รหัสโครงการ : | R000000280 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาระบบการจองห้องบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยกูเกิ้ลคาเลนด้า |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The Development Room Reservation on Internet with Google Calendar |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | Room Reservation , Google Calendar |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะครุศาสตร์ > สำนักงานคณบดี กลุ่มงานบริหารทั่วไป |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 20000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 12,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 มกราคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 31 ธันวาคม 2560 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการศึกษา |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ปัจจุบัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 57 คน และพนักงานสายสนับสนุน จำนวนทั้งสิ้น 9 คน (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นคณะที่เก่าแก่และสำคัญต่อการผลิตอาชีพครู โดยแบ่งเป็นนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษาภาคกศ.บป. และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู จำแนกออกเป็นจำนวน 8 หลักสูตร สำหรับนักศึกษาภาคปกติ และ จำนวน 2 หลักสูตร สำหรับนักศึกษาภาคกศ.บป. และจำนวน 1 หลักสูตร สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู อีกทั้งเป็นสถาบันบริการการอบรมวิชาการแก่นักศึกษาภายใน ครู อาจารย์ และผู้สนใจจากภายนอก มีความพร้อมที่สนับสนุนสถานที่อำนวยความสะดวก ทั้งทางด้านการจัดอบรมการบริการวิชาการ การประชุมสัมมนา ประกอบกับความสอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน, 2557, หน้า 90)
การใช้ห้องสำหรับการอบรม หรือการประชุมสัมมนาต่าง นั้น มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องผ่านการจองขอใช้ห้องประชุม ห้องเรียน หรือห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ล่วงหน้าก่อนเวลากำหนด วันและเวลาการจอง และการสิ้นสุดการจอง การยกเลิกการจอง จากการให้บริการจองของใช้ห้อง พบมีปัญหาการจองขอใช้บริการห้องอย่างกะทันหัน การยกเลิกการจองห้องโดยไม่มีการแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ ปัญหาการเลื่อนวันเวลาในการประชุม ความผิดพลาดในการสื่อสาร การเขียนรายละเอียดการจองห้องล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด ทำให้การจองขอใช้ห้องประชุม ห้องเรียน หรือห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลเป็นอย่างมาก และก่อให้เกิดความล่าช้า รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลการจองขอใช้ห้องประชุม ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้มีการจัดเก็บโดยการบันทึกด้วยลายมือลงบนสมุดบันทึกการจองห้อง หรือบางครั้งเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการไม่อยู่ ก็มีเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการท่านอื่นบริการแทน การค้นหา จากลายมืออาจจะอ่านได้ยาก และต้องใช้ระยะเวลามากสำหรับการค้นหา วันและเวลา เพื่อให้บริการต่อผู้ที่ขอรับบริการนาน บางกรณีการประชุมเกิดการใช้ระยะเวลาเกินกว่าเวลาที่ได้จองไว้ จึงทำให้ผู้ใช้บริการที่ใช้ห้องต่อเกิดความล่าช้า และมีผลต่อการอำนวยความสะดวกอุปกรณ์สำหรับการใช้งานในการประชุมหรืออบรมต่างๆ ด้วย
การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เป็นวิธีการปฏิบัติการให้บริการในลักษณะใหม่ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2556 – พ.ศ.2561 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2556) สนับสนุนให้ส่วนราชการและหน่วยงานของภาครัฐ นำไปใช้ปรับปรุงวิธีการทำงานกับสภาพการให้บริการในรูปแบบใหม่และสามารถดำเนินการตามมาตรฐานระยะเวลาที่กำหนด เพื่อการพัฒนาการปรับปรุงการให้การบริการมีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงวิธีการทำงานที่สำคัญที่สามารถดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว มีความคุ้มค่า โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้การบริการของรัฐมีขั้นตอนที่สั้น และใช้เวลาดำเนินการน้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น (กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน, 2551) ด้วยเทคโนโลยี กูเกิ้ลคาเลนด้า(Google Calendar) เป็นการให้บริการปฏิทินและตารางนัดหมายออนไลน์ ของ Google สามารถบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กิตติพงศ์, 2556) ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลกิจกรรมเหตุการณ์ รวมถึงการจัดการตารางนัดหมาย เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการสร้างการนัดหมายรวมถึงการแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ในการแจ้งเตือนได้หลากหลายผ่านช่องทาง อีเมล์ ข้อความมือถือ การแสดง Popup ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ (CRM Charity , 2012) ซึ่งกูเกิ้ลคาเลนด้า(Google Calendar) เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และยังสามารถนำไปปรับใช้งานในลักษณะของการจัดกิจกรรมการนัดหมายได้อีกด้วย และยังเป็นระบบที่ให้บริการฟรีแก่ผู้ใช้งานของ Google ผ่าน User Account
ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาระบบจองห้องบนอินเตอร์เน็ตด้วยกูเกิ้ลคาเลนด้า เพื่อใช้เป็นระบบสำหรับการจองใช้ห้องประชุม และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ บนอินเตอร์เน็ต โดยแสดงผลหน้าเว็บไซต์ ผ่านเว็บช่องทางเว็บบราวเซอร์ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของการจัดเก็บข้อมูล และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ สามารถตรวจสอบข้อมูลการจองห้องได้อย่างรวดเร็ว และลดเวลาการค้นหาข้อมูล สามารถแก้ไขข้อมูลการจองห้อง และลบข้อมูลการจองห้องได้ นอกจากนั้นลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลการจองห้องได้อีกด้วย ประหยัดเวลาที่สูญเสียไปได้ รวมไปถึงปรับปรุงวิธีการทำงานแบบเดิมโดยการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อพัฒนาเป็นการทำงานแบบใหม่
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | เพื่อศึกษาสภาพการจองห้องของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
เพื่อพัฒนาระบบการจองห้องบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคาเลนด้า
เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจองห้องบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคาเลนด้า |
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตด้านประชากร
กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่ใช้บริการจองห้องบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคาเลนด้า จำนวน 66 คน
ขอบเขตด้านพื้นที่
การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | - |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ศึกษาสภาพการจองห้องของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องการกับพัฒนาระบบการจองห้องบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยกูเกิ้ลคาเลนด้า
วิเคราะห์ระบบงานเก่าและงานใหม่จากระบบงาน
สร้างเครื่องมือสำหรับงานวิจัย
ทดลองใช้เครื่องมือกับกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย
รายงานผลการวิจัย
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 464 ครั้ง |