รหัสโครงการ : | R000000265 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | แบบจำลองไข้ปวดข้อยุงลาย |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Simulation of Chikungunya |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | Agent based modeling, Global Stochastic Contact Modeling, Chikungunya |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 472400 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 472,400.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2559 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2560 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยพื้นฐาน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | (“WHO | Chikungunya,” n.d.) จากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก โรคไข้ปวดข้อยุงลายได้ถูกตรวจพบมามากกว่า 50 ปี โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (CHIKV) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคทั้งยุงลายบ้านและยุงลายสวน ไวรัสของไข้ปวดข้อยุงลายมีทั้งหมดสามสายพันธุ์ ได้แก่ เอเชีย แอฟริกาตะวันตก และแอฟริกาตะวันออก/กลางใต้ มีการพบการแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 60 ประเทศ ในทวีป เอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นปัญหาหลักของกลุ่มประเทศในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการพบผู้ป่วยที่มีจำนวนมากในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย โดยตั้งแต่ในปี 2548 มีรายงานว่าได้ตรวจพบผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกยุงลายมากกว่า 1.9 ล้านคน ในประเทศ อินเดีย อินโดนิเซีย มัลดีฟ พม่า และไทย และได้กระจายไปในทวีปยุโรปในปี 2550 ด้วยการตรวจพบผู้ป่วย 197 ราย
สำหรับประเทศไทย เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ซึ่งต้องเผชิญปัญหาที่เกิดจากยุง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชากรชาวไทย ด้วยสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศในเขตร้อน ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดการแพร่ขยายพันธุ์ยุง การถูกกัดด้วยยุงตัวเมีย สามารถนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้ เช่น ไข้เหลือง มาลาเรีย ไข้ปวดข้อยุงลาย และไข้เลือดออก เป็นต้น
ไข้ปวดข้อยุงลาย มีการตรวจพบครั้งแรกที่กรุงเทพในปี 2501และหลังจากนั้นได้พบในจังหวัดอื่นอีกหลายจังหวัดในระหว่างปี 2519 ถึง 2538 ต่อมาในระหว่างปี 2551 ถึง 2552 ได้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในทางตอนใต้ของประเทศไทย โดยมีผลกระทบกับจำนวนประชากรไม่ต่ำกว่า 50,000 คน
ถึงแม้ว่าการแพร่กระจายของไข้ปวดข้อยุงลายไม่ได้เกิดการระบาดทั่วประเทศ แต่ก็เป็นปัญหาต่อเนื่องของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดในทางภาคใต้ของประเทศ รวมถึงบางส่วนของประเทศ ดังนั้นไข้ปวดข้อยุงลายถือว่าเป็นปัญหาสำคัญในประเทศเขตร้อนมากที่สุดโรคหนึ่ง แบบจำลองการระบาดของโรคจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเฝ้าติดตามโรคในพื้นที่เฉพาะต่าง ๆ การใช้แบบจำลองเพื่อนำมาวางแผนรับมือการแพร่ระบาดซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. สร้างเครื่องมือใหม่เพื่อใช้ในการจำลองการเกิดไข้ปวดข้อยุงลาย ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่เกื้อหนุนให้เกิดการระบาดของโรค
2. เพื่อสร้างเครื่องมือใหม่ให้กับนักสาธารสุข นำไปวางแผนการป้องกันไข้ปวดข้อยุงลาย
3. สร้างเครื่องมือใหม่ ที่ยอมให้นักสาธารสุขปรับแต่งปัจจัยการเกิดโรค เช่น การเพิ่มปริมาณประชากรยุง และปัจจัยการป้องกันโรค เช่น การใช้สารเคมีควบคุมปริมาณประชากรยุง หรือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการควบคุมโรคต่อไป |
ขอบเขตของโครงการ : | - พื้นที่
พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคในประเทศไทย ได้แก่ พัทลุง นราธิวาส ระยอง เป็นต้น
- ด้านข้อมูล
กระทรวงมหาไทย สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนประชากร เขตจังหวัด อำเภอ และตำบล
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง สำหรับข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในแต่ละพื้นที่ สถิติการสำรวจจำนวนตัวโม่งของยุง
กรมอุตุนิยมวิทยา สำหรับข้อมูลทางด้านสภาพอากาศ
- ด้านเวลา
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | - |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ศึกษาปัญหาด้านการระบาดของโรค
2. ศึกษารูปแบบการแพร่เชื้อระหว่าง Host และ Vector
3. ทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องย้อนหลังไป 3-5 ปี ประกอบด้วย จำนวนประชากรคน และ ยุง จำนวนผู้ป่วย สภาพอากาศ จากเขตพื้นที่ดำเนินการ
4. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการวิจัย
5. สอบถามความต้องการเพิ่มเติม จากนักสาธารสุขหรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
6. เก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัย และทำการประมวลผลเบื้องต้น
7. สร้างแบบจำลอง ทดลอง แปลผลด้วยซอฟต์แวร์ที่จัดทำขึ้นมา
8. ตรวจสอบความถูกต้องโดยการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของแบบจำลอง กับรายงานจริงจากทางกระทรวงสาธารณสุข
9. สรุปผลและจัดทำเล่มวิจัย |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | การสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่ออธิบาย หรือศึกษาการระบาดของไข้ปวดข้อยุงลาย |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 432 ครั้ง |