รหัสโครงการ : | R000000322 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Design and Development of Information Technology System for Thai Traditional Medicine services |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การออกแบบและพัฒนา, ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, แพทย์แผนไทย,Design and Development, Information Technology System, Thai Traditional Medicine |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 50000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 50,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 มกราคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 31 ธันวาคม 2560 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ในปัจจุบันระบบสารสนเทศเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาหน่วยงานและภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งระบบจะสามารถดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ประกอบการวางแผน และสนับสนุนการตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการ ด้วยเหตุนี้การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องทำการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้บริการจัดการข้อมูลและประมวลผล เพื่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ การจัดซื้อจัดหา การตลาด การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และการเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการและกลุ่มลูกค้า เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการและผู้รับบริการสามารถลดภาระความยุ่งยากในการเก็บข้อมูล ค้นหา และประมวลผลข้อมูล การลดระยะเวลาการทำงานให้รวดเร็วขึ้น การเลือกช่วงเวลาเพื่อขอรับบริการ และการตรวจสอบคลังสินค้าและอุปกรณ์ จนเห็นได้ว่าปัจจุบันการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากร การผลิต และการให้บริการของผู้ประกอบการเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนส่วนใหญ่ได้มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการให้บริการและการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความถูกต้อง และความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวในภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น
การแพทย์แผนไทยเป็นความรู้อันเกิดจากการสะสมประสบการณ์และถ่ายทอดสืบสานกันมาผ่านรุ่นสู่รุ่น โดยการบอกเล่า การสังเกต การบันทึก และการศึกษาที่เกิดจากความเชื่อ ความรู้ ความคิด และการลองผิดลองถูกจนกลายเป็นที่ยอมรับในสังคม เพื่อการบำบัดรักษาโรคความเจ็บป่วยของคนไทยแบบดั้งเดิมที่สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยและวิถีชีวิตไทย และถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทย (การแพทย์แผนไทย, 2557) การแพทย์แผนไทยเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัย บำบัด รักษา ป้องกันโรค การส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ และการนวดไทย รวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย แลพการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา การแพทย์แผนไทยแต่เดิมคล้ายคลึงกับการแพทย์พื้นเมืองอื่นๆ คือ มีความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยในมนุษย์ (กันทิมา และพรทิพย์, 2547) งานการแพทย์แผนไทยได้รับการผสมผสานให้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งประชาชนให้ความสนใจและใช้บริการการแพทย์แผนไทยมากขึ้นเป็นลำดับ (สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2549) โดยแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอาจเป็นคำตอบหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาและบำบัดอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยให้ดีขึ้นหรือทุเลาลงได้ รวมทั้งการอุดช่องโหว่ของการแพทย์แผนปัจจุบันลงได้ (สำนักการนิเทศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2533) เนื่องจากปัญหายารักษาโรคมีราคาแพงขึ้นทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือการปฏิเสธการใช้ยารักษาโรคเนื่องจากกลัวผลข้างเคียงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในอนาคต รวมถึงกระแสการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการที่เน้นการบำบัดแบบธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
ในขณะเดียวกันสังคมไทยมีกระแสความตื่นตัวในเรื่องการแพทย์แผนไทยมากขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จากความสนใจเรื่องสุขภาพทางเลือกของประชาชน โดยกระแสความนิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและอาหารเสริมต่างๆ และนโยบายของรัฐในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับบริการและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ ขณะที่กระแสการสนใจภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มองค์กรภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานอยู่ในระดับพื้นที่ค่อยๆ ก่อตัวและได้รับการยอมรับจากผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวในการแสวงหาการรักษาชนิดอื่นๆ เช่น ยาสมุนไพร การรักษาแบบพื้นบ้าน เป็นต้น อีกทั้งมูลค่าการใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศสูงมากขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ร้อยละของค่าใช้จ่ายทางสุขภาพรวมต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.68 แล้วคงที่ที่ร้อยละ 3.5 จนถึงปี พ.ศ. 2548 สำหรับค่าใช้จ่ายทางสุขภาพต่อหัวนั้นเพิ่มจาก 2,486 บาท ในปี พ.ศ. 2538 เป็น 3,974 บาท ในปี พ.ศ. 2548 หรือเพิ่มขึ้นถึง 1.6 เท่า (สุขภาพคนไทย, 2552: 18) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาและเทคโนโลยีจากประเทศตะวันตก ทำ ให้ภาครัฐเริ่มมุ่งหาทางเลือกอื่นๆ ในการใช้วัตถุดิบและต้นทุนจากภายในประเทศมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ความต้องการบริการสุขภาพทางเลือกของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการแพทย์แผนไทยมีมากขึ้น ทั้งการรับบริการด้ายการนวดตัว นวดฝ่าเท้า การกดนิ้วเท้า การกดจุดฝ่าเท้า การอบไอน้ำ และการประคบสมุนไพร เพื่อลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ปัจจุบันแม้จะมีการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ความรู้การรักษาด้วยแพทย์แผนไทยในรูปของเว็บไซต์อยู่บ้าง และส่วนใหญ่มักถูกจัดทำขึ้นในรูปแบบเว็บไซต์ ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีรูปแบบที่หลากหลาย และข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบเว็บไซต์แต่ละแห่ง รวมถึงความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลผ่านระบบและปัญหาการไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันได้ ซึ่งลักษณะของเว็บไซต์แพทย์แผนไทยปัจจุบันเป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ ตามกลุ่มอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นที่รักษาด้วยแพทย์แผนไทย ซึ่งไม่ได้บอกถึงอาการเจ็บป่วยแต่ละประเภทว่ามีสาเหตุ หรือวิธีป้องกันอย่างไร รวมถึงไม่ได้บอกถึงธาตุที่ร่างกายผิดปกติ และการรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยการแพทย์แผนไทย เช่น การนวดไทย การอบสมุนไพร อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลผ่านโปรแกรมสืบค้นหรือเสิร์จเอ็นจิน (Search Engine) เช่น การค้นหาสมุนไพรที่มีผลต่อธาตุดินในร่างกาย อย่างไรก็ตาม การประมวลผลข้อมูลสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนเว็ป เพื่อให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานอัตโนมัติและสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ เช่น ทำให้การสืบค้นข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลที่ตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการจริง ด้วยการพิจารณาความหมายของสิ่งต่างๆ ในโดเมนเพื่อได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วน ทำให้ค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่ตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน (Berners-Lee et al.,2001) ส่งผลให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้ซ้ำได้อย่างหลากหลาย ทั้งการให้คำแนะนำด้านสมุนไพรไทย และระบบสืบค้นช้อมูลด้านการรักษา บุคลากรในสังกัด และตารางการให้บริการของผู้ให้บริการ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาต้นแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อนำมาใช้ในการบิหารจ้ดการข้อมูลและการให้บริการของผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น การสืบค้นการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย ตารางงานของการให้บริการ ลักษณะการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขอรับบริการ และองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอและได้ผลลัพธ์ของการสืบค้นข้อมูลที่มีความแม่นยำ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย โดยมีวัตถุประสงค์จำเพาะอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับของการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลางตอนบน เพื่อนำปัญหาและข้อจำกัดของการให้บริการมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยต่อไป
2. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อให้สามารถใช้งานจริง และตรงความต้องการของผู้ประกอบการและผู้รับบริการ สามารถตอบสนองต่อการให้บริการและการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
3. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพหลังการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดของระบบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบให้สามารถตอบสนองต่อการให้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
4. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และการเงินของโครงการ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย
|
ขอบเขตของโครงการ : | เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในข้อที่ 6 ขอบเขตการวิจัยในโครงการนี้ได้กำหนดไว้ 7 ด้าน เพื่อให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ทั้งหมดของโครงการ ได้แก่
1. ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับของการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลางตอนบน โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ประกอบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง และตอบสนองกับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะดำเนินการสอบถามปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสาร ความต้องการของผู้ใช้งาน กระบวนการทำงาน ข้อมูลการให้บริการและวิธีการรักษา ราคาการให้บริการ เวลาเปิดให้บริการ ช่องทางการขอรับบริการ ตารางการให้บริการ และข้อจำกัดในการให้บริการของสถานประกอบการ รวมถึงสถานที่ที่ให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลางทั้งหมด เพื่อให้การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยได้มีความสมบูรณ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น
2. ศึกษารูปแบบการออกแบบระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารเสนเทศต้นแบบที่เหมาะสมกับการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อลดต้นทุนและเวลาในการออกแบบและพัฒนาระบบดังกล่าวได้ โดยจะทำการศึกษารูปแบบการทำงาน การเชื่อมโยงข้อมูล การคัดกรองข้อมูล การนำเสนอ การใช้งานของผู้รับบริการและผู้ใช้บริการ และการควบคุมความผิดพลาดของระบบต้นแบบ เพื่อกำหนดรูปแบบระบบและฐานข้อมูลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบได้อย่างเหมาะสมต่อไป รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานที่ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการและผู้รับบริการทั้งหมดได้
3. ศึกษารูปแบบการให้บริการ โปรแกรมการรักษา สถานที่ให้บริการ ค่ารักษา ข้อมูลบุคลากร และข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อทำให้การออกแบบและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบฯ ได้ครอบคลุมการทำงานทั้งหมดของผู้ประกอบการได้ ซึ่งทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการด้านการให้บริการ การสืบค้นข้อมูล ตารางการให้บริการ ค่าใช้บริการ และรายการให้บริการด้านการรักษาของแพทย์แผนไทย ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ รวมถึงการนำผลการศึกษาดังกล่าวมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อกำหนดรูปแบบการทำงาน การเชื่อมโยงข้อมูล การนำเสนอ และการใช้งานของผู้รับบริการและผู้ใช้บริการต่อไปได้ โดยทางทีมผู้วิจัยจะประสานความร่วมมือกับฝ่ายออกแบบและพัฒนา เพื่อดำเนินออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบได้อย่างเหมาะสม และใช้งานได้ครอบคลุมกับรูปแบบการให้บริการทั้งหมดได้
4. ออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยที่เหมาะสมต่อการให้บริการ การนำเสนอ และการใช้งานจริง ซึ่งทางทีมผู้วิจัยจะพิจารณาถึงความคุ้มค่าและเหมาะสมของการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และการใช้งานในการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการแพทย์แผนไทยได้อย่างครอบคลุมตามหลักการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ตารางการให้บริการ รายการที่เปิดให้บริการ ราคา สถานที่ตั้ง และการนำเสนอข้อมูลพื้นฐานของสถานให้บริการแพทย์แผนไทย ทำให้ผู้ประกอบการและผู้รับบริการสามารถทราบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสถานประกอบการแพทย์แผนไทยได้อย่างเหมาะสม
5. ดำเนินการทดสอบการใช้งานจริงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบจากผู้ประกอบการและผู้รับบริการ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้งานจริงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบ รวมถึงความต้องการเพิ่มเติมในการทำงานของระบบ โดยข้อมูลดังกล่าวจำนำไปให้ผู้พัฒนาระบบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้สามารถตอบสนองต่อการให้บริการและการรักษาได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
6. ศึกษาด้านการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในด้านการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุน และผลประโยชน์ของการจัดทำและทดสอบความสามารถในการบริหารจัดการด้านการให้บริการและข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการด้านแพทย์แผนไทยจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อทำให้ระบบสามารถใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามการวิเคราะห์แบบปรับค่าของเวลา (Discounted Measure of Project Worth) ซึ่งเป็นวิธีการร่วมสมัย (Contemporary Approach) และใช้กันอย่างแพร่หลาย 3 วิธี ได้แก่
1. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)
2. อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: BCR)
3. อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return)
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | จากวัตถุประสงค์และขอบเขตการวิจัยที่ได้ระบุไว้ในโครงการนี้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้รับจากโครงการนี้คาดว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังรายละเอียดดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับของการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาและกำหนดรูปแบบการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยที่เหมาะสม และสามารถนำมาใช้งานได้จริง เนื่องจากทีมผู้วิจัยได้มีการศึกษาและสอบถามปัญหาและข้อจำกัดด้านสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศของผู้ใช้งานในทุกขั้นตอนการให้บริการภายในสถานประกอบการทั้งหมดเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล ซึ่งถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จผลประโยชน์ที่ได้จะตกอยู่กับประเทศชาติอย่างมหาศาล โดยหน่วยงานที่สามารถนำผลการดำเนินงานนี้ไปใช้ต่อ ได้แก่ สถานประกอบการด้านการแพทย์แผนโบราณ และผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องยกระดับความสามารถในการให้บริการ การรับรู้ข้อมูลทางด้านวิธีการรักษา และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของแพทย์แผนไทย ซึ่งผลประโยชน์ทางอ้อมจะตกอยู่กับประเทศชาติ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. ผลการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยที่สามารถใช้งานได้จริง ในพื้นที่เขตภาคกลาง จำนวน 1 ระบบ โดยพร้อมที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการแพทย์แผนไทยได้อย่างครอบคลุมตามหลักการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน หรือทำการปรับปรุงระบบ เพื่อแก้ไขและจัดทำระบบให้สามารถใช้งานได้จริงและครอบคลุมการให้บริการของสถานประกอบการ ในกรณีที่ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าโครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งหน่วยงานที่สามารถนำผลการดำเนินงานไปใช้ประโยชน์ได้ต่อ ได้แก่ รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ที่มีความพร้อมในการลงทุนในโครงการเพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จริง
การนำไปใช้ประโยชน์ในด้าน
ด้านวิชาการ
ด้านนโยบาย
ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์/อุตสาหกรรม
ด้านสังคมและชุมชน
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 9.1 ข้อมูลทั่วไปของแพทย์แผนไทย
การแพทย์ เป็นความจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากร่างกายคนเรา ย่อมเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ หรือด้วยเหตุต่างๆ เพื่อต่อสู้กับภาวะดังกล่าว การค้นหาวิธีป้องกันการเจ็บป่วย การบำบัดรักษา การบรรเทาอาการเจ็บป่วย และการบริบาล จึงก่อเกิดขึ้นมา และพัฒนาต่อๆ มาจนกับระบบที่มีแบบแผน กลายเป็น "การแพทย์" ที่มีแบบแผนชัดเจน
การแพทย์จึงเป็นภูมิปัญญาของสังคมที่มาจากความเชื่อ ความรู้ ความคิด การลองผิดลองถูก และกลายเป็นการยอมรับในสังคมแต่ละชนชาติ ต่างมีวิวัฒนการทางการแพทย์ของตนเอง กลายเป็นภูมิปัญญาของชนชาตินั้นๆ หรือท้องถิ่นนั้นๆ
การแพทย์แผนไทย มีวิวัฒนาการมานาน มีหลักฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามยุคทองของการแพทย์แผนไทย ก็ต้องนับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พุทธศักราช ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) ได้มีการจัดตั้งกรมหมอ และโรงพระโอสถ มีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โปรดให้รวบรวมตำรายา และฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน สมกับเป็น โรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทย
ความหมายการแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย หมายถึง ปรัชญา องค์ความรู้ และวิถีปฏิบัติ เพื่อการดูแลสุขภาพ และการบำบัดรักษาโรค ความเจ็บป่วยของคนไทย แบบดั้งเดิม สอดคล้องกับขนบธรรมเนียบวัฒนธรรมไทย และวิถีชีวิตคนไทย โดยวิธีการปฏิบัติของการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยการใช้สมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พุทธศาสนา หรือพิธีกรรม เพื่อดูแลรักษาสุขภาพจิต ธรรมชาติบำบัด ซึ่งได้จากการสั่งสม ถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเป็นระบบ โดยการบอกเล่า การสังเกต การบันทึก และการศึกษาผ่านสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทย
ภูมิปัญญาในการแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย เป็นการแพทย์แบบองค์รวม มีองค์ความรู้ ครอบคลุมการบำบัดรักษาโรคอย่างครบถ้วน คือ
? รู้การเกิดของโรค รู้สาเหตุของโรคจากปัจจัยต่างๆ
? รู้จักโรค ทราบถึงอาการโรค และชื่อสมมติของโรคตามอาการ
? รู้จักยารักษาโรค ทราบถึงสรรพคุณและวิธีปรุงยา
? รู้วิธีรักษาโรค ทราบว่ายาชนิดใด วิธีรักษาแบบใด เหมาะสำหรับโรคใดๆ
ความรู้ทั้ง 4 จึงเป็น หลักปฏิบัติในการวิเคราะห์ และบำบัดรักษาโรคของคนไทย ซึ่งก่อให้เกิดคุณค่าทางภูมิปัญญา ดังนี้
? ครอบคลุมองค์ความรู้อย่างครบถ้วน ทั้งการป้องกันโรค การวินิจฉัยโรค และบำบัดโรค
? มีความหลากหลายในด้านวิธีการป้องกัน และรักษาโรค
? มีศักยภาพในการเลือกสรรวัตถุดิบ ที่มีในธรรมชาติ จากท้องถิ่นใกล้ตัว มาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค
? เป็นวิถีแห่งธรรมชาติบำบัด ก่อให้เกิดพิษน้อย อิงต่อสิ่งแวดล้อม
? พัฒนาเพื่อระบบการพึ่งตนเอง เนื่องจากใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น ไม่มีเทคนิคซับซ้อน ไม่สิ้นเปลือง
? ตั้งอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมไทย ความเชื่อของคนไทย ให้ผลทั้งการรักษาร่างกาย และจิตใจ
การบำบัดโรคแผนไทย
การบำบัดโรคตามแพทย์แผนไทย มักใช้วิธีการหลายวิธี เพื่อให้ผลรักษาทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เช่น การใช้ธรรมชาติบำบัด กายภาพบำบัด จิตบำบัด และการใช้ยา
? การใช้สมุนไพร
? การนวดและการบริหารร่างกาย
? การใช้พิธีกรรมความเชื่อ
ดังนั้นการแพทย์แผนไทย จึงเป็นกรรมวิธีทางภูมิปัญญา ที่ไม่มีทางสูญสิ้นไปอย่างแน่นอน มิใช่สิ่งเก่าใช้ไม่ได้ หรือพ้นสมัย แต่ยังเป็นนวัตกรรมทางความคิด และอิงธรรมชาติ วิถีคนไทย ที่ยังก้าวต่อไปในอนาคต เพื่อคนไทยตลอดกาลนาน
สมุนไพรไทย
ในปัจจุบัน "สมุนไพร" เป็นสิ่งที่หลายๆ คนกลับมาให้ความสนใจ เพราะมีอยู่ใกล้ตัวเรา มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการทำนุบำรุงและขยายพันธุ์ เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกได้ หรือไม่ก็ขึ้นเองตามธรรมชาติ
กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้เล็งเห็น ประโยชน์ของสมุนไพร และได้กำหนดไว้ในนโยบายแห่งชาติด้านยา พุทธศักราช 2536 อย่างชัดเจน และให้การสนับสนุนประชาชน ได้ใช้ยาจากสมุนไพรอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
นิยาม ยาสมุนไพร
"สมุนไพร" ตามความหมายของพระราชบัญญัติ หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งยังมิได้ผสมหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังคงเป็นส่วนต่างๆ ของพื้นนั้นๆ เช่น ราก ลำต้น ดอก ใบ ผล เป็นต้น ฉะนั้นการนำส่วนต่างๆ ของพืชนั้นมาประกอบอาหาร ก็จะทำให้เราได้รับประทานถึง 2 อย่าง คือ คุณค่าทางอาหาร และคุณค่าทางยา ควบคู่กันไปเลยทีเดียว
พ.ศ. 2527 - 28 ได้กำหนดสมุนไพร 57 ชนิด รักษาอาการโรค 24 อาการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้ตัดอาการโรคบางอาการออก เช่น บิด ฯลฯ และเพิ่มบางอาการโรคเข้าไป เช่น ปวดฟัน ลมพิษ และโรคเริม งูสวัด ได้มีการปรับปรุงแก้ไข และใช้สมุนไพรรวมกันเป็น 61 ชนิด รักษาอาการโรค 21 อาการ ได้แก่
? โรคกระเพาะอาหาร
? โรคท้องเสีย ท้องเดิน
? โรคพยาธิลำไส้
? ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
? รักษาอาการท้องผูก
? รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด
? รักษาอาการเบื่ออาหาร
? รักษาอาการปวดฟัน
? รักษาอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ
? รักษาอาการขัดเบา
? รักษาอาการกลากเกลื้อน
? รักษาชันนะตุ
? รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
? รักษา ฝี แผลพุพอง
? รักษาโรคเริม งูสวัด
? รักษาลมพิษ
? รักษาอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
? รักษาอาการไข้
? รักษาเหา
? รักษาอาการเคล็ดขัดยอก
? รักษาอาการนอนไม่หลับ
การใช้สมุนไพรรักษาโรค คือการใช้ฤทธิ์ทางเคมีที่มีในเภสัชวัตถุทางธรรมชาติ เป็นสิ่งบำบัด คนไทยมีภูมิปัญญาในการเลือกสรรเภสัชวัตถุที่มีในธรรมชาติ เพื่อการรักษาโรคมาช้านาน ไม่ว่าจากสัตว์ พืช แร่ธาตุต่างๆ มากกว่า ๑,๐๐๐ ชนิด โดยการสังเกต ศึกษาสืบต่อกันมา จนบัญญัติสรรพคุณสมุนไพร เพื่อรักษาโรคได้อย่างชัดเจน ตามรส ๙ ประการ คือ
? รสฝาด ใช้ในทางสมานแผล แก้ท้องร่วง บิด บำรุงธาตุ
? รสหวาน มีคุณสมบัติซึมซาบไปตามเนื้อ แก้อ่อนเพลีย แก้หอบ ชุ่มคอ เจริญอาหาร
? รสเบื่อเมา ใช้แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษน้ำร้อนลวก พิษดี พิษโลหิต แก้ปวดบาดแผล
? รสขม บำรุงโลหิต แก้ไข้ตัวร้อน ร้อนใน เจริยอาหาร
? รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับลม บำรุงธาตุ ย่อยอาหาร
? รสมัน แก้โรคทางเส้นเอ็น ปวดเมื่อย ไขข้อพิการ เอ็นพิการ
? รสหอมเย็น ทำให้ชื่นใจ บำรุงหัวใจ อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน บำรุงครรภ์
? รสเค็ม มีคุณสมบัติซึมซาบไปตามผิวหนัง รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร
? รสเปรี้ยว แก้ในทางเสมหะ ฟอกโลหิต แก้ไอ ระบายท้อง แก้เลือดไหลตามไรฟัน
ข้อเสนอแนะในการใช้สมุนไพร
? ศึกษาหาข้อมูลของสมุนไพรนั้น ๆ ก่อนนำมาใช้
? ต้องใช้สมุนไพรให้ตรงกับโรค ที่ได้วินิจฉัยอย่างถูกต้องแล้ว
? ต้องใช้สมุนไพรให้ถูกต้น
? ต้องใช้ให้ถูกส่วนของสมุนไพร
? ต้องใช้สมุนไพรตามอายุของพืช
? ต้องเตรียมให้ถูกวิธี
? ความสะอาด ทุกขั้นตอน
? การรับประทานยา เมื่อใช้ยาไป 1 - 2 วัน อาการไม่ดีขึ้น ควรต้องไปปรึกษาแพทย์ที่สถานีอนามัย
อาการโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพร
? โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สุนัขบ้ากัด งูพิษกัด กระดูกหัก ฯลฯ
? ถ้าอาการป่วยมีอาการรุนแรง ไม่ควรใช้ยาสมุนไพร ควรส่งโรงพยาบาล
การประคบสมุนไพร
การใช้สมุนไพรที่มีน้ำหอมระเหยมาห่อรวมกัน นำมานึ่งให้ร้อน ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหย จะซึมเข้าทางผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ลดอาการปวดได้
การอบสมุนไพร
เป็นการอบตัวดวยไอน้ำที่ได้มาจากการต้มสมุนไพรให้ผิวหนังสัมผัสกับไอน้ำ พร้อมกับการสูดไอน้ำสมุนไพร ช่วยให้เส้นเลือดฝอยขยายตัว การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น รูขุมขนเปิด เพื่อขับถ่ายของเสียออกทางผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การประคบ อบสมุนไพร จะใช้ควบคู่กับการนวดแผนไทย โดยมากมักใช้หลังการนวดเสร็จแล้ว ช่วยลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดหยุ่นตัว ร่างกายสดชื่น
นวดแผนไทย
นวดแผนไทย เป็นกระบวนการดูแลสุขภาพอย่างหนึ่ง โดยอาศัยการสัมผัสอย่างมีหลักการ ประกอบกับบรรยากาศที่ร่มรื่น เป็นธรรมชาติของสถานที่ ทั้งนี้สามารถแบ่งรูปแบบการนวดได้ดังนี้
? นวดผ่อนคลาย การนวดผ่อนคลาย เป็นการนวดที่ถูกสุขลักษณะตามแบบฉบับของแผนไทยโบราณ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย และจิตใจ คือตั้งแต่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลม คลายกล้ามเนื้อที่ตึงล้า รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คลายเครียด เคล็ดขัดยอก ช่วยให้สุขภาพ กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลาย
? นวดจับเส้น การนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อ การยึดติดของพังผืดของร่างกายให้ทุเลา
? นวดน้ำมัน การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เช่น โจโจบา อัลมอนด์ พร้อมกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยให้สดชื่น คลายเครียดด้วยกลิ่นหอมเฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันบริสุทธิ์ยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่างไม่ให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน ช่วยสลายไขมันไม่ให้สะสมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย และความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวดจะซึมซาบลึกเข้าไปผิวหนัง และกล้ามเนื้อช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว
? นวดสปอร์ท การนวดคลายกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บเนื่องจากการออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน หรืออาการล้าตามกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดตระคริว
? นวดฝ่าเท้า/นวดเท้า การนวดเฝ่าเท้า นวดเท้า เป็นการปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากมีจุดสะท้อนของอวัยวะภายในร่างกายที่ฝ่าเท้า และเท้า การนวดฝ่าเท้า และเท้า จึงเป็นการช่วยให้ระบบการไหวเวียนไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
? การกด มักจะใช้นิวหัวแม่มือกดลงที่ส่วนของร่างกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ให้เลือดถูกขับออกจากหลอดเลือดที่บริเวณนั้น และเมื่อลดแรงกดลงเลือดก็จะพุ่งมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทําให้ระบบไหลเวียนของเลือดทําหน้าที่ได้ดี ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้รวดเร็วขึ้น แต่ข้อเสียของการกด คือ ถ้ากดนานเกินไปหรือหนักเกินไปจะทําให้หลอดเลือดเป็นอันตรายได้ เช่น ทําให้เส้นเลือดฉีกขด เกิดรอยช้ำเขียวบริเวณที่กดนั้น
? การคลึง เป็นการใช้หัวแม่มือ นิ้วมือ หรือส้นมือออกแรงกดให้ลึกถึงกล้ามเนื้อ ให้เคลื่อนไปมาหรือคลึงเป็นลักษณะวงกลม ข้อเสียของการคลึง คือ การคลึงที่รุนแรงมากอาจทําให้เส้นเลือดฉีกขาด หรือถ้าไปคลึงที่เส้นประสาทบางแห่ง ทําให้เกิดความรู้สึกเสียวแปลบเส้นประสาทอักเสบได้
? การบีบ เป็นการจับกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือแล้วออกแรงบีบที่กล้ามเนื้อ เป็นการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังกล้ามเนื้อช่วยให้หายจากอาการเมื่อยล้า การบีบยังช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อได้ด้วย ข้อเสียของการบีบ คือ ถ้าบีบนวดนานเกินไปอาจทําให้กล้ามเนื้อช้ำ เพราะเกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดภายในกล้ามเนื้อ
? การดึง เป็นการออกแรงเพื่อที่จะยืดเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อ หรือพังผืดของข้อต่อที่หดสั้นเข้าไปออก เพื่อให้ส่วนนั้นทําหน้าที่ได้ตามปกติ ในการดึงข้อต่อมักจะได้ยินเสียงลั่นในข้อแสดงว่าการดึงนั้นได้ผล และไม่ควรดึงต่อไปอีก สําหรับกรณีที่ไม่ได้ยินเสียงก็ไม่จําเป็นต้องพยายามทําให้เกิดเสียง ข้อเสียของการดึง คือ อาจทําให้เส้นเอ็นหรือพังผืดที่ฉีกขาดอยู่แล้วขาดมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรทําการดึงเมื่อมีอาการแพลงของข้อต่อในระยะเริ่มแรก ต้องรอให้หลังการบาดเจ็บแล้วอย่างน้อย 14 วัน จึงทําการดึงได้
? การบิด เป็นการออกแรงเพื่อหมุนข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อเส้นเอ็นให้ยืดออกทางด้านขวาง ข้อเสียของการบิด คือ คล้ายกับข้อเสียของการดึง
? การดัด การออกแรงเพื่อให้ข้อต่อที่ติดขัดเคลื่อนไหวได้ตามปกติ การดัดต้องออกแรงมากและค่อนข้างรุนแรง ก่อนทําการดัดควรจะศึกษาเปรียบเทียบช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่จะทําการดัดกับข้อต่อปกติ ปกติจะคํานึงถึงอายุของผู้ถูกนวดด้วย โดยถือว่าเด็กย่อมมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อดีกว่าผู้ใหญ่ ข้อเสียของการดัด คือ อาจทําให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ถ้าเป็นผู้ถูกนวดไม่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อนั้น หรือกรณีทําการดัดคอในผู้สูงอายุซึ่งมีกระดูกค่อนข้างบาง การดัดที่รุนแรงอาจทําให้กระดูกหักได้ในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็ไม่ควรทําการดัดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อนั้น หรือกรณีทําการดัดคอในผู้สูงอายุ ซึ่งมีกระดูกค่อนข้างบาง การดัดที่รุนแรงอาจทําให้กระดูกหักได้ ในที่เป็นอัมพาตมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็ไม่ควรทําการดัด เพราะอาจทําให้ข้อต่อเคลื่อนออกจากที่เดิม หรือกรณีข้อเท้าแพลงไม่ควรทําการดัดทันทีอาจทําให้มีอาการอักเสบและปวดมากขึ้น
? การตบ การตี การทุบ หรือ การสับ เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ เรามักใช้วิธีการเหล่านี้กับบริเวณหลังเพื่อช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ หรือช่วยในการขับเสมหะเวลาไอ ข้อเสียของการตบตี คือ ทําให้กล้ามเนื้อชอกช้ำและบาดเจ็บได้
? การเหยียบ เป็นวิธีที่นิยมคือขึ้นไปเหยียบหรือเดินบนหลังข้อเสียของการเหยียบ คือ เป็นท่านวดที่มีอันตรายมากเพราะทําให้กระดูกสันหลังหักและอาจทิ่มแทงถูกไขสันหลัง ทําให้เป็นอัมพาตได้ หรือทําให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต เกิดการบาดเจ็บได
ข้อควรพิจารณาในการนวด
สำหรับข้อควรพิจารณาในการนวดสำหรับแพทย์แผนไทย ซึ่งมีรายยละเอียดดังนี้
1. ผู้นวดจะต้องมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยผู้นวดจะต้องมีสุขภาพ หรือกําลังที่จะสามารถออกแรงนวด มีจิตใจที่ปกติ มีความรัก และมีความต้องการที่จะมุ่งให้ถูกนวดสบาย หรือพ้นจากความเจ็บป่วยนั้น
2. ผู้นวดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์พอสมควร เนื่องจากกระทําโดยตรงต่อร่างกายนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ได้
3. ผู้นวดจะต้องมีความชํานาญในด้านการนวดพอสมควร โดยจะต้องหมั่นฝึกหัดค้นคว้าและหัดสังเกต แล้วนํามาประยุกต์ใช้ให้เกิดความเชี่ยวชาญ หากเกิดความสงสัยให้สอบถามแก่ผู้นวดอื่นๆ ที่มีความชํานาญกว่าเพิ่มเติม
4. ตําแหน่งที่นวด การนวดนั้นได้มุ่งที่จะให้เกิดความรู้สึกของผู้ถูกนวดดีขึ้น ดังนั้นในขณะทีกดนวดให้สังเกตหรือสอบถามความรู้สึกของผู้นวดตลอดเวลา บริเวณที่มักจะก่อความรู้สึกที่ดี คือ บริเวณตามแนวร่องของกล้ามเนื้อ เป็นต้น
5. ท่าทางในการนวด การนวดที่ไม่ทําให้ผู้นวดเหนื่อย คือ การใช้น้ำหนักร่างกายเป็นแรงกดนวด ดังนั้นท่าที่ใช้นวดต้องเป็นท่าที่สามารถใช้น้ำหนักกดได้สะดวก และไม่เกิดความตึงเครียด
6. น้ำหนักที่ใช้นวด การนวดเป็นศิลปะอย่างหนึ่งเพื่อความพอใจของผู้ถูกนวด ความสามารถในการรับแรงกดของแต่ละคนจะแตกต่างกัน การที่จะรู้ว่าผู้ใดชอบแรงนวดขนาดไหนนั้น ต้องสังเกตถึงปฏิบัติกิริยาหรือสอบถาม โดยกดลงไปช้าๆ และเพิ่มน้ำหนักกดจนถึงแรงหนึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บนั้นคือความทนทานต่อแรงกด
7. ผู้นวดจะต้องทําการนวดอย่างมีสติ มีความระมัดระวังอยู่เสมอโดยไม่กดนวดบริเวณที่อาจเป็นอันตราย เช่น การนวดช่องท้องต้องศึกษาให้รู้แจ้งถึงอวัยวะในช่องท้องถึงจะนวดได้หรือไม่นวด ในรายที่มีการอักเสบ มีการตกเลือด กระดูกหัก เป็นต้น
8. ผู้นวดจะต้องให้การดูแลหลังจากการนวด ถ้าหากมีรอยช้ำ หรือเกิดการระบมจะต้องทําการประคบความร้อน และให้คําแนะนําต่อผู้ถูกนวดในการดูแลตนเองหลังนวดเกี่ยวกับการพักการทํางานของอวัยวะ การบริหารร่างกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรง การกินอาหารที่ถูกหลัก การหลีกเลี่ยง หรืองดพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วย เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้บริการแพทย์แผนไทย
1. คุณค่าต่อสุขภาพ
การนวดเป็นกระบวนการดูแลสุขภาพ และรักษาโรคโดยอาศัยการสัมผัสอย่างมีหลักการระหว่างผู้นวด (ผู้ให้บริการรักษา) และผู้ถูกนวด (ผู้ป่วย) การนวดส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจของหมอนวดและผู้ถูกนวด สําหรับหมอนวดที่มีทักษะการนวดจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีและพ้นจากความทุกข์ได้ ทําให้หมอนวดมีความอิ่มเอิบใจและมีความสุขที่เป็นผู้ให้สําหรับผู้ป่วยจะได้รับผลทางกายและทางจิตใจไปพร้อมกัน ผลทางกาย คือ การนวดทําให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลมและน้ำเหลือง กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เส้นคลาย นอกจากนั้นยังมีผลสะท้อนทําให้การทํางานของอวัยวะที่อยู่ห่างออกไปจากบริเวณนวด ซึ่งเดิมมีน้อยกลับเพิ่มขึ้นจนกลับสู่ภาวะปกติ ฉะนั้นข้อบ่งใช้ในการนวดจึงมีมากมาย อาทิเช่น ใช้รักษาหรือบรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาการตกหมอน ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดศีรษะ หลังตึง ข้อแพลง สะบักจม โรคอัมพฤต เป็นต้น
การนวดจะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้
1. ผลต่อระบบไหลเวียนเลือด
1.1 การคลึงทําให้เลือดถูกบีบออกไปจากบริเวณนั้น และมีเลือดใหม่มาแทนที่ ช่วยในการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง
1.2 สําหรับการบวม การคลึงทําให้บริเวณนั้นนิ่มลงได้ ทําให้การบวมลดลง แต่ในกรณีที่มีการอักเสบไม่ควรคลึงอาจทําให้บวมมากขึ้นได้
1.3 อุณหภูมิเพิ่มขึ้นทําให้ส่วนที่นวดอุ่นขึ้น
2. ผลต่อระบบกล้ามเนื้อ
2.1 ทําให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพดีขึ้น เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นเหมือนการนวดร่างกายนักกีฬาก่อนลงแข่งขัน
2.2 ขจัดของเสียในกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทําให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้าน้อยลง
2.3 ทําให้กล้ามเนื้อหย่อนลง ผ่อนคลายความเกร็ง
2.4 ในรายที่มีพังผืดเกิดภายในกล้ามเนื้อ การคลึงจะทําให้พังผืดอ่อนตัวลง ทําให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้น และอาการเจ็บปวดลดลง
3. ผลต่อผิวหนัง
3.1 ทําให้มีการขับของเสียออกมาทางเหงื่อทางไขมันและผิวหนัง ช่วยทําให้ผิวหนังชุ่มชื่นขึ้น รวมทั้งทําให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น ทําให้ผิวเต่งตึง
3.2 ยาดูดซึมได้ดีขึ้นภายหลังการนวดที่นานพอควร เช่น การนวดด้วยยาแก้ช้ำ
3.3 การคลึงในรายมีแผลเป็น ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดงอกแทนผิวหนังเดิม จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทําให้แผลเป็นอ่อนตัวลงหรือเล็กลงไป
4. ผลต่อระบบข้อต่อ ทําให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทําให้ร่างกายมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น
5. ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
5.1 เพิ่มความตึงตัวของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ กระเพาะอาหารและลําไส้
5.2 การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลําไส้ ทําให้เจริญอาหาร ท้องไม่อืด ไม่เฟ้อ
6. ผลต่อจิตใจ
6.1 คลายความเจ็บปวดของร่างกายลง ทําให้การทํางานของระบบประสาทส่วนที่รับความรู้สึกดีขึ้น
6.2 ช่วยให้สุขภาพดี จิตใจสดชื่นแจ่มใส ผ่อนคลาย ลดความเครียดความกังวล
6.3 เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ครอบครัว และสังคม
การนวดไทยจึงก่อให้เกิดประโยชน์ตามองค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ดี ทั้ง 4 ด้าน คือ
(1) การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์ รู้จักการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมปราศจากมลภาวะ รู้จักการออกกําลังกายสม่ำเสมอและสามารถทําการนวดเป็นประจํา เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพการทํางานของกล้ามเนื้อ และระบบการไหลเวียนเลือด ทําให้เอ็นกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น และช่วยให้การทํางานของเนื้อเยื่อหรือข้อต่อต่างๆ ดีขึ้น การนวดเป็นประจําจึงเหมือนกับยาอายุวัฒนะ ทําให้สุขภาพสมบูรณ์ มีอายุยืนยาว และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
(2) การป้องกันโรค เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับกล้ามเนื้อ หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายก่อนการปฏิบัติงาน สร้างความคล่องตัวหรือยืดหยุ่น การนวดยังมีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย การนวดเพื่อคลายความเกร็งของเอ็นกล้ามเนื้อ หรือนวดเพื่อเตรียมความพร้อมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
(3) การรักษา เป็นการบําบัดที่นอกเหนือจากการบําบัดด้วยการแพทย์ปัจจุบัน เช่น การนวดกดจุดต่างๆ การฝังเข็ม เพื่อบําบัดอาการต่างๆ การนวดฝ่าเท้า นวดกล้ามเนื้อหรือเอ็นข้อต่อต่างๆ การกดคลึงตามบริเวณข้อที่มีอาการเกร็ง หรือที่เรียกว่าพังผืดติด เพือช่วยให้การเคลื่อนไหวในส่วนนั้นๆ ดีขึ้น ทําให้เลือดดําไหลเวียนออกจากเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น ลดอาการบวมที่ปลายมือปลายเท้า ลดอาการขอดของเส้นเลือด หรือนวดผิวหนังเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนัง เป็นต้น
(4) การฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการนวดเพื่อช่วยฟื้นฟูลดอาการเกร็ง หรือปรับสมรรถภาพของระบบการไหลเวียนเลือดในบริเวณต่างๆ เช่น การนวดคลึงบริเวณแขนขา นอกจากจะช่วยลดอาการปวดแล้ว ยังเป็นการฟื้นฟูให้คืนสู่สภาพปกติเร็วขึ้น
2. คุณค่าต่อความสัมพันธ์ทางสังคม
การนวดเพื่อสุขภาพและการนวด เพื่อรักษาความเจ็บป่วยทั้งที่เกิดขึ้นในครอบครัวและในสถานบริการทั้งของเอกชนและของรัฐ (โรงพยาบาล/สาธารณสุข) การนวดทุกรูปแบบจะมีส่วนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทําให้เกิดความเข้าใจการยอมรับและความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน นอกจากนี้ บางครั้งการสนทนาระหว่างหมอนวดและผู้ป่วย (ผู้รับบริการ) ยังสามารถผ่อนคลายกังวลใจและช่วยคลี่คลายปัญหาชีวิตของผู้ป่วยได้อีกด้วย นับเป็นการช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมอีกทางหนึ่ง
9.2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)
ลักษณะของระบบเอ็มไอเอสที่ดี
ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมากเทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลงสินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลาพัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามาคาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำเมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่ามนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้นในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สดๆ เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติเราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสดจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อไขในองค์การ ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษีในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ
ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมากมีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับ คะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
สารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
- ระบบสารสนเทศ
- ข้อมูลสารสนเทศ
- ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
- ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร
- องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้ง่านร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
1. ระบบประมวลผล ความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือ ไม่สะดวก ช้า และอาจผิดพลาด ปัจจุบันองค์การจึงต้องทำการจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การจัดการข้อมูล
ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสาร สนเทศโดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบสองประการแรก แต่ผู้ที่สนใจด้านการจัดการข้อมูล (Data/Information Management) จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่สาม ซึ่งมีความเป็นศิลปะ ในการจัดรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ ในการประมวลผล การจัดเก็บ การสื่อสาร และการส่งผ่านสารสนเทศด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนทศ ทั้งภายในและภายนอกระบบ ให้สามารถดำเนินร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ
ข้อมูล และสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
คุณสมบัติของข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์ องค์การจำเป็นต้องลงทุน ทั้งในด้านตัวข้อมูล เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง สามารถดำเนินการได้ ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิง หรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้
3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน
1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย
1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน
2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
2.1 การจัดแบ่งข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่งหมวดหมู่สินค้า และบริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา
2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย
2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่นสถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
2.4 การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย
3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย
3.1 การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
3.2 การค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
3.3 การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนา หรือนำไปใช้อีกครั้งไดโดยง่าย
3.4 การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจาย หรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
MIS ที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. MIS ถูกนำไปใช้การตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problems) เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดกับงานประจำ
2. MIS เป็นระบบงาน ซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหลางหรือระบบย่อยหลาย ๆ ระบบที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อจัดทำสารสนเทศเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ของทั้งระบบ
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ จะเริ่มจากความต้องการและความเห็นชอบของผู้บริหารเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารช่วยในการตัดสินใจและบรรลุจุดมุ่งหมายโดยรวมองค์กร
4. MIS จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เนื่องจากข้อมูลในองค์กรหนึ่ง ๆ มีเป็นจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อน คอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เพื่อสร้าง MIS ให้แก่ผู้บริหาร ใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและเหมาะสม
5. สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับพนักงานเครื่องจักร เงินทุนและวัตถุดิบ จุดมุ่งหมายของ MIS คือจัดทำสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรเพื่อใช้ควบคุม การทำงานและการจัดการขององค์กร
6. ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ ซึ่งฐานข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว วัตถุประสงค์คือต้องการจะหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของการเก็บข้อมูล
7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ MIS จะไม่ประสบความสำเร็จถ้าปราศจากจากความร่วมมือและความพอใจของผู้ใช้งานถึงแม้ว่ามีระบบที่ดีเพียงใดก็ตามถ้าผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกต่อต้านและคดว่า MIS จะมาแย่งงานของตนไป
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร
ระบบสารสนเทศได้ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบเพื่อสนองความต้องการสารสนเทศมีในการบริหารงานระดับต่าง ๆ ดังนี้
1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS : Transaction Processing Systems) บางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลข้อมูล (DP : Data Processing Systems) ซึ่งเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์ การประมวลข้อมูลในยุคก่อนที่จะมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้นั้น จะเป็นการประมวลผลที่กระทำด้วยมือหรือใช้เครื่องคำนวณช่วย ต่อมามีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลโดยเฉพาะในระบบธุรกิจเพื่อช่วยงานประจำ เช่น การสั่งซื้อสินค้า การจัดระบบสินค้าคงคลัง การทำบัญชีต่าง ๆ การทำใบเสร็จรับเงิน การทำใบแจ้งหนี้ ใบสั่งสินค้า รายการซื้อ รายการขาย ในการทำการประมวลผลรายการก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงานต่าง ๆ เป็นประจำ แต่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศได้เต็มที่เพราะเอกสารส่วนมากถูกนำไปใช้เกี่ยวกับงานประจำวัน เช่น การบันทึกรายการบัญชี การบันทึกยอดขายประจำวัน การออกใบแจ้งหนี้ เป็นการบันทึกรายการตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำ ๆ ทุกวัน มากกว่าจะใช้เพื่อการบริหาร หรือการจัดการ เพราะรายงานประจำวันนั้น ไม่ระบุสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการทราบ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบว่า ลูกค้าประเภทไหนชอบสินค้าชนิดใด สินค้าใดจะมีแนวโน้มที่จะขายดีมากขึ้นหรือลดลง สินค้าประเภทใดที่เป็นที่นิยมในภาคไหนTPS เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศ แล้วส่งไปยังระดับต่อไปตัวอย่างข้อมูลที่เข้ามาในระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการขายสินค้า ระบบการจองโรงแรมห้องพัก ระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานลูกจ้าง หรือข้อมูลการส่งสินค้า โดยจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาเพื่อ ทำการประมวลผลโดยถือว่าระดับ ประมวลผลรายการเป็นระดับล่างสุดซึ่งในระดับนี้จำเป็นต้องมีการจัดการทำงานให้เป็นแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นระบบที่เก็บข้อมูลธรรมดา เพื่อนำไปใช้งานในภายหลัง เช่น วันนี้มียอดขายเท่าใด รายรับรายจ่ายเท่าใด มีเงินหมุนเวียนในระบบเท่าใดหรือในคลังสินค้า สินค้าที่นำออกไปมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ปัจจุบันระบบประมวลรายการมักนิยมใช้กับการประมวลผลแบบออนไลน์ (On - line Processing) นั่นคือข้อมูลต่าง ๆ จะถูกประมวลผลทันทีที่เข้าสู่ระบบ มักนิยมใช้กับงานธุรกิจประจำวัน สรุปคือเป็นกิจกรรมในแต่ละวันนั่นเองโดยระบบประมวลผลรายการเป็น ตัวเชื่อมระหว่างองค์กรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นตัวหลักที่เก็บข้อมูลไว้ก่อนที่จะส่งไปยังระดับอื่น ๆ ถ้าระบบนี้ทำงานได้ไม่ดีหรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลขาดประสิทธิภาพ ก็จะเกิดผลกระทบทั้งองค์กร งานที่ได้อาจขาดความสมบูรณ์หรือเกิดความเสียหายได้ทั้งองค์กรเพราะทำให้ขาดความต่อเนื่องของงานหรือได้รับข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง งานในระดับอื่น ๆ ก็ผิดพลาดตามไปด้วย สาเหตุหนึ่งของความผิดพลาด อาจเกิดมาจากข้อมูลที่รับเข้ามาไม่สมบูรณ์เพียงพอ หรือสาเหตุเกิดจากภายในระบบประมวลผลรายการเองซึ่งถือได้ว่า ระบบประมวลผลรายการมีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรTPS มักจะทำการประมวลผลข้อมูลกับงานเฉพาะส่วนขององค์กร เช่น ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการรับข้อมูล จัดเก็บข้อมูลไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลและทำการประมวลผลแยกกัน ผู้ใช้ระบบ TPS ได้แก่ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลพนักงานลงบัญชี พนักงานรับสั่งจอง เป็นต้น
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information Systems)
เป็นระบบที่ช่วยในการเตรียมรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสามารถใช้สารสนเทศที่ได้จัดการกับปัญหาแบบโครงสร้าง เช่น ใช้ในการวิเคราะห์ความผิดพลาด ความก้าวหน้า หรือข้อบกพร่องในการทำงาน รายงานส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของรายงานสรุป (Summary Report) จากการปฏิบัติงานประจำ เป็นงานที่ได้รับการส่งต่อจากงาน TPS คือ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่มีอยู่ในระบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในระดับต่อไป คำว่า MIS บางครั้งจะใช้คำว่า IRS (Information Reporting Systems) หรือ MRS (Management Reporting Systems) แทนความแตกต่างระหว่าง ระบบสารสนเทศเพื่อ การจัดการ (MIS) และระบบประมวลผลรายการ (TPS) มีหลายประการ TPS ใช้แฟ้มข้อมูลแยกกันเนื่องจากการทำงานแยกกันในแต่ละฝ่าย เช่น ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการรับใบสั่งสินค้าจากลูกค้า ประมวลรายการสินค้า บันทึกรายการขาย ดูแลการส่งสินค้า ควบคุมคลังสินค้า และการบัญชีMIS จะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันและมีการรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ฝ่ายทำให้ MIS มีความยืดหยุ่นในการสร้างสารสนเทศให้กับ ผู้บริหารตามความต้องการ สารสนเทศที่ได้จะเกี่ยวข้องกับการสรุปผลการดำเนินงานที่ได้จาก TPS จะมีการพิมพ์รายงานสรุปว่าสินค้าอะไรบ้างที่ขายช้าหรือขายเร็วและส่วนของคลังสินค้าก็จะรู้ว่า ต้องสั่งสินค้าอะไรเพิ่มเข้ามาใหม่ ดังนั้น MIS เป็นการสร้างสารสนเทศที่จำเป็นต่อการจัดการในงานต่าง ๆ มีการวางแผนขั้นแรกในระดับการควบคุม และตัดสินใจของผู้บริหารในงานทั่ว ๆ ไป โดยจะใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมต่อระบบ MIS ก็คือผู้บริหาร ผู้บริหารจะคอยรับทราบและทำความเข้าใจถึงภาพรวมและแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัท สถานะการเงินเป็นอย่างไร สภาพตลาดเป็นอย่างไรมีกำลังการผลิตมากน้อยเพียงใดรวมถึงผลกระทบหรือปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดจนโอกาสต่าง ๆ ทางธุรกิจมีแนวโน้มเป็นอย่างไร จากนั้นจึงนำสิ่งที่ได้รับจากการรายงานข้างต้นมาพิจารณาวางแผนและดำเนินการต่อไปMIS จะอยู่ในระดับกลางขององค์กร คือ เป็นระดับของการจัดการ ทั้งทางด้านการจัดการขาย การควบคุมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ของระดับปฏิบัติงาน เช่น นำข้อมูลของวันนี้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลของเดือนที่ผ่านมาหรือย้อนหลัง 3 เดือน แล้วนำมาสรุปในอยู่ในรูปของกราฟหรือรายงาน นอกจากนี้ผู้บริหารยังใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS มาวิเคราะห์กาความผิดพลาดหรือหาความก้าวหน้าในการทำงาน โดยอาจใช้ข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริงกับค่าประมาณ ที่วางแผนไว้ แล้วจึงส่งต่อไปยังผู้บริหารระดับสูง เพื่อผู้บริหารระดับสูงจะได้นำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือวงแผนระบบงานต่อไป
3. ระบบสนับสนุนการตัดสิน (DSS : Decision Support Systems)
เป็นระบบที่เป็นการทำงานแบบกึ่งโครงสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูลการนำมาใช้และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ (ประสงค์ ประณีตพลกรังและคณะ. 2541 ; 16) ในระดับนี้จำเป็นต้องอาศัยสารสนเทศจาก TPS และ MIS แบบสรุปมาใช้ประกอบการตัดสินใจ DSS แตกต่างจากระบบอื่น ๆ คือ เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นต่อการตัดสินใจ และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคนข้อแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS มีดังนี้
MIS สามารถให้สารสนเทศได้เฉพาะสารสนเทศที่มีอยู่แล้ว ไม่สามารถจัดสารสนเทศใหม่ทันทีทันใด MIS ใช้กับปัญหาแบบมีโครงสร้าง เช่น ในระบบสินค้าคงคลังเมื่อไรจึงจะสั่งวัตถุเพิ่ม และต้องสั่งเท่าไร ซึ่งเป็นลักษณะของปัญหาที่เกิดประจำในระดับปฏิบัติการ การตัดสินในจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการผลิต ราคาต้นทุนวัตถุดิบและตัวแปรอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในระบบสินค้าคงคลัง
DSS ได้ถูกออกแบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างซึ่งเป็นปัญหาที่ส่วนเป็นแบบมีโครงสร้าง และส่วนหนึ่งเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น ความต้องการปรับปรุงคุณภาพการส่งสินค้าของพ่อค้า ปัญหาแบบมีโครงสร้างได้แก่ การเปรียบเทียบสารสนเทศในการส่งของอย่างตรงเวลาของพ่อค้า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถได้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของ MIS และปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างได้แก่ สถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าได้ เกี่ยวกับนโยบายการสั่งซื้อสินค้า ราคาสินค้า และอื่น ๆ ปัญหาดังกล่าวต้องใช้ DSS ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ นอกจากนี้ DSS จะอยู่ในรูปแบบที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้บริหารแต่ละคน เป็นระบบที่ถูกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยผู้บริหารใน การตัดสินใจ ภายใต้ผลสรุป และเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกแหล่งข้อมูลภายในเป็นข้อมูลที่ได้มาจากฐานข้อมูลภายในองค์กร เช่น การขาย การผลิต ฐานะทางการเงิน ขององค์กร แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ กระแสการเงิน กระแสการลงทุนในตลาดหุ้น ภาวะเศรษฐกิจ ข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง DSS มักจะใช้ภาษาสืบค้น (Query Language) ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ใช้ภาพกราฟิก เพื่อให้ผู้บริหารได้รับสารสนเทศที่ต้องการจริง ๆ ช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยผู้บริหารสร้างตัวแบบ (Model)ของตัวแปรต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ซึ่งตัวแบบนี้ถ้าเปลี่ยน ตัวแปร 1 ตัวหรือมากกว่า จะทำให้ผลกระทบเปลี่ยนไปโดยตัวแบบจะรวมเอาแฟคเตอร์ (Factor) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเปรียบเทียบ ผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจ ตัวแบบที่สร้างขึ้นง่ายต่อการใช้ การดึงข้อมูลและการทำรายงาน ผู้บริหารสามารถสร้างสารสนเทศที่คิดว่ามีประโยชน์เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี DSS เป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ช่วยในการตัดสินใจของคน ช่วยในการวิเคราะห์งานได้ดีโดยช่วยให้คนรู้จักข้อมูลและรู้จักใช้ตัวแบบ (Model) ของคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา ช่วยผู้บริหารในการทดสอบทางเลือกเพื่อตัดสินใจ ทำให้ทราบว่าการเลือกทางเลือกนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ีการนำสารสนเทศที่เตรียมได้จากระดับล่างขององค์กรและสารสนเทศภายนอก มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด สามารถทำนายแนวโน้มของตลาดได้ ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะการตัดสินในระดับนี้ จะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการตัดสินใจในระดับล่าง
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS : Office information Systems) เป็นระบบการจัดการสารสนเทศในสำนักงานโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงาน เช่น อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ โมเด็ม (Modem) โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น เพื่อใช้เกี่ยวกับงานประมวลผลคำ งานพิมพ์ตั้งโต๊ะ งานส่งข่าวสารข้อมูลและอื่น ๆ เป็นระบบเกี่ยวกับการผลิตเอกสาร การติดต่อประสานงานโดยเกี่ยวข้องกับระบบ TPS และ MIS เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในงาน บริหารในสำนักงานเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงาน
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
MIS สามารถรวบรวมและสรุปข้อมูลที่มีรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อสร้างสารสนเทศให้กับผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการสรุปผล การวิเคราะห์ การวางแผน เป็นต้น การที่ระบบสารสนเทศจะมีความสามารถดังกล่าว จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ
1. เครื่องมือในการสร้าง MIS ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และฐานข้อมูล (Database) ฮาร์ดแวร์ คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการประมวลซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมคำสั่งที่ใช้ในการรวมและสรุปข้อมูลฐานข้อมูล คือ การเก็บรวมรวมข้อมูลที่จำเป็นไว้ ณ ศูนย์กลางและสามารถนำมาใช้ในงานเมื่อมีความต้องการได้ ข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญของ MIS ข้อมูลที่ดีนอกจากมีคุณสมบัติของความเชื่อมั่นถือได้แล้วยังต้องได้รับการจัดเก็บเป็นระบบที่ดีสามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ซ้ำซ้อน อันจะทำให้กิจการดำเนินไปอย่างได้ผล
2. วิธีการหรือขั้นตอนการปะมวลผล ได้แก่ ลำดับของการประมวลข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างสารสนเทศที่ต้องการ ลักษณะที่สำคัญของการประมวลผลข้อมูล คือ
2.1 ทำการประมวลผลข้อมูลทั่วไป
2.2 ใช้ข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก
2.3 ระยะเวลาในการใช้ข้อมูลเป็นระยะสั้นส่วนมากใช้กับการปฏิบัติงานประจำวัน
2.4 ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้มักเป็นระบบออนไลน์ (On-line Processing) ซึ่งเป็นวิธีการประมวลผลที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลทันที โดยไม่มีการเก็บสะสมข้อมูลไว้ก่อน
3. มีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐานข้อมูล ซึ่งเป็นฐานข้อมูลนั้นเกิดจากความคิดที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เพื่อเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในการใช้ข้อมูลร่วมกันและช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
4. การแสดงผลลัพธ์ MIS จะจัดทำสารสนเทศ ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร โดยระบบสารสนเทศต้องสามารถใช้งานหรือแสดงผลได้รวดเร็ว และอยู่ในรูปของรายงานแบบต่างๆ เช่น ตาราง หรือการแสดงโดยใช้กราฟ
5. มีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรข้อมูล เพื่อควบคุมการทำงานระบบ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของความต้องการ MIS สำหรับองค์กร ในการดำเนินงานขององค์กร ต่าง ๆ นั้น สารสนเทศนับว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อองค์กรมาก เพราะจะต้องแข่งขันให้ทันกับเวลา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานต่าง ๆ จึงได้มีการพัฒนา MIS ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การบริหารงานมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากปริมาณงานเพิ่มขึ้น องค์กรขยายใหญ่ขึ้น ปัญหาภายในและภายนอกองค์กรมีมากขึ้น การเตรียมการขยายตัวขององค์กรในอนาคต เนื่องจากการขยายตัว ขององค์กรและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ระบบที่ออกแบบจะต้องรองรับการขยายตัวทั้งจำนวนพนักงาน และปริมาณงานขององค์กรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งซับซ้อนในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
2. ความจำเป็นในเรื่องกรอบเวลา ปัจจุบันผู้บริหารต้องสามารถปฏิบัติงานในกรอบของเวลาที่สั้นลง เพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันต่าง ๆ และการที่สังคมมีการใช้ระบบสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น เป็นผลทำให้การแข่งขันในธุรกิจมีมากขึ้นตามลำดับ
3. การพัฒนาทางเทคนิค คือ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ เช่น ใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ แยกแยะจัดสรรข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ยิ่งในปัจจุบันมีความต้องการใช้ระบบสารสนเทศกันอย่างแพร่หลาย มีการนำเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในการติดต่อทางด้านธุรกิจ เช่น การสั่งซื้อสินค้า ตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับต่างประเทศ เป็นต้น
4. การตระหนักถึงคุณค่าและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง มีความสามารถมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์จะแพร่หลาย อย่างรวดเร็ว ระบบสื่อสารมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นจึงเป็นผลที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้เทคโนโลยีในการสร้าง MIS
การพัฒนาระบบสารสนเทศ(Information System Development)
การประกอบธุรกิจในปัจจุบันจะมีการแข่งขัน เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกันก็คือการมีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งขัน ระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยจัดการและบริหารข้อมูลทั้งที่มีอยู่ภายในองค์การและที่จะมาจากภายนอกองค์การ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานและการบริหารงานภายในองค์การราบรื่นในสถานการณ์ปัจจุบันระบบสารสนเทศที่จะสามารถจัดการและบริหารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง จะเป็นระบบที่มีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักมีการออกแบบระบบอย่างรอบคอบและมีการจัดการระบบอย่างมีประสิทธิภาพ จากการเล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ ทำให้องค์การใดที่มีความพร้อมด้านการเงินบุคลากรและการสนับสนุนจากผู้บริหารก็จะพยายามที่จะพัฒนาระบบสารสมเทศ ที่เหมาะสมกับความต้องการเพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและการแข่งขัน เช่น ระบบสานสมเทศใหม่สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีกว่าเดิม เพราะมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันเหตุการณ์หรือช่วยให้การตัดสินใจมีความถูกต้องและชัดเจนขึ้น หรือผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเป็นต้นการพัฒนาระบบใหม่อาจจะเป็นไปได้ทั้งการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขระบบเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างระบบใหม่ขึ้นมาทั้งหมด โดยอาศัยแนวทางจากการค้นพบปัญหาและโอกาสในการที่จะแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ และทำการติดตั้งลงบนระบบใหม่โดยทีมงานพัฒนาระบบ
ความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อการปฎิบัติงานแต่ละหน่วยงานมากขึ้น องค์การต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นระบบย่อยภายในระบบสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอดและการเจริญเติบโตในอนาคต หลายหน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้การตัดสินใจ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จึงไม่ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมเป็นลำดับขั้น นอกจากบุคลากรรุ่นใหม่ยังมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่าในอดีต จึงพร้อมที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตนและกลุ่มมากขึ้น องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
นอกจากนี้กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตรของสังคมที่ถูกผลักด้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน การผลิตและการตลาดต้องปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยความงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมั่นคง ดังต่อไปนี้
1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต
2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | ในส่วนของทฤษฎี สมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในโครงการทางทีมผู้วิจัยจะใช้การอธิบายให้สอดคล้องกับขอบเขตของงานวิจัยทั้ง 7 ด้านในหัวข้อที่ 7 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
ศึกษาการออกแบบระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารเสนเทศต้นแบบที่เหมาะสมกับการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อให้การออกแบบและการทำงานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบได้อย่างเหมาะสม และครอบคลุมต่อการใช้งานทั้งหมดของผู้ประกอบการและผู้รับบริการ ซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบ ได้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 ระบบประมวลผล เป็นการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาดำเนินการวิเคราะห์หรือแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการและนำไปประกอบการตัดสินใจได้ทันที เนื่องจากความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือไม่สะดวก ช้า และอาจผิดพลาด ปัจจุบันองค์การจึงต้องทำการจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
1.2 ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เป็นการติดต่อสื่อสารข้อมูลด้วยการรับส่งข้อมูลระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นในแต่ละอุปกรณ์ ซึ่งการสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผลตลอดจนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ โดยระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้งานที่อยู่ห่างกัน ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 การจัดการข้อมูล เป็นการบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของโปรแกรมอย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยที่เหมาะสมต่อการให้บริการ การนำเสนอ และการใช้งานจริง
2.1 Database Initial Study วิเคราะห์ความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้งาน เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย ปัญหา ขอบเขต และกฎระเบียบต่างๆ ของระบบฐานข้อมูลที่จะพัฒนา
2.2 Database Design นําเอารายละเอียดต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์ มาเป็นแนวทางในการออกแบบสําหรับแนวทางที่นิยมใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล ได้แก่ แนวทางแบบ Data-driven (ให้ความสำคัญกับข้อมูล โดยต้องออกแบบตัวข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ก่อนที่จะทำการออกแบบตัวระบบ) และแนวทางแบบ Joint Data- and Function-driven (สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลควบคู่ไปกับการตรวจสอบการทำงานของ Function ว่ามีจํานวนครบถวนหรือไม่)
2.3 Implementation and Loading สร้างฐานข้อมูลที่ใช้เก็บข้อมูลจริง รวมทั้งทำการแปลงข้อมูลของระบบงานเดิมให้สามารถนำมาใช้งานในระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ได้
2.4 Testing and Evaluation ทดสอบระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้น เพื่อหาข้อผิดพลาดต่างๆ รวมทั้งทำการประเมินความสามารถของระบบฐานข้อมูลให้รองรับความต้องการของผู้ใช้งานด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
2.5 Operation นําระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วไปใช้งานจริง
2.6 Maintenance and Evolution ขั้นตอนนี้เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานจริง เพื่อบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นขั้นตอนของการแก้ไข ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการตามความต้องการของผู้ใช้งาน
3. การวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการฯ ด้วยตัวชี้วัดความคุ้มค่าของโครงการฯ มีความสำคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจที่จะรับหรือปฏิเสธโครงการฯ ที่กำลังพิจารณาอยู่ เพราะตัวชี้วัดความคุ้มค่าของโครงการสามารถบ่งบอกได้ว่าโครงการแต่ละโครงการมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ และยังสามารถบอกให้ทราบถึงความสำคัญของโครงการอีกด้วย จากข้อมูลต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการที่ผู้วิจัยจะทำการสำรวจข้อมูลดังกล่าวจากข้อเท็จจริง อาทิเช่น NPV, BCR และ IRR ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value, NPV)
มูลค่าปัจจุบันสุทธิบ่งชี้ถึงจำนวนผลประโยชน์สุทธิที่ได้รับตลอดระยะเวลาของโครงการ ซึ่งอาจจะมีค่าเป็นลบ เป็นศูนย์ หรือเป็นบวกก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ขนาดของผลประโยชน์รวม (PVB) หักออกด้วยมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์รวม (PVC) ของโครงการนั้น โดยมีสมการการคำนวณดังนี้
หรือ
ในที่นี้ : ผลประโยชน์ของโครงการปีที่ t
: ผลประโยชน์ของโครงการปีที่ t
: อัตราคิดลดหรืออัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม
: ระยะเวลาของโครงการ (1,2,……..,n)
หลักการตัดสินใจดังกล่าวถ้า NPV > 0 แสดงว่าโครงการนั้นๆ มีความเหมาะสมที่จะลงทุนได้ กล่าวคือมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์รวมมากกว่ามูลค่าปัจจุบันของตันทุนรวม (PVB > PVC)
อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit/Cost Ratio)
อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน คือ มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ต่อมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนรวม ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นตลอดอายุทางเศรษฐกิจของโครงการ แม้ว่าโครงการผ่านพ้นไปแล้ว ในขณะที่ต้นทุนการก่อสร้างจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงการลงทุนเท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนที่อยู่ในรูปของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซ่อมแซมบำรุงรักษาและลงทุนเพื่อทดแทนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพจะเกิดขึ้นตลอดช่วงอายุทางเศรษฐกิจของโครงการ (Economic Life or Useful Life of the Project) จากนั้น จึงนำเอากระแสผลประโยชน์และกระแสต้นทุนของโครงการที่ได้ปรับค่าไปตามเวลาหรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR)
ขนาดของ BCR อาจจะเท่ากับ 1 มากกว่า 1 หรือน้อยกว่า 1 ก็ได้ ซึ่งหลักการตัดสินใจว่าโครงการมีความเหมาะสมและคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ คือ เมื่อ BCR ต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1
อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return : IRR)
อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ คือ ผลตอบแทนเป็นร้อยละต่อโครงการ หรือหมายถึงอัตราดอกเบี้ยในกระบวนการคิดลด ที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งถ้าอัตราดอกเบี้ยระดับหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการคิดลดแล้วทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นบวก อัตราดอกเบี้ยระดับใหม่ที่สูงกว่าจะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าลดลงและลดลงต่อไปตราบเท่าที่อัตราดอกเบี้ยยังคงเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งในท้ายที่สุดจะมีอัตราดอกเบี้ยระดับหนึ่งที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเท่ากับศูนย์พอดี ซึ่งก็คือ อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ โดยสามารถใช้สมการดังต่อไปนี้
หลักการตัดสินใจว่าโครงการมีความคุ้มค่าน่าลงทุนทางด้านเศรษบกิจ เมื่อ IRR มีค่าสูงและสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเฉพาะ หรือค่าเสียโอกาสของทุน ซึ่งการกำหนดค่า IRR หรือการหาค่า NPV มีค่าเท่ากับศูนย์นั้น สามารถหาได้ 2 วิธี คือ
การแทนค่าแบบลองผิดลองถูก (trial and error)
วิธีการ Interpolation ซึ่งสามารถคำนวณด้วย วิธีทางเลขคณิต (arithmetically) และวิธีทางกราฟ (graphically)
|
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนวิธีการทำวิจัย ซึ่งจะรวมถึงเนื้อหาในด้านการเก็บข้อมูล การกำหนดพื้นที่ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างที่จะนำมาวิเคราะห์ ขั้นตอนและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ความเสี่ยงของงานวิจัย รวมทั้งระบุสถานที่ใช้เป็นที่ทำการวิจัยหรือการเก็บข้อมูล ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยมีรายละเอียดดังนี้
1. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎี และวิธีการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย ตลอดจนข้อมูลทางด้านการให้บริการและการรักษา การสื่อสาร ความต้องการของผู้ใช้งาน กระบวนการทำงาน ราคาการให้บริการ เวลาเปิดให้บริการ ช่องทางการขอรับบริการ และตารางการให้บริการ รวมถึงสถานที่ที่ให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลางทั้งหมด เพื่อให้การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบมีความสมบูรณ์และสามารถนำมาใช้งานได้จริง
2. ศึกษาข้อมูลด้านปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับของการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลาง โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ประกอบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง และตอบสนองกับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ศึกษาข้อมูล ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารเสนเทศต้นแบบที่เหมาะสมกับการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อลดต้นทุนและเวลาในการออกแบบและพัฒนาระบบดังกล่าวได้ โดยจะทำการศึกษารูปแบบการทำงาน การเชื่อมโยงข้อมูล การคัดกรองข้อมูล การนำเสนอ การใช้งานของผู้รับบริการและผู้ใช้บริการ และการควบคุมความผิดพลาดของระบบต้นแบบ เพื่อกำหนดรูปแบบระบบและฐานข้อมูลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบได้อย่างเหมาะสมต่อไป รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานที่ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการและผู้รับบริการทั้งหมดได้ ทำให้สามารถนำระบบมาใช้ในการบริหารจัดการด้านการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุม ซึ่งเป็นกรณีที่ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าโครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จริง
4. ศึกษารูปแบบการให้บริการ โปรแกรมการรักษา สถานที่ให้บริการ ค่ารักษา ข้อมูลบุคลากร และข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อทำให้การออกแบบและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบฯ ได้ครอบคลุมการทำงานทั้งหมดของผู้ประกอบการได้ อาทิเช่น ด้านการให้บริการ การสืบค้นข้อมูล ตารางการให้บริการ ค่าใช้บริการ และรายการให้บริการด้านการรักษาของแพทย์แผนไทย ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ และใช้งานได้ครอบคลุมกับรูปแบบการให้บริการทั้งหมดได้
5. นำผลที่ได้จากการศึกษาข้อมูลข้างต้นมาดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย โดยใช้ข้อมูลจากผลการสำรวจปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศภายในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งการออกแบบระบบสารสนเทศต้นแบบที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีการวิเคราะห์รูปแบบของระบบต้นแบบ โดยมีการให้คะแนนจากปัจจัยต่างๆ โดยใช้วิธีการของ Factor Rating ได้แก่ ความสามารถในการใช้งานจริง ความเหมาะสมของรุปแบบการใช้งาน ต้นทุนการออกแบบและพัฒนา ความพร้อมของระบบ การดูแลรักษา ความพร้อมของแรงงาน ศักยภาพด้านการแข่งขัน และความสามารถในการให้บริการ เป็นต้น
6. ผลที่ได้จากการคัดเลือกรูปแบบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ของทีมผู้วิจัยจากทั้งแบบจำลองฯ และการสำรวจภาคสนามโดยการใช้ Factor Rating จะนำไปแสดงผลการวิเคราะห์กับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบ ตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมการให้บริการแพทย์แผนไทย
7. เมื่อได้รูปแบบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบที่เหมาะสมต่อการให้บริการแล้ว จะดำเนินการทดสอบการใช้งานจริงของระบบต้นแบบจากผู้ประกอบการและผู้รับบริการ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้งานจริง รวมถึงความต้องการเพิ่มเติมในการทำงานของระบบ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำไปให้ผู้พัฒนาระบบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้สามารถตอบสนองต่อการให้บริการและการรักษาได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
8. ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน เพื่อตรวจสอบความคุ้มทุนของโครงการการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย
9. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ พร้อมส่งมอบผลการศึกษาของโครงการฯ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย ตลอดจนคู่มือการใช้งานของระบบดังกล่าว
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 575 ครั้ง |