รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000263
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การวิเคราะห์หาพื้นที่ศักยภาพสำหรับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Analysis of Potential Area for Solar PV Rooftop Installation in Mueang Nakhon Sawan, THAILAND, using Geographic Information System (GIS)
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :พื้นที่ศักยภาพ,โซลาร์ รูฟท๊อป,ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, Potential area,Solar PV rooftop,Geographic Information System (GIS)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :497500
งบประมาณทั้งโครงการ :465,200.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยมีแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 4.2% [1] แต่ศักยภาพในการจัดหาพลังงานยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นหลัก [2] ปัญหาด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศจึงกลายเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ระบุอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น (พ.ศ. 2556-2559) ยุทธศาสตร์ประเทศ รวมไปถึงนโยบายหรือเป้าหมายของรัฐบาลการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างจริงจังจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานชนิดอื่นๆ พลังงานทดแทน หรือพลังงานทางเลือก (Alternative energy) คือพลังงานที่นำมาใช้แทนพลังงานจากฟอสซิล (Fossil) ที่มีปริมาณลดลงและอาจหมดไปในอนาคต [3] ซึ่งพลังงานทดแทนจะอยู่ในรูปพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ที่สามารถเกิดขึ้นใหม่หรือปลูกทดแทนส่วนที่ใช้ไปแล้วได้ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ ฯลฯ จากงานวิจัยต่างๆ พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านพลังงานทดแทนอยู่ในระดับดีมาก รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงพลังงานจัดทำแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (2555-2564) (Alternative Energy Development Plan : AEDP (2012-2021) เพื่อเป็นการกำหนดกรอบและทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน [2] พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar energy) เป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการใช้งานอย่างจริงจังในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาดปราศจากมลพิษ และมีอยู่ในธรรมชาติใช้ได้ไม่มีวันหมด นอกจากนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะ สมที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าได้ ในแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ของกระทรวงพลังงาน จึงได้ทำการกำหนดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนว่า จะต้องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ 2,000 MW ในปี 2564 ซึ่งในปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวมเพียง 75.48 MW [2] ในปัจจุบันโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ (Solar cell) ในประเทศไทยที่รัฐบาลสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าอยู่ 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar farm) 2) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar rooftop) และ 3) โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร สำหรับโครงการในกลุ่มที่ 1 และ 3 จะเป็นการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าบนพื้นดิน (Solar farm) ซึ่งใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในการติดตั้ง เจ้าของโครงการมักเป็นนักลงทุนด้านอุตสาหกรรมพลังงานหรือหน่วยงานราชการ ต่างจากโครงการกลุ่มที่ 2 ที่ถือเป็นโครงการที่สามารถเข้าถึงภาคประชาชนได้ครอบคลุมที่สุด [4] นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวางตามยุทธศาสตร์ตามแผน AEDP อีกด้วย ในการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาพื้นที่ศักยภาพสำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) โดยเลือกพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์เป็นพื้นที่ในการศึกษา จากรายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 อำเภอเมืองนครสวรรค์มีจำนวนบ้าน 56,118 หลังคาเรือน [5] มากที่สุดในจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ในเขตพื้นที่ที่ทำการศึกษายังเป็นศูนย์รวมของหน่วยงานราชการ สถานศึกษา และโรงงานอุตสาหกรรมจึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการศึกษาศักยภาพสำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop)
จุดเด่นของโครงการ :ช่วยให้ทราบถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) 2. เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่ศักยภาพสำหรับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านพื้นที่ : ครัวเรือนและสิ่งปลูกสร้างในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2. ขอบเขตด้านระยะเวลา : ใช้ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ ตุลาคม 2559 - กันยายน 2560
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. มีการรวบรวมแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) 2. ทราบถึงพื้นที่ศักยภาพในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 4. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนประมาณการในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ตลอดจนระยะเวลาคืนทุน เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนหรือเข้าร่วมโครงการของภาครัฐ 5. ภาคเอกชนสามารถนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) 1.1 รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลเชิงบรรยาย ข้อมูลขอบเขตการปกครอง ฯลฯ 1.2 จัดเก็บข้อมูลด้วยการดิจิไทซ์ (Digitize) 1.3 จัดเก็บข้อมูลภาคสนาม 2. พัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการคำนวนหาพื้นที่ศักยภาพสำหรับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา 3. กำหนดตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงศักยภาพหรือความสามารถในการผลิตไฟฟ้าต่อปี (kWH) ของแต่ละพื้นที่เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินได้ด้วยตนเอง 4. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาพื้นที่ศักยภาพสำหรับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) 2.1 วิธีการวิเคราะห์แบบลำดับขั้น (Analytic Hierarch Process : AHP) 2.2 การ Overlay 5. จัดทำแผนที่พื้นที่ศักยภาพสำหรับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV rooftop) 6. เสนอแนวทางและข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนประมาณการในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ตลอดจนระยะเวลาคืนทุน เพื่อประกอบการตัดสนใจก่อนการลงทุนหรือเข้าร่วมโครงการของภาครัฐ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1170 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวพุทธพร ไสว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวอาสาฬห์ อุตตาลกาญจนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด