รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000347
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาระบบเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในภาคเกษตรกรรม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : 
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :10000
งบประมาณทั้งโครงการ :10,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :อื่นๆ
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ เป็นต้นกำเนิดของวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตในโลก พลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูงปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด การนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้โดยตรงเป็นพลังงานปฐมภูมิ ในรูปของพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า และพลังงานแสงสว่าง การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์โดยตรง โดยเป็นแหล่งพลังงานปฐมภูมิ โดยสามารถประยุกต์ได้ 2 แนวทาง คือ การประยุกต์ในทางความร้อน และการประยุกต์ในทางไฟฟ้า (วรนุช แจ้งสว่าง) ซึ่งการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า มีเทคโนโลยีคือการใช้อุปกรณ์เซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์รวมแสงอาทิตย์ มาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานในระบบต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ และนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ การสูบน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้น้ำมาใช้เพื่อการบริโภคและอุปโภคทั้งในภาคครัวเรือนและภาคการเกษตร เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางด้านอาหาร น้ำดื่ม และเกษตรกรรมถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากสำหรับประเทศไทย โดยมีปั๊มสูบน้ำเป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งปั๊มน้ำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น ปั๊มหอยโข่ง ปั๊มชัก ปั๊มจุ่ม เป็นต้น แต่ปั๊มน้ำส่วนใหญ่ที่ใช้ในครัวเรือนและในการเกษตรจะเป็นปั๊มที่ทำงานด้วยระบบไฟฟ้ากระแสสลับ หรือใช้เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนให้ปั๊มทำงาน ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นอันเนื่องมาจากค่าไฟฟ้าและน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรเองก็ต้องพยายามหาวิธีการจัดการน้ำที่ยั่งยืนในระยะยาว เกษตรกรในพื้นที่จึงทำให้มีความพยายามในการแสวงหาพลังงานทางเลือกที่สามารถนำมาทดแทนในการขับเคลื่อนปั๊มสูบน้ำ ซึ่งในปัจจุบันแผงโซลาเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนแสงแดดเป็นไฟฟ้าเริ่มเป็นที่นิยมและมีราคาถูกลง จึงทำให้ปั๊มสูบน้ำที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้รับความสนใจสำหรับครัวเรือนภาคเกษตรกรรม ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการออกแบบและพัฒนาปั๊มสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หลากหลายแบบ การนำเอาโซลาร์เซลล์มาใช้กับปั๊มสูบน้ำนั้นมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น การต่อปั๊มน้ำจากแผงโซลาร์เซลล์โดยตรงมีแบบเตอรี่ และแบบไม่มีแบตเตอรี่ การต่อปั๊มผ่านแบบอินเวอร์ทเตอร์ใช้ไฟกระแสสลับหรือ ปั๊มที่ใช้ไฟแบบกระแสตรง เป็นต้น โดยแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งยังไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิค ความเหมาะสม และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ต้องมีความเข้าใจเรื่องแหล่งน้ำที่เราจะสูบ ประเภทและชนิดของปั๊มสูบน้ำที่จะเลือกใช้กับโซลาร์เซลล์ ปริมาณน้ำและความสูงระดับน้ำที่เราต้องการสูบ การกำหนดขนาดและการออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ที่ใช้ปั๊มสูบน้ำ ทั้งหมดนี้ให้เหมาะสมเพื่อให้ปั๊มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :-
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :699 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีระชาติ จริตงาม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย20
นายชัยสิทธิ์ ไหลนำเจริญ นักศึกษาผู้ร่วมวิจัย40
นางสาวสุจิตรา เสือพุฒ นักศึกษาผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด