รหัสโครงการ : | R000000326 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน จากอัตลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | creativity design of lacquer product for identity nakhonsawan province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | - |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 10000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 10,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2559 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2560 |
ประเภทของโครงการ : | งานสร้างสรรค์(ออกแบบ) |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
สาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | “เครื่องเขิน” จากหลักฐานในประเทศจีนที่พบว่ามีภาชนะเครื่องรัก หรือเครื่องเขินมากว่า 4,000 ปีแล้ว โดยมีการพบหลักฐานจากชิ้นส่วนและตัวภาชนะเครื่องรักในหลุมฝังศพของบุคคลสำคัญในหลายๆแห่ง และวัฒนธรรมการใช้เครื่องรักคงได้แพร่หลายไปสู่ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น จีนตอนใต้ เวียดนาม และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียอาคเนย์ เป็นงานหัตถกรรมที่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียอาคเนย์ ในอดีตเครื่องเขินทำเป็นของใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในพิธีกรรม รูปเคารพและงานศิลปกรรม ถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของผู้คนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคเหนือของไทยที่มีการมีการทำผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องเขินมาเป็นระยะเวลานาน โดยมีรูปแบบและรูปทรงที่หลากหลาย สนองตอบการใช้สอย ค่านิยม และรสนิยมทางสังคม เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปโดยการนำไม้ไผ่มาสานขึ้นรูป โดยมีหุ่นไม้เป็นแบบ หรืออาจไม่ต้องใช้หุ่นก็ได้แต่ใช้การขดและสานเป็นรูปต่อจากนั้นจะใช้รักซึ่งเป็นยางไม้(ยางรัก) ผสมกับถ่านของข้าวเปลือกหรือหญ้าคา(ทำให้เกิดสีดำ)ทาให้เรียบเพื่อปิดรอยสาน ขัดผิวให้เรียบแล้วเขียนลวดลายประดับด้วยสีน้ำมัน หรือใช้เหล็กแหลมขูดหรือขีดเป็นเส้นลึกลงบนผิว ใช้สีฝุ่นผสมน้ำมันทาทับตามรอยอีกทีหนึ่งสีจะเข้าไปอุดในเส้นต่อจากนั้นใช้ผ้าเช็ดสีที่ผิวออกพื้นรักที่เป็นสีดำจะขับเส้นลายให้เห็นเป็นลวดลาย หรือจากวัตถุดิบอื่นๆ มีกรรมวิธีการผลิตโดยใช้ยางรักเป็นส่วนตกแต่ง เครื่องเขินมีชื่อเรียกตามเผ่าพันธุ์ของคนไทยเผ่าเขิน ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเมืองเชียงตุงประเทศพม่าพระเจ้าเชียงใหม่ได้ทำสงครามกับพม่า (พ.ศ.2325) และได้กวาดต้อนราษฎรเมืองเชียงตุงมาเชียงใหม่ ในจำนวนนี้มีพวกช่างรักด้วยซึ่งรวมตัวกันอยู่เป็นหมู่บ้านเรียกว่าหมู่บ้าน"เขิน"ซึ่งมีอาชีพทำเครื่องเขินกันทั้งหมู่บ้าน จากข้อเสนอแนะของกฤตพัชร สุริยะโชติ(2556: 112) พบว่าในปัจจุบันเหลือช่างฝีมือในการทำเครื่องเขินเหลืออยู่เป็นจำนวนน้อยมากมีกระบวนการผลิตค่อนข้างยุ่งยาก รัฐบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนอนุรักษ์ความรู้ภูมิปัญญานี้ไว้
นครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน จนทำให้ผู้คนทั่วไปรู้จักนครสวรรค์ตามสมญานามต่างๆ อาทิ “เมืองสี่แคว” “เมืองปากน้ำโพ” และ“ประตูสู่ภาคเหนือ” นอกจากนี้นครสวรรค์ยังมีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่สวยงาม โบราณสถาน และงานประจำปีที่ขึ้นชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็นบึงบอระเพ็ด อุทยานนกน้ำ ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา เขาหน่อ-เขาแก้ว หรืองานประเพณีเชิดสิงโต แห่มังกร ในเทศกาลตรุษจีน จึงมีคำขวัญประจำจังหวัด“เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ” เนื่องจากนครสวรรค์เป็นชุมชนเก่าแก่ชุมชนหนึ่ง ชาวบ้านจึงมีภูมิปัญญาของตนเองที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและค้นพบด้วยตนเองมากมายหลายด้าน เช่น การทำเครื่องปั้นดินเผา ของชุมชนบ้านมอญ การแกะสลักงาช้างของชุมชนพยุหะคีรี และการทำเรือจำลองโบราณของชุมชนตาคลี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาและเป็นอาชีพหลักในปัจจุบันทั้งสิ้น มีทั้งที่ทำเป็นของใช้ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและไปจนถึงของที่ระลึกขนาดเล็ก ซึ่งเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์เหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์หรือสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ได้จำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับตนเอง ชุมชน และจังหวัดนครสวรรค์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลงานต่างๆยังสะท้อนถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิต ตลอดจนประเพณีอันดีงามที่สืบต่อกันมาของชาวจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเผยแพร่และร่วมกันอนุรักษ์สืบไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีองค์กรภายในด้าน การวิจัย และบริการวิชาการแก่ชุมชน มีหลักสูตรที่เปิดสอนหลากหลายสาขา มีทำเลที่ตั้งในท้องถิ่น คณาจารย์และนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่น จึงมีศักยภาพพร้อมที่จะทำการวิจัยและพัฒนาในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลจากงานวิจัยจะเป็นแนวทางให้ชุมชนหรือผู้สนใจ นำไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งงานวิจัยในครั้งนี้ยังเป็นการสืบสานอนุรักษ์งานศิลปวัฒนธรรมการทำเครื่องรักเครื่องเขิน ซึ่งนับวันจะสูญหาย ให้สามารถดำรงอยู่ได้ รวมถึงเป็นการสร้างอาชีพให้กับแรงงานในท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ได้อีกด้วย |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 2.1 เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขินของไทย
2.2 เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน จากอัตลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์
สู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์
2.3 เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรัก
เครื่องเขิน |
ขอบเขตของโครงการ : | 3.1 ขอบเขตในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขินของไทย โดยแบ่งรายละเอียดการดำเนินการวิจัย ได้แก่
ก) ศึกษาประวัติความเป็นมาของงานหัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขินของไทย
ข) ศึกษาวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องรักเครื่องเขินของไทย
ค) ศึกษากระบวนการทำเครื่องรักเครื่องเขินของไทย
3.2 ขอบเขตในการศึกษาอัตลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน โดยแบ่งรายละเอียดการดำเนินการวิจัย ได้แก่
ก) กรอบแนวความคิดของการวิจัย
เอกลักษณ์ท้องถิ่น เป็นการแสดงลักษณะพิเศษ จากสิ่งที่ปรากฏอย่างเด่นชัดของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งซึ่งมีความโดดเด่นเฉพาะด้านหรือเฉพาะสังคมที่ไม่เหมือนกับที่อื่น ประมาณได้จากสิ่งที่มีอยู่ทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ,2542,หน้า 247) ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ และ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
3.3 ขอบเขตในการประเมินต้นแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน
ก) กรอบแนวความคิดของการวิจัย
การออกแบบผลิตภัณฑ์มีปัจจัยมากมายที่นักออกแบบที่ต้องคำนึงถึง ในการประเมินต้นแบบผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้กรอบแนวความคิดโดยยึดตามหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในปัจจัยที่สามารถควบคุมและประเมินผลได้ ได้แก่
(1) ความสะดวกและความแข็งแรงในการใช้งาน
(2) ด้านการสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์
(3) ด้านความสวยงาม
(4) ด้านความประหยัดและประโยชน์ใช้สอย |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) ได้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขินของไทย
2) ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน จากอัตลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์
3) สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
4) ประโยชน์เชิงพาณิชย์ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | ยุวดี ทองอ่อน และรพีพัฒน์ มั่นพรม (2559) ทำการวิจัย เรื่อง การประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมไทย-เวียดนาม : การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานศิลปวัฒนธรรมไทย-เวียดนาม ด้านเทคนิคและวิธีที่ใช้ในการสร้างงานหัตถกรรมงานเครื่องรักเครื่องเขินและเพื่อประยุกต์เทคนิควิธีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานเครื่องรักเครื่องเขิน รวมถึงเพื่อเผยแพร่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานเครื่องเขิน โดยการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล เอกสาร สัมภาษณ์จากปราชญ์ชุมชนเครื่องเขินนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่ และจัดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการต่อเยาวชนรุ่นใหม่และผู้สนใจงานจิตรกรรมเครื่องรักจากศิลปินเวียดนาม พบว่าเทคนิคการทำจิตรกรรมรักสีเวียดนามเริ่มจากการเตรียมพื้นรักบนแผ่นไม้ การร่างภาพและขูดให้เป็นร่องตามรูปของภาพร่างที่ออกแบบไว้ ร่วมกับเทคนิคการใช้เปลือกไข่เพื่อตกแต่งทั้งลักษณะหงายและคว่ำเปลือก การสร้าง Layer โดยการลงสีทีละชั้น การทิ้งให้ การขัดด้วยกระดาษทรายน้ำเพื่อให้เกิดผลตาม Layer ที่สร้างไว้ ตามด้วยการปิดด้วยแผ่นทองคำหรือเงินเปลว ขณะที่งานเครื่องรักเครื่องเขินไทยมีเทคนิคการเขียนลาย 4 แบบ ได้แก่ ลายขุด ลายเขียนสี การติดเปลือกไข่และลายรดน้ำ การทาหรือเคลือบผิวด้วยรักทำให้ผิวเป็นมันเมื่อแห้งสนิท สามารถทนต่อความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ ได้ดี และสามารถเป็นวัสดุเพื่อใช้เชื่อมมุกหรือสีเข้าด้วยกันและยังสามารถเชื่อมระหว่างพื้นผิวกับวัสดุสำหรับตกแต่งได้ดี แต่การใช้ยางรักไทยผสมสีฝุ่นตามเทคนิคของจิตรกรรมรักสีเวียดนามไม่สามารถคงความเป็นสีเดิมได้เหมือนกับการใช้ยางรักเวียดนาม
ทัศนีพร ประภัสสร และคณะ (2553) การประยุกต์แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาทอ้งถิ่น งานหัตถกรรมสาขาเครื่องรักเครื่องเขินของจังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงาน: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านงานหัตถกรรมเครื่องรักและเครื่องเขินในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้อง ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน และ 3) เพื่อสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาเครื่องรักและเครื่องเขิน ของจังหวัดเชียงใหม่ที่สอดคล้องกับพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบ ผสมผสาน วิธีการวิจัยประยุกต์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ประกอบด้วยข้อมูล ที่เกี่ยวกับ เรื่องที่วิจัย 2 ส่วน คือ ส่วนความเป็นมาของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องรักและเครื่องเขินจังหวัดเชียงใหม่ และส่วนที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสืบทอดภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาเครื่องรักเครื่องเขินของจังหวัดเชียงใหม่ โดยลักษณะคำถามเป็นแบบวัดประมาณค่า (Rating Scale) ในการการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนเก็บข้อมูล ได้มีการสำรวจพื้นที่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านงานหัตถกรรมสาขาเครื่องรักและเครื่องเขินของจังหวัด เชียงใหม่ 2) ระหว่างเก็บข้อมูล ดำเนินการสัมภาษณ์พร้อม การสังเกตเกี่ยวกับความเป็นมาของกลุ่มที่ประกอบอาชีพด้านงานหัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน โดย ใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมบันทึกภาพ 3) ระยะหลังเก็บข้อมูล ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล ประมวล รูปภาพจากการลงพื้นที่ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และ ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ ของข้อมูลตามวัตถุประสงค์ เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล
จากประเด็นดังกล่าว ผู้วิจัยสามารถนำกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องรักเครื่องเขินรวมทั้งแนวทางการเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย การเก็บตัวอย่างการวิจัย มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้ |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน จากอัตลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ในครั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลของการวิจัยตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย ดังนี้
1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขินของไทย ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของงานหัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขินของไทย ศึกษาวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องรักเครื่องเขินของไทย และศึกษากระบวนการทำเครื่องรักเครื่องเขินของไทย จากผู้เชี่ยวชาญ จากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) ศึกษาอัตลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน โดยการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์และสอบถามคนในจังหวัดนครสวรรค์ จากเอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวข้อง
3) สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรักเครื่องเขิน จากอัตลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้ กรอบในการออกแบบ คือ (1) ความสะดวกและความแข็งแรงในการใช้งาน (2) ด้านการสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ (3) ด้านความสวยงาม (4) ด้านความประหยัดและประโยชน์ใช้สอย
4) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องรัก เครื่องเขิน
5) นำผลการประเมินมาแก้ไข ปรับปรุง นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สรุปเล่มโครงการ และเผยแพร่สู่สาธารณะ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 950 ครั้ง |