รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000372
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การสำรวจความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The need for information technology and skill online of alumni of Nakhon Sawan Rajabhat University.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ความต้องการ ความรู้และทักษะ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :30000
งบประมาณทั้งโครงการ :30,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 มกราคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :31 ธันวาคม 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การพัฒนาประเทศเพื่อก้าวสู่สังคมอุดมปัญญา ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนานำไปสู่การเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน (Smart Thailand 2020) ตามกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะปี พ.ศ. 2554 -2563 ของประเทศไทย (ICT 2020) ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เป็นยุคสารสนเทศ ซึ่งมนุษย์ได้เห็นความสำคัญของข้อมูล การใช้ข้อมูลการสื่อสารโทรคมนาคม และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวม สร้างสารสนเทศ และนำไปใช้สำหรับการพัฒนาองค์กรภาครัฐ และภาคธุรกิจ เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคมของประเทศไทยในอีก 10 ป? ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำกรอบนโยบายไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงาน การพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จะต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้ศิษย์เก่าสามารถพัฒนาความรู้ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร และจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้สมรรถนะของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบ ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ว่า “บัณฑิตทำงานเป็นทีม ชำนาญเทคโนโลยี ซื่อสัตย์สุจริต จิตสาธารณะต่อชุมชนและท้องถิ่น” และเพื่อให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ระยะปี พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย ในยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 พัฒนาทุนมนุษย์ที่มีความสามารถในการพัฒนาและใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน รวมถึงพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีความรู?ความสามารถและความเชี่ยวชาญ ระดับมาตรฐานสากล (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2554) และสอดคล้องกับวาระเร่งด่วนในปี พ.ศ. 2558 ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เร่งดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์สังคม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน เพื่อตอบสนองเป้าหมายหลักคือ การพัฒนาบุคลากร โดยการเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างให้เกิดธุรกิจ รูปแบบใหม่ และพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนให้ได้รับการพัฒนาทักษะและการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบุคลากรขององค์การภาครัฐ และภาคธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์ อาจจะยังมีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการพัฒนาบุคลากรเป็นกรรมวิธีหรือกระบวนการดำเนินการที่มุ่งเพิ่มพูนสมรรถนะในการทำงาน ทั้งความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ทักษะ ความชำนาญ ความคิด การกระทำ และทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนให้เป็นไปในทางที่ดี มีความรับผิดชอบที่สูงขึ้น และนำไปปรับใช้ในสถานการณ์จริง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุจุดมุ่งหมายของหน่วยงานหรือองค์กรได้ ดังนั้น การพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การภาครัฐ และภาคธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้สามารถดำเนินการพัฒนาทักษะและความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของบุคลากรในองค์กรอย่างแท้จริง จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า การพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จะต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้ศิษย์เก่าสามารถพัฒนาความรู้ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร และจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ แต่เทคโนโลยีดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งแม้ว่าองค์การภาครัฐ และภาคธุรกิจ ในจังหวัดนครสวรรค์ จะมีการดำเนินการอยู่บ้างแล้ว แต่ก็อาจยังไม่เพียงพอ หรือไม่ตรงกับความต้องการของบุคลากร ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ รวมถึงปัญหาและอุปสรรค์ในการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยทำการสำรวจ ความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับศิษย์เก่าในจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :ความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อออกแบบระบบสำรวจความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 2. เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดังนี้ 1.ขอบเขตด้านเนื้อหา 1.1 ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และ คณะ 1.2 ตัวแปรตาม ประกอบด้วย ความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทาง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบปฏิบัติการ ความรู้และทักษะการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป และความรู้และทักษะในการใช้งานโปรแกรมเฉพาะด้าน 2. ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ ประชากรกลุ่มตัวอย่างจากศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นับเฉพาะศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 500 คน 3. ขอบเขตด้านการพัฒนาระบบ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการสำรวจความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยใช้ Google Form เป็นส่วนหนึ่งในบริการของกลุ่ม Google Docs ที่ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และทำการวิเคราะห์ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ โดยใช้ Google Spreadsheet ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ฟรีบนเว็บ Google มีระบบการจัดการ การบันทึก และเก็บไฟล์ประเภทตารางคำนวณ (Spreadsheet) ที่ให้ผู้ใช้สามารถเผยแพร่และเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาปรับแก้ไขเอกสาร และเข้าบัญชีการใช้ผ่านเว็บไซต์ Google ได้ ทุกเวลาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต และ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เป็นต้น 4. ขอบเขตด้านระยะเวลา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการดำเนินงานทั้งหมด 12 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2559
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ระบบสำรวจความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ทราบถึงความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4. สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ไปต่อยอดในการจัดโครงการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. สุวรรณี แสงกระจ่าง (2545) กล่าวใน ความต้องการพัฒนาความรู้ของข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม ว่า การศึกษาเรื่องความต้องการพัฒนาความรู้ของข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาความรู้ด้านระบบสารสนเทศของข้าราชการทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาความรู้ของข้าราชการทรัพยากรธรณีด้านระบบสารสนเทศ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ใช้วิธีการศึกษาใน เชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 251 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานภาพส่วนตัวของข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศในกรมทรัพยากรธรณี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.1 มีอายุเฉลี่ย 31-45 ปี ร้อยละ 47.9 การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 65.5 มีประสบการณ์ทำงานในกรมทรัพยากรธรณี 11 ปีขึ้นไป ร้อยละ 47.5 และส่วนมากเป็นข้าราชการระดับ 4-5 2) ข้าราชการในกรมทรัพยากรธรณีมีความต้องการพัฒนา ด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภายในองค์กร ความรู้และความสามารถในการใช้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป ความรู้และความสามารถการใช้เกี่ยวกับการใช้งานระบบปฏิบัติการ และด้านความรู้และความสามารถในการใช้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมเฉพาะด้านอยู่ในระดับปานกลาง 3) สถานภาพส่วนตัวของข้าราชการในกรมทรัพยากรธรณีด้านอายุและประสบการณ์ทำงานที่ต่างกันมีความต้องการพัฒนาความรู้ด้านระบบสารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนสถานภาพส่วนตัวด้านเพศ ระดับการศึกษา และระดับตำแหน่งของข้าราชการในกรมทรัพยากรธรณีที่ต่างกันมีความต้องการพัฒนาความรู้ด้านระบบสารสนเทศไม่แตกต่างกัน 2. รัตนา บุญชัย (2555) กล่าวใน ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานี ว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพัฒนาความรู้ทางการบัญชี ปัญหา และอุปสรรคในการพัฒนาความรู้ทาง ด้านบัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานี โดยรวบรวมข้อมูลจากพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 53 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว (one-way ANOVA) นอกจากนี้ยังรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสารที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 86.8 เป็นเพศหญิง ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือร้อยละ 56.6 มีอายุระหว่าง 25-34 ปี และร้อยละ 66.0 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีประสบการณ์ในการทำบัญชีต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 56.6 ประเภทของสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 69.8 โดยภาพรวมแล้ว พนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานี ส่วนใหญ่คิดว่าเรื่อง การจัดทำงบการเงินจำเป็นต่อการทำงานมากที่สุด และต้องการพัฒนาความรู้เรื่องการจัดทำงบการเงินมากที่สุด สำหรับวิธีการที่พนักงานบัญชีสหกรณ์สนใจที่จะพัฒนาความรู้ทางการบัญชี คือ การเข้ารับการอบรม สัมมนา ส่วนสาเหตุที่ต้องการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีมากที่สุด คือ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำ ส่วนปัญหาในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์นั้น พบว่า ปัจจุบันพนักงานบัญชีไม่ได้เข้ารับการอบรม สัมมนา และศึกษาต่อเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาในเรื่องของความไม่พร้อมในเรื่องเวลา ผลการศึกษาการทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพัฒนาความรู้ทางการบัญชี พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และประเภทของสหกรณ์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานีไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษาประสบการณ์ในการทำบัญชีที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานี แตกต่างกัน โดยระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานีแตกต่างกัน ในด้านความรู้ทางการบัญชีที่จำเป็นต่อการทำงาน พนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีการศึกษาระดับระดับมัธยมปลาย/ปวช. หรือเทียบเท่ามีความต้องการแตกต่างกับ พนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี และพนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมีความต้องการแตกต่างกับพนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านความรู้ทางการบัญชีที่ต้องการพัฒนา พนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมีความต้องการแตกต่างกับพนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีการศึกษาระดับปริญญาโท ส่วนด้านวิธีในการพัฒนาความรู้ และด้านสาเหตุของการพัฒนาความรู้ไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการทำบัญชีที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานีแตกต่างกัน ในด้านความรู้ทางการบัญชีที่ต้องการพัฒนาพนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีประสบการณ์ในการทำบัญชีต่ำกว่า 5 ปีมีความต้องการแตกต่างกับพนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีประสบการณ์ในการทำบัญชี 11-15 ปี และพนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีประสบการณ์ในการทำบัญชี 5-10 ปี มีความต้องการแตกต่างกับพนักงานบัญชีสหกรณ์ที่มีประสบการณ์ในการทำบัญชี 11-15 ปี ส่วนด้านความรู้ทางการบัญชีที่จำเป็นต่อการทำงาน ด้านวิธีในการพัฒนาความรู้ และด้านสาเหตุของการพัฒนาความรู้ไม่แตกต่างกัน 3. วรรณยา เฉลยปราชญ์และอรนุช เศวตรัตนเสถียร (2556) กล่าวใน ความต้องการกิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารนิเทศและการสื่อสารของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ว่า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการกิจกรรมพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีสารนิเทศและการสื่อสารของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านเนื้อหา รูปแบบ สื่อที่ใช้ หน่วยงานที่จัด และปัญหาในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย จานวน 304 คน และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จานวน 269 ชุด (ร้อยละ 88.49) ผลการศึกษา พบว่า บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องการกิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารนิเทศและการสื่อสาร สำหรับเนื้อหาของกิจกรรมซึ่งบรรณารักษ์จำนวนมากที่สุดต้องการในแต่ละด้านมีดังนี้ เนื้อหาเรื่องวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ ในด้านความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในด้านความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื้อหาเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพกพาขนาดกลาง / แท็บเล็ตพีซี (เช่น iPad Notion Ink Adam Samsung Galaxy Tab และ HP TouchPad ในด้านความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ และเนื้อหาเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติในด้านความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีห้องสมุด ส่วนรูปแบบของกิจกรรมพัฒนาบุคลากรที่บรรณารักษ์จานวนมากที่สุดต้องการ คือ การฝึกอบรม ทั้งนี้ บรรณารักษ์จำนวนมากที่สุดต้องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และต้องการให้หน่วยงานในประเทศจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร สำหรับปัญหาในการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า บรรณารักษ์ประสบปัญหาในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัญหาเกี่ยวกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีกระบวนการในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการค้นคว้า หาข้อมูลตามห้องสมุด อินเตอร์เน็ต และ ผู้มีประสบการณ์ทางการวิจัย 2. สร้างแบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาและอุปสรรคในการความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ออกแบบระบบสำรวจความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4. พัฒนาระบบสำรวจความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 5. ทดสอบและทำการติดตั้งระบบสำรวจความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 6. ดำเนินการเก็บรวมรวมข้อมูลความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ทำการตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล 7. รายงานผลการวิจัย โดยจัดทำรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :293 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด