รหัสโครงการ : | R000000334 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพสู่การประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Cultural Identity Paknampho Art Values and Application of Local Products for Economic and Cultural Tourism Value Added Nakhon Sawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | อัตลักษณ์ ปากน้ำโพ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 355400 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 354,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ธันวาคม 2559 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2560 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
สาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | นครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคกลางและภาคเหนือจึงเป็น “ประตูสู่ภาคเหนือ” และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง และมีความสำคัญตรงที่เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ หรือที่รู้จักกันในนาม “ปากน้ำโพ (Paknampho)” ซึ่งเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ที่ไหลลงมารวมกันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในอดีต นครสวรรค์ เป็นเมืองโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี โดยในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วง ได้เรียกเมืองนี้ว่า “เมืองพระบาง” ซึ่งเป็นเมืองด่านของมณฑลราชธานี สุดชายแดนฝ่ายใต้ ถัดขึ้นไปมีเมือง คณฑี ที่บ้านโคนอยู่ระหว่างกลางอีกเมืองหนึ่งแล้วก็ถึงเมืองนครชุม ซึ่งก็คือเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ตัวเมืองอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วหันไปทางทิศตะวันออก ตอนเช้าจะเห็นดวงตะวันขึ้นตรงหน้าเมืองพอดี จึงมีคนเรียกว่า “เมืองชอนตะวัน” แล้วเปลี่ยนไปเป็น “นครสวรรค์” ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันติดปากว่า “เมืองปากน้ำโพ”
ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสั่งสม สืบสาน และถ่ายทอดต่อ ๆ กันมาเวลายาวนานพร้อม ๆ กับการตั้งถิ่นฐานรกรากของบริเวณปากน้ำโพที่ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของมรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่เป็นจิตวิญญาณและผลงานที่สามารถมองเห็นได้ โดยส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเหล่านั้นคือ ศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของปากน้ำโพที่ยังคงหลงเหลือสอดแทรกปรากฏอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ทางศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น ทั้งที่เป็นเครื่องนุ่งห่มที่เป็นสิ่งทอ เครื่องใช้ที่เป็นหิน เครื่องใช้ที่เป็นโลหะ เครื่องใช้ที่เป็นไม้ เครื่องจักรสาน เครื่องประดับตกแต่ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของท้องถิ่นที่กระจายอยู่ในจังหวัด โดยที่ศิลปะหัตกรรมเหล่านั้นได้สั่งสมคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพไว้พร้อมที่จะได้รับการฟื้นฟูและปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้การสืบสานทางวัฒนธรรมในภาพรวมขาดความสมดุลระหว่างวัฒนธรรมสากลและวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมที่อ่อนแอจะค่อย ๆ ถูกกลืนด้วยวัฒนธรรมที่เข้มแข็งกว่า แต่ถึงแม้กาลเวลาจะผ่านพ้นไป แต่ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพไม่เคยจางหายและยังคงฝังรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นจวบจนถึงปัจจุบัน โดยวัฒนธรรมปากน้ำโพได้หลงเหลือแทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรม ประเพณี อาหาร ภาษา อาชีพ ความเชื่อและศิลปะพื้นเมือง แต่ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่า ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพยังมีความเข้มแข็งไม่เพียงพอประกอบกับความเชื่อในการยอมรับความทันสมัยที่ยังไม่ถูกต้องของคนไทยส่วนใหญ่ จนทำให้ไม่สามารถระบุความแตกต่างและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาประเทศของไทยขาดความต่อเนื่องในกระบวนทัศน์การพัฒนา ซึ่งจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมาที่เปลี่ยนแปลงแนวคิดจากความทันสมัยที่เน้นเฉพาะทางเศรษฐกิจเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เน้นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนาแบบองค์รวมสู่การพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยลำดับ มีจุดอ่อนของการพัฒนาที่ผ่านมาที่สำคัญ คือ ไม่ได้รับการพัฒนาที่ตรงตามจุดของประเทศ กล่าวคือ ไม่ได้พัฒนาบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมของประเทศและท้องถิ่นอย่างแท้จริง ซึ่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นทุนทางสังคมที่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและนำมาใช้เป็นจุดแข็งในการพัฒนาอย่างแท้จริง ปัจจุบันการพัฒนาจึงมุ่งเน้นการพัฒนาโดยอาศัยทุนทางวัฒนธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม และเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบทบาทของสถาบันหลักทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน สร้างค่านิยมที่ถูกต้องและดีงามให้คนไทยในจังหวัดนครสวรรค์มีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมปากน้ำโพ ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและดีงาม ตลอดจนสร้างความแตกต่างและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน
ในขณะที่ปัจจุบัน มีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาประเทศบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นดังกล่าว ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่ควรได้รับการฟื้นฟูและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ขึ้นอีกครั้งในปัจจุบัน โดยทำการศึกษา วิเคราะห์คุณค่าอัตลักษณ์และชี้แนะแนวทางในการนำคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพสู่การประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรมที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิเคราะห์และเผยแพร่คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ โดยการศึกษาศิลปวัฒนธรรม การใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม ของชาวบ้านปากน้ำโพ ที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อหาคุณค่าอัตลักษณ์ปากน้ำโพมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชี้แนะแนวทางการประยุกต์ใช้คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดลักษณะเฉพาะทางรูปลักษณ์ที่แตกต่าง มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น การใช้สอยที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ปัจจุบันแล้วนั้น ยังเป็นการเพิ่มมิติคุณค่าทางวัฒนธรรมและความหมายของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกทางคิดต่อสินค้านั้น ๆ แตกต่างกันออกไปจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอื่นที่มีอยู่เดิม ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ ได้อย่างยั่งยืน |
จุดเด่นของโครงการ : | หาคุณค่าอัตลักษณ์ปากน้ำโพมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชี้แนะแนวทางการประยุกต์ใช้คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดลักษณะเฉพาะทางรูปลักษณ์ที่แตกต่าง มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น การใช้สอยที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ปัจจุบันแล้วนั้น ยังเป็นการเพิ่มมิติคุณค่าทางวัฒนธรรมและความหมายของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกทางคิดต่อสินค้านั้น ๆ แตกต่างกันออกไปจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอื่นที่มีอยู่เดิม ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ ได้อย่างยั่งยืน |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 6.1 ศึกษาคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ ที่นำมาออกแบบประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
6.2 ศึกษาความต้องการของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
6.3 พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
6.4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ที่พัฒนาขึ้นใหม่
6.5 เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
6.6 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
6.7 เพื่อถ่ายทอดกระบวนการประยุกต์ใช้คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตท้องถิ่นที่ได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในจังหวัดนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยประยุกต์เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมุ่งศึกษาศึกษาคุณค่า อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ สู่การประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ โดยเน้นการวิจัยประยุกต์เชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลของการวิจัยได้จากข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การระดมความคิด แบบสอบถามความต้องการของชุมชนและผู้บริโภค และแบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนและผู้บริโภค โดยกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหาที่จะพัฒนา ดังนี้
7.1 รูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่คณะผู้วิจัยนำคุณค่าอัตลักษณ์ลังศิลปะวัฒนธรรมปากน้ำโพมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเป็นลักษณะรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ประเภทเคหะสิ่งทอ ประเภทของใช้ และประเภทของตกแต่งบ้าน
7.2 การศึกษาศิลปวัฒนธรรม การใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม ของชาวบ้านในจังหวัดนครสวรรค์ ที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อหาคุณค่าอัตลักษณ์ลังศิลปะวัฒนธรรมปากน้ำโพมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการ งานวิจัย และปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
7.3 การกลั่นกรอง วิเคราะห์ข้อมูล และแผนผังความคิด ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
7.4 นำสรุปผลการสังเคราะห์คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพที่มีความโดดเด่น มาประมวลเป็นองค์ประกอบการสร้างสรรค์ (Creative element) สู่การประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จากการระดมความคิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ อาทิ ตัวแทนจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนส่วนวัฒนธรรมท้องถิ่น สำนักงานอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
7.5 วิเคราะห์แนวโน้มความต้องการของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ มาผสานกับผลการสังเคราะห์คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพที่ได้จากการระดมความคิด เพื่อหาข้อสรุปการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดหลักตามนโยบายการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม และแนวคิดเกี่ยวกับการคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรม
7.6 พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ โดยคณะผู้วิจัยร่วมกับผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
7.7 การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ได้แก่
7.7.1 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านไร่พัฒนา ต.บ้านไร่ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์
7.7.2 กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านจันเสน ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
7.7.3 กลุ่มจักสานบ้านดงชะพลู ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
7.7.4 กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะลา ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
7.7.5 กลุ่มหัตถกรรมไม้ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เพิ่มมิติคุณค่าทางวัฒนธรรมและความหมายของผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยเป็นรูปธรรมช่วยแก้ปัญหา พัฒนาและส่งเสริมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้มีศักยภาพสูงขึ้น เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตในชุมชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้ ความเป็นอยู่ดีและมั่นคงขึ้นด้วย |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | การวิจัยเรื่อง คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ที่นำมาออกแบบประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น และนำเสนอเนื้อหาจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยบางส่วนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัย ดังนี้
9.1 ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ
9.2 นโยบายการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา
9.3 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์
9.4 แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม
9.5 แนวคิดเกี่ยวกับการคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรม
9.6 การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
9.7 การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
9.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยประยุกต์เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมุ่งศึกษาศึกษาคุณค่า อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ สู่การประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งคณะผู้วิจัยมีความมุ่งมั่นในการหาคุณค่าอัตลักษณ์ปากน้ำโพมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชี้แนะแนวทางการประยุกต์ใช้คุณค่า อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้เกิดลักษณะเฉพาะทาง มีรูปลักษณ์ที่แตกต่าง การใช้สอยที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ปัจจุบันแล้วนั้น ยังเป็นการเพิ่มมิติคุณค่าทางวัฒนธรรมและความหมายของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกทางคิดต่อสินค้านั้น ๆ แตกต่างกันออกไปจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอื่นที่มีอยู่เดิม ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดนครสวรรค์ได้อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักตามนโยบายการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม และแนวคิดเกี่ยวกับการคิดออกแบบ และมิติทางวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางในการวิจัย ซึ่งมีกรอบแนวคิด ดังนี้
คุณค่า อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ
1. บริบททางศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
2. ศิลปวัฒนธรรม การใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม ของชาวบ้านใน จังหวัดนครสวรรค์ ที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
3. องค์ความรู้และภูมิปัญญาเกี่ยวกับศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งที่เป็นเครื่องนุ่งห่มที่เป็นสิ่งทอ เครื่องใช้ที่เป็นหิน เครื่องใช้ที่เป็นโลหะ เครื่องใช้ที่เป็นไม้ เครื่องจักรสาน เครื่องประดับตกแต่ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของท้องถิ่นที่กระจายอยู่ในจังหวัด
แนวคิดทฤษฎี
1. นโยบายการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา
2. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์
3. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม
4. แนวคิดเกี่ยวกับการคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรม
5. การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
6. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
1. การพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้จากการประยุกต์ใช้คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ
2. การใช้วัสดุ วัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีคุณภาพ
3. การออกแบบผลิตภัณฑ์
4. การจัดการ การตลาดของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้จากการประยุกต์ใช้คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ
5. การจัดตั้งศูนย์การสาธิตผลิตภัณฑ์ในชุมชน
6. การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นภายในชุมชน |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | วิธีการดำเนินการวิจัยมี ดังนี้
13.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
13.1.1 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้คัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ภายในชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีความต้องการและความพร้อมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ เพื่อต้องการสร้างเอกลักษณ์ของตนเองที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมให้กับท้องถิ่น
13.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านไร่พัฒนา ต.บ้านไร่ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์
2) กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านจันเสน ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
3) กลุ่มจักสานบ้านดงชะพลู ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
4) กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะลา ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
5) กลุ่มหัตถกรรมไม้ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
13.2.1 แบบสอบถามความต้องการของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ
13.2.2 แบบสัมภาษณ์และการระดมสมองของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการสังเคราะห์คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ
13.2.3 แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ที่พัฒนาขึ้นใหม่
13.2.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ
13.2.5 เทปบันทึกเสียง เพื่อใช้สำหรับบันทึกเสียงคำสัมภาษณ์เกี่ยวกับบริบทชุมชน
13.2.6 กล้องถ่ายรูป เพื่อใช้บันทึกภาพรูปแบบ วิธีการและกระบวนการผลิต ตัวอย่างการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และต้นแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง แม่นยำ
13.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
13.3.1 ศึกษาศิลปวัฒนธรรม การใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม ของชาวบ้านในจังหวัดนครสวรรค์ ที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อหาคุณค่าอัตลักษณ์ลังศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ประเภทเคหะสิ่งทอ ประเภทของใช้ และประเภทของตกแต่งบ้าน จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการ งานวิจัย และปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
13.3.2 นำข้อมูลข้อ 13.3.1 มากลั่นกรอง วิเคราะห์ข้อมูล และแผนผังความคิด ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพในจังหวัดนครสวรรค์
13.3.3 การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยนำสรุปผลการสังเคราะห์คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพที่มีความโดดเด่น มาประมวลเป็นองค์ประกอบการสร้างสรรค์ (Creative element) สู่การประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จากการระดมความคิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ อาทิ ตัวแทนจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนส่วนวัฒนธรรมท้องถิ่น สำนักงานอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
13.3.4 วิเคราะห์แนวโน้มความต้องการของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพจากการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ แล้วนำผลที่วิเคราะห์ได้มาผสานกับผลการสังเคราะห์คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพที่ได้จากการระดมความคิด เพื่อหาข้อสรุปการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดหลักตามนโยบายการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม และแนวคิดเกี่ยวกับการคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรม
13.3.5 การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยคณะผู้วิจัยให้ความรู้และข้อเสนอแนะด้วยการบรรยาย สาธิตและร่วมกันปฏิบัติการจริง โดยร่วมกันวางแผน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบรรยายและสาธิตการออกแบบพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ โดยคณะผู้วิจัยร่วมกับผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม (SME) และการลงมือปฏิบัติการจริงโดยผู้วิจัย วิทยากร และกลุ่มผู้ผลิตลงมือปฏิบัติการร่วมกัน ทำให้ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากนั้นเก็บข้อมูลเชิงลึกโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพที่พัฒนาขึ้นใหม่ จนได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประยุกต์จากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพที่เป็นเอกลักษณ์ชุมชน
13.4 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัยพร้อมให้ข้อเสนอแนะ โดยการนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้ง 3 ขั้นตอน และการปฏิบัติการจริงแบบมีส่วนร่วมมาวิเคราะห์วิจารณ์ โดยจำแนกให้เห็นประเด็นต่าง ๆ ในการพัฒนาตามวัตถุประสงค์การวิจัย
13.5 นำเสนอผลการวิจัย และรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์พร้อมทั้งพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ต่อไป
13.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | สร้างกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อส่งเสริมให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ โดยการวิจัยประยุกต์เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งคณะผู้วิจัยบรรยายให้ความรู้เสนอแนะแนวทางและลงมือปฏิบัติการจริงแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้ผลิตได้รับองค์ความรู้ คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ ทักษะ วิธีการและกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยยึดหลักตามนโยบายการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา และสามารถนำแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม และแนวคิดเกี่ยวกับการคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากคุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นได้ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 1309 ครั้ง |