รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000359
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาลำต้นมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตกลูโคส
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :A study on cassava stem as substrate for glucose production
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ต้นมันสำปะหลัง การระเบิดด้วยไอน้ำ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :มันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชหัว จัดว่าเป็นพืชอาหารที่สำคัญของโลก มีชื่อเรียกในปริเวณต่างๆของโลกที่ต่างกันออกไป เช่น Cassava Yuca Mandioa Manioc และ Tapioca มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน (Lowland tropics) (Department of Agriculture, 2009) ส่วนหัวหรือรากของมันสำปะหลังนั้น มีความยาวพอสมควร สามารถยึดกับดินได้แน่น มีผิวค่อนข้างหยาบ สีน้ำตาล กว้างประมาณ 5 ถึง 10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15 ถึง 30 เซนติเมตร เนื้อด้านในมีสีขาวคล้ายชอล์ก มีแป้งเป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ยังพบว่ามีแร่ธาตุอื่นๆร่วมด้วย เช่น แคลเซียม (50 มก./100 ก.) ฟอสฟอรัส (40 มก./100 ก.) วิตามินซี (25 มก./100 ก.) นอกจากคาร์โบไฮเดรตและแร่ธาตุที่กล่าวมายัง พบว่าบริเวณหัวนั้นมีองค์ประกอบของโปรตีนและธาตุอื่นๆอีกเพียงเล็กน้อย ต่างจากบริเวณใบของต้นมันสำปะหลังกลับพบโปรตีนชนิดไลซีนในปริมาณสูงอยู่รวมกับเมไธโอนีนกับทริปโตแฟนอีกเล็กน้อย (Ravindran ? Velmerugu, 1992) มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีปริมาณสารอาหารที่สูง มีรายงานพบว่าในหลายประเทศมีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการนำเอามันสำปะหลังมาใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตเป็นน้ำตาลกลูโคสเพื่อในการผลิตเอทานอล โดยเฉพาะส่วนรากหรือหัวมันสำปะหลังที่อุดมไปด้วยแป้ง อย่างไรก็ตามมันสำปะหลังถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้แปรรูปเป็นอาหาร เมื่อปลูกเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารได้ จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามีการศึกษาในส่วนของลำต้นและเปลือกของมันสำปะหลังด้วยการใช้กรดและด่างในการปรับสภาพวัตถุดิบ (pretreatment) เพื่อศึกษาปริมาณแป้งที่อยู่ในลำต้นและเปลือกของมันสำปะหลัง แต่ยังไม่มีการศึกษาปริมาณเซลลูโลสที่อยู่ในลำต้นมาก่อน (Nuwamanya et al., 2012) ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าต้นมัน นั้นมีความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณเซลลูโลสในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเอทานอลเช่นเดียวกันกับพืชกลุ่มไม้เนื้ออ่อนอื่นๆดังที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ เช่น หญ้าจักรพรรดิ ที่มีสัดส่วนเซลลูโลสที่ประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง อ้อยป่าที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนัก ผักตบชวา ที่ 31 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง ต้นธูปฤาษี ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง กระถินยักษ์ที่ 37 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง (Phaiboon et al., 2012) มีรายงานว่าในหลายประเทศมีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการนำเอามันสำปะหลังมาใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตเป็นน้ำตาลกลูโคสเพื่อในการผลิตเอทานอล โดยเฉพาะส่วนของหัวมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นแหล่งของแป้งที่ถูกจัดเป็นชีวมวลปฐมภูมิ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบรายงานการศึกษาในส่วนของลำต้นมันสำปะหลังเพื่อพิจารณานำมาใช้เป็นชีวมวลทุติยภูมิสำหรับผลิตน้ำตาลกลูโคสเพื่อนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตเอทานอลหรือสารอื่นๆ
จุดเด่นของโครงการ :งานวิจัยในครั้งนี้จะศึกษาส่วนที่เป็นลำต้นของมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือทิ้งจากการทำเกษตรกรรม เนื่องจากส่วนของลำต้นนั้น ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เมื่อเหลือจากการใช้เป็นกล้าปักชำในรุ่นต่อไป จะกลายเป็นสิ่งที่ต้องทำลายทิ้งในแต่ละปีของการเพาะปลูก ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ภายใต้ฐานการวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าให้กับสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้ เพราะนอกจากจะเป็นการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะและสิ่งเหลือทิ้งอันเกิดจากการทำเกษตรกรรมอีกด้วย อีกประการสำคัญคือในท้องถิ่น (จังหวัดนครสวรรค์) นั้น สามารถหาลำต้นของมันสำปะหลังได้ในปริมาณมากและมีค่าใช้จ่ายน้อยอีกด้วย จึงเป็นที่สนใจของผู้วิจัยในการนำลำต้นของมันสำปะหลังมาทำการปรับสภาพเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกลูโคสเพื่อหมักเป็นเอทานอลหรือใช้ประโยชน์อื่นๆต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อให้ทราบองค์ประกอบหลัก ได้แก่ โฮโลเซลลูโลส แอลฟาเซลลูโลส และลิกนิน ในต้นมันสำปะหลัง 2. เพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมเซลลูโลสจากต้นมันสำปะหลัง เพื่อใช้เป็นซับสเตรทในการผลิตกลูโคส
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมเซลลูโลสจากต้นมันสำปะหลัง โดยการปรับสภาพด้วยการระเบิดด้วยไอน้ำเพื่อแยกองค์ประกอบหลักเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินออกจากกัน จากนั้นนำต้นมันสำปะหลังทั้งก่อนและหลังการปรับสภาพไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ โฮโลเซลลูโลส แอลฟาเซลลูโลส และลิกนิน เพื่อให้ทราบถึงความเป็นไปได้ในการนำเซลลูโลสที่ได้จากต้นมันสำปะหลังไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้องค์ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดได้ เช่น ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจเลือกวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลชนิดต่างๆ 2. เป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้ง 3. สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุม/สัมมนาภายในประเทศ และ/หรือในวารสารวิชาการนานาชาติ ได้แก่ Bioresource เป็นต้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :จากการศึกษาในปัจจุบัน พบว่ามีการนำเอาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรรวมทั้งวัชพืชต่างๆหลายชนิดมาใช้สำหรับเป็นแหล่งผลิตเอทานอล ไม่ว่าจะเป็น กระถินยักษ์ ข้าวนาหว่าน ธูปฤาษี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จอก แหน ปาล์มน้ำมัน ปอสา ผักตบชวา ยูคาลิปตัส หญ้าจักรพรรดิ หญ้าเนเปียร์ อ้อยป่าเป็นต้น (Phaiboon et al., 2012) เนื่องจากลิกโนเซลลูโลสที่อยู่ในต้นพืชต่างๆ สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการทางชีวภาพหรือกระบวนการทางเคมีจนได้เป็นน้ำตาลกลูโคส ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับกระบวนการหมักเอทานอลได้ ลิกโนเซลลูโลสในพืชถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการหมักและจัดเป็นชีวมวลทุติยภูมิ (2nd generation biomass) ที่มีความเหมาะสมสำหรับการหมักเอทานอลรองลงมาจากกลุ่มแป้ง และน้ำตาล ที่ถูกจัดเป็นชีวมวลปฐมภูมิ (1st generation biomass) โดยมีคุณสมบัติเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของลิกนิน เฮมิเซลลูโลส และเซลลูโลส ที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์พืช และจัดเป็นเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายในน้ำ โดยลิกโนเซลลูโลสนั้นประกอบไปด้วปริมาณของเซลลูโลสที่ 23-53 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลสที่ 20-35 เปอร์เซ็นต์ ลิกนินที่ 10-25 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลือเป็นสารอื่นๆ กรรมวิธีในการผลิตน้ำตาลกลูโคสจากพืชดังกล่าวอาศัยกระบวนการแยกองค์ประกอบหลักเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและลิกนินออกจากกัน จากนั้นนำเซลลูโลสซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักไปผ่านกระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลสให้ได้น้ำตาลกลูโคสออกมาในท้ายที่สุด มันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชหัว จัดว่าเป็นพืชอาหารที่สำคัญของโลก มีชื่อเรียกในปริเวณต่างๆของโลกที่ต่างกันออกไป เช่น Cassava Yuca Mandioa Manioc และ Tapioca มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน (Lowland tropics) (Department of Agriculture, 2009) ส่วนหัวหรือรากของมันสำปะหลังนั้น มีความยาวพอสมควร สามารถยึดกับดินได้แน่น มีผิวค่อนข้างหยาบ สีน้ำตาล กว้างประมาณ 5 ถึง 10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15 ถึง 30 เซนติเมตร เนื้อด้านในมีสีขาวคล้ายชอล์ก มีแป้งเป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ยังพบว่ามีแร่ธาตุอื่นๆร่วมด้วย เช่น แคลเซียม (50 มก./100 ก.) ฟอสฟอรัส (40 มก./100 ก.) วิตามินซี (25 มก./100 ก.) นอกจากคาร์โบไฮเดรตและแร่ธาตุที่กล่าวมายัง พบว่าบริเวณหัวนั้นมีองค์ประกอบของโปรตีนและธาตุอื่นๆอีกเพียงเล็กน้อย ต่างจากบริเวณใบของต้นมันสำปะหลังกลับพบโปรตีนชนิดไลซีนในปริมาณสูงอยู่รวมกับเมไธโอนีนกับทริปโตแฟนอีกเล็กน้อย (Ravindran ? Velmerugu, 1992) มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีปริมาณสารอาหารที่สูง มีรายงานพบว่าในหลายประเทศมีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการนำเอามันสำปะหลังมาใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตเป็นน้ำตาลกลูโคสเพื่อในการผลิตเอทานอล โดยเฉพาะส่วนรากหรือหัวมันสำปะหลังที่อุดมไปด้วยแป้ง อย่างไรก็ตามมันสำปะหลังถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้แปรรูปเป็นอาหาร เมื่อปลูกเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารได้ จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามีการศึกษาในส่วนของลำต้นและเปลือกของมันสำปะหลังด้วยการใช้กรดและด่างในการปรับสภาพวัตถุดิบ (pretreatment) เพื่อศึกษาปริมาณแป้งที่อยู่ในลำต้นและเปลือกของมันสำปะหลัง แต่ยังไม่มีการศึกษาปริมาณเซลลูโลสที่อยู่ในลำต้นมาก่อน (Nuwamanya et al., 2012) ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าต้นมัน นั้นมีความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณเซลลูโลสในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเอทานอลเช่นเดียวกันกับพืชกลุ่มไม้เนื้ออ่อนอื่นๆดังที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ เช่น หญ้าจักรพรรดิ ที่มีสัดส่วนเซลลูโลสที่ประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง อ้อยป่าที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนัก ผักตบชวา ที่ 31 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง ต้นธูปฤาษี ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง กระถินยักษ์ที่ 37 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง (Phaiboon et al., 2012) มีรายงานว่าในหลายประเทศมีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการนำเอามันสำปะหลังมาใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตเป็นน้ำตาลกลูโคสเพื่อในการผลิตเอทานอล โดยเฉพาะส่วนของหัวมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นแหล่งของแป้งที่ถูกจัดเป็นชีวมวลปฐมภูมิ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบรายงานการศึกษาในส่วนของลำต้นมันสำปะหลังเพื่อพิจารณานำมาใช้เป็นชีวมวลทุติยภูมิสำหรับผลิตน้ำตาลกลูโคสเพื่อนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตเอทานอลหรือสารอื่นๆ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีปริมาณสารอาหารที่สูง มีรายงานว่าในหลายประเทศมีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการนำเอามันสำปะหลังมาใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตเป็นน้ำตาลกลูโคสเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอล โดยเฉพาะส่วนรากหรือหัวมันสำปะหลังที่อุดมไปด้วยแป้ง อย่างไรก็ตามมันสำปะหลังถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้แปรรูปเป็นอาหาร เมื่อปลูกเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังไม่พบรายงานการศึกษาในส่วนของลำต้นมันสำปะหลัง ซึ่งคาดว่าต้นมันสำปะหลังซึ่งจัดอยู่ใน วงศ์ Euphorbiaceae นั้นมีความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณเซลลูโลสในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเอทานอล เช่นเดียวกันกับวัชพืชอื่นๆ ดังที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ เช่น หญ้าจักรพรรดิ ที่มีสัดส่วนเซลลูโลสประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง อ้อยป่า 42 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ผักตบชวา 31 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ต้นธูปฤาษี 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง กระถินยักษ์ที่ 37 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง (พรชัย ไพบูลย์ และคณะ, 2555)
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. การเตรียมต้นมันสำปะหลัง ต้นมันสำปะหลังที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรหลังเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง และเหลือจากการคัดเลือกสำหรับทำกล้าพันธุ์ของเกษตรกรในพื้นที่ในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ นำตัวอย่างต้นมันสำปะหลังสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณ 2-3 เซ็นติเมตร นำไปทำให้แห้ง จากนั้นบดให้ละเอียด และวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส สารแทรก ลิกนิน ตามมาตรฐาน TAPPI (Anonymous, 2002) ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการวิเคราะห์แสดงดังภาพที่ 1 - ปริมาณแอลฟาเซลลูโลส โดยวิธีมาตรฐาน TAPPI T203 om-88 - ปริมาณโฮโลเซลลูโลส โดยวิธีมาตรฐานของ Browning’s acid chlorite method (1967) - ปริมาณลิกนิน โดยวิธีมาตรฐาน TAPPI T222 om-982 2. การหาสภาวะการระเบิดด้วยไอน้ำที่เหมาะสมในการเตรียมเซลลูโลสจากต้นมันสำปะหลัง การระเบิดด้วยไอน้ำ (Steam explosion) เป็นการปรับสภาพวัตถุดิบโดยใช้ความร้อนที่ความดันและอุณหภูมิสูง (20-60 บาร์/160-290 ?ซ ) (Neves et al., 2007) โดยมีหลักการสำคัญคือ วัตถุดิบที่ใช้จะถูกผสมกับไอน้ำอิ่มตัวที่ความดันสูง แล้วทำการลดความดัน อย่างรวดเร็ว เป็นผลให้เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน แยกตัวออกจากกัน โดยเฮมิเซลลูโสจะละลายในน้ำ (solution) (Pawongrat, 2015) กลไกการทำงานของปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในเครื่องระเบิดด้วยไอน้ำ คือ ไอน้ำที่อุณหภูมิสูงจะทำให้หมู่อะเซติล (Acetyl group) ของโมเลกุลเฮมิเซลลูโลสชนิดไซแลนกลายเป็นกรดอะซิติก ซึ่งกรดอะซิติกจะทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสโมเลกุลของไซแลนให้เกิดเป็นไซโลส (xylose) และโอลิโกไซโลส (oligoxylose) โดยระหว่างกระบวนการจะมีการควบคุมความรุนแรงของสภาวะการระเบิดด้วยไอน้ำ เนื่องจากหากสภาวะ การระเบิดด้วยไอน้ำรุนแรงเกินไป อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาดีไฮเดรชันทำให้โมเลกุลของไซโลสกลายเป็นเฟอร์ฟูรอล และการเกิดไฮโดรไลซิสโมเลกุลของเซลลูโลสเป็นกลูโคส และสลายพันธะโมเลกุลของลิกนินให้กลายเป็นลิกนินที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเกิดขึ้นได้ ดังนั้นในการระเบิดด้วยไอน้ำผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในสารละลายเฮมิเซลลูโลสก็คือ ไซโลส โอลิโกเมอร์ของไซโลส เฟอร์ฟูรอล HMF กลูโคส และสารประกอบฟีนอลิก ที่เกิดจากการสลายตัวของลิกนิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการระเบิดด้วยไอน้ำเพื่อให้สามารถแยกองค์ประกอบหลักของลิกโนเซลลูโลสได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมเซลลูโลสจากต้นมันสำปะหลัง โดยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำเพื่อแยกองค์ประกอบหลักเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินออกจากกัน จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ด้วย วิธีมาตรฐาน TAPPI และ Browning’s acid chlorite method เพื่อหาปริมาณโฮโลเซลลูโลส แอลฟาเซลลูโลส และลิกนิน ผลการศึกษาผู้วิจัยพบว่า วัตถุดิบอบแห้งก่อนการปรับสภาพ มีปริมาณแอลฟาเซลลูโลสประมาณ 38 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนักแห้ง) เฮมิเซลลูโลส 31 เปอร์เซ็นต์ และลิกนิน 22 เปอร์เซ็นต์ หลังการปรับสภาพโดยการระเบิดด้วยไอน้ำที่ 195 ?ซ 5 นาที มีปริมาณแอลฟาเซลลูโลสเพิ่มขึ้นเป็น 88 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของหลังการปรับสภาพโดยการระเบิดด้วยไอน้ำที่ 210 ?ซ 5 นาที พบว่ามีปริมาณแอลฟาเซลลูโลสประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ จากผลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการระเบิดด้วยไอน้ำที่สภาวะ 210 ?ซ 5 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสม โดยให้ปริมาณแอลฟาเซลลูโลสสูงที่สุด งานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของต้นมันสำปะหลังในการนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกลูโคสในอนาคต
จำนวนเข้าชมโครงการ :1639 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายนันทวุฒิ นิยมวงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด