รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000269
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษภาคสนามในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Android Application development to assist field investigation of food poisoning in the 3rd health network Nakhonsawan province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แอนดรอยด์,โรคอาหารเป็นพิษ,ช่วยสอบสวนโรค
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตรประยุกต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :499600
งบประมาณทั้งโครงการ :449,600.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :วิทยาการคอมพิวเตอร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนกับเชื้อจุลินทรีย์หรือสารเคมีต่างๆ ที่ปนเปื้อนกับภาชนะใส่อาหาร รวมทั้งอาจเกิดจากการกินอาหารที่มีพิษ อาการของโรคอาหารเป็นพิษ มักจะพบมีประวัติการรับประทานอาหารที่ ไม่ สะอาด ลักษณะอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังกินอาหาร ภายใน 1 – 6 ชั่วโมงและไม่เกิน 12 – 36 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง และอ่อนเพลีย พิษของแบคทีเรียบางอย่างอาจทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาท ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียอาการทรงตัว เดินเซ ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ระบบหัวใจล้มเหลว ถึงแก่ชีวิตได้ สถานการณ์ของโรคอาหารเป็นพิษเป็นอุบัติการณ์ในอันดับต้นๆ ของโรคที่มีการเฝ้าระวังในประเทศไทย โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 มีผู้ป่วยจำนวน 123,564 คน คิดเป้นอัตราป่วย 191.70 คนต่อประชากรแสนคน ซึ่งมากกว่าผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2556 ที่รายงาน โดยอุบัติการณ์ของโรคอาหารเป็นพิษมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี การป้องกันควบคุมโรคเป็นงานบริการสาธารณะที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้กับประชาชน โดยมีลักษณะการดำเนินงาน 2 ประเภท ได้แก่ 1) งานควบคุมโรค เป็นการกำหนดมาตรการและกลวิธีเพื่อป้องกันการ้เกิดโรคและภัยสุขภาพให้อยู่ในระดับปกติ 2) งานระบาดวิทยา เป็นการเฝ้าระวังและตรวจับการระบาด/ภัยที่ฉุกเฉินผิกปกติ สอบสวนหาสาเหตุและร่วมกันควบคุมการระบาด กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาการป้องกันควบคุมโรค โดยผลักดันกลไกการทำงานผ่านทีมดำเนินงานควบคุมโรคและงานระบาดวิทยา เรียกว่า ทีมเฝ้าระวังสวบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ปัจจุบันการติดตามผลดำเนินการสอบสวนโรคของ SRRT ในหน่วยงานต่างๆ ของเขตบริการสุขภาพที่ 3 พบว่าไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขาดเครื่องมือในการช่วยเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและแปรผลข้อมูลการระบาด ตลอดจนหาสาเหตุและความเชื่อมโยงของการระบาด และวิเคราะห์แหล่งรังโรค จะเห็นว่ากระบวนการสอบสวนโรคมีขั้นตอนมากและใช้วิธีการจดบันทึกลงในกระดาษทำให้ใช้เวลาในการค้นหาสาเหตุการเกิดโรค เชื้อก่อโรค และวิธีการถ่ายทอดใช้ระยะเวลานาน จึงส่งผลทำมห้การนำข้อมูลไปควบคุมโรคล่าช้าตามไปด้วย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการดำเนินการตอบโต้ของโรคอาหารเป็นพิษของเขตบริการสุขภาพที่ 3 ทางทีมผู้วิจัยจึงได้วางแผนการพัฒนาแอปพลิเคชันสวบสวนโรคอาหารเป็นพิษภาคสนามโดยช่วยบันทึกข้อมูลจากการสอบสวนโรคและวิเคราะห์วิเคราะห์ตามหลักระบาดวิทยาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบผลได้รวดเร็วและนำไปสู่การควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที
จุดเด่นของโครงการ :สามารถช่วยทีม SRRT สอบสวนโรคอาหารเป็นพิษได้รวดเร็วขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างแอปพลิเคชันช่วยสวบสวนโรคอาหารเป็นพิษภาคสนามในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 2. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษตามหลักขององค์ประกอบด้านระบาดวิทยา
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านเนื้อหา - ข้อมูลผู้ป่วยและอาการของผู้ป่วย - ข้อมูลการเก็บสิ่งส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค - รายการอาหารของผู้ป่วยย้อนหลัง 3 วัน - เวลาที่รับประทานอาหารและเวลาที่เริ่มป่วย - แหล่งอาหารของผู้ป่วยย้อนหลัง 3 วัน - สภาพแวดล้อมที่อยู่ต่อการเกิดโรค 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ เขตพื้นที่บริการสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 3. ขอบเขตด้านประชากร ประชากร : ประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่บริการสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง : ประชาชนที่เป็นโรคอาหารเป็นพิษและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่บริการสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 4. ขอบเขตด้านเวลา 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :(1) ได้แอปพลิเคชันสวบสวนโรคอาหารเป็นพิษภาคสนาม (2) พื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 3 มีเครื่องมือในการสอบสวนและตอบโต้โรคอาหารเป็นพิษได้ทันท่วงที (3) ผลงานวิจัยสามารถตีพิมพ์เผยแพร่
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนและแก้ไขปัญหาโรคต่างๆ ได้รวดเร็วและทันท่วงที โดย Isho และคณะได้ใช้เซนเซอร์ในสมาร์ทโฟนบันทึกอัตราการเร่งของลำตัวในเวลาเดินและเปรียบเทียบตัวแปร 2 ตัวของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โดยร้อยละ 48.8 ของผู้ป่วยเคยหกล้มมาก่อนภายใน 12 เดือน และผู้ที่เคยหกล้มมาก่อนมีความแปรปรวนของ Mediolateral trunk มากกว่าผู้ที่ไม่เคยหกล้ม โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการประเมินปริมาณการเดินโดยใช้สมาร์ทโฟน สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความเสี่ยงของการหกล้ม (Isho et al, 2015) และ Alqahtani และคณะได้นำสมาร์ทโฟนมาสำรวจนักท่องเที่ยวในช่วงพิธีแสวงบุญฮัจญ์เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อด้วยแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ iOS โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ซึ่งผู้แสวงบุญ 48 คนจาก 13 ประเทศได้ตอบแบบสอบถามนี้มีอายุระหว่าง 21 - 61 ปีและเป็นเพศชายร้อยละ 58.5 และได้ฉีดวัคซีน Meningococcal แล้วร้อยละ 36 และวัคซีนอื่นๆ อีกร้อยละ 64 มีการสวมหน้ากากบางจุดในระหว่างการเดินทาง มีการสัมผัสกับอูฐ ในอนาคตจะใช้แอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟนในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อการเดินทางและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันเดินทางเป็นไปได้ที่การชุมนุมมวลและสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Algahtani et al, 2015) ขณะที่ สุพรรษา เข็มทองได้นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ใช้วางแผนจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ตำบลสุรนารี พบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการขุดบ่อน้ำผิวดินที่มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด มาก และปานกลาง จะอยู่บริเวณทิศเหนือ และทิศตะวันตกของตำบล คือ หมู่บ้านราชสีมา ยางใหญ่ ยางใหญ่พัฒนา และ หนองบง ส่วนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการขุดบ่อน้ำผิวดินน้อยที่สุดและน้อย จะอยู่บริเวณทิศใต้ของตำบล คือ หมู่บ้านโนนไม้แดง ตะเภาทอง มาบเอื้อง โกรกเดือนห้า สะพานหิน และท้าวสุระ (สุพรรษา เข็มทอง, 2553) ทั้งนี้ ศิญาพัฒน์ เสนจันทร์ฒิไชย และญาดา ตาเมืองได้พัฒนาระบบการจัดการการดำเนินงานและช่วยในการตัดสินใจในการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของมะเยาหินและการแปรรูปมูล (ศิญาพัฒน์ เสนจันทร์ฒิไชยและญาดา ตาเมืองมูล, 2560) และพงษ์ศักดิ์ ศิริโสม ได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแนะนำการใช้ปุ๋ยและรูปแบบการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานที่เหมาะสมกับชนิดของดินและพืช ซึ่งทั้งสองงานวิจัยได้ใช้เทคนิค Black Box Testing ซึ่งเป็นการทดสอบระบบงานโดยไม่สนใจคำสั่งภายในระบบงาน และเป็นการทดสอบผลลัพธ์ของระบบจากการนำข้อมูลเข้า ซึ่งระบบสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ (พงษ์ศักดิ์ ศิริโสม, 2560)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ใช้ SDLC พัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อช่วยสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษภาคสนาม
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.4.1 ศึกษาเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ 1.4.2 สร้างแอปพลิเคชันช่วยสวบสวนโรคอาหารเป็นพิษภาคสนามในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 มีขั้นตอนดังนี้ - ศึกษาระบบงานเดิม ทำการวิเคราะห์การประในความเสี่ยงแบบเดิม - การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศใหม่ - ออกแบบระบบฐานข้อมูล (Database System) - ออกแบบการรับและแสดงผล (Input/Output Layout) - ออกแบบผังงานของระบบงาน โดยรวม (UML) - สร้างแอปพลิเคชันช่วยสวบสวนโรคอาหารเป็นพิษภาคสนามในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 - นำโปรแกรมต้นแบบที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้แล้วศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบ 1.4.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล - แบบประเมินมาตรฐาน SRRT ของสานักระบาดวิทยา - แบบประเมินประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศจากผู้เชี่ยวชาญ - แบบสอบถามความพึงพอใจจากผู้ใช้ระบบ 1.4.4 ผู้ให้ข้อมูล เจ้าหน้าที่ในกลุ่มงานระบาดวิทยา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญงาน 1.4.5 สถานที่วิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :ใช้ SDLC พัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อช่วยสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษภาคสนาม
จำนวนเข้าชมโครงการ :776 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายดนุวัศ อิสรานนทกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางปัทมนันท์ อิสรานนทกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด