2551: บทคัดย่อ)ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง สภาพการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในเขตบางกะปิ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นประเภทธุรกิจธุรกิจ ค้าปลีก ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย ร้อยละ 59.3 และร้อยละ 40.8 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่างระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 31.5 นุชรี ลอยประโคน (2550: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความเชื่อมันในด้านส่วนประสมการตลาดของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิจัยวิเคราะห์ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ส่วนมากเป็นเพศหญิงมากกวาเพศชาย มีอายุระหวาง 26-33 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน มีรายได้ระหว่าง 10,001-15,000 บาท และส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านระดับความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อมันในปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) มีค่าเฉลี่ยในระดับน้อย ด้านราคา (Price) มีค่าเฉลี่ยในระดับน้อย ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศที่แตกต่างกนมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างกนในด้านผลิตภัณฑ์ และ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อายุที่ต่างกันมี อิทธิพลต่อความเชื่อมันที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด การศึกษาที่แตกต่างกันไม่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมันที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายการส่งเสริมการตลาด อาชีพที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการความเชื่อมั่นที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกน ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด รายได้ที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ประสบการณ์ที่แตกต่างกนมีอิทธิพลต่อความเชื่อมันทีมีต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด สุระชัย หัวไผ่ (2551: บทคัดย่อ)ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง สภาพการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในเขตบางกะปิ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นประเภทธุรกิจธุรกิจ ค้าปลีก ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย ร้อยละ 59.3 และร้อยละ 40.8 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่างระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 31.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 40.5 ตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นผู้จัดการ ร้อยละ 47.5 รูปแบบธุรกิจ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะผู้ประกอบการรายเดียว/เจ้าของ ร้อยละ 37.8 ระยะเวลาในการดำเนินกิจการ 2-4 ปี ร้อยละ 35.0 และมีการใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจ ร้อยละ 85.0 สภาพการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ มีเว็บไซต์ของบริษัทเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์บริษัทหรือกิจการของตนเอง ลักษณะการดำเนินธุรกรรมบนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นการบริการ โดยจ้างบริษัทอื่นรับผิดชอบดูแล แหล่งความรู้ที่ใช้ศึกษาเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่เป็นการจัดอบรมทั้งของภาครัฐและเอกชน วิธีในการประเมินผลการประกอบการจากการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการประเมินผลรายรับ-รายจ่ายของบริษัท ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในการทำธุรกรรมต่างๆ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อสภาพการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในเรื่องสภาพการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อนำเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษา ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น มีความคิดเห็นในด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกับ ผู้ที่มีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. และ ผู้ที่มีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. มีความคิดเห็นในด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างจากผู้ที่มีระดับการศึกษา ปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนด้านอื่นๆไม่พบความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการให้ความสำคัญในการเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พบว่า ประเภทของธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า ความคิดเห็นในเรื่องลูกค้ามีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่ประกอบธุรกิจค้าส่ง มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่ประกอบธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจด้านการผลิต และผู้ที่ประกอบธุรกิจด้านการผลิตมีความคิดเห็นแตกต่างกับธุรกิจอื่นๆ ระยะเวลาในการดำเนินกิจการที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05เมื่อนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า ความคิดเห็นในเรื่องเพิ่มยอดขายและรายได้ให้กับบริษัท ที่มีระยะเวลาในการดำเนินกิจการมากกว่า 10 ปี มีความคิดเห็นต่อการให้ความสำคัญในการเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แตกต่างจาก ผู้ที่มีระยะเวลาในการดำเนินกิจการ น้อยกว่า 2 ปี และที่มีระยะเวลาในการดำเนินกิจการ 5 – 7 ปี
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :จากแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าข้างต้น ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์องค์ประกอบของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ศึกษาทำการศึกษาองค์ประกอบด้านส่วนผสมทางการตลาด(6P) ของธุรกิจชุมชน องค์ประกอบด้านความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพในการดำเนินงาน องค์ประกอบด้านเนื้อหาและการออกแบบเว็บไซต์ องค์ประกอบด้านการสื่อสารทางการตลาด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1 ศึกษารายละเอียดการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ ตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2 ศึกษาและสำรวจข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ สอบถามตลอดจนข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและกลยุทธ์การตลาดของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน ด้วยวิธี SWOT วิเคราะห์อำนาจทางการแข่งขัน และการวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด 3 สร้างแบบสอบถามที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชน และส่วนผสมทางการตลาดแต่ประเภทของธุรกิจชุมชน และ นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มธุรกิจชุมชน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ปัญหาและกลยุทธ์การตลาดของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ 4 วิเคราะห์และออกแบบโมเดลฐานข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยวิเคราะห์ในด้านภาพรวมของขีดความสามารถพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นออกแบบระบบฐานข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในงานวิจัยครั้งนี้ 5 ออกแบบพัฒนาโมเดลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ 6 สร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจโมเดลการเพิ่มขีดความสามารถพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์เพิ่มเติม 7 เก็บข้อมูลภาคสนามกับกลุ่มตัวอย่างจนครบจำนวนที่ต้องการ และตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลภาคสนาม หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และสรุปผลการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :โครงการวิจัยนี้ผู้ศึกษาจึงต้องการศึกษาปัญหาและกลยุทธ์การตลาดของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ เพิ่มพูนขีดความสามารถของธุรกิจชุมชน ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage) และ การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการกับประชาคมอาเซียน
จำนวนเข้าชมโครงการ :456 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวลฎาภา แผนสุวรรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด