รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000354
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การอนุบาลลูกกบนาด้วยอาหารสำเร็จรูปเสริมยีสต์มีชีวิต
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Nursing of Common Lowland Frog (Rana rugulosa) Using Fed on Diets with live Yeasts
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :37000
งบประมาณทั้งโครงการ :37,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2559
ประเภทของโครงการ :การพัฒนาทดลอง
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :กบนาเป็นสัตว์ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นที่นิยมบริโภคโดยทั่วไป อีกทั้งยังส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง จีน สิงค์โปร์ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยผลผลิตของกบจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีได้แก่ ในปี 2535 มีผลผลิต จำนวน 131 ตัน ต่อมาในปี 2548 มีผลผลิตกบจากการเลี้ยง จำนวน 1,781 ตัน ในปี 2555 มีผลผลิต จำนวน1,614 ตัน และในปี 2556 มีผลผลิตกบ จำนวน 1,783 ตัน จำนวนฟาร์มในการเพาะเลี้ยงกบมากถึง 1,384 ฟาร์ม (กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง, 2556) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งเลี้ยงกบขนาดใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ แต่การเลี้ยงกบในปัจจุบัน จะพบปัญหาเรื่องอาหารกบที่มีราคาแพง ทำให้การเลี้ยงกบมีต้นทุนค่าอาหารสูง ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกบมีกำไรน้อย การลดต้นทุนค่าอาหารนั้นมีรายงาน การใช้การเสริมน้ำมันปลา การใช้โปรตีนข้าวโพดทดแทนปลาป่นในการเลี้ยงกบนา (ยงยุทธ, 2548; ยงยุทธ และพิศมัย, 2548) และการเพิ่มคุณค่าทางอาหารกบนา มีรายงานว่า การใส่ยีสต์ในอาหารกบพบว่า อัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด ประสิทธิภาพของโปรตีน ประสิทธิภาพของอาหารและอัตราแลกเนื้อดี เนื่องจากการใช้โปรตีนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งกบสามารถย่อยและใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งตัวเซลล์ยีสต์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อถูกย่อยสลายจะได้สารอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผนังเซลล์ของยีสต์ยังมีสารเบต้ากลูแคน ซึ่งเป็นสารสําคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต่างๆ ในสัตว์ได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ยีสต์ที่ใช้เป็นเพียงยีสต์แห้งและมีการเตรียมในสูตรอาหารที่มีขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ มีแนวคิดที่จะใช้ยีสต์มีชีวิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารในการอนุบาลลูกกบนาขึ้น เป็นการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย อันจะเป็นแนวทางในการลดต้นทุนในการอนุบาลลูกกบต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารกบเมื่อผสมด้วยยีส์มีชีวิต 2. เพื่อศึกษาปริมาณยีสต์ที่เหมาะสมในการอนุบาลกบนาต่อการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ อัตราการรอดตาย 3. เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเมื่อผสมยีสต์มีชีวิตในอาหารอนุบาลกบ
ขอบเขตของโครงการ :เป็นการศึกษาการอนุบาลลูกกบนาด้วยอาหารสำเร็จรูปเสริมยีสต์มีชีวิตในโรงเรือนเท่านั้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบปริมาณยีสต์ที่เหมาะสมในการอนุบาลกบนาต่อการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ อัตราการรอดตาย 2. ทราบต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเมื่อใส่ยีสต์มีชีวิตในอาหารกบ 3. เกษตรกรสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในฟาร์ม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :แบ่งวิธีการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 เพื่อศึกษาปริมาณยีสต์ที่เหมาะสมในการอนุบาลกบนาต่อการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ อัตราการรอดตา การทดลองที่ 2 ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารลูกกบเสริมด้วยยีส์มีชีวิต การทดลองที่ 3 ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเมื่อเสริมยีสต์มีชีวิตในอาหาร สถานที่ทำการวิจัย เพาะและอนุบาลลูกกบที่ โรงเพาะฟักและห้องปฏิบัติการ สาขาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตรวจคุณค่าทางโภชนาการอาหารที่ ห้องปฏิบัติการ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :505 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจามรี เครือหงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด