รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000371
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน กล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :A Study for Development of the Bananas Supply Chain Management Information Systems in Nakhon Sawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การบริหารห่วงโซ่อุปทาน, ระบบสารสนเทศ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :247700
งบประมาณทั้งโครงการ :247,700.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2561
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :กล้วยเป็นผลไม้เขตร้อนในวงศ์ Musaceae มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นไม้ผลที่สำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยในปี 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยประมาณ 475,455 ไร่ และมีแนวโน้มในการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่ที่เหมาะสมและมีพันธุ์กล้วยที่มีรสชาติดีเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและการส่งออก กล้วยมีคุณสมบัติเหมาะสม ทั้งในรูปการบริโภคสด หรือใช้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะนำมาพัฒนาเพื่อเพิ่มปริมาณและมูลค่าทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์กล้วยอีกหลายชนิดที่ยังขาดข้อมูลคุณค่าอาหาร/ทางโภชนาการที่เป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปประกอบการนำไปใช้ประโยชน์ให้หลากหลายและช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรผู้ผลิต ในด้านพันธุ์กล้วยของไทยทั้งกล้วยไข่ และกล้วยหอม มีเอกลักษณ์โดดเด่น ทั้งในด้านรสชาติ กลิ่น ฯลฯ เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ถ้าดูจากศักยภาพการผลิต และความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยสามารถที่จะพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกกล้วยได้อีก ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่เป้าหมายที่กำหนด ทั้งในด้านการพัฒนาพันธุ์ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสม พัฒนาเทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ระบบการขนส่งผลผลิต และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวสู่เกษตรกรนำไปปฏิบัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการส่งออกกล้วยให้มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น (ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2559) การปลูกกล้วยในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแหล่งปลูกกล้วยในอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าทั้งหมด 13,876 ไร่ มีผลผลิตจำนวน 18,125.22 ตัน และพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ ทั้งหมด 10,412.50 ไร่ มีผลผลิตจำนวน 16,146.08 ตัน โดยจากการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตกล้วยของกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า การผลิตส่วนใหญ่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อย มีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ดีพอและไม่เป็นระบบเหมือนประเทศผู้ผลิตหลัก กล้วยมีเปลือกบาง อายุการเก็บรักษาสั้นไม่ทนทานการขนส่ง โดยเฉพาะตลาดไกลที่ใช้ระยะเวลาการขนส่งนานมีผลต่อคุณภาพ ขาดวางแผนการผลิตที่สอดคล้องความต้องการตลาด ขาดข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด รวมทั้งขาดความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายในโซ่อุปทานการผลิต ทำให้ผลผลิตกล้วยในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์เกิดปัญหาในด้านการผลิตที่มีปริมาณคุณภาพผลผลิตมาตรฐานมีไม่เพียงพอกับความต้องการ การกระจุกตัวของผลผลิต ต้นทุนการผลิตสูง ขาดกลยุทธ์การตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ราคาไม่จูงใจต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน ราคามีความแปรปรวนสูง และระบบขนส่งยังด้อยประสิทธิภาพ ไม่สะดวก รวดเร็ว และประหยัด (ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2559) ซึ่งการนำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นกระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน ในการปรับตัวขององค์การเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตกล้วย ผู้ค้ากล้วย และผู้บริโภคกล้วย มีสามารถในการบริหาร และแข่งขัน ปรับระบบการทำงานให้สอดคล้องกัน แบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันในห่วงโซ่อุปทาน จากปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์กล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ และนำเสนอข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ผลิตกล้วย ผู้ค้ากล้วย และผู้บริโภคกล้วย สามารถบูรณาการสารสนเทศ โดยเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีผลกระทบการดำเนินงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทันต่อเวลา อีกทั้งยังสามารถนำสารสนเทศที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหา และสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการ :ต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ 1. ขอบเขตด้านการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน 1.1 ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 1.2 ตัวแปรตาม ประกอบด้วย ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ ขั้นตอนการขนส่ง ขั้นตอนการจัดเก็บ และขั้นตอนการกระจายสินค้า 2. ขอบเขตด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ 2.1 การพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ การขาย การสั่งซื้อ การผลิต การขนส่ง ปริมาณสินค้าคงคลัง ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยจะใช้ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) ในการจัดการข้อมูล เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่นิยมใช้กันมากสำหรับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล 2.2 การพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้วิจัยจะทำการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมภาษาพีเอชพี (PHP) เนื่องจากเป็นโปรแกรมภาษาในรูปแบบโอเพนซอร์สที่ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ 3. ขอบเขตด้านความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารสนเทศ 3.1 ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3.2 ตัวแปรตาม ประกอบด้วย ด้านการออกแบบ ด้านเสถียรภาพระบบ ด้านประโยชน์ของระบบต่อการปฏิบัติงาน และข้อเสนอแนะ 4. ขอบเขตด้านเวลา ช่วงเวลาที่ศึกษา เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3. ทราบถึงความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :อติกาน อินต๊ะวัง (2558) ได้ศึกษาเรื่อง การจัดการห่วงโซ่อุปทานและเครือข่ายธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ภาคเหนือตอนบน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เครือข่ายธุรกิจและผลการดำเนินงาน ตลอดจนการจัดการห่วงโซ่อุปทานและเครือข่ายธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ภาคเหนือตอนบน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามประชากรคือ เจ้าหน้าที่/สมาชิกและคณะกรรมการสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ภาคเหนือตอนบน จำนวน 361 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมานวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) โดยเทคนิค SMART-PLS ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี สังกัดสาขาจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด มีตำแหน่งงานเป็นกรรมการมีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี เงินเดือนที่ได้รับไม่เกิน 15,000 บาท มีความคิดเห็นต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เครือข่ายธุรกิจ และผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย ผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างพบว่าการจัดการห่วงโซ่อุปทานมีอิทธิพลทางตรงต่อเครือข่ายธุรกิจมากที่สุด รองลงมา คือ เครือข่ายธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน และการจัดการห่วงโซ่อุปทานมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลการดำเนินงาน โดยอ้อมผ่านเครือข่ายธุรกิจ วิบูลย์ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ (2551) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยใช้เทคโนโลยีการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุกรณีศึกษาธุรกิจเสื้อผ้า ซึ่งการวิจัยนี้นำเสนอเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยี Radio Frequency Identification (RFID) ที่เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่มีความทันสมัย เข้ามาใช้กับระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ในภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม โดยใช้งาน RFID ในระบบบริหารการผลิต ระบบจัดการคลังสินค้าและบริหารสินค้าคงคลัง ระบบบริหารการค้าปลีก และระบบตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มได้มีการนำมาตรฐาน Electronic Product Code (EPC) โดยเป็นการดำเนินงานร่วมกันของ European Article Number (EAN) International ในทวีปยุโรป, Uniform Code Councill (UCC) และ Auto ID Center ในสหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดมาเพื่อใช้ในการกำหนดหมายเลขประจำตัวสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการบริหารจัดการสินค้า ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาเว็บไซต์ Supply Chain RFID Thailand เป็นศูนย์กลางในการจัดการและกำหนดมาตรฐาน EPC เพื่อให้ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตสินค้า ร้านค้าปลีก ใช้มาตรฐานเดียวกัน และการใช้ RFID ในระบบจัดการห่วงโซ่อุปทานตามมาตรฐาน EPC ร่วมกัน จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงตลาดของผู้ค้าปลีกรายใหญ่ และได้นำมาทดสอบกับธุรกิจเสื้อผ้าโดยทดสอบเป็น 2 ส่วน คือ ทดสอบความถูกต้องของระบบและทดสอบความพึงพอใจในการตรวจย้อนกลับของสินค้าในสายการผลิตโดยใช้แบบสอบถาม ผลที่ได้ลูกค้ามีความพึงพอใจในระดับมากกับการตรวจย้อนกลับของสินค้า ศราวุธ ทองเนื้อห้าและคณะ (2554) ได้ศึกษาเรื่อง รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการโซ่อุปทานกล้วยหอมปลอดสารพิษของจังหวัดสุราษฎร์ธานี : กรณีศึกษาอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของระบบการปลูก กระบวนการผลิตและการตลาดกล้วยหอมปลอดสารพิษของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2. เพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการโซ่อุปทานกล้วยหอมปลอดสารพิษของจังหวัดสุราษฎร์ธานีประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 38 คน ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในการท าวิจัยครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการโซ่อุปทานของกล้วยหอมปลอดสารพิษผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการโซ่อุปทานแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับต้นน้ำของกล้วยหอมปลอดสารพิษ เกษตรกรต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและลดต้นทุนการผลิต โดยเกษตรกรต้องใช้การสั่งซื้อปัจจัยการผลิตจากสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร ระดับกลางน้ำของกล้วยหอมปลอดสารพิษการตลาดจะเชื่อมโยงเกษตรกรไปยังผู้บริโภค ซึ่งการดำเนินการทางการตลาดนั้น จะต้องมีสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสารเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาด และความรู้เกี่ยวกับ การรวบรวม การคัดแยก การทำความสะอาด เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ระดับปลายน้ำ ปัจจัยการขนส่งไปยังต่างประเทศขึ้นอยู่กับ การรวบรวม การคัดแยก ทำความสะอาด บรรจุหีบห่อ และการขนส่ง ได้ภายในเวลาจำกัด สรุปได้ว่ารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการโซ่อุปทานกล้วยหอมปลอดสารพิษของจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะต้องมีการเชื่อมโยงกันของเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และผู้บริโภค โดยองค์กรของรัฐและหน่วยงานเอกชน ให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวม การคัดแยก การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการวางแผนรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการค้นคว้าหาข้อมูลตามห้องสมุด อินเตอร์เน็ต และ ผู้มีประสบการณ์ทางการวิจัย 2) ศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในสนาม โดยการสำรวจและสังเกตด้วยตนเอง และสัมภาษณ์พูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย ผู้ค้ากล้วย และผู้บริโภคกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาพื้นที่การทำวิจัย เนื่องจากจังหวัดนครสวรรค์มีเนื้อที่ที่ทำการปลูกกล้วยทั้งหมด 13,876 ไร่ และมีผลผลิต จำนวน 18,125.22 ตันต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญในประเทศไทยแหล่งหนึ่ง 3) สร้างและเลือกเครื่องมือในงานวิจัย - การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ด้วยการกำหนดหัวข้อที่จะทำการศึกษาไว้กว้างๆ ล่วงหน้าในลักษณะคำถามปลายเปิดเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วย ผู้ค้ากล้วย และผู้บริโภคกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ศึกษา - การสัมภาษณ์ โดยจัดกลุ่มสนทนา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและคำตอบ ในการศึกษาความคิดเห็นและทัศนะของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย ผู้ค้ากล้วย และผู้บริโภคกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์ที่ทำการศึกษา 4) เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ - เกษตรกรผู้ปลูกกล้วย - ผู้ค้ากล้วย - ผู้บริโภคกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์ - การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยเน้นที่เกษตรกรผู้ปลูกกล้วย ผู้ค้ากล้วย และผู้บริโภคกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์ 5) วิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล โดยวิเคราะห์ในด้านภาพรวมของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นออกแบบระบบฐานข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในงานวิจัยครั้งนี้ 6) พัฒนาฐานข้อมูล โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาจัดเก็บในรูปแบบระบบฐานข้อมูล โดยใช้ฐานข้อมูล My SQL ในการสร้างฐานข้อมูล 7) ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ในการแสดงผลเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของเว็บไซต์และเหมาะสมกับการใช้งาน จึงต้องออกแบบและใช้สีสันให้อ่านง่าย และมีสารสนเทศที่น่าสนใจ โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ด้านการออกแบบ หรือ โปรแกรมสำเร็จรูปในงานการพัฒนา 8) ประเมินผลระบบสารสนเทศ ประเมินประสิทธิภาพการใช้งานของระบบ โดยใช้ค่ามาตราส่วนของลิเกิร์ต (Likert Scale) คำนวณหาค่าร้อยละของคำตอบแต่ละหัวข้อการประเมิน และหาค่าเฉลี่ยรวมของแต่ละคำตอบ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :725 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวลฎาภา แผนสุวรรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด