รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000360
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Approach for Cultural Tourism Management Through the Participation of Cultural Communities in Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ชุมชนวัฒนธรรม
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :610300
งบประมาณทั้งโครงการ :610,300.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :28 พฤศจิกายน 2555
วันสิ้นสุดโครงการ :27 พฤศจิกายน 2556
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :กระแสสังคมที่เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นรากฐานสำคัญที่ยึดคนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางภายใต้สถานการณ์ของสังคมฐานความรู้ ภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน (Community Culture) ที่ให้ความสำคัญกับชาวบ้าน เชื่อว่าชาวบ้านมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง การจัดการจากฐานคิดที่ยึดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นตัวตั้งมุ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจถึง ความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ ของคน สังคม และวิถีชีวิตของชุมชน ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ศิลปะและประเพณี ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อเสริมสร้างสิ่งใหม่และดำรงสภาพเดิม เพื่อสร้างความเข้าใจและรับรู้ความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยนำเอามิติเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานคนชุมชนเป็นเจ้าของ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดทิศทาง สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง การคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น และเกิดการเรียนรู้ระหว่างคนในและคนนอก ชุมชนวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีการกระจายตัวในพื้นที่อำเภอต่างๆ อาทิ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน กลุ่มชาติพันธุ์มอญ และชุมชนที่สัมพันธ์กับมิติทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชาติเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมากระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งในระดับจังหวัด หน่วยงานในระดับท้องถิ่นในการสืบค้นและถอดบทเรียนจากคนในพื้นที่ เกิดกลุ่มเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่นและมีการส่งเสริมกิจกรรมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดถนนคนเดินวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้าน การจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ การอนุรักษ์และฟื้นฟูการละเล่นต่างๆ การส่งเสริมกลุ่มอาชีพสตรีตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มพัฒนาผู้สูงอายุ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะลาและกลุ่มเยาวชนเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี และในปี พ.ศ.2551-2553 ชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทอง และชุมชนเขาไม้เดน ได้มีการพัฒนาหมู่บ้านเกิดการจัดการชุมชนในเชิงกายภาพ (คุ้ม) และทางแกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล ได้ร่วมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาหมู่บ้านในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชุมชนเป็นตัวตั้งในการพัฒนา โดยมีการประสานความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สภาวัฒนธรรมอำเภอ และสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ จากเหตุผลดังกล่าว ทีมนักวิจัยเห็นว่าการอนุรักษ์ พัฒนาเพื่อต่อยอดวัฒนธรรมโดยการนำมิติทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ โดยอาศัยวิธีการพัฒนาท้องถิ่น (Means)ที่ยึดชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาร่วมกับองค์การท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายอาศัยกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทและทุนทางสังคมของชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เกิดการตระหนักเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมเพื่อรองรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น และเพื่อแสวงหาแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรท้องถิ่น
จุดเด่นของโครงการ :เน้นการสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นในพื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทองและชุมชนประวัติศาสตร์บ้านเขาไม้เดนเพื่อรองรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแลท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทและทุนทางสังคมของชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทองและชุมชนประวัติศาสตร์บ้านเขาไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ 3) เพื่อแสวงหาแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทองและชุมชนประวัติศาสตร์บ้านเขาไม้เดน โดยเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านพื้นที่ กำหนดพื้นที่ชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ตำบลหัวถนนอำเภอท่าตะโก ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรีและชุมชนประวัติศาสตร์บ้านเขาไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตเนื้อหา งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสถานภาพชุมชนวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี งานภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทอง และชุมชนวัฒนธรรมเขาไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในด้านความพร้อม ความมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ได้แก่ คุณค่าทางการเรียนรู้ ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านบุคลากร ด้านการรองรับของชุมชนและด้านสภาพแวดล้อม รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทและทุนทางสังคมของชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทอง และชุมชนประวัติศาสตร์บ้านเขาไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1) ได้ชุดความรู้เกี่ยวกับศักยภาพชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทองและชุมชนประวัติศาสตร์บ้านเขาไม้เดนในการการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น 2) ได้รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทและทุนทางสังคมของชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน ชุมชนวัฒนธรรมบ้านเขาทอง และชุมชนประวัติศาสตร์บ้านเขาไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ 3)ได้แนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมในสังคมไทย มีส่วนในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามที่บ่งบอกถึงคุณค่าที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีรูปแบบที่หลากหลาย เอนก นาคะบุตร (อ้างถึงใน ณัฐกานต์ จิตรวัฒนา, 2546, หน้า 15) ประกอบด้วยทุนทางสังคมมี 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) จิตวิญญาณ ระบบคุณค่า สำนึกท้องถิ่น ความภาคภูมิใจที่มีต่อท้องถิ่นฐานบ้านเกิดรวมเรียกว่า spirit capital 2) ทุนทางภูมิปัญญา เป็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ และสามารถนำมาใช้ได้ เป็นมรดกของแผ่นดิน 3) ทรัพยากรมนุษย์ เป็นทุนที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ผู้นำทางความคิดทั้งในชนบทและในเมืองเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีวันหมดสิน เป็นบุคคลที่มีความสามารถและมีความพร้อมที่จะปรับตัวเข้าสู่ความร่วมมือในระดับต่างๆ 4) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในการสร้างฐานอาชีพ ฐานเศรษฐกิจ ฐานการมีชีวิตรอดของชุมชน 5) การจัดการกองทุนสาธารณะ เป็นการจัดการทุนทางเศรษฐกิจ และชี้ให้เห็นถึงการระดมทุน World Banks (2000) ได้ทำการศึกษาเรื่องทุนทางสังคมไว้โดยกล่าวถึงทุนทางสังคมในบริบทสังคมไทยในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจว่ามีมุมมองเรื่องแหล่งทุนทางสังคมที่ต่างจากประเทศอื่น ๆ คือ 1) บรรทัดฐาน ชาติพันธุ์การให้คุณค่าและความเชื่อที่มีต่อธรรมชาติในการดูแลรักษาและปกป้อง 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น 3)โครงสร้างสังคมที่เอื้ออาทร การแลกเปลี่ยนแรงงานที่ให้ความช่วยเหลือระหว่างกันของกลุ่มและชุมชน 4) สิทธิในการจัดการทรัพยากรร่วมกัน 5) ความหลากหลายในวัฒนธรรมที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ให้ชุมชน จากแนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมในสังคมไทย แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของทุนทางสังคมที่เป็นระบบคุณค่า สำนึกท้องถิ่น ความภาคภูมิใจที่มีต่อท้องถิ่นฐานบ้านเกิด การให้คุณค่าและความเชื่อที่มีต่อธรรมชาติ การสืบสานภูมิปัญญา การเสริมสร้างความร่วมมือของกลุ่ม องค์กร และชุมชนในความหลากหลายของวัฒนธรรมอันนำมาสู่การสร้างความรู้ ต่อยอดความรู้ เกิดการตระหนักในทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง การต่อยอดจากทุนทางสังคมอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญผ่าน (1) เครือข่าย (network) (2) กลุ่ม สมาชิกต่างๆ ให้แก่กัน และ (3) มาตรการการลงโทษ (section) และการให้รางวัล ที่ช่วยรักษาบรรทัดฐาน และเครือข่ายไว้ให้ดำรงอยู่ องค์ประกอบทั้ง 3 เป็นที่ยอมรับในเกือบทุกรูปแบบขององค์กรทางสังคม โดยเฉพาะชุมชนดั้งเดิมหรือชุมชนพื้นฐานที่ประกอบกันขึ้นเป็นชุมชน โดยองค์ประกอบ 3 ด้านมีบทบาทและยึดโยงให้เกิดทุนทางสังคม ดังนี้ 1) ทุนมนุษย์ มีบทบาทหลักในการพัฒนาประเทศ ที่ต้องได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ซึ่งประกอบด้วย (1) ด้านสุขภาพ ที่มุ่งให้คนมีร่างกายแข็งแรงสามารถดูแลตนเองได้ (2) ด้านจิตใจ ให้เป็นคนที่มีจิตใจดี มีน้ำใจ เอื้ออาทร เคารพกฎเกณฑ์ของสังคมแระรักชาติ และ (3) ด้านสติปัญญาให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและร่วมกันเป็นกลุ่ม 2) ทุนสถาบัน มีบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดพลังในชุมชน ประกอบด้วย (1) สถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐาน ที่ให้คนรู้จักผิดชอบชั่วดี (2) สถาบันศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจ (3) สถาบันการเมืองการปกครอง ทำหน้าที่ดูแลสังคมให้เป็นระเบียบ 3) ทุนทางปัญญาและวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมายาวนานและเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้น ๆ ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ โดยอยู่ในรูปของความเชื่อ ความศรัทธา จารีตประเพณีที่ดีงาม ค่านิยม ความเป็นไทย นอกจากนี้ ยังมีในรูปของแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถานฯลฯวัฒนธรรมเป็นตัวยึดโยงคนในสังคมให้ตระหนักถึงรากเหง้าของตนเอง ทำให้เกิดความหลากหลายของความรู้ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้และสร้างสมดุมในการอยู่ร่วมกันของคนและธรรมชาติ จากองค์ประกอบของทุนทางสังคมดังกล่าว มีความสำคัญในการค้นหาศักยภาพของชุมชนวัฒนธรรม ชุมชนประวัติศาสตร์ในด้านต่าง ๆ อาทิ ความรู้ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ประเวศ วะสี (2549 หน้า 22) ได้กล่าวถึงระบบการเรียนรู้ที่ครบวงจรเพื่อยกระดับสมรรถนะของมนุษย์เพื่อให้พ้นวิกฤต ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้จากการทำจริง ปฏิบัติจริง ในฐานวัฒนธรรม หรือฐานชีวิต 2)ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ 3)ความรู้หรือปัญญาที่สูงขึ้น 4) จิตตปัญญาศึกษา 5)ทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเป็นอิทธิปัญญา และ 6) กระบวนการจัดการความรู้ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2547 หน้า 53 ) ที่กล่าวถึงการจัดการด้านความรู้ของชุมชน หรือความรู้ท้องถิ่น มีลักษณะเฉพาะ 4 ประการ 1) มีลักษณะเป็นความรู้เชิงปฏิบัติ 2)มีมุมมองเกี่ยวกับศาสนธรรม 3)ความรู้ท้องถิ่นเป็นความรู้ที่ตอบปัญหาเฉพาะถิ่น 4)ความรู้ท้องถิ่นมักไม่อยู่ในรูปลายลักษณ์อักษร การสะท้อนการทำงานด้านการพัฒนาชุมชนทั่วประเทศ ที่นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน หรือชุมชนที่พึ่งตนเองได้ มีปัจจัยสำคัญ หรือคุณลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์กัน คือ (1) เป็นชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเรียนรู้ที่เรียนรู้ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาและพัฒนาตัวเอง ( 2)เป็นชุมชนที่ตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระ (3) เป็นชุมชนที่บริหารจัดการ “ทุน”ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และ (๔)เป็นชุมชนที่มี “ธรรมาภิบาล” (เสรี พงศ์พิศ. 2550 หน้า 105 ) ที่อาศัยทุนทางสังคม ที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดมาให้ อาศัยการพึ่งพาตนเอง และพึ่งพากันเอง มีจารีตมีประเพณี มีฮีตมีครอง มีการจัดความสัมพันธ์ เชิงพื้นที่ตามประเด็น ความสนใจ และปัญหา สร้าง "ขบวนการ" (movement) ที่เคลื่อนไหวเป็นหัวใจ คือ จิตวิญญาณ (spirit) ในลักษณะความสัมพันธ์แนวราบ โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเป็นปัจจัยที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิต ที่สมาชิกในชุมชนเข้ามารวมกลุ่มคิดวิเคราะห์ปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ วิเคราะห์ทางเลือกของการแก้ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา และสรุปบทเรียน อันก่อให้เกิดการยกระดับสติปัญญาในการแก้ปัญหาของชุมชนให้สูงขึ้น กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่นำไปสู่ศักยภาพในการจัดการชุมชนวัฒนธรรมและชุมชนประวัติศาสตร์สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นจำต้องมีลักษณะที่สำคัญ (1) เป็นกระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้ของแต่ละคนจะเกิดขึ้นในกระบวนการที่ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างคนในชุมชนด้วยกัน (2) เป็นการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา และหาแนวทางการแก้ไขและนำกลับไปลงมือปฏิบัติ เรียกว่า กระบวนการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์จากการร่วมกระทำร่วมกัน (Interactive Learning Through Action) (3)เป็นการเรียนรู้จากปัญหาในชีวิตจริง (Problem Oriented) และเป็นการเรียนรู้เพื่อพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง การเรียนรู้ของชุมชนจึงมิได้มีความหมายเพียงยกระดับความคิดสติปัญญาของคนในชุมชน แต่ยังหมายถึงการช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต อันเป็นผลที่คนในชุมชนสามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้เมื่อชุมชนสามารถช่วยแก้ปัญหาของตนเองได้ ความมั่นใจในศักยภาพของตนเองก็จะสูงขึ้นและกล้าที่จะริเริ่มคิดค้นหาทางเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาชุมชนของตนเองให้ดีขึ้น และ (4) เป็นการเรียนรู้และทำงานร่วมกันในลักษณะเป็นเครือข่าย เครือข่ายเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ในแนวทางราบมากกว่าแนวดิ่ง ความเชื่อมโยงระหว่างคนที่เข้ามาสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกัน การแลกเปลี่ยนความคิดและ/หรือทรัพยากรระหว่างกันและกันตามความสมัครใจ มีการช่วยเหลือกัน มีการติดต่อสื่อสารถึงกันสม่ำเสมอ (สีลาภรณ์ นาครทรรพ. 2539, หน้า 61 – 64) ทั้งนี้ อาศัยองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนสู่การจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบ 3 ประการ (สีลาภรณ์ นาครทรรพ. 2539, หน้า 225) ได้อธิบายองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ฐานการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งของการเรียนรู้ของชุมชนที่มีอยู่รอบตัว ทั้งในครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชน และต่างชุมชน ในธรรมชาติ เช่นเดียวกับผู้ให้การเรียนรู้มีมากมายทั้งพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่ป้า น้าอา เพื่อน พระหรือนักบวชหรือผู้นำศาสนา ครู ช่าง พ่อค้า หมอพื้นบ้าน แม้กระทั่งต้นไม้ สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง ฯลฯ รวมทั้งเครือข่ายและองค์กรชาวบ้าน ตลอดสถาบันการเรียนรู้ของชุมชน และทรัพยากรอื่น ๆ 2) เนื้อหา/องค์ความรู้ เนื้อหาความรู้ของการเรียนรู้ของชุมชนจะกำหนดจากความต้องการและความจำเป็นของชุมชน เป็นหลักและเป็นเนื้อหาในเชิงปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี คือ เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม เพราะหวังผลในการนำไปใช้ในวิถีชีวิตจริงด้านต่าง ๆ ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผินแล้ว อาจคิดว่าการเรียนรู้ของชุมชนไม่มีเนื้อหา แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับครอบคลุมเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วน เพียงแต่เนื้อหาเหล่านี้มิได้แยกออกมาเป็นรายวิชา หากแต่สอดแทรกอยู่ในการดำรงชีวิตจริงแต่ละด้าน เช่น วิชาเศรษฐศาสตร์เรียนรู้จากการผลิตการบริโภคและแลกเปลี่ยนผลผลิต ฯลฯ วิชารัฐศาสตร์เรียนรู้จากการปกครองภายในชุมชน วิชาจิตวิทยาเรียนรู้จากการติดต่อสัมพันธ์และอยู่อาศัย ทำงานร่วมกัน วิชานิเวศวิทยาเรียนรู้จากการทำนาทำสวน เรียนรู้จากธรรมชาติ เทคโนโลยี เรียนรู้จากการแสวงหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำรงชีวิต เป็นต้น 3) กิจกรรมการเรียนรู้มีหลาก
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ผู้วิจัยสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ดังแผนภูมิที่ 1.3
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ขั้นตอนการดำเนินงาน 1) ขั้นการเตรียมความพร้อมได้แก่ การเตรียมการประชุมชี้แจงโครงการระหว่างทีมนักวิจัยส่วนกลางและนักวิจัยในพื้นที่ จัดประชุมเตรียมการกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน จัดเวทีระดมความคิดเห็นร่วมกันเพื่อจัดทำเครื่องมือในการเก็บข้อมูลองค์ความรู้และการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพองค์ความรู้ 2) ขั้นค้นหาศักยภาพและแนวทางการพัฒนา ได้แก่ จัดเวทีระดมความคิดและถอดบทเรียนวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เป้าหมาย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชนและการพัฒนาเชิงพื้นที่ และการพัฒนาและเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน 3) ขั้นการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ชุมชน ได้แก่ จัดเวทีระดมความคิดและถอดบทเรียนเกี่ยวกับศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยจัดกิจกรรมและการดำเนินการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน และถอดบทเรียนองค์ความรู้ในการดำเนินการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :264 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
-วรภพ วงค์รอด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด