รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000267
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :กากมะพร้าวเหลือทิ้งจากการประกอบอาหาร สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับชุมชน ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Coconut residue left from cooking. Creative's products add economic value to the community. Nakhon Sawan Oak Subdistrict, Muang District, Nakhon Sawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :กากมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :227200
งบประมาณทั้งโครงการ :227,200.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :01 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาปรัชญา
กลุ่มวิชาการ :ศิลปกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดทำ“นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙)” เพื่อมุ่งเน้นให้เป็นแนวทางในการดาเนินการวิจัยของหน่วยงานวิจัยต่างๆ และใช้เป็นกรอบทิศทางในการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณประจำปีตามมติคณะรัฐมนตรี โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยุทธศาสตร์การวิจัยระดับภูมิภาค รวมทั้งความต้องการของพื้นที่ และสอดคล้องกับทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) นอกจากนี้ นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ ๘ เน้นการบูรณาการด้านการวิจัยที่สอดคล้องกับแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อนาไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม สาหรับการวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ วช. พิจารณาถึงวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เกิดขึ้น ความต้องการผลงานวิจัยและความรู้เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมไว้เป็นกลุ่มเรื่องวิจัยที่ควรมุ่งเน้นในนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (กรอบการวิจัยปีงบประมาณปี2560, หน้า2) จากความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าว วช. จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเพื่อเน้นการสร้างงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับสากลลงสู่ท้องถิ่น และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเป็นและสำคัญ เนื่องจากผลของนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเปิด การพึ่งพิงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มในภูมิภาคภายใต้กรอบการค้าเสรี โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมทำให้ประเทศต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน การใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกันของอาเซียน รวมถึงการเท่าทันกระแสสิ่งแวดล้อมโลกบนพื้นฐานองค์ความรู้จากงานวิจัยและข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และเสมอภาค (ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. ๒๕๕๖–๒๕๕๙,หน้า2) ในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้ว่าในการทำอาหารของคนไทยไมว่าจะเป็นอาหารคาว และอาหารหวาน จะใช้มะพร้าวซึ่งขูดโดยใช้กระต่ายขูดมะพร้าว และปัจจุบันใช้เครื่องขูดมะพร้าวในการขูดเพราะไม่ต้องเสียเวลา เมื่อขูดเสร็จแล้วจะได้เนื้อมะพร้าวที่มีความละเอียด จากนั้นจะนำไปคั้นเพื่อทำเป็นน้ำกะทิ เพื่อจะนำไปประกอบอาหารเช่นใส่ในการทำแกง และขนมต่างๆ เมื่อคั้นเสร็จก็จะเหลือกากมะพร้าวเป็นจำนวนมาก เมื่อนำไปทิ้ง ก็จะเกิดกลิ่นเหม็น ทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ ผู้วิจัยเห็นว่ากากมะพร้าว ยังไม่มีใครคิดเอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงคิดจะนำกากมะพร้าวไปใช้ประโยชน์ในด้านงานประติมากรรม โดยใช้วิธีการผลิตอย่างง่าย ไม่สลับซับซ้อน ซึ่งชาวบ้านและผู้สนใจสามารถผลิตได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งให้กับผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังเป็นการใช้วัสดุเหลือทิ้งอย่างคุ้มค่า สามารถนำไปประยุกต์ในการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับผู้ที่สนใจและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศชาติดีขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษากากมะพร้าวเหลือทิ้งจากการประกอบอาหาร 2. เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานประติมากรรมจากกากมะพร้าวเหลือทิ้งจากการประกอบอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการสร้างสรรค์งานผลิตภัณฑ์จากผู้ที่สนใจ 4. เพื่อนำความรู้ไปใช้บูรณาการเรียนการสอนในห้องเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการออกแบบและนำไปใช้ในการบริการวิชาการให้กับชุมชน
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านพื้นที่ ชุมชนตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2.ขอบเขตเนื้อหา ผลิตภัณฑ์งานประติมากรรม หลักการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์ใช้สอย เศรษฐกิจชุมชน 3. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่สนใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว ตัวแปรต้น ผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว (งานหล่อ) ตัวแปรตาม ความพึงพอใจของผู้สนใจต่อผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ได้ผลสำเร็จเบื้องต้น (Preliminary results) โดยได้ผลสำเร็จที่เป็นองค์ความรู้ หรือรูปแบบ และกระบวนการรวมถึงวิธีการในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว(งานหล่อ)และสามารถที่จะนำไปสู่การวิจัยในระยะต่อไป กล่าวคือ นำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการสร้างสรรค์งานผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ที่สนใจและต้องการนำไปสร้างงาน สร้างรายได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเป็นนโยบายในการส่งเสริมอาชีพของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อีกด้วย ซึ่งผลสำเร็จที่เป็นของใหม่นี้จะมีความแตกต่างจากที่เคยมีมาแล้ว และจะมีการนำผลสำเร็จที่อาจจะถูกนำไปต่อยอดการวิจัยในลำดับต่อไปได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. กากมะพร้าว 2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานประติมากรรม 3. หลักการออกแบบ 4. ความคิดสร้างสรรค์ 5. เศรษฐกิจชุมชน 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ระยะที 1 คัดเลือกกากมะพร้าวที่มีอยู่ทั่วไป ระยะที่ 2 ศึกษากระบวนการเพิ่มมูลค่าของกากมะพร้าว ระยะที่ 3 ดำเนินการทดลองทำผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว ระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจต่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยดังกล่าวสามารถอธิบายได้ดังนี้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา(Research and Development)โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม(Participation Action Research:PAR) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว ร่วมกับกลุ่มชุมชนในพื้นที่และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว พื้นที่วิจัย สาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ ชุมชนในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ชาวบ้าน นักศึกษาและผู้สนใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือและอุปกรณ์การสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์สื่อผสมจากวัสดุเหลือใช้บนเฟรมผ้าใบ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวและแบบสอบถามรูปแบบการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สื่อผสมจากวัสดุเหลือใช้บนเฟรมผ้าใบ ทั้งสองประเภท เพื่อประเมินทั้ง 4 ด้านประกอบด้วย ด้านวัสดุ ด้านการออกแบบ ด้านประโยชน์ใช้สอยและการนำไปใช้ นำข้อมูลมาวิเคราะห์แจกแจงเพื่อนำมาพัฒนารูปแบบที่สร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์จากเอกสารต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาตรวจให้คะแนนตามลำดับความคิดเห็นและคำนวณค่าสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางของ (Best.1987, p174) ขั้นตอนการดำเนินงานประกอบไปด้วยขั้นดังนี้ 1.คัดเลือกกากมะพร้าว 1.1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ทั่วไป 1.2) คณะผู้วิจัยประกอบไปด้วยชาวบ้าน นักศึกษา และผู้สนใจ ร่วมกันสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์แบบลึก แนวทางการสนทนาแบบกลุ่ม การถ่ายภาพจากสถานที่จริง 2.ศึกษากระบวนการเพิ่มมูลค่าของกากมะพร้าว 2.1)ศึกษาค้นคว้าวิธีและขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าวโดยศึกษาจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ต และสถานที่ประกอบการจริง 2.2) ศึกษาและดูงานเกี่ยวกับงานหล่อ โดยนำกากมะพร้าวมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ 3. ดำเนินการทดลองทำผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์งานหล่อจากกากมะพร้าว 3.1) เชิญวิทยาการและผู้ที่มีความรู้ด้านการนำกากมะพร้าวมาเป็นวัสดุสำหรับใช้ในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ มาอบรมโดยการให้ความรู้ 3.2) ฝึกปฏิบัติการทดลองทำผลิตภัณฑ์ (งานหล่อ) โดยนำไปใช้บูรณาการเรียนการสอนในรายวิชาวัสดุและกรรมวิธีการผลิต สาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แล้วอาจารย์และนักศึกษา นำความรู้ในห้องเรียนไปทำการอบรมให้กับชาวบ้าน 4.ประเมินความพึงพอใจต่อการสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์จากกากมะพร้าว คณะผู้วิจัย ชาวบ้าน นักศึกษา ผู้สนใจและผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกันสรุปและประเมินผล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานประติมากรรม(งานหล่อ)จากกากมะพร้าว
จำนวนเข้าชมโครงการ :3545 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายไพฑูรย์ ทองทรัพย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด