รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000324
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การออกแบบกระเป๋าสตรีจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :designing women handbags from woven fabrics of House Keeper's Agriculturist Group Ban Kadonnoi Takor Locality, Phaisali District Nakhonsawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :10000
งบประมาณทั้งโครงการ :10,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :งานสร้างสรรค์(ออกแบบ)
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนจากสังคมเก่า ซึ่งเป็นแบบเรียบง่ายมาสู่สังคมสมัยใหม่ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนและมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เช่น ปัญหาการกระจายได้ไม่เท่าเทียมกันปัญหาสังคมขาดระเบียบวินัย ปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและปัญหาของวัฒนธรรมที่ถูกทำลายเมื่อเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย ได้ก่อให้เกิด คำถามและการแสวงหาทางเลือกที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมีข้อสรุปเบื้องตนว่าทิศทางการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศไทยควรมีทางเลือกสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้สามารถเพิ่มความ เข้มแข็งให้แก่ชุมชน ภูมิปัญญาของคนไทยที่สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเพื่อเป็น รากฐานในการพัฒนาประเทศนั้นมีอยู่ทั่วไปในชุมชนและท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งแต่ละที่มีความแตกต่างกันไป แล้วแต่การสืบทอดกันมา และการทอผ้าพื้นเมืองเป็นภูมิปัญญาไทยอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมาช้านานซึ่ง ในอดีตการทอผ้ามีอยู่แทบทุกครัวเรือนในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะผ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นใน ชีวิตประจำวันของทุกคน ผ้าของแต่ละท้องถิ่นจะมีศิลปะและความงดงามเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ความชำนาญ ค่านิยมและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทย เปลี่ยนจากการดำเนินชีวิตภาคเกษตรมาเป็นภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สินคาอุตสาหกรรมจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทยการทอผ้าเพื่อประโยชน์ใช้สอยค่อยๆ ลดจำนวนลงจนหายไปในบางพื้นที่ นอกจากปริมาณและแหล่งผลิตผ้าจะลดจำนวนลงอย่างมากในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่าน มาการทอผ้าเพื่อสร้างรายได้เริ่มเข้ามามีบทบาทแทน การทอผ้าเพื่อใช้สอยเป็นการสร้างอาชีพและ รายได้ทั้งในลักษณะอาชีพหลักและอาชีพเสริม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผู้ที่พิจารณาเห็นว่าผ้าพื้นเมืองเป็นสินค้า ซึ่งมีโอกาสขยายออกไปท้องตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ (นิตยา. ผ้าพื้นเมืองเกาะยอ. 2545:2) การทอผ้าของไทยมีสภาพคลายคลึงกันและแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ โดยเฉพาะการทอผ้าของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย ในปัจจุบันคงเหลือการทอผ้าในบางพื้นที่เท่านั้น และทำเป็นอาชีพเสริมของชุมชน ลักษณะจะเป็นการขายแรงงานมากกว่า ซึ่งในสมัยนี้ในพื้นที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ จะพบแค่การทอผ้าไหมเท่านั้น ซึ่งจะแสดงออกถึงศิลปหัตถกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าเป็นเอกลักษณ์และถือเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของไทย ผ้าถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์จึงควรมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและมีการส่งเสริมผ้าทอ เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆ นอกจากนี้การนำผ้าทอมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในแบบต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมผ้าท้อในอีกด้านหนึ่งเพราะพัฒนาแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์มีส่วนทำให้ผ้าทอได้รับความสนใจมากขึ้นไม่ใช่เพื่อการนุ่งห่มอย่างเดียวแต่มีประโยชน์การใช้สอยที่หลากหลาย ทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และสร้างรายได้ให้กับผู้ทอผ้า ทำให้ผู้ทอผ้ามีกำลังใจในการพัฒนาฝีมือในการทอผ้าและตระหนักถึงคุณค่าของผ้าทอมากขึ้น ดังนั้นแนวทางในการออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา เพราะผ้าทอกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ มีการทอผ้าอย่างประณีต ทำให้มีลวดลายและเอกลักษณ์ จึงได้มีการศึกษาวิจัยเรื่อง การออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการนำผ้าทอมาพัฒนาเป็นกระเป๋า ให้นอกเหนือจากรูปแบบเดิม แต่ยังคงลวดลายที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 3 เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของวิจัย ดังนี้ 1 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล 1.1 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี นครสวรรค์ 1.2 ศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยจะเป็นแนวทางในการออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 2 กลุ่มตัวอย่าง 2.1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 99 คน โดยผู้วิจัยใช้สูตรการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน (ยุทธ ไกยวรรณ์และกุสุมา ผลาพรม 2553 : 122) โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อน 0.10% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 99 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) 3 ผู้เชี่ยวชาญด้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ท่านดังนี้ 3.1 กลุ่มผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 3.2 ผู้เชียวชาญด้านการออกแบบกระเป๋า 3.3 ผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดเย็บ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 ได้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 2 ได้ต้นแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 3 ผลของการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้มีความสนใจที่มีต่อการออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานต่อไปได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วยหลักการต่างๆ ของการดำเนินงานวิจัยดังนี้ 3.1 กรอบแนวคิดในการศึกษาผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ (สกนธ์ ภู่ดีงาม. 2545 : 109) ดังนี้ 3.1.1 ความสวยงามน่าใช้ 3.1.2 ความแข็งแรง 3.1.3 ความสะดวกสบายในการใช้ 3.2 กรอบแนวคิดในการออกแบบรูปแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยมีกรอบแนวคิดเพื่อเป็นแนวทาง หลักในการออกแบบผลิตภัณฑ์ (อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2550 : 18) ดังนี้ 3.2.1 ความสวยงาม 3.2.2 ความทนทาน 3.2.3 ความสะดวกสบายในการใช้ 3.3 กรอบแนวคิดในการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่สนใจกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ 3.3.1 การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม 3.3.2 การออกแบบที่สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอย 3.3.3 การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของวิจัย ดังนี้ 4.1 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล 4.1.1 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี นครสวรรค์ 4.1.2 ศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยจะเป็นแนวทางในการออกแบบกระเป๋าจากผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 4.2 กลุ่มตัวอย่าง 4.2.1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 99 คน โดยผู้วิจัยใช้สูตรการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน (ยุทธ ไกยวรรณ์และกุสุมา ผลาพรม 2553 : 122) โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อน 0.10% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 99 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) 4.3 ผู้เชี่ยวชาญด้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ท่านดังนี้ 4.3.1 กลุ่มผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังกระโดนน้อย ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 4.3.2 ผู้เชียวชาญด้านการออกแบบกระเป๋า 4.3.3 ผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดเย็บ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1614 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายรพีพัฒน์ มั่นพรม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย20
นางสาววารุณี แผ้วสถาน นักศึกษาผู้ร่วมวิจัย80

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด