รหัสโครงการ : | R000000294 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาถ่านชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่นโดยกระบวนการแยกสลายด้วยพลังงานความร้อนแบบไพโรไลซิสเพื่อเป็นพลังงานทดแทนและกักเก็บคาร์บอนในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The development of bio-char from local agricultural residues by the pyrolysis process for renewable energy and carbon sequestration to improve the physical condition of the soil. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ถ่านชีวภาพ พลังงานความร้อน |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 81000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 81,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 พฤษภาคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 เมษายน 2561 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เหง้ามันสำปะหลัง ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ เป็นต้น ผ่านกระบวนการแยกสลายด้วยพลังงานความร้อนโดยไม่ใช้ออกซิเจนหรือใช้น้อยมาก ซึ่งมีสองวิธีหลักๆ คือการแยกสลายอย่างเร็วและอย่างช้า การผลิตถ่านชีวภาพด้วยวิธีการแยกสลายอย่างช้าที่อุณหภูมิเฉลี่ย 500 องศา เซลเซียส จะได้ผลผลิตของถ่านชีวภาพมากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งต่างจากวิธีการแยกสลายอย่างเร็วที่อุณหภูมิเฉลี่ย700องศาเซลเซียส ซึ่งใช้เวลาเป็นวินาที ผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันชีวภาพ 60% แก๊สสังเคราะห์ 20% และถ่านชีวภาพ 20% ถ่านชีวภาพ มีความหมายต่างจากถ่านทั่วไป (charcoal) ตรงจุดมุ่งหมายการใช้ประโยชน์ คือถ่านทั่วไปจะหมายถึงถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ไบโอชาร์คือถ่านที่ใช้ประโยชน์เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงในดินและปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน เนื่องจากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียด มีความพรุนสูงและเป็นของแข็งที่มีความคงตัว เมื่อใส่ลงในดินจะช่วยการระบายอากาศ การซึมน้ำ การอุ้มน้ำ ดูดยึดธาตุอาหาร เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ลดความเป็นกรดของดิน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพิ่ม ผลผลิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่ระดับเกษตรกร ครัวเรือน ชุมชนและองค์ส่วนท้องถิ่นในการเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชนได้อีกด้วย ในการผสมถ่านที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้ลงไปในดิน ท่านยังได้มีบทบาทในการช่วยลดภาวะโลกร้อน เนื่องจากถ่านชีวภาพเป็นคาร์บอน มีความทนทานต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์และสูญหายไปจากดินได้ยาก ดังนั้นจึงสะสมอยู่ในดิน เป็นการเพิ่มคาร์บอนให้แก่ดินแทนที่จะเผากลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ บรรยากาศอันเป็นตัวการหนึ่งของภาวะโลกร้อน
จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ทำการเกษตรกรรมมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นปริมาณมาก วิธีจัดการ กับวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ของเกษตรกร คือการนำไปทิ้งไว้เพื่อให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติหรือเผาทิ้ง ซึ่งทั้ง 2 วิธี ล้วนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการทิ้งไว้ให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติจะก่อให้เกิดเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ทั้งการย่อยสลายจะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งมีกลิ่นเหม็น ส่วนการเผาจะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ถ้าหากสามารถนำวัสดุเหล่านี้มาผ่านกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อนอย่างช้าๆ ในภาวะปราศจากออกซิเจนแบบไพโรไลซิส ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนถ่านไม้ที่มีคาร์บอนเป็นส่วน ประกอบหลัก ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้เป็นพลังงานสะอาดด้วยมีปริมาณไนโตรเจนและเถ้าปริมาณน้อย คาร์บอนที่ได้จากกระบวนการเผามีความเสถียรอย่างมาก จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพลังงานทดแทนและการเพาะปลูกพืชต้นไม้สามารถเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรกรรม ให้มีปริมาณมากกว่าที่ใช้ปุ๋ย สารเคมี และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
|
จุดเด่นของโครงการ : | พัฒนาพลังงานทดแทนในท้องถิ่น |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อพัฒนาถ่านชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นพลังงานทดแทนในระดับครัวเรือน
2. เพื่อเป็นวัสดุกักเก็บคาร์บอนในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน
|
ขอบเขตของโครงการ : | 1. อุปกรณ์ที่ใช้ผลิตเตาชีวภาพใช้ถังโลหะ ขนาดปริมาตรไม่เกิน 200 ลิตร
2. ใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบในการผลิตถ่านชีวภาพ
3. ใช้เทคโนโลยีไพโรไลซิสโดยการแยกสลายด้วยพลังงานความร้อนแบบช้า
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ถ่านชีวภาพที่ได้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการปรับปรุงคุณภาพดิน ลดการใช้น้ำและ ปุ๋ยให้กับเกษตรกร ช่วยให้พืชเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ช่วยแก้ไขปัญหา ระบบนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครัวเรือนและชุมชน ทำให้เกิด ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
2. ถ่านชีวภาพนี้มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก สามารถกักเก็บไว้ในดินได้นานหลายปีช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศได้อีกทางหนี่ง
3. ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเลือกวัสดุที่จะนำมาเผาเป็นถ่านชีวภาพจากวัสดุที่ต้องเผาทิ้งหรือทิ้ง มาใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด สร้างความสมดุลให้กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศด้วย
4. สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับคณาจารย์และนักศึกษาในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนที่เป็นประโยชน์สำหรับท้องถิ่น
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | อารีย์ คล่องขยัน ได้ให้คำนิยามถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล (Biomass, วัสดุ เหลือใช้จากการเกษตร เช่น เหง้ามันส าปะหลัง ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ เป็นต้น) ผ่านกระบวนการ แยกสลายด้วยความร้อนโดยไม่ใช้ออกซิเจน หรือใช้น้อยมาก (ไพโรไรซิส, Pyrolysis) ซึ่งมีสองวิธีหลักๆ คือการ แยกสลายอย่างเร็วและอย่างช้า การผลิตถ่านชีวภาพด้วยวิธีการแยกสลายอย่างช้าที่อุณหภูมิเฉลี่ย 500 องศา เซลเซียส จะได้ผลผลิตของถ่านชีวภาพมากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งต่างจากวิธีการแยกสลาย อย่างเร็วที่อุณหภูมิเฉลี่ย 700 องศาเซลเซียส ซึ่งใช้เวลาเป็นวินาที ผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันชีวภาพ (bio-oil) 60% แก๊สสังเคราะห์ (syngas) 20% และถ่านชีวภาพ 20%
ถ่านชีวภาพมีความหมายต่างจากถ่านทั่วไป (charcoal) ตรงจุดมุ่งหมายการใช้ประโยชน์ คือถ่าน ทั่วไปจะหมายถึงถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ไบโอชาร์คือถ่านที่ใช้ประโยชน์เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงในดินและ ปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน เนื่องจากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพ คือมีรูพรุนตามธรรมชาติเมื่อใส่ลงใน ดินจะช่วยการระบายอากาศ การซึมน้ำ การอุ้มน้ำ ดูดยึดธาตุอาหาร เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ลดความเป็นกรดของดิน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนเพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่ระดับเกษตรกร ครัวเรือน ชุมชนและองค์ส่วนท้องถิ่น ในการผสมถ่านที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้ลงไปในดิน ท่านยังได้มีบทบาทในการช่วยลดภาวะโลกร้อนเนื่องจากถ่านชีวภาพเป็นคาร์บอนมีความทนทานต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ และสูญหายไปจากดินได้ยากดังนั้นจึงสะสมอยู่ในดินเป็นการเพิ่มคาร์บอนให้แก่ดิน แทนที่จะเผากลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศอันเป็นตัวการของภาวะโลกร้อน ถ่านชีวภาพนั้นได้รับการพิจารณาจากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายให้เป็นเสมือนทองสีดำของชาวเกษตรกรรมด้วยคุณสมบัติที่มีสารคาร์บอนสูงและมีรูพรุนตามธรรมชาติช่วยให้ไบโอชาร์สามารถอุ้ม น้ำและธาตุต่างๆรวมถึงการป้องกัน จุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มการย่อยสลายและแยกก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ในดิน ในขณะที่ไบโอชาร์ทำหน้าที่เสมือนกับอ่างคาร์บอนธรรมชาติ ไบโอชาร์ช่วยในการทำความสะอาดอากาศได้ 2 ทาง คือ การป้องกันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสารชีวภาพขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและการช่วยให้พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างช้าๆ ในขณะที่พืชสังเคราะห์แสง
ประโยชน์ของถ่านชีวภาพ
1.ช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเนื่องจากถ่านชีวภาพสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บคาร์บอนในดิน
2.ช่วยปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเนื่องจากเมื่อนำถ่านชีวภาพลงดิน ลักษณะความเป็นรูพรุนของถ่านชีวภาพจะช่วยกักเก็บน้ำและอาหารในดินและเป็นที่อยู่ให้กับจุลินทรีย์สำหรับทำกิจกรรมเพื่อสร้างอาหารให้ดินเมื่อดินอุดมสมบูรณ์จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
3.ช่วยผลิตพลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกเนื่องจากกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพจากมวล ชีวภาพเป็นการแยกสลายด้วยความร้อนจะให้พลังงานชีวภาพที่สามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อการขนส่งและในระบบอุตสาหกรรมได้อาทิเชื้อเพลิงชีวภาพและยังสามารถได้รับการพัฒนาเพื่อการพาณิชย์ในด้านต่างๆเช่น กระแสไฟฟ้า การสกัดสารชีวภาพ และองค์ประกอบของยา เป็นต้น
4.ช่วยในกระบวนการจัดการของเสียประเภทอินทรียวัตถุได้เนื่องจากเทคโนโลยีถ่านชีวภาพมีศักยภาพในการกำจัดของเสียโดยเฉพาะการกำจัดกลิ่นทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรได้
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | 1. พลังงานชีวมวล
2. ความรู้เบื้องต้นถ่านชีวภาพ
3. คุณสมบัติของถ่านชีวภาพ
4. วัสดุที่ใช้ผลิตถ่านชีวภาพ
5. ประโยชน์ของถ่านชีวภาพ
6. เทคโนโลยีการผลิตและใช้พลังงานความร้อนจากชีวมวล
7. เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงชีวมวลเชิงกายภาพ
1) การแยกชนิด การอบแห้ง การลดขนาดของชีวมวล
2) เทคโนโลยีการเพิ่มความหนาแน่นให้กับชีวมวล
8.เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงชีวมวลโดยใช้กระบวนการความร้อนทางเคมี
1) เทคโนโลยีการเผาไหม้โดยตรง (Combustion technology)
2) เทคโนโลยีไพโรไลซิสและคาร์บอไนซ์เซชั่น (Pyrolysis & Carbonization technology)
3) เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification technology)
4) กระบวนการสังเคราะห์ฟิชเชอร์โทรปช์ (Fischer - Tropsch synthesis)
9. เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงชีวมวลโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพ
1) เทคโนโลยีการหมักโดยไม่ใช้อากาศ (Anaerobic digestion technology)
2) เทคโนโลยีการหมักและการกลั่น (Fermentation & Distillation technology)
10. เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงชีวมวลโดยใช้กระบวนการทางชีวเคมี
1) การผลิตไบโอดีเซลดว้ยวิธีทรานเอสเทอร์ริฟิเคชั่น (Transesterification process)
|
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
2. ออกแบบและพัฒนาเตาชีวมวลสำหรับผลิตถ่านชีวภาพ
3. ดำเนินการสร้างอุปกรณ์สำหรับผลิตถ่านชีวภาพ
4. ดำเนินการผลิตถ่านชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
5. ทดสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องของถ่านชีวภาพ
6. การนำถ่านชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร
7. วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการใช้งาน
8. สรุปผลการวิจัย
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 2562 ครั้ง |