รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000357
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาประสิทธิภาพและพัฒนาระบบเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบต่อโดยตรงกับแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในภาคเกษตรกรรม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Study Performance and Development of Photovoltaic Water Pumping System Connected Directly to the Solar Panels Suitable for Use in the Agricultural Sector
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ระบบสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :90000
งบประมาณทั้งโครงการ :90,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ เป็นต้นกำเนิดของวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตในโลก พลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูงปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด (วีระชาติ, 2555) การนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้โดยตรงเป็นพลังงานปฐมภูมิ ในรูปของพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า และพลังงานแสงสว่าง การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์โดยตรง โดยเป็นแหล่งพลังงานปฐมภูมิ โดยสามารถประยุกต์ได้ 2 แนวทาง คือ การประยุกต์ในทางความร้อน และการประยุกต์ในทางไฟฟ้า (วรนุช แจ้งสว่าง) ซึ่งการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า มีเทคโนโลยีคือการใช้อุปกรณ์เซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์รวมแสงอาทิตย์ มาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานในระบบต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ และนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ การสูบน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้น้ำมาใช้เพื่อการบริโภคและอุปโภคทั้งในภาคครัวเรือนและภาคการเกษตร เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางด้านอาหาร น้ำดื่ม และเกษตรกรรมถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากสำหรับประเทศไทย โดยมีปั๊มสูบน้ำเป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งปั๊มน้ำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น ปั๊มหอยโข่ง ปั๊มชัก ปั๊มจุ่ม เป็นต้น แต่ปั๊มน้ำส่วนใหญ่ที่ใช้ในครัวเรือนและในการเกษตรจะเป็นปั๊มที่ทำงานด้วยระบบไฟฟ้ากระแสสลับ หรือใช้เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนให้ปั๊มทำงาน ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นอันเนื่องมาจากค่าไฟฟ้าและน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรเองก็ต้องพยายามหาวิธีการจัดการน้ำที่ยั่งยืนในระยะยาว เกษตรกรในพื้นที่จึงทำให้มีความพยายามในการแสวงหาพลังงานทางเลือกที่สามารถนำมาทดแทนในการขับเคลื่อนปั๊มสูบน้ำ ซึ่งในปัจจุบันแผงโซลาเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนแสงแดดเป็นไฟฟ้าเริ่มเป็นที่นิยมและมีราคาถูกลง จึงทำให้ปั๊มสูบน้ำที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้รับความสนใจสำหรับครัวเรือนภาคเกษตรกรรม ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการออกแบบและพัฒนาปั๊มสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หลากหลายแบบ การนำเอาโซลาร์เซลล์มาใช้กับปั๊มสูบน้ำนั้นมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น การต่อปั๊มน้ำจากแผงโซลาร์เซลล์โดยตรงมีแบบเตอรี่ และแบบไม่มีแบตเตอรี่ การต่อปั๊มผ่านแบบอินเวอร์ทเตอร์ใช้ไฟกระแสสลับหรือ ปั๊มที่ใช้ไฟแบบกระแสตรง เป็นต้น โดยแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งยังไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิค ความเหมาะสม และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ต้องมีความเข้าใจเรื่องแหล่งน้ำที่เราจะสูบ ประเภทและชนิดของปั๊มสูบน้ำที่จะเลือกใช้กับโซลาร์เซลล์ ปริมาณน้ำและความสูงระดับน้ำที่เราต้องการสูบ การกำหนดขนาดและการออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ที่ใช้ปั๊มสูบน้ำ ทั้งหมดนี้ให้เหมาะสมเพื่อให้ปั๊มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด
จุดเด่นของโครงการ :นำพลังงานทดแทนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการงานอาชีพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2. เพื่อหาอัตราการใช้พลังงานของระบบเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ขอบเขตของโครงการ :1. พื้นที่ที่ทำการวิจัย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี 2. ขอบเขตเวลา ทดสอบระบบที่มีแสงแดดประมาณช่วงเวลา 09.00-15.00 น. 3. ขอบเขตของระบบการสูบน้ำ - แหล่งน้ำที่ใช้เป็นแหล่งน้ำผิวดิน หนอง แม่น้ำ คลอง บึง บ่อน้ำ - ปั๊มน้ำ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง - แหล่งพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ - ปั๊มสูบน้ำต่อโดยตรงกับแผงโซลาร์เซลล์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. เป็นต้นแบบใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ สําหรับครัวเรือนภาคเกษตรกรรม เพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คลอง อ่างเก็บน้ำ บึง บ่อบาดาลตื้น 2. เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ สร้างองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสําหรับการพัฒนาระบบการสูบน้ำด้วยเทคโนโลยีโซล่าเซลล์ ที่สามารถนํามาใช้เป็นสื่อการสอน เป็นสื่อกลางสําหรับชี้นําและสนับสนุนการใช้โซล่าเซลล์ให้เกิดประโยชน์อย่างแพร่หลาย ในงานด้านเกษตรกรรม 3. ได้แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรและใช้ประโยชน์ระบบสูบน้ำด้วยโซลาร์เซลล์ให้มีความคุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งานในภาคเกษตรกรรม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์มีทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้ เจษฎา วรรณศรี วัชรพันธ์ อินทรมาศ และ สุรวุฒิ ยะนิล (2558) ได้ศึกษาออกแบบสร้างเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ส่งกำลังจากมอเตอร์กระแสตรงไปยังปั๊มน้ำด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติ CVT ของรถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติ โดยผลการวิจัยพบว่า ชุด CVT สามารถเพิ่มความเร็วรอบของปั๊มทำให้อัตราการไหลของปั๊มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3 ลิตรต่อนาที และมอเตอร์สามารถลดปริมาณการใช้กระแสไฟลงด้วย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ มานพ พิภพหัตถกุล และวีนัส ทัดเนียม (2554) ที่ศึกษาผลกระทบของความเร็วรอบที่มีต่อสมรรถปั๊ม โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส เป็นต้นกำลังควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์แบบอินเวอร์เตอร์ ผลการวิจัยพบว่าเฮดสูงสุดที่ปั๊มทําได้เมื่ออัตราการไหลเป็นศูนย์ ได้ 16.63 เมตร ที่ความเร็วรอบ 2,235 รอบต่อนาที และเมื่อความเร็วรอบลดลง จะทําให้อัตราการไหลและเฮด ลดลง และเมื่อความเร็วรอบเพิ่มขึ้น จะทําให้อัตราการไหลและเฮดเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพสูงสุดของ ระบบเท่ากับ 47.83 เปอร์เซนต์ ที่ความเร็วรอบ 1215 รอบต่อนาที ได้ อัตราการไหล 7 ลิตรต่อวินาที และเฮด 5.18 เมตร M.Abu-Aligah (2011) ได้ศึกษาวิจัยออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์และเปรียบเทียบกับปั๊มแบบเครื่องยนต์ดีเซลล์ ผลการวิจัยพบว่าระบบสูบน้ำพลังงานแสงทิตย์มีต้นทุนการเดินเครื่องที่ต่ำ ไม่มีปัญหาการใช้งาน ค่าบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่อการใช้งาน เมื่อเทียบกับปั๊มแบบเครื่องยนต์ดีเซลล์ และเหมาะกับพื้นที่ห่างไหลจากแนวสายส่งระบบไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Abdulkadir baba hassan and Muhammadu masin muhammadu (2012) ได้ศึกษาวิจัยออกแบบและประเมินประสิทธิภาพของปั๊มพลังงานแสงอาทิตย์ ผลการวิจัยพบว่า มีประสิทธิภาพที่ดีและต้นทุนต่อกระแสไฟฟ้าต่ำ งานวิจัยของ M. Benghanem, K.O. Ddaffallah, S.N. Alamri and A.A. Joraid ได้ศึกษา วิจัย ผลกระทบของเฮดน้ำของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จากการวิจัยพบว่าเฮดน้ำที่ทดสอบมี 4 ระดับ เมื่อความเข้มแสงเพิ่มขึ้นทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มเพิ่มขึ้นและเฮดน้ำเพิ่มขึ้นด้วย จนเมื่อความเข้มแสงลดลงทำให้เฮดน้ำลดลงด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยของ N.Hamrouni, M.Jraidi and A.Cherif ได้ศึกษาวิจัยด้านความเข้มแสงและอุณหภูมิบรรยากาศ ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ผลการวิจัยพบว่าผลของความเข้มแสงที่สูงขึ้นมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบปั๊มน้ำที่เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนถ้าอุณหภูมิบรรยากาศสูงขึ้นมากจนทำให้อัตราการไหลและประสิทธิภาพลดลง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์ (Photovoltaic Pump) สำหรับประเทศไทย มีการใช้พลังงานเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือการใช้เพื่อสูบน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตร ซึ่งมีต้นทุนค่าพลังงาน (น้ำมัน/ไฟฟ้า) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรต้องหาเทคนิคอื่นๆ มาใช้ในการสูบน้ำ เทคนิคหนึ่งที่ได้รับความนิยม ได้แก่การใช้ปั๊มน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นระบบที่นำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้า ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ปัจจุบันปั๊มน้ำที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงจากแผงโซล่าเซลล์ ต้องใช้ปั๊มน้ำแบบกระแสตรง (DC Pump) ซึ่งมีขนาดกำลังขับต่ำ และไม่มีภาพแบบของปั๊มน้ำให้เลือกตามการใช้งานมากนัก การใช้ปั๊มน้ำแบบกระแสสลับ (AC Pump) ซึ่งในท้องตลาดมีให้เลือกใช้ หลายรุ่นหลายแบบ หลายกำลังขับ จำเป็นต้องใช้อินเวอเตอร์ในการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไปเป็นกระแสสลับก่อน ซึ่งข้อจำกัดของอินเวอเตอร์โดยทั่วไป คือ ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อต้องรับแรงดันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ไม่แน่นอน และบางครั้งจำเป็นต้องใช้จำนวนแผงโซล่ามากเกินความจำเป็น และทำให้ต้นทุนสูงขึ้น 2.9.1 ปัจจัยการเลือกชนิดของปั๊มสูบน้ำโซลาร์เซลล์ สำหรับใช้งาน มีดังนี้ 2.9.1.1 แหล่งน้ำ โดยพิจารณาลักษณะของแหล่งน้ำที่เราต้องการสูบน้ำขึ้นมาใช้งาน ซึ่งแหล่งน้ำนั้น มีทั้งแบบแหล่งน้ำผิวดิน ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ สระน้ำ บ่อน้ำตื้น และบ่อบาดาลตื้น บ่อบาดาลลึก เป็นต้น 2.9.1.2 ความสูงของระดับน้ำที่ต้องการใช้งาน โดยความสูงของระดับน้ำนี้รวมตั้งแต่ต้นทางลึกลงไปในแหล่งน้ำ ไปจนถึงระดับที่ต้องการใช้งานทั้งในแนวดิ่งในการเก็บไว้บนที่สูงและแนวราบในการส่งน้ำไปใช้งาน 2.9.1.3 ปริมาณน้ำที่ต้องการสูบในแต่ละวัน ประมาณความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ต่อชั่วโมงหรือต่อวัน สำหรับการเกษตรกรรม เช่น การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น แนวโน้มการใช้งานปั๊มพลังงานแสงอาทิตย์ ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ที่เกษตรกรไทยหันมานิยมใช้กันมากขึ้น ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์เป็นภาพแบบของเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ที่กำลังได้รับความนิยมในภาคการเกษตรในปัจจุบัน เพราะมีราคาต้นทุนที่ไม่สูงมาก ลงทุนครั้งเดียวสามารถใช้งานได้ยาวนานในระดับ 20-25 ปีขึ้นไป ตามอายุการใช้งานของแผงโซล่าเซลล์ สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย และเพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร มีแดดจัดอากาศร้อนอยู่แล้ว ทำให้แผงโซล่าเซลล์สามารถทำงานผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เทคโนโลยีนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรบ้านเรา น้ำคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดสำหรับบรรดาเกษตรกรทุกคนนะครับ ถ้าไม่มีน้ำเกษตรกรก็ไม่สามารถปลูกพืชทำกินได้ แต่ถึงแม้มีน้ำ ปัญหาของเกษตรกรก็ยังไม่หมดไปครับ เพราะหากแหล่งน้ำที่ต้องการนำน้ำมาใช้นั้น มีที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากที่ดินทำกินของตัวเกษตรกร หรือถ้าเป็นน้ำบาดาล แต่ก็อยู่ลึกสุดกู่ นั่นหมายถึงตัวเกษตรกรก็จำเป็นต้องใช้เครื่องสูบน้ำ ทั้งเครื่องสูบน้ำทางดิ่งและทางระนาบ สูบน้ำมาใช้ด้วยหลักการดังกล่าว เครื่องสูบน้ำหรือปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จึงถือกำเนิดขึ้น โดยเป็นการนำเอาแผงโซล่าเซลล์มาต่อเชื่อมเข้ากับเครื่องสูบน้ำแบบที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนมอเตอร์ เมื่อแผงโซล่าเซลล์รับแสงแดด และทำการแปรภาพพลังงานแสงอาทิตย์นั้นมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ก็จะส่งต่อพลังงานไฟฟ้านั้นให้แก่มอเตอร์ของเครื่องสูบน้ำ ให้เกิดการทำงาน และสามารถทำการสูบน้ำจากแหล่งน้ำมาใช้ทั้งในการเกษตรหรือการอุปโภคบริโภคได้ หลักการง่ายๆ เท่านี้เองครับ อย่างไรก็ตาม ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นี้มีข้อแม้อยู่เล็กน้อยครับ นั่นคือเครื่องสูบน้ำที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนมอเตอร์ทั่วไปในท้องตลาด ณ เวลานี้ มีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ นั่นคือ เครื่องสูบน้ำที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง หรือไฟดีซี ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ กับเครื่องสูบน้ำที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือไฟเอซี ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ ซึ่งไฟดีซีกับเอซีนี้เป็นคนละกระแส ไม่สามารถใช้ปะปนกันได้ครับ ดังนั้นเครื่องสูบน้ำที่ใช้ไฟดีซี ก็จะใช้ได้เฉพาะไฟฟ้าที่เป็นดีซี ขณะที่เครื่องสูบน้ำที่ใช้ไฟเอซี ก็จะใช้ได้เฉพาะไฟฟ้าที่เป็นเอซีเท่านั้น จะเห็นได้ว่า การสร้างปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ของคุณเองไม่ใช่เรื่องยากเลย และแน่นอนว่าเกษตรกรไทยในปัจจุบันก็มีไม่น้อย ที่เริ่มหันมาใช้ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นี้ในการสูบน้ำเพื่อการเกษตรกัน เพราะทำง่าย ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย หรือหากคิดว่าซับซ้อนหรือตัวเกษตรกรเองไม่มีความรู้ทางไฟฟ้าหรือเครื่องกลเอาเลยจริงๆ ก็สามารถขอคำปรึกษาได้จากตัวแทนร้านค้าที่ขายแผงและอุปกรณ์โซล่าเซลล์ หรือถ้ากลัวมีค่าใช้จ่าย ก็สามารถขอคำแนะนำจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน หรือหน่วยงานอื่นๆ นอกจากนั้น ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ยังถือเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ปลดปล่อยมลพิษออกสู่สภาพแวดล้อม และแน่นอนครับ คุณสมบัติหลักของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นี้ที่เกษตรกรและผู้ใช้น้ำถูกอกถูกใจที่สุด ก็คงจะเป็นอื่นใดไปไม่ได้ นอกจากลงทุนเพียงครั้งเดียว ก็สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ในการสูบน้ำเองได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย (ยกเว้นค่าบำรุงรักษาหรือซ่อมแซม ในกรณีที่อุปกรณ์เกิดการชำรุดเสียหาย ซึ่งหากให้แนะนำ ขอให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานตั้งแต่ต้นนะครับ) เพราะแสงอาทิตย์เราไม่ต้องซื้อหาใช่ไหมครับ ขนาดไม่ต้องซื้อก็ยังมาให้เห็นถึงหน้าบ้านแล้ว ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นวัตกรรมที่ผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีแผงโซล่าเซลล์ กับเทคโนโลยีเครื่องกลสูบน้ำอย่างปั๊มน้ำแบบที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนมอเตอร์ ถือเป็นนวัตกรรมพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพในการสูบน้ำได้เทียบเท่าการสูบน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำที่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าหรือเครื่องสูบน้ำแบบที่ใช้น้ำมันเลยทีเดียว มีข้อจำกัดอย่างเดียวเท่านั้นคือต้องอยู่ในที่ที่มีแสงแดดจึงจะสามารถสูบน้ำได้ แต่นั่นก็คงไม่ใช่ประเด็นปัญหานัก ในเมื่อหากคุณต้องการสูบน้ำในตอนกลางคืน คุณก็สามารถซื้อแบตเตอรี่และคอนโทรลชาร์จมาต่อพ่วงร่วมกับตัวเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ได้ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีไฟฟ้าไว้สำหรับสูบน้ำได้ไม่ว่าจะตอนกลางวันหรือกลางคืนแล้ว
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบการสูบน้ำในงานเกษตรกรรม 2. ออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 3. ทดลองระบบการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 4. ทดสอบประสิทธิภาพของระบบเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 4. วิเคราะห์ความเหมาะสมและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ 5. จัดทำรายงานสรุปผลการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยเรือ่ง การพัฒนาระบบเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบการต่อปั๊มสูบน้ำโดยตรงกับแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานสำหรับครัวเรือนภาคเกษตรกรรม ที่จะเป็นต้นแบบในการใช้งานที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ และเป็นข้อมูลสำหรับการเลือกใช้งานของอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อมและเป็นทางเลือกให้กับครัวเรือนภาคเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
จำนวนเข้าชมโครงการ :6362 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีระชาติ จริตงาม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด