รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000259
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของ วัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Guidelines for the preventing and resolving of Unwanted Adolescent Women Pregnancy In schools under the jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 42 Muang District Nakhonsawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :266500
งบประมาณทั้งโครงการ :266,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในสองทศวรรษที่ผ่านมา เส้นทางชีวิตของวัยรุ่นไทยได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินวิถีชีวิตประจำวันทั่วไป การเผชิญหน้ากับการแข่งขันในสังคมและเศรษฐกิจ การถูกหล่อหลอมจากขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามวิถีโลก การเอาอย่างเพื่อให้ทันกับยุคสมัยของสิ่งแวดล้อม ที่ก้าวล้ำไปตามความเจริญก้าวหน้าของวัตถุนิยม รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนารุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง และที่สำคัญการห่างไกลต่อศาสนาและการละทิ้งศีลธรรมจรรยา ตลอดจนการยอมรับและไม่ตระหนักต่อผลที่เกิดในเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ (ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ, 2554) ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมในด้านต่างๆ รวมถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกและสื่อต่างๆ ที่มีเนื้อหายั่วยุเอื้ออำนวยให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันอย่างอิสระมากขึ้น จากการที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์และขาดความพร้อมในการมีชีวิตครอบครัว เป็นผลให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในอัตราที่สูง (สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, 2555) วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วุฒิภาวะทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม จึงนับว่าเป็นวิกฤตช่วงหนึ่งของชีวิต เนื่องจากเป็นช่วงต่อของวัยเด็กและผู้ใหญ่ เป็นวัยที่เริ่มมีความรู้สึกทางเพศซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ แม้ในปัจจุบันจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนนับตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งการสอนในระดับนี้มักจะไม่มีปัญหายุ่งยากมากนักเพราะเด็กยังไม่มีอารมณ์เพศเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่พอในระดับมัธยมศึกษาร่างกายจะเริ่มเกิดความเปลี่ยนแปลงจนเห็นความแตกต่างระหว่างชาย-หญิง อีกทั้งวัยรุ่นอาจเรียนรู้เรื่องเพศจากสื่อต่างๆ ทำให้วัยรุ่นมีทัศนคติ ค่านิยม แนวคิดในเรื่องเพศสัมพันธ์เปลี่ยนไป และเป็นผลเสียมากกว่าจะเกิดประโยชน์ ในปัจจุบันวัยรุ่นมักเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเป็นเรื่องปกติ ทำให้วัยรุ่นขาดการป้องกันตนเองเนื่องจากขาดทักษะที่ดี และขาดความตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมา (สุมาลัย นิธิสมบัติ, 2553) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องสำคัญที่นานาประเทศต่างให้ความสนใจ องค์การสหประชาชาติ (United Nation – UN) ได้กำหนดเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) คือการพัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์โดยมีตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งคือการลดอัตรามารดาอายุ 15-19 ปี จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO, 2008) ในปี พ.ศ.2551 ระบุว่าอัตราการตั้งครรภ์ของผู้หญิงในช่วงอายุ 15-19 ปีมีจำนวนประมาณ 16 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของอัตราการเกิดทั่วโลกซึ่งร้อยละ 95 ของการเกิดจากผู้หญิงในช่วงอายุน้อยในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำนอกจากนี้ประเทศในกลุ่มดังกล่าวยังมีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมากกว่าประเทศที่มีรายได้สูง 2 และ 5 เท่าตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคจะพบว่าประเทศไทยมีจำนวนการตั้งครรภ์ในผู้หญิงอายุ 15-19 ปี สูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยข้อมูลจากการสำรวจของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children's Fund – UNICEF, 1998) ในปี พ.ศ.2541 พบสัดส่วนของการตั้งครรภ์ในผู้หญิงอายุ 15-19 ปีของประเทศไทยอยู่ที่ 70 คนต่อผู้หญิง 1,000 คน นอกจากนี้จากรายงานผลตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของประเทศไทยในปี พ.ศ.2553 ยังพบว่าการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 20 ปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา สถิติการมีบุตรของวัยรุ่น มีจำนวนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดถึง 71 จังหวัด ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 สูงเป็นอันดับ 2 ของโลกและเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย (อรพินธ์ เจริญผล, 2555) และจากรายงานสถิติสุขภาพโลก 2013 (World Statistics 2013) ขององค์การอนามัยโลก พบว่าประเทศไทยมี อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่น อยู่ที่ 47 คน ต่อสตรีอายุ 15-19 ปี พันคน ซึ่งอยู่ลำดับที่ 5 ในกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน (สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2555) สถานการณ์การตั้งครรภ์ในกลุ่มแม่วัยรุ่น เป็นปัญหาในสังคมที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง จากสถิติสาธารณสุข พบว่าภาวะเจริญพันธุ์ในประเทศไทยได้ลดต่ำกว่าระดับทดแทน อัตราการเจริญพันธุ์รวมได้ลดลงถึงระดับ 1.5 ซึ่งจากการสำรวจประชากรหญิง 1,000 คน ปี พ.ศ.2539 มีการตั้งครรภ์ 31 คน และในปี พ.ศ.2554 ลดลงเหลือ 24 คน ขณะที่อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่น อายุ 15 -19 ปี ต่อหญิงวัยเดียวกัน 1,000 คน ในช่วง 11 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ถึง ปี พ.ศ.2550 และลดลงในปี พ.ศ.2551 ที่อัตรา 39.79 หลังจากนั้นก็มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี พ.ศ.2554 มีอัตราสูงสุดที่ 46.60 และค่อยๆ ลดลง ในปี พ.ศ.2556 ที่อัตรา 41.54 (สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2557) และผลการวิจัยของศูนย์อนามัยที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งศึกษาในแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ใน 14 จังหวัด และคลอดบุตรคนแรกไม่เกิน 2 ปี จำนวน 2,900 ตัวอย่างในปี พ.ศ.2555 พบว่า ร้อยละ 68 เป็นนักเรียน นักศึกษา (รัชตะ รัชตะนาวิน, 2557) ประเทศไทยมีผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีที่คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 355 ราย โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวนถึง 10 รายต่อวันที่กลายเป็นคุณแม่วัยใส (สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย, 2556) แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพที่ดีขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าจำนวนผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี ในประเทศไทยกลับเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ผู้หญิงในวัยนี้ควรจะอยู่ในโรงเรียน เพื่อสร้างอนาคตตามที่ตั้งใจหรือได้ใฝ่ฝันไว้ในวันข้างหน้า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มาจากความยากจน แต่ในประเทศไทยกลับมีเด็กผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จำนวนมาก ถ้ามองจากมุมมองการคุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ สิทธิของเด็กผู้หญิงเหล่านี้ถูกปฏิเสธทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความรู้ การศึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสม ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว เช่น การเติบโตของสังคมเมืองและสังคมคนชั้นกลางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางเลือกและการพัฒนาสื่อทางเทคโนโลยีต่างๆ มีมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เด็กและวัยรุ่นกลับไม่ได้รับความรู้อย่างเหมาะสมกับวัยของพวกเขาอย่างเพียงพอเพื่อให้สามารถรับมือและป้องกันตัวเองจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ปัจจัยหลายประการทั้งปัจจัยทางด้านครอบครัว การศึกษาตลอดจนบริบททางสังคม วัฒนธรรม และสภาพสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนเด็กวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์จำนวนมาก วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งอาจทำแท้งจากสถานการณ์ที่บังคับ ส่วนหนึ่งอาจเลือกตั้งครรภ์ต่อไปจนคลอดกลายเป็นแม่วัยใส ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใดก็ตาม รายงานวิจัยจำนวนมากยืนยันตรงกันว่าวัยรุ่นยังเป็นวัยที่ไม่พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์และการเป็นแม่ ดังนั้นการเป็นแม่วัยใสจึงถือว่าเกิดจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ไม่ว่าจะเป็นเพราะแต่งงานหรือตั้งใจจะตั้งครรภ์ก็ตามการเปลี่ยนบทบาทจากวัยรุ่นมาเป็นแม่วัยใส ล้วนทำให้โอกาสของตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว สังคม สูญเสียไป ไม่สามารถประเมินมูลค่าผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่เกิดขึ้นต่อวิถีการดำเนินชีวิต คุณภาพชีวิต สุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจได้ (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA), 2556) ขณะเดียวกันวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งไม่ได้กลับไปเรียนต่อ ต้องออกจากโรงเรียน เปลี่ยนที่เรียนหรือออกจากงาน ไม่มีอาชีพขาดรายได้ กลายเป็นสภาพเด็กเลี้ยงเด็ก ผลการศึกษาจากนานาชาติบ่งชี้ว่าความไม่เท่าเทียมและการไม่ปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กผู้หญิงเป็นเรื่องท้าทายสำคัญในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการที่เด็กผู้หญิงขาดโอกาสทางการศึกษาไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเพศศึกษาและสัมพันธภาพศึกษา ไม่มีโอกาสได้พัฒนาทักษะเพื่อชะลอการมีเพศสัมพันธ์ หรือเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่นำไปสู่การสร้างครอบครัว ไม่ได้รับข้อมูลหรือเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ รวมถึงการถูกละเมิดทางเพศ ดังนั้นการที่ประเทศไทยมีเด็กผู้หญิงจำนวนมากที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียนย่อมส่งผลกระทบนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรโดยรวมของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นการสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางด้านโอกาสในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง อย่างเช่น การที่เด็กหรือวัยรุ่นบางกลุ่มไม่ได้รับการศึกษาเรื่องเพศศึกษาที่เหมาะสมกับวัยเป็นการถูกปฏิเสธสิทธิในการได้รับความรู้และการพัฒนาตนเอง การที่เด็กวัยรุ่นบางส่วนตั้งครรภ์เนื่องจากถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นการละเมิดสิทฺธิของเด็กที่จะได้รับความคุ้มครอง นอกจากนี้ถือได้ว่าแม่วัยรุ่นบางคนที่มีอาการแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนวัยอันควรถูกละเมิดสิทธิในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA), 2556) แต่ข้อมูลจาก สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี พ.ศ.2552-2556 พบว่าสัดส่วนของนักเรียนที่ออกจากโรงเรียนกลางคันของประเทศไทยที่ยังสูง สะท้อนให้เห็นว่ามีเด็กจำนวนหนึ่งที่ถูกปฏิเสธสิทธิทางการศึกษา ถึงแม้ว่าจำนวนของนักเรียนที่ออกกลางคันจะมีสัดส่วนที่ลดลง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ออกจากโรงเรียนกลางคันในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีม
จุดเด่นของโครงการ :เป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในจังหวัดอื่นได้สำหรับการศึกษาการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษาการศึกษาสภาพปัญหา ปัจจัยแวดล้อมและลักษณะทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อได้แนวทางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงโรงเรียน
ขอบเขตของโครงการ :1.ขอบเขตด้านพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ทำการวิจัยเฉพาะโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนนครสวรรค์ โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ โรงเรียนบ้านแก่งชัชวลิตวิทยา โรงเรียนพระบางวิทยา โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม และโรงเรียนบึงบอระเพ็ดวิทยา เป็นพื้นที่ทำการวิจัยเนื่องจากลักษณะของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเจริญ สภาพแวดล้อมเป็นสังคมเมือง มีความหลากหลายของสังคม ประกอบกับจำนวนนักเรียนในแต่ละโรงเรียนมีจำนวนมากและมาจากอำเภอต่างๆ ทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดข้างเคียง 2.ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็นการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหา ปัจจัยแวดล้อมและลักษณะทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียน โดยจะทำการศึกษาเพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับ ความตระหนักรู้ของประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งเป็นเรื่องของพฤติกรรมของตัวเด็กเอง ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยแวดล้อมทางสังคม ตลอดจนอิทธิพลจากเพื่อและค่านิยมที่ไม่เหมาะสมที่ทำให้วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 3.ขอบเขตการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการตอบวัตถุประสงค์ข้อ 1.เพื่อศึกษาการศึกษาสภาพปัญหา ปัจจัยแวดล้อมและลักษณะทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามมาใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทำการศึกษาจากวัยรุ่นหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (ม.1-ม.6) ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 4.ขอบเขตการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการตอบวัตถุประสงค์ข้อ 2.เพื่อได้แนวทางในการป้องกันเผ้าระวังและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้วิธีการจัดสนทนากลุ่ม โดยอาศัยข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (ม.1-ม.6) ผู้ปกครอง อาจารย์แนะแนว อาจารย์ฝ่ายปกครองอาจารย์ประจำชั้น ผู้แทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ ผู้แทนบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น 5.กรอบความสอดคล้องการวิจัย การศึกษาเรื่อง “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์” สอดคล้องกับโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน สอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2555-2559) ประเด็นยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 1 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม กลยุทธ์การวิจัยที่ 8 ส่งเสริมความเข้มแข็งและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ของท้องถิ่นและสังคม แผนงานวิจัยที่ 8.5 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสผู้พิการและผู้สูงอายุ นอกจากนี้แล้วยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ข้อ 3.3 ที่กำหนดไว้ว่าในระยะต่อไปจะพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม ระบบการออมและระบบสวัสดิการชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการดูแลให้มีระบบการกู้ยืมที่เป็นธรรมและการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ตามอัตภาพ พัฒนาศักยภาพ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ จัดสวัสดิการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีและเด็ก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหา ปัจจัยแวดล้อม และลักษณะทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ 2.หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการวางแผนในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการพัฒนาให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพที่ดีต่อไป 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดนครสวรรค์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนการป้องกันเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1.แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวัยรุ่น 2.แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 3.สภาวะการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 4.ปัญหาและผลกระทบของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :จากการทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงนั้นมีสาเหตุและผลกระทบหลายประการ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้เป็นการหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษาสภาพปัญหา ปัจจัยแวดล้อม และลักษณะทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง ในเบื้องต้นก่อนเพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในขั้นตอนของการสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) รายละเอียดมีดังนี้ 1.การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการศึกษาสภาพปัญหา ปัจจัยแวดล้อม และลักษณะทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียน ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนหญิงจาก 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 (นครสวรรค์) จำนวน 362 คน 2.การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การจัดสนทนากลุ่ม (Group Discussion) จะดำเนินการ จำนวน 6 ครั้งในแต่ละโรงเรียน ในการสนทนากลุ่มแต่ละครั้งจะทำการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ประกอบด้วยตัวแทน นักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (ม.1-ม.6) จำนวน 6 คน ผู้ปกครอง จำนวน 6 คน อาจารย์แนะแนว อาจารย์ฝ่ายปกครองและอาจารย์ประจำชั้น จำนวน 6 คน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จำนวน 4 คน รวมจำนวน 22 คน/ครั้ง รวมประชากรที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น จำนวน 132 คน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อแนวทางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงโรงเรียน
จำนวนเข้าชมโครงการ :302 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสุวรรณา คุณดิลกณัฐวสา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด