รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000321
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟนกับการสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Applying the Augmented Reality (AR) Technique on Smartphone with Computer Quality Assurance Test for Nakhon Sawan Rajabhat University's Students.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สมาร์ทโฟน, เทคโนโลยี Augmented Reality, สอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ > ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :20000
งบประมาณทั้งโครงการ :20,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :วิทยาการคอมพิวเตอร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันสมาร์ทโฟนนั้นถือเป็นฝันที่เป็นจริงของคนบางกลุ่มในยุค 90’s (ค.ศ. 1990-2000) ก่อนที่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นจะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กแต่สามารถทำงานได้สารพัดอย่าง “สมาร์ทโฟน” ซึ่งนำโดย iPhone รุ่นแรกของบริษัทแอปเปิ้ล และเป็นที่มาของยุคที่ทุกคนต้องแสวงหาเพื่อที่จะมีสมาร์ทโฟนของตนเอง ดังที่นิยมเรียกยุคนี้กันว่า “ยุคแห่งสมาร์ทโฟน” (Smartphone Age) จากการสำรวจและศึกษาจากหน่วยงานที่หลากหลายพบตรงกันว่า การใช้สมาร์ทโฟนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ดังผลสำรวจของบริษัทอีริคสัน (Ericsson) ที่ทำการสุ่มสำรวจชาวอินเดียอายุ 14-45 ปี จำนวนกว่า 5,000 คน ซึ่งพบได้จากสถิติการใช้งานของแอ๊ป (Apps) โดยสถิติผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพศชายใช้แอ๊ปเกี่ยวกับแผนที่มากกว่าผู้ใช้เพศหญิงอย่างมาก ในขณะเดียวกันผู้ใช้เพศหญิงใช้สมาร์ทโฟนเพื่อสนทนาและส่งข้อความมากกว่าผู้ใช้เพศชายหลายเท่า สมาร์ทโฟนยังมีข้อดีในแง่ของการใช้งานและความสะดวกสบาย อย่างน้อยเราก็ไม่ต้องขนอุปกรณ์มากมายในการเดินทางไปทำงานเหมือนแต่ก่อน ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนสามารถทำงานแทนที่อุปกรณ์ต่างๆมากมายเช่น คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ สมุดจดบันทึก เครื่องอัดเสียง เครื่องเล่นวิดีโอ เครื่องเล่นเกมส์ หรือแม้กระทั่งนาฬิกาปลุก จึงไม่น่าแปลกใจที่คนจำนวนมากยึดถือสมาร์ทโฟนของตนเป็นดั่งเพื่อนสนิท จึงทำให้พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตนเปลี่ยนแปลงไป (พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ,2559) ความจริงส่วนขยาย หมายถึงเทคโนโลยี ในการเพิ่มข้อมูลที่มีความหมายให้กับสิ่งของ หรือสถานที่จริงๆ โดยเริ่มด้วยการเปิดรับข้อมูลอ้างอิงทางด้านภาพ เสียง หรือการบอกตำแหน่งด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) และอื่นๆ จากที่นั้น แล้วระบบก็จะทำการสร้างข้อมูลเพิ่มเติมให้วัตถุจริงที่มีอยู่เดิม ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง และข้อมูลอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ใช้มีข้อมูลเชิงลึกเพิ่มขึ้น หรือสามารถตอบโต้ได้ ซึ่งทำให้ได้ประสบการณ์และมีการรับรู้เพิ่มเติมจากสิ่งของหรือสภาพแวดล้อมจริงๆ ที่อยู่ตรงหน้านั่นเอง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมือถือ และการสื่อสารข้อมูลไร้สาย รวมทั้งการประมวลต่างๆ มีความรวดเร็วขึ้นและมีราคาถูก จึงทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ในห้องทดลอง กลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่ายๆ ไปแล้ว โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ เทคนิคความจริงส่วนขยาย (Augmented Reality) เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ แม้จะไม่ฮอตฮิตเหมือนแอพตัวอื่นๆ ก็ตาม แต่อนาคตยังไปได้อีกไกล ทั้ง ความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) และ เทคนิคความจริงส่วนขยาย (Augmented Reality) สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้าน อุตสาหกรรม การทหาร การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร และ การศึกษา (ภาสกร ใหลสกุลม ,2559) เนื่องจากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ การบริการวิชาการ ตลอดจนการให้บริการสาระความรู้ออนไลน์ การส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ให้ดียิ่งขึ้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน ที่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ส่วนใหญ่พบว่ามีการใช้งานสมาร์ทโฟนกันมากขึ้นถึงเล็งเห็นช่องทางที่จะพัฒนาสื่อให้กับนักศึกษาเพื่อความทันสมัยในการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการให้กับนักศึกษา จากใจความดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะการพัฒนาสื่อในการใช้งานการประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟน สำหรับงานสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะมีช่องทางที่นักศึกษาโดยศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ผลการวิจัยที่ได้รับจะช่วยให้ทราบถึงการทดสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนความพึงพอใจในการให้บริการและให้ความรู้ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อๆไป ซึ่งส่งผลให้งานสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพส่งผลถึงคุณภาพด้านศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ให้ดีขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อพัฒนาสื่อและการทดสอบการใช้งานการประยุกต์ใช?เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟนสำหรับงานสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2.เพื่อทดลองใช้การใช้งานการประยุกต์ใช?เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟนสำหรับงานสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่พัฒนาขึ้น 3.เพื่อหาความพึงพอใจใช้งานการประยุกต์ใช?เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟนสำหรับงานสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่พัฒนาขึ้น
ขอบเขตของโครงการ :1.ขอบเขตที่เกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง ประชากร นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงโดย นักศึกษาภาคปกติที่ทำการสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 5 คณะ คณะละ 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน 2.ขอบเขตที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ศึกษา สื่อในการใช้งานการประยุกต์ใช?เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟน สำหรับงานสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้6 1) ขั้นตอนการสมัครสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ 2) ระเบียบในการสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ 3) เนื้อหาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และอินเทอร์เน็ต 4) การใช้งาน Microsoft Word 2013 5) การใช้งาน Microsoft Excel 2013 3.ขอบเขตที่เกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ได้สื่อในการใช้งานการประยุกต์ใช?เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟน สำหรับงานสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่พัฒนาขึ้นสามารถช?วยให?ผู้ศึกษาเข?าใจเนื้อหาที่ซับซ?อนได?ง?าย ช?วยให?นักศึกษาศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบสูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการประยุกต์ใช้งานเพิ่มมากขึ้นโดยผลการวิจัยจะเป?นประโยชน?กับผู?ที่เกี่ยวข?องในงานสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในการนําไปเป?นข?อมูลเพื่อหาแนวทางปรับปรุง พัฒนา และจะเป?นประโยชน?ต?อการศึกษาและการวิจัยยิ่งๆ ขึ้นไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :งานวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟนกับการสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยตามลำดับ ดังนี้ 12.1 กำหนดประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ประชากร นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงโดย นักศึกษาภาคปกติที่ทำการสอบประกันคุณภาพด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 5 คณะ คณะละ 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน 12.2 ศึกษาและวิเคราะห์ เนื้อหาในการจัดทำ เนื้อหาภาคทฤษฏี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และอินเทอร์เน็ต และการทดสอบภาคปฏิบัติ การใช้งาน Microsoft Word 2013 Microsoft Excel 2013 12.3 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 12.3.1 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ศึกษาจากตำรา เอกสาร บทความ ทฤษฎีหลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดขอบเขตของการวิจัยและสร้างเครื่องมือวิจัย ให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของ 12.3.2 การวิจัย 12.3.3 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามจากเอกสาร เพื่อกำหนดขอบเขตและเนื้อหาของแบบทดสอบ จะได้มีความชัดเจนตามความมุ่งหมายการวิจัยยิ่งขึ้น 12.3.4 นำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสอบถาม 12.4 การหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัย 12.4.1 นำแบบสอบถามที่ร่างได้ ทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาตรวจสอบและขอคำแนะนำในการแก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้อ่านแล้วมีความเข้าใจง่ายและชัดเจนตามความมุ่งหมายของการวิจัย 12.4.2 นำแบบสอบถามที่แก้ไขตามคำแนะนำแล้วมาดำเนินการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน 12.4.3 นำแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมได้ ทดสอบความความเชื่อมั่น (Reliability) 12.4.4 ปรับปรุงรูปแบบสอบถามอีกครั้ง แล้วนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิม เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนได้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ 12.5 การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล 12.5.1 นำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 12.6 วิเคราะห์ข้อมูล มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้และความพึงพอใจ ในการประยุกต์ใช?เทคนิคความจริงส่วนขยายบนสมาร์ทโฟน สถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :423 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
รองศาสตราจารย์ทินพันธุ์ เนตรแพ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย5
นายสุมนฒ์ จิรพัฒนพร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย95

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด