รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000374
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :รูปแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Information System Model for Tourism Knowledge of Nakhon Sawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ การจัดการองค์ความรู้ การท่องเที่ยวจังหวัดนครสวรรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :125000
งบประมาณทั้งโครงการ :125,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2555
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2556
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นประตูสู่ภาคเหนือ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง และจังหวัดนครสวรรค์ยังเป็นจังหวัดที่สำคัญคือ เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญๆ หรือที่รู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า “ปากน้ำโพ” หรือต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของประเทศ เกิดจากการรวมกันของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่านไหลมาบรรจบกันที่นี่ และเป็นที่ตั้งของบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ บึงบอระเพ็ด (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, เว็บไซต์) การท่องเที่ยวจังหวัดนครสวรรค์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของจังหวัดเป็นอย่างมาก ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน ด้วยการปรับโครงสร้างภาคบริการให้เป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ โดยพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของภูมิภาคบนฐานความโดดเด่นและหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และความเป็นไทย โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรชุมชนในท้องถิ่น รวมถึงสนับสนุนการรวมกลุ่มของชุมชนในรูปแบบต่างๆ โดยจังหวัดนครสวรรค์เองมีแหล่งทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และธรรมชาติที่น่าสนใจอย่างยิ่งนั่นคือ บึงบอระเพ็ด ซึ่งเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ เป็นแหล่งน้ำ แหล่งเพาะปลูกพืชน้ำ แหล่งน้ำสำหรับสัตว์ต่างๆ แหล่งเพาะขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ในภาคกลางของประเทศ ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำและแหล่งประมงที่สำคัญสำหรับชุมชนท้องถิ่น และเป็นแหล่งวิทยาการเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการทำการประมงพื้นบ้าน ซึ่งสืบทอดกันมาเป็นวิถีชีวิตหลายชั่วคน และเป็นส่วนหนึ่งที่นักท่องเที่ยว หรือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความต้องการเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน หรือเป็นการพักผ่อน การหาความรู้ ครอบคลุมถึงการเดินทางเพื่อธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติที่มีความน่าสนใจ มีความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่นเป็นที่ดึงดูดความสนใจของสาธารณชน และนักท่องเที่ยว อาทิเช่น พันธุ์ปลาน้ำจืด พันธุ์ไม้น้ำ จระเข้ นก เป็นต้น ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งที่อยู่ในนครสวรรค์ และจังหวัดอื่นๆ ภายในประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศก็นิยมมาท่องเที่ยวเพื่อศึกษา ค้นคว้าวิจัย ทำให้ทราบถึงชนิดและปริมาณของประชากรปลา ชนิดและปริมาณของแพลงค์ตอนและสัตว์หน้าดิน ชนิดและการแพร่กระจายของพันธุ์ไม้น้ำ อุปนิสัยการกินอาหารของปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของชาวประมงในบึงบอระเพ็ด ตลอดจนปัญหาที่พบในบึงบอระเพ็ด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงบึงบอระเพ็ดให้มีพันธุ์ปลาหลายชนิดชุกชุม เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการในการทำการประมง และการบริโภคของประชาชน และป้องกันมิให้สัตว์น้ำทุกชนิดที่อาศัยในบึงบอระเพ็ดมีปริมาณลดน้อยลงมาก จนกระทั่งสูญพันธุ์ไปในที่สุด การจะพัฒนาการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ดให้ไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีความสมดุลและยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยการประมวลองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การจัดการองค์ความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับความหลากหลายของทุนในชุมชนที่มีลักษณะเป็นองค์รวม จากแนวคิดเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ดให้ไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่มี ความสมดุลและยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยการประมวลองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การจัดการองค์ความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่นั้น ผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศ โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในด้านการจัดการสารสนเทศ และรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อจัดเก็บ รวบรวม และเผยแพร่ สารสนเทศในรูปแบบฐานข้อมูลที่มีความสมบูรณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์สำหรับผู้ที่สนใจ และเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชนรุ่นหลัง อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชน สังคม ประเพณี และวัฒนธรรม ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ให้มีอยู่อย่างยั่งยืน
จุดเด่นของโครงการ :รูปแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้จำกัดขอบเขตการวิจัยได้ดังนี้ 1) ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ที่ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาบึงบอระเพ็ด โดยผู้วิจัยมีเหตุผลในการเลือกพื้นที่ดังนี้ - บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ และเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นแหล่งน้ำ แหล่งเพาะปลูกพืชน้ำ แหล่งน้ำสำหรับสัตว์ต่างๆ แหล่งเพาะขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ในภาคกลางมีความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่นเป็นที่ดึงดูดความสนใจของสาธารณชน และนักท่องเที่ยว มีหน่วยงานของรัฐและเอกชน สนับสนุนอยู่ในเขตพื้นที่ 2) ขอบเขตด้านเนื้อหา สำหรับเนื้อหาในการวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดไว้โดยสังเขป ซึ่งเป็นการวางประเด็นการศึกษาไว้อย่างกว้างๆ เพื่อใช้ทำการศึกษาดังต่อไปนี้ 2.1 บริบทชุมชน 2.1.1 ความเป็นมาของจังหวัดนครสวรรค์ 2.1.2 สภาพเศรษฐกิจ 2.1.3 โครงสร้างสังคม 2.1.4 สถานที่ท่องเที่ยว 2.1.5 ประเพณี วัฒนธรรม 2.2 การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 2.2.1 องค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยว 2.2.2 ธรรมชาติที่น่าสนใจและความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่นของบึงบอระเพ็ด 2.2.3 พันธุ์ปลาน้ำจืด พันธุ์ไม้น้ำ จระเข้ นก 2.2.4 การทำการประมงในบึงบอระเพ็ด 2.2.5 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด 3) ขอบเขตด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ 3.1 ระบบฐานข้อมูล แหล่งเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ มุ่งเน้น องค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธรรมชาติที่น่าสนใจและความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่นของบึงบอระเพ็ด 3.2 พัฒนาเว็บไซต์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1) ได้ข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ให้กับประชาชนที่สนใจ และเป็นข้อมูลการเรียนรู้ให้กับชนรุ่นหลังต่อไป 2) ได้รูปแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลการท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรม ของจังหวัดนครสวรรค์ 3) เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ประเพณี วัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะวัฒน-ธรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีวัตถุเพื่อ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะวัฒน-ธรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน เผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการสร้างแหล่งการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ ประกอบด้วยโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล โปรแกรมพี เอว พี เวอร์ชั่น 5.0.4 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พี ไม่โครซอฟต์อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ เวอร์ชั่น 6.0.1 และโปรแกรมมอโดบี โฟโต้ชอพ เวอร์ชั่น 7 ผู้ใช้งานระบบได้แก่ ผู้ดูแลระบบ สมาชิก และผู้ใช้ทั่วไป จากการศึกษาพบว่าผู้ใช้จำนวน 30 คน ประเมินการทำงานของระบบ โดยมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบในเกณฑ์ดี การรวบรวมองค์ความรู้ของท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมและความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน รวบรวมองค์ความรู้และวัฒนธรรมของท้องถิ่น และหาแนวทางพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมของชุม โดยใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม ใช้เทคนิควิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มและแบบสอบถามจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พื้นที่ศึกษาจำนวน 14 หมู่บ้าน ชนเผ่าม้งและปาเกอะญอ ภายในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ครอบคลุมอำเภอแม่แจ่มและแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลจากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาค่าเฉลี่ยความพึงพอใจตามระดับคะแนน likert scale ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา มีการจัดทำโปรแกรมและเส้นทางการท่องเที่ยว ใช้ประเมินผลความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวอาสาสมัคร ผลของการวิจัยที่ได้นำมาสรุปวิเคราะห์และวางแผนร่วมกับชุมชนเพื่อหาแนวทางพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนมีส่วนร่วม ผลจากการศึกษา แสดงให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ในชุมชนรับรู้และมีทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงผลกระทบทางลบต่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้วย ประมาณร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 ครัวเรือน เห็นว่าชุมชนมีความพร้อมต่อการจัดการท่องเที่ยว ที่เหลือเห็นว่าชุมชนยังไม่มีความพร้อม เช่น การสื่อสาร การต้อนรับ สภาพถนนในพื้นที่ เป็นต้น พื้นที่ศึกษามีศักยภาพสามารถจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงเกษตร และเชิงธรรมชาติ ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยการเข้าถึงพื้นที่ค่อนข้างพร้อม องค์ความรู้ที่รวบรวมได้นำมาใช้เป็นเรื่องราวในโปรแกรมท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลจากการประเมินของนักท่องเที่ยวอาสาสมัคร แสดงให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจระดับมากต่อความน่าสนใจของโปรแกรมและพึงพอใจมากที่สุดในด้านความโดดเด่นของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแม่แฮและความรู้สึกคุ้มค่าในการมาท่องเที่ยวในพื้นที่แม่แฮ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าจากการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในพื้นที่แม่แฮโดยชุมชนมีส่วนร่วม ชุมชนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวแล้วระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเองได้ ต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์ และควรมีหน่วยงานที่เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง ติดตามผลเป็นระยะๆ สำหรับแนวทางในการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการท่องเที่ยว จัดฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ เช่น การทำอาหาร การต้อนรับ การจัดทำของที่ระลึก และศึกษาดูงานการท่องเที่ยวพื้นที่อื่น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ และควรมีการจัดการในเรื่องผลประโยชน์และการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมรวมทั้งชุมชนยอมรับ นำรายได้จากการท่องเที่ยวส่วนหนึ่งมาเพื่อพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการค้นคว้าหาข้อมูลตามห้องสมุด อินเตอร์เน็ต และ ผู้มีประสบการณ์ทางการวิจัย 2) ศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในสนาม โดยการสำรวจและสังเกตด้วยตนเอง และสัมภาษณ์พูดคุยกับนักท่องเที่ยว ประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาพื้นที่การทำวิจัยด้วยเหตุผลดังนี้ - บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ และเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ - เป็นแหล่งน้ำ แหล่งเพาะปลูกพืชน้ำ แหล่งน้ำสำหรับสัตว์ต่างๆ แหล่งเพาะขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ในภาคกลาง - มีความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่นเป็นที่ดึงดูดความสนใจของสาธารณชน และนักท่องเที่ยว - มีหน่วยงานของรัฐและเอกชน สนับสนุนอยู่ในเขตพื้นที่ 3) สร้างและเลือกเครื่องมือในงานวิจัย - การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ด้วยการกำหนดหัวข้อที่จะทำการศึกษาไว้กว้างๆ ล่วงหน้าในลักษณะคำถามปลายเปิดเพื่อให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ปราชญ์ชาวบ้าน ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ศึกษา - สังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม โดยเข้าร่วมสังเกตการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และสังเกตการณ์มีส่วนร่วม โดยเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริม การท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด ของจังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ และเวลาในการจัดกิจกรรม - การสัมภาษณ์ โดยจัดกลุ่มสนทนา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและคำตอบ ในการศึกษาความคิดเห็นและทัศนะของประชากรที่ทำการศึกษา 4) เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ - กลุ่มผู้อาวุโสที่มีชุมชนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ - กลุ่มผู้นำ คณะกรรมการ ได้แก่ ผู้นำหมู่บ้าน คณะกรรมหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการกลุ่มกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ - อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนหนุ่ม สาว หรือประชาชนทั่วไปที่มีได้รับความรู้จากการศึกษาระบบใหม่ เพื่อมองความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ - การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยเน้นที่กลุ่มผู้อาวุโส ผู้นำหมู่บ้าน คณะกรรมหมู่บ้าน หรือ คณะกรรมการกลุ่มกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 5) วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ในด้านภาพรวมของการจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ แล้วสรุปมาเป็นรูปธรรม ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในงานวิจัยครั้งนี้ 6) พัฒนาฐานข้อมูล โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาจัดเก็บในรูปแบบระบบฐานข้อมูล โดยใช้ฐานข้อมูล My SQL ในการสร้างฐานข้อมูล 7) ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ในการแสดงผลเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของเว็บไซต์และเหมาะสมกับการใช้งาน จึงต้องออกแบบและใช้สีสันให้อ่านง่าย และมีสารสนเทศที่น่าสนใจ โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ด้านการออกแบบ หรือ โปรแกรมสำเร็จรูปในงานการพัฒนา 8) ประเมินผลระบบสารสนเทศ ประเมินประสิทธิภาพการใช้งานของระบบ โดยใช้ค่ามาตราส่วนของลิเกิร์ต (Likert Scale) คำนวณหาค่าร้อยละของคำตอบแต่ละหัวข้อการประเมิน และหาค่าเฉลี่ยรวมของแต่ละคำตอบ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :978 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางวิไลลักษณา สร้อยคีรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด