รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000295
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :กลยุทธ์การจัดการธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Management Strategy Of Hydroponics Business
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ สภาวะการแข่งขันธุรกิจ ธุรกิจการเกษตร ผักไฮโดรโปนิกส์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :81000
งบประมาณทั้งโครงการ :81,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 พฤษภาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 เมษายน 2561
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันอุตสาหกรรมทางการเกษตรมุ่งพัฒนาสู่ความทันสมัย เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มอัตราการผลิตและคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการผลิตที่ปลอดภัย (Green Product) และประกอบกับผู้บริโภคให้ความสนใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพมากขึ้น คือมีการนิยมบริโภคผักเพิ่มขึ้น แต่ผักที่วางขายในท้องตลาดทั่วไปนั้น พบว่ามีสารพิษตกค้าง เนื่องมาจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นจึงมีการปลูกผักแบบไม่ใช้ดินหรือไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ซึ่งเป็นการปลูกผักเลียนแบบธรรมชาติในสารละลายธาตุอาหาร โดยไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช จึงมีความปลอดภัยกว่าผักที่ขายทั่วไปในท้องตลาด ผักไฮโดรโปนิกส์ที่ขายตามท้องตลาดหรือซุปเปอร์มาเก็ตในเมืองนั้น มีราคาค่อนข้างสูงและมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และผู้บริโภคที่อยู่ในเขตชนบทค่อนข้างลำบากในการหาซื้อผักไฮโดรโปนิกส์มาใช้บริโภค ส่วนปัญหาที่พบของผู้ประกอบธุรกิจ คือเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่ายที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคไม่ทันท่วงทีและมีของเสียเกิดขึ้น เนื่องจากอายุของผักไฮโดรโปนิกส์สั้น การเก็บรักษาให้คงสภาพไว้นานทำได้ยาก จึงต้องมีการจำหน่ายออกให้รวดเร็ว เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างความได้เปรียบในธุรกิจประเภทเดียวกันได้อีกด้วย ดังนั้นจึงต้องศึกษากลยุทธ์การจัดการธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ในเรื่องของสถานการณ์ทั่วไป การจัดการด้านการตลาด การผลิต การเงิน และการบริหารทรัพยากร เพื่อนำมาวางแผนในการประกอบธุรกิจ โดยเสนอแนวทางการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้บริหารและพนักงานได้นำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน สามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการ :เป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาการดำเนินธุรกิจของผักไฮโดรโปนิกส์ 2. เพื่อศึกษาสภาวะการแข่งขันของธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ 3. เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์
ขอบเขตของโครงการ :1. การดำเนินการธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ จะพิจารณาในด้านการผลิต การตลาด การเงิน และการบริหารทรัพยากรบุคล 2. ประชากรผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มเจ้าของกิจการ พนักงาน และลูกค้า
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ผู้ประกอบธุรกิจและผู้ที่สนใจในการประกอบธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ ได้กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ 2. หน่วยงานของรัฐ เช่น เกษตรจังหวัด เพื่อนำข้อมูลไปกำหนดนโยบาย สำหรับการพัฒนาธุรกิจด้านการเกษตร
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :8.1 ธุรกิจเกษตร ธุรกิจเกษตรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากธุรกิจเกษตรเกี่ยวข้องการงานด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งต้องมีการลงทุนการผลิต ตลอดจนเกิดการใช้แรงงาน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อบุคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักธุรกิจ และบุคลทั่วไป อีกด้วย โดยที่นักธุรกิจต้องทราบถึงลักษณะการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่ปัจจัยการผลิตผู้จัดจำหน่าย ผู้ส่งออก เกษตรกรผู้ผลิตอยู่ในพื้นที่ใด ในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานมีบุคลใดเกี่ยวข้อง ปัจจัยการผลิตและผลผลิตที่ตลาดต้องการมีจำนวนเท่าใด เพื่อนำข้อมูลมาใช้สำหรับการวางแผนการขายและการจัดซื้อให้เพียงพอ ธุรกิจการเกษตรต้องผ่านกระบวนการต่างๆ ดังนี้ 1. การทำฟาร์ม โดยการนำปัจจัยการผลิตมาช่วยในการผลิตสินค้าเกษตร 2. การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อการบริโภค 3. การจำหน่ายสินค้าผ่านระบบการตลาด เพื่อเป็นตัวกลางจำหน่ายสินค้าสู่ผู้บริโภค 8.2 หน้าที่การจัดการธุรกิจ หน้าที่การจัดการธุรกิจ หมายถึง หน้าที่ต่างๆ ที่จำเป็นขององค์กรธุรกิจ เพื่อแปรสภาพปัจจัยการผลิตขององค์กรธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การนำปัจจัยการผลิตเข้ามาจนกระทั่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือการบริการที่ส่งจำหน่ายสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังรวมถึงการรวบรวมผลสำเร็จต่างๆ กลับคืนมาในรูปของกำไรหรือการสร้างชื่อเสียงความยินดีต่างๆ ให้กับองค์กรอีกด้วย 8.2.1 องค์ประกอบของหน้าที่ทางการจัดการธุรกิจ หน้าที่ทางธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็นองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. หน้าที่ด้านการตลาด เป็นหน้าที่สำหรับการนำสินค้าสำเร็จรูปกระจายสู่ผู้บริโภค และผู้บริโภคสะดวกต่อการจัดหาไปใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์และในเวลาที่ต้องการ ตลอดจนถึงสถานที่ในการจัดจำหน่าย การครอบครองเป็นเจ้าของหรือการจัดหาสินค้าได้ทันทีและได้ประโยชน์ในความสะดวกด้านต่างๆ อีกด้วย 2. หน้าที่ด้านการผลิต เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ในการสร้างประโยชน์ทางด้านการแปรรูปและลักษณะสินค้า เกี่ยวข้องกับการแปรรูปวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ สามารถผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน ในต้นทุนการผลิตที่ต่ำ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ 3. หน้าที่ด้านการบริหารบุคล เป็นการบริหารกลุ่มพนักงาน สมาชิกในองค์กรที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ธุรกิจต่างๆ ดังนั้นการบริหารบุคคลจึงเปรียบเสมือนพื้นฐานหรือสิ่งสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของธุรกิจด้านต่างๆ 4. หน้าที่ด้านการเงินและบัญชี เป็นการจัดให้มีทรัพยากรด้านการเงินในการใช้ดำเนินธุรกิจ สำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบ เพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นสินค้าออกมา โดยนำไปขายสู่ผู้บริโภคและได้ผลตอบแทนกลับมาในรูปแบบของตัวเงิน 8.3 สภาพแวดล้อมทางการจัดการธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางการจัดการธุรกิจ คือสิ่งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจ ให้ดำเนินไปตามกฎหมายหรือข้อบังคับที่กำหนด ดังนั้นผู้บริหารควรศึกษาทำความเข้าใจในสภาพแวดล้อมการจัดการธุรกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการผลิต การตลาด การบริหารงานบุคคล การเงิน และการวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กรด้วย สภาพแวดล้อมในการจัดการธุรกิจแบ่งออกเป็นสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก แสดงดังรูปที่ 2 8.4 การวิเคราะห์การแข่งขันทางธุรกิจ การวิเคราะห์การแข่งขันทางธุรกิจ มีวิธีวิเคราะห์หาตำแหน่งของการแข่งขัน ที่เรียกว่า พลังปัจจัยทั้ง 5 เพื่อนำมาใช้ในการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเพิ่มจุดแข็งและลดจุดอ่อนของตนเอง ซึ่งปัจจัย 5 อย่างนี้ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างสภาวะกดดันทางการแข่งขันต่อทุกองค์กรทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่บอกให้ทราบถึงระดับความเข้มข้นในการแข่งขันที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ พลังปัจจัยทั้ง 5 มีดังนี้ 8.4.1 คู่แข่ง (Rivalry) เป็นสิ่งที่องค์กรต้องคิดค้นเทคนิคต่างๆ ขึ้นมา เพื่อนำมาใช้ในการชนะคู่แข่ง โดยเป็นการพัฒนาสินค้าและการบริการให้ดีกว่า สำหรับการดึงดูดให้ผู้บริโภคมาใช้สินค้า ถ้าคู่แข่งมีขีดความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่า ก็ต้องมีการปรับปรุงขีดความสามารถให้เหนือไปกว่าคู่แข่ง ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบคู่แข่งอยู่เสมอว่าคู่แข่งมีจำนวนเท่าไร ใช้กลยุทธ์อะไร มีความเข้มแข็งแค่ไหน ระดับความเข้มข้นในการแข่งขันอยู่ในระดับใด 8.4.2 อำนาจการต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power of Customers) เป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อการแข่งขัน การที่จะทราบว่าลูกค้ามีอำนาจแค่ไหน พิจารณาได้จากการกำหนดราคาซื้อขายสินค้า 8.4.3 อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers) เป็นอำนาจที่พบได้จากกลุ่มผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต เช่น การขึ้นราคาสินค้า การลดคุณภาพหรือปริมาณสินค้า เพื่อให้ต้นทุนสำหรับผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตลดลง ขณะที่ราคาสินค้าที่ส่งเท่าเดิมหรือสูงกว่าเดิม ส่งผลให้กำไรที่ได้รับน้อยลง หรือแข่งขันกับผู้อื่นได้ยาก 8.4.4 ภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่ที่เกิดขึ้น (Threat of New Entrants) เป็นการที่คู่แข่งนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการผลิต เช่น กำลังคน กำลังเงิน เป็นต้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด เมื่อผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาจะส่งผลให้ปริมาณสินค้าในตลาดเพิ่มขึ้นและราคาสินค้ามีการเปลี่ยนแปลง จนอาจพัฒนาไปสู่สงครามด้านราคา 8.4.5 ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitute Products or Services) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่มีสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าเดิม ส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดลดลง ทำให้ผู้ประกอบการควบคุมสินค้าตนเองได้ยากขึ้น 8.5 กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ คือ กระบวนการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนของธุรกิจในระยะสั้นและระยะยาว การสร้างหรือพัฒนาทางการปฏิบัติ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรขององค์กรธุรกิจ ให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งอาจต้องวิเคราะห์ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนภายในองค์กร การวิเคราะห์อุปสรรคและโอกาสที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร รวมถึงการเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับองค์กร ระดับกลยุทธ์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 8.5.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร เป็นกลยุทธ์หลักที่กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางและกรอบในการดำเนินงานระยะยาวขององค์กร 8.5.2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ เป็นกลยุทธ์ที่องค์กรใช้ในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม แนวคิดที่สำคัญของกลยุทธ์ระดับธุรกิจ คือการทำอย่างไรจึงจะสร้างและเพิ่มความเข้มแข็งของธุรกิจในระยะยาว 8.5.3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ ต้องเป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมหน่วยงานในระดับปฏิบัติการขององค์กร เช่น ด้านการผลิต การเงิน การตลาด การบริหารงานบุคคล โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานของหน่วยงานในระดับปฏิบัติงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการสนับสนุนกลยุทธ์ระดับองค์กรและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8.6 การวิเคราะห์องค์กร (SWOT Analysis) การวิเคราะห์องค์กร คือการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์กร เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์กร สามารถใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วในการวิเคราะห์ภาพรวมของสถานการณ์ขององค์กร การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อน ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาส และหลบหลีกอุปสรรค ข้อจำกัด ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกได้ การวิเคราะห์ SAWOT จะทำให้ผู้บริหารทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นที่นำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ของธุรกิจได้ การพิจารณาแนวทางในการกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อน อาจใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยลูกโซ่คุณภาพ (Value Chain Analysis) ซึ่งเป็นลูกโซ่กิจกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กัน เหมือนกับลูกโซ่ เพื่อส่งมอบคุณค่าทั้งหมดให้กับลูกค้า โดยแต่ละกิจกรรมช่วยก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เริ่มตั้งแต่การนำวัตถุดิบมาจากผู้จำหน่ายเข้าสู่กิจกรรมทางด้านการผลิตจนกระทั่งผ่านออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และสิ้นสุดลงที่ผู้จัดจำหน่ายขายผลิตภัณฑ์นั้นถึงมือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย รวมถึงบริการหลังการขาย โดยคุณค่าของลูกค้า เกิดจาก 3 แหล่งกิจกรรม ดังนี้ 1. กิจกรรมที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่าง 2. กิจกรรมที่ทำให้ต้นทุนลดต่ำลง 3. กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว 8.7 ข้อมูลทั่วไปของผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นคำมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ ไฮโดร (Hydro) ซึ่ง แปลว่า น้ำ และ โพโนส (Ponos) แปลว่า ทำงาน หรือ แรงงาน เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า การทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำ การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์นั้น มีหลายรูปแบบ โดยตัวกลางไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเท่านั้น แต่มีการพัฒนาให้ใช้ตัวกลางหรือวัสดุในการปลูกทดแทนดินทั้งหมด และรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช เป็นการปลูกพืชที่เลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยใช้วัสดุปลูกชนิดต่างๆ ที่ไม่มีการปนเปื้อนของดิน มีการควบคุมการให้สารอาหารพืชลงในวัสดุปลูก หรือในน้ำที่ปลูกโดยตรง มีการไหลเวียนของอากาศในสารละลายธาตุอาหารพืช ควบคุมความชื้นให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของรากพืช 8.8 ความสำคัญของการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์หรือแบบไม่ใช้ดินนี้ สามารถปลูกผักได้ทุกสถานที่ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศ หรือขนาดพื้นที่ ไม่ว่าจะปลูกจำนวนน้อย หรือการปลูกแบบเศรษฐกิจเชิงการค้า ดังนั้นการปลูกผักไม่ใช้ดิน จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกับความต้องการสำหรับผู้ปลูกที่มีพื้นที่ปลูกน้อย และการปลูกพืชด้วยการให้สารละลายที่ไม่เปื้อนดิน จึงมีความสะอาดสวยงามกว่าการปลูกในดิน สำหรับการปลูกบนพื้น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :เป็นการดำเนินงานตั้งแต่การศึกษาทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสรุปผล ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :ศึกษากลยุทธ์การจัดการธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ในเรื่องของสถานการณ์ทั่วไป การจัดการด้านการตลาด การผลิต การเงิน และการบริหารทรัพยากร เพื่อนำมาวางแผนในการประกอบธุรกิจ โดยเสนอแนวทางการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้บริหารและพนักงานได้นำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน สามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จำนวนเข้าชมโครงการ :2410 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวอาสาฬห์ อุตตาลกาญจนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวพุทธพร ไสว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
นายปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด