รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000348
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาถ่านชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่นเพื่อเป็นพลังงานทดแทนและกักเก็บคาร์บอนในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : 
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :10000
งบประมาณทั้งโครงการ :10,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :อื่นๆ
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เหง้ามันสำปะหลัง ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ เป็นต้น ผ่านกระบวนการแยกสลายด้วยพลังงานความร้อนโดยไม่ใช้ออกซิเจนหรือใช้น้อยมาก ซึ่งมีสองวิธีหลักๆ คือการแยกสลายอย่างเร็วและอย่างช้า การผลิตถ่านชีวภาพด้วยวิธีการแยกสลายอย่างช้าที่อุณหภูมิเฉลี่ย 500 องศา เซลเซียส จะได้ผลผลิตของถ่านชีวภาพมากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งต่างจากวิธีการแยกสลายอย่างเร็วที่อุณหภูมิเฉลี่ย700องศาเซลเซียส ซึ่งใช้เวลาเป็นวินาที ผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันชีวภาพ 60% แก๊สสังเคราะห์ 20% และถ่านชีวภาพ 20% ถ่านชีวภาพ มีความหมายต่างจากถ่านทั่วไป (charcoal) ตรงจุดมุ่งหมายการใช้ประโยชน์ คือถ่านทั่วไปจะหมายถึงถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ไบโอชาร์คือถ่านที่ใช้ประโยชน์เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงในดินและปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน เนื่องจากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียด มีความพรุนสูงและเป็นของแข็งที่มีความคงตัว เมื่อใส่ลงในดินจะช่วยการระบายอากาศ การซึมน้ำ การอุ้มน้ำ ดูดยึดธาตุอาหาร เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ลดความเป็นกรดของดิน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพิ่ม ผลผลิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่ระดับเกษตรกร ครัวเรือน ชุมชนและองค์ส่วนท้องถิ่นในการเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชนได้อีกด้วย ในการผสมถ่านที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้ลงไปในดิน ท่านยังได้มีบทบาทในการช่วยลดภาวะโลกร้อน เนื่องจากถ่านชีวภาพเป็นคาร์บอน มีความทนทานต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์และสูญหายไปจากดินได้ยาก ดังนั้นจึงสะสมอยู่ในดิน เป็นการเพิ่มคาร์บอนให้แก่ดินแทนที่จะเผากลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ บรรยากาศอันเป็นตัวการหนึ่งของภาวะโลกร้อน จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ทำการเกษตรกรรมมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นปริมาณมาก วิธีจัดการ กับวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ของเกษตรกร คือการนำไปทิ้งไว้เพื่อให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติหรือเผาทิ้ง ซึ่งทั้ง 2 วิธี ล้วนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการทิ้งไว้ให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติจะก่อให้เกิดเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ทั้งการย่อยสลายจะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งมีกลิ่นเหม็น ส่วนการเผาจะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ถ้าหากสามารถนำวัสดุเหล่านี้มาผ่านกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อนอย่างช้าๆ ในภาวะปราศจากออกซิเจนแบบไพโรไลซิส ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนถ่านไม้ที่มีคาร์บอนเป็นส่วน ประกอบหลัก ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้เป็นพลังงานสะอาดด้วยมีปริมาณไนโตรเจนและเถ้าปริมาณน้อย คาร์บอนที่ได้จากกระบวนการเผามีความเสถียรอย่างมาก จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพลังงานทดแทนและการเพาะปลูกพืชต้นไม้สามารถเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรกรรม ให้มีปริมาณมากกว่าที่ใช้ปุ๋ย สารเคมี และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :-
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :536 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายจักราวุฒิ เตโช บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย20
นางสาวศิริลักษณ์ คำเกิด นักศึกษาผู้ร่วมวิจัย40
นางสาวชณาพร เปี่ยมเสถียร นักศึกษาผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด