รหัสโครงการ : | R000000325 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การศึกษาวัสดุเหลือใช้จากโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อการออกแบบโต๊ะอเนกประสงค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | STUDY AND DEVELOPMENT OF MATERIAL FURNITURE FACTORY FOR DESIGN MULTI–PURPOSE DESK |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | - |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 10000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 10,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2559 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2560 |
ประเภทของโครงการ : | อื่นๆ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
สาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ปัจจุบันระบบทุนนิยมที่ใช้กลไกทางการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เน้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเป็นตัววัดการพัฒนาประเทศใช้รายได้ของประชาชาติต่อหัวเป็นตัวตัดสินความสำเร็จของ การพัฒนา จึงเกิดสิ่งที่เรียกกว่าการแข่งขัน เพื่อให้นำมาซึ่งความร่ำรวยของประเทศตน ผลที่ตามมาก็คือทรัพยากรของโลกถูกทำลาย เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์จนเกิดสภาวะเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมและสภาพจิตใจ และทำให้เกิดการแข่งขันให้ทุกด้าน รวมถึงการแข่งขันทางเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และเป็นวิธีการผลิตสินค้า โดยใช้เครื่องจักรกล เทคโนโลยีและทุนดำเนินการสูง ซึ่งสามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็วและเป็นจำนวนมากองต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ ผลผลิตที่ได้ มีมาตรฐาน ระบบการผลิตดังกล่าวใช้คนทำงานหลายระดับและหลายแผนก มีระบบการจัดการงานบุคคล ระบบการวางแผนและดำเนินการผลิต โดยการประสานงานกันระหว่างแผนกต่างๆ อย่างเป็นระบบ แต่การในตลาดมีสินค้าเหมือนๆกัน ทำให้ผู้บริโภคเริ่มแสวงหาสิ่งใหม่ที่มีความแตกต่างไปจากเดิม ทั้งในด้านการใช้งานด้านความสวยงาม เน้นตอบสนองความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคลและเฉพาะกลุ่มมากขึ้นนอกจากนี้กระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรและป้องกันสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกประเด็นที่ทำให้ผู้บริโภคหัวมาสนใจสินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ต่อต้านสินค้าและบริษัท ผู้ผลิตที่ทำลายสภาพแวดล้อม รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น (ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์,2553:35-36)
ปัจจุบันแนวคิดด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือได้ว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมไปสู่ความยั่งยืน โดยแก่นแนวคิดนี้จะมองผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ทำให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถมองเห็นผลกระทบต่อสิ่งแวดสิ่งแวดล้อมและสร้างความสมดุลทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจและในขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยังคงอยู่ไป (Helen Lewis et al,2552:87)
จากแนวคิดดังกล่าว เนื่องจากบริษัทSBเฟอร์นิเจอร์มีเศษวัสดุเหลือเป็นจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บเศษวัสดุจากการผลิตนี้ทางบริษัทSBเฟอร์นิเจอร์นำเอาเศษไม้ไปขายในราคาที่ถูก แต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์จึงได้ทำการศึกษาและคิดค้นในการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อนำมาออกแบบโต๊ะอเนกประสงค์ขึ้น เพื่อลดจำนวนเศษไม้จากโรงงานลง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโรงงาน |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1 เพื่อศึกษาเศษไม้จากการทำเฟอร์นิเจอร์ในบริษัท เอส บี อุตสาหกรรมเครื่องเรือน จำกัด
2 เพื่อออกแบบโต๊ะอเนกประสงค์
3 เพื่อศึกษาความพึงใจที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ |
ขอบเขตของโครงการ : | ศึกษาและออกแบบรูปทรงผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์จากเศษไม้ในโรงงาน เอส บี อุตสาหกรรมเครื่องเรือน จำกัด ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย โดยมีกลุ่มประชากรตัวอย่างที่จะทำการศึกษา ดังนี้
1 ขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหา
1.1 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเศษไม้เหลือใช้ของโรงงาน เอส บี อุตสาหกรรมเครื่องเรือน จำกัด
1.2 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักการออกแบบเฟอร์นิเจอร์โต๊ะอเนกประสงค์
1.3 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุและกรรมวิธีการผลิต
1.4 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคและความต้องการของตลาด
2 ขอบเขตด้านการออกแบบ
2.1 ความแข็งแรงทนทาน
2.2 ประโยชน์ใช้สอย
2.3 ความปลอดภัย
2.4 ผู้เชี่ยวชาญ
2.4.1 ไตรรัตน์ คล้ายฉ่ำ หัวหน้าแผนก Product Development
2.4.2 วุฒิพงษ์ ประทุมโช ผู้ช่วยหัวหน้าแผนก Product Development
2.4.3 มานพ ถินโสภา R&D Product Development
3 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1 ประชากร ประชากรในโรงงาน เอส บี อุตสาหกรรมเครื่องเรือน จำกัด ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี (จากการสำรวจประชากรในโรงงาน เอส บี อุตสาหกรรมเครื่องเรือน จำกัด จำนวน 100 คน)
3.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์โต๊ะอเนกประสงค์จากเศษไม้เหลือใช้ ผู้จัดทำใช้วิทีของ ทาโร่ ยามาเน่ (นิรัช สุดสังข์, 2548:49) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1 ได้ศึกษาและออกแบบโต๊ะอเนกประสงค์จากเศษไม้เหลือใช้
2 ได้ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้เหลือใช้
3 ได้ทราบถึงความพึงพอใจที่มีต่อลักษณะรูปแบบเฟอร์นิเจอร์โต๊ะอเนกประสงค์ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 854 ครั้ง |