รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000260
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานจากใบตองแห้งโดยการพัฒนาเครื่องควั่นเกลียวและการย้อมสี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The value added products woven from dried banana leaves by developing a stranded helix and staining.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์, ใบตองแห้ง , เครื่องควั่นเกลียว , การย้อมสี
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :452600
งบประมาณทั้งโครงการ :452,600.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :สาขาเศรษฐศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม เป็นพลังขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เน้นการนำความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัยและพัฒนาต่อยอด ถ่ายทอด และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์ สังคม และชุมชน สิ่งเหล่านี้นับเป็นยุทธศาสตร์ของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559) สอดคล้องยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2555-2559) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน และยึดตามแนวหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน จากหลักการดังกล่าวทำให้ทราบว่าแนวโน้มในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนี้การเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังเป็นการขยายโอกาสที่ดีสู่ระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นนับว่าเป็นเครื่องจักรที่สำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งสภาพนโยบายของประเทศ สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทุกวัน ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการซึ่งเป็นตัวแปรและกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ก้าวหน้า รวมทั้งผู้ประกอบการ ห้างร้าน หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาค ต้องเร่งเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความน่าสนใจ เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างรายได้กลับคืนสู่ประเทศให้ได้มากที่สุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่นำเสนอความเป็นเอกลักษณ์ ความประณีต และความงดงามของไทย และเป็นที่นิยมกันมากในต่างประเทศ ผู้ผลิตสามารถส่งเป็นสินค้าออกที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ หัตถกรรมพื้นบ้านจึงควรพัฒนาให้ก้าวสู่ระดับสากล ทั้งนี้จะต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนควบคู่กันไปกับการอนุรักษ์ และคำนึงถึงการรักษาเอกลักษณ์ที่แสดงถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยไว้ด้วย ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่จัดอยู่ในประเภทงานหัตถกรรมมีหลากหลายรูปแบบ งานถัก จัก สาน ถือเป็นงานอีกหนึ่งลักษณะที่แสดงถึงภูมิปัญญาดังกล่าว และวัตถุดิบที่สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานมีอยู่มากมายและหลากหลายตามภูมิภาคต่างๆ กล้วย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย และเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกมากอย่างหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ บางท่านอาจจะรู้จักเพียง กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ แต่ความจริงแล้วยังมีกล้วยอีกหลายชนิด ทั้งกล้วยที่ทานได้ กล้วยประดับตกแต่งหรือกล้วยสวยงาม กล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนถ้าไม่นับด้านการนำมาบริโภคแล้ว ใบกล้วยหรือที่เรียกว่าใบตอง สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ทั้งแบบใบตองสด และใบตองแห้ง ทั้งในรูปแบบของภาชนะ ของเล่น ของตกแต่ง หรือ ผนวกกับภูมิปัญญาการจักสาน การถักจนสามารถนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความละเอียดและสวยงาม กลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง ในรูปแบบต่างๆ ปัญหาหลักที่พบ คือ รูปแบบและสีสันของผลิตภัณฑ์ยังไม่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยังไม่ครบถ้วน ทุกกลุ่มวัย ในด้านสีสันของผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมีเพียงสีธรรมชาติของใบตองแห้ง ที่พบว่าแต่ละสายพันธุ์ให้สีใบตองแห้งที่มีโทนสีเข้มและอ่อนแตกต่างกันมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ส่วนต่างๆ ผู้ประกอบการเคยทดลองการย้อมสีจากสารเคมีแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ สีที่ได้ยังไม่เรียบเสมอกันทั้งเส้นใบและมีบางส่วนที่ย้อมสีไม่ติดทำให้แลดูเหมือนเป็นสีด่าง บนผลิตภัณฑ์ อีกทั้งใช้เวลาในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่อชิ้นค่อนข้างนาน การกระจายของสินค้ามีน้อยเพราะสินค้าผลิตได้น้อยชิ้น และหากมีผู้สนใจมาสั่งในปริมาณมากๆ ก็ไม่สามารถรับงานได้เพราะผลิตไม่ทัน ทำให้ขาดโอกาสในการจำหน่าย ปัญหาที่พบอีกส่วน คือ ขาดแรงงานในการผลิตชิ้นส่วนหลัก ที่เรียกว่า ใบตองควั่นเกลียว ซึ่งเป็นส่วนหลักของการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะว่าใช้แรงงานคนในการควั่นเกลียวยังไม่มีเครื่องมือใดเข้ามาช่วยพัฒนาให้สามารถลดระยะเวลาในการทำขั้นตอนการควั่นเกลียว จากประเด็นดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาโทนสีของใบตองแห้งจากกล้วยแต่ละสายพันธุ์ กระบวนการย้อมสี และพัฒนาเครื่องควั่นเกลียวใบตองแห้งเพื่อลดระยะเวลาในการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้งที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยเน้นไปที่ของใช้ ของประดับและตกแต่ง ที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน อีกทั้งยังเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนอื่นในเขตพื้นที่ที่มีทรัพยากรกล้วยเป็นจำนวนมากได้
จุดเด่นของโครงการ :เป็นงานวิจัยได้นำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นำสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน นำไปสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อศึกษาโทนสีของใบตองแห้งจากกล้วยแต่ละสายพันธุ์ 2) เพื่อศึกษากระบวนการย้อมสีที่เหมาะสมกับใบตองแห้งแต่ละสายพันธุ์ 3) เพื่อพัฒนาเครื่องควั่นเกลียวใบตองแห้งในการลดระยะเวลาการผลิต 4) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้งที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค 5) เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมสู่ชุมชนและเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาตั้งแต่ลักษณะและโทนสีของใบตองแห้งจากกล้วยสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งก่อนเริ่มและหลังจากกระบวนการย้อมสี เพื่อสรรหาวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสีและกระบวนการที่เหมาะสมกับการย้อมสีใบตองแห้งแต่ละสายพันธุ์ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือที่นำมาช่วยลดระยะเวลาในการควั่นเกลียวใบตองแห้งเป็นลักษณะเปีย เพื่อที่จะนำไปถักหรือสานเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับจากตลาด โดยการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามกระบวนการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในเขตพื้นที่กลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ด้านวิชาการ - เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ - นำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ - กระบวนการวิจัยครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์และนักศึกษาได้บูรณาการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนอันสอดคล้องกับภารกิจของสถาบันระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ด้านนโยบาย - พัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ -พัฒนางานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณค่าและคุณภาพสูง ด้านเศรษฐกิจและพาณิชย์ - ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน - ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ด้านสังคมและชุมชน - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภท ของใช้ ของประดับและตกแต่งอื่นๆ สามารถนำผลงานการวิจัยไปปรับใช้เพื่อพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนของตน หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ - พัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากใบตองแห้ง หรือ วัสดุใกล้เคียง - ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล และคณะ (บทคัดย่อ:2556) การศึกษากระบวนการย้อมสีใบตองด้วยสีธรรมชาติและสีวิทยาศาสตร์เพื่องานศิลปะประดิษฐ์ มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษากระบวนการย้อมสีใบตองแห้งด้วยสีธรรมชาติและสีวิทยาศาสตร์ (2) เพื่อศึกษาผลจากการย้อมสีใบตองแห้งด้วยสีธรรมชาติและสีวิทยาศาสตร์ หลังจากได้สูตรการฟอกขาวใบตอง ที่เหมาะสม ทดลองกระบวนการย้อมสีธรรมชาติและสีวิทยาศาสตร์ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจในการย้อมสีใบตองด้วยสีธรรมชาติ ที่ได้จาก สีของครั่ง อัญชัน ดอกคำฝอย ใบเตย แก่นขนุน ขุยมะพร้าว และเปลือกมังคุด มากกว่าสีที่ได้จากสีวิทยาศาสตร์ จากประเด็นดังกล่าว หากมีการต้องย้อมสีบนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้ ควรเลือกสีจากธรรมชาติมาให้ในการศึกษาวิจัย สมศักดิ์ วชิระพันธุ? (2536, หน?า 74 -78) ได้ศึกษาวิจัยการถ?ายทอดความรู?หัตถกรรม ท?องถิ่น พบว?าการถ?ายทอดความรู?เกี่ยวกับหัตถกรรมท?องถิ่น มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาจากการ ถ?ายทอดความรู?โดยสถาบันครอบครัว ซึ่งมีระบบการถ?ายทอดความรู้และเนื้อหาที่ครบวงจร ทุกขั้นตอนด้วยวิธีการกล?อมเกลาเรื่อยๆ ไปทีละเล็กละน?อยตามความสามารถของผู้รับการ ถ?ายทอดมีลักษณะการถ?ายทอดเป?นรายบุคคลแต?ในสภาวการณ์ปัจจุบัน การถ?ายทอด ได?รับการเปลี่ยนแปลง ไปในส?วนของผู?ถ?ายทอดนอกจากบทบาท ของครอบครัว แล?วลูกค?า เจ?าของธุรกิจและหน่วยงานภายนอกได้เข?ามามีบทบาท ผู?รับการถ?ายทอดมีทั้งลูกหลาน ญาติคนในหมู?บ?าน และคนต?างหมู?บ?าน โดยการถ?ายทอดเนื้อหาและทักษะเฉพาะคนใช?วิธีการหลากหลายที่ถ?ายทอด ทั้งนี้สาเหตุที่ทําให? กระบวนการถ่ายทอดคือสภาวะแวดล?อมสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเอง จากประเด็นดังกล่าว การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้หลังจากการศึกษาวิจัย นับเป็นภารกิจสำคัญยิ่งที่ผู้วิจัยจะได้มีโอกาสได้เผยแพร่ความรู้ที่ได้จากกระบวนการวิจัยแล้ว ยังได้มีโอกาสบูรณาการการเรียนการสอนกับงานวิจัยอีกด้วย
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :(1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎี เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และการสร้างนวัตกรรมที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง ในประเด็นต่างๆ เช่น ด้านการลดระยะเวลาในการผลิต การลด หรือนวัตกรรมในการย้อมสีและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ (2) ศึกษาและค้นหารูปแบบของผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้งที่เหมาะสม จากผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้งที่มีจำหน่ายในท้องตลาด (3) ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค (4) สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ประเภทชุดเครื่องประดับร่างกาย ชุดตกแต่งบ้าน ชุดผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร และชุดของใช้ ที่เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน (5) ถ่ายทอดภูมิปัญญาและนวัตกรรมสู่ชุมชน โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย พร้อมทั้งการติดตามและการประเมินผล
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 : ศึกษา สำรวจข้อมูล และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เพื่อศึกษาโทนสีของใบตองแห้งจากกล้วยแต่ละสายพันธุ์ โดยการเก็บตัวอย่างใบตองแห้งสายพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ที่กำหนด เพื่อไปจำแนกโทนสี และบันทึกค่าสี โดยเปรียบเทียบกับ Pantone Color สำหรับใช้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แบบสีดิบ(ไม่ย้อมสี) และจัดเก็บเพื่อเตรียมสู่ขั้นตอนกระบวนการย้อมสีด้วยวัตถุดิบสีต่างๆ ในขั้นต่อไป รวมทั้งสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลหลักฐาน ภาพถ่าย จากปราชญ์ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้ ในเรื่องกล้วย และผู้ที่มีองค์ความรู้ ด้านเทคนิคและภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม ในประเด็นต่างๆ เช่น ด้านการลดระยะเวลาในการผลิตหรือนวัตกรรมในการย้อมสีและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่ 2 : ศึกษากระบวนการย้อมสีที่เหมาะสมกับใบตองแห้งแต่ละสายพันธุ์ นำข้อมูลจากการศึกษาและสำรวจภาคสนามมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประมวลผลจากการศึกษา เพื่อค้นหากระบวนการที่ใช้ในการย้อมสีใบตองแห้งสายพันธุ์ต่างๆ โดยการทดลองย้อมสีจากวัตถุดิบต่างๆ ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น จากอัญชัน ใบเตย ขุยมะพร้าว และเปลือกมังคุด ฯลฯ แล้วทำการเทียบเคียงค่าสีที่ได้กับ Pantone Color เพื่อบันทึกค่าสีเป็นฐานข้อมูลชุดสีจากวัตถุดิบต่างๆ ที่เหมาะสมกับใบตองแห้งแต่ละสายพันธุ์ เป็นการสร้างมาตรฐาน ในขั้นตอนการย้อมสีสำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อไป ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนาเครื่องควั่นเกลียวใบตองแห้งในการลดระยะเวลาการผลิต โดยการทดลองสร้างเครื่องมือรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับการควั่นเกลียวใบตองแห้ง ให้เป็นเส้นเกลียว พร้อมที่จะนำไปถักหรือสานเป็นเปียสำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ แทนการควั่นเกลียวด้วยมือ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการควั่นเกลียวนาน ทำให้ใช้เวลาในขั้นตอนนี้มากเกินไป ซึ่งนับเป็นปัญญาหลักของกลุ่มผู้ผลิต เพราะใช้ระยะเวลาในการผลิตสินค้าค่อนข้างมาก ทำให้ผลิตได้จำนวนน้อยในแต่ละวัน หากสามารถลดระยะเวลาขั้นตอนนี้ลงได้จะสามารถเพิ่มจำนวนการผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดได้มากขึ้น ขั้นตอนที่ 4 : พัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้งที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค นำผลจากการสร้างนวัตกรรมด้านการพัฒนาเครื่องควั่นเกลียวใบตองแห้ง และกระบวนการย้อมสีที่เหมาะสมกับใบตองแห้งแต่ละสายพันธุ์ จนได้ชุดสีเพื่อเป็นมาตรฐานในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง รวมทั้งผลจากการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคถึงแนวโน้มความต้องการที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง นำมาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้วิจัยกำหนดเป็นประเภท ชุดเครื่องประดับร่างกาย ชุดตกแต่งบ้าน ชุดผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร และชุดของใช้ ที่เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนได้ ผ่านกระบวนการทางการวิจัย ทั้งด้านการสำรวจความต้องการของตลาด โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริโภค โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ เป็นการ บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับงานวิจัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการจริงในการทำงาน ขั้นตอนที่ 5 : ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ โดยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานจากใบตองแห้งโดยกระบวนการย้อมสีและเครื่องควั่นเกลียว จำนวน 1 ครั้ง ใช้เวลาในการอบรม 3 วัน หลังจากนั้น สรุปผลการดำเนินงาน นำเสนองาน เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ และยื่นขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตรด้านการออกแบบ สถานที่ทำการวิจัย : กลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นงานวิจัยได้นำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นำสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน นำไปสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยเริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลเก็บตัวอย่างใบตองแห้ง สายพันธุ์ต่างๆ เพื่อนำมาเป็นฐานมูลเรื่องสี จากนั้นทดลองวัตถุดิบในธรรมชาติและหาวิธีที่เหมาะสมในการย้อมสีธรรมชาติลงบนใบตองแห้งแต่ละสายพันธุ์ มีการเก็บข้อมูลสีโดยเทียบจาก Pantone Color เพื่อบันทึกค่าสีแต่ละเฉดสีของสีย้อมใบตอง หลังจากนั้นสร้างนวัตกรรมเครื่องควั่นเกลียวใบตองเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตชิ้นงาน นำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้งที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาตามความต้องการของตลาดผู้บริโภค เมื่อได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมแล้วทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชุมชน สรุปผลงานวิจัย ยื่นขอทรัพย์สินทางปัญญา และตีพิมพ์นำเสนองานวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ
จำนวนเข้าชมโครงการ :963 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายรพีพัฒน์ มั่นพรม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายนัฐท์ธีรนนช์ รอดชื่น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
นางยุวดี ทองอ่อน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด