รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000258
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ผลของการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Effect of Preservation of Thai Fairy Shrimp (Branchinella thailandensis) of Nutrition and Total Carotenoids
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การเก็บรักษา (Preservation) ไรน้ำนางฟ้าไทย (Thai Fairy Shrimp) คุณค่าทางโภชนาการ (Nutrition) และปริมาณแคโรทีนอยด์ (Carotenoids)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :500000
งบประมาณทั้งโครงการ :475,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :ทรัพยากรประมง
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันนี้ไรน้ำนางฟ้าสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม สามารถเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นการค้าทดแทนอาร์ทีเมีย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยเราต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมียเพื่อมาเลี้ยงลูกกุ้งลูกปลา รวมทั้งสัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 200-600 ตัน มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และที่ต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมีย เนื่องจากในประเทศไทยเราไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงหาสัตว์น้ำตัวอื่นเพื่อทดแทน (นุกูลและละออศรี, 2547) ในปัจจุบันนี้สามารถนำไข่ไรน้ำนางฟ้าไปเพาะเลี้ยงและเพิ่มผลผลิตจนสามารถส่งขายให้กับธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามได้ในราคาสูง ไรน้ำนางฟ้าไทยแช่แข็งกิโลกรัมละประมาณ 300 บาท ส่วนไรน้ำนางฟ้าไทยแบบมีชีวิตตัวละ 10-30 สตางค์ หากมีการส่งเสริมและผลิตได้แพร่หลายนับได้ว่าไรน้ำนางฟ้าไทยจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นำมาซึ่งรายได้และเป็นสินค้าส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศ และไรน้ำนางฟ้าที่เลี้ยงจากอาหารที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ คลอเรลลา พบว่ามีโปรตีนและคุณค่าทางโภชนาการอื่น ๆ สูงเหมาะสมกับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามเพื่อใช้ในการเร่งสีได้อีกด้วย คุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยคลอเรลลาของ Dararat et al. (2012) พบว่ามีปริมาณโปรตีนร้อยละ 64.65 ปริมาณคาร์โบไฮเดรทร้อยละ 16.24 ปริมาณไขมันร้อยละ 7.57 ความชื้นร้อยละ 90.22 เถ้าร้อยละ 6.42 เยื่อใยร้อยละ 5.12 และมีปริมาณแคโรทีนอยด์เท่ากับ 254.41 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง ขณะที่การศึกษาของ นุกูลและละออศรี (2547) พบว่าไรน้ำนางฟ้ามีปริมาณโปรตีนร้อยละ 64.94 ปริมาณคาร์โบไฮเดรทร้อยละ 17.96 ปริมาณไขมันร้อยละ 5.07 เถ้าร้อยละ 8.40 นอกจากนั้นยังพบสาร Canthaxanthine ซึ่งเป็นรงควัตถุในกลุ่มแคโรทีนอยด์ในไรน้ำนางฟ้าเป็นจำนวนมาก (Murugan et al., 1995) ทำให้ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์ที่มีศักยภาพในการนำมาเป็นอาหารของสัตว์น้ำจืด โดยเฉพาะกลุ่มของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งขาวแวนาไม ปลานิล ปลาสวาย ปลาบู่ และกลุ่มปลาสวยงามที่มีราคาแพง เช่น ปลาหมอสี (ละออศรีและคณะ, 2549) ปลาทอง และปลาคาร์ฟ (Latcha, 1990) วิธีการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยในปัจจุบันนิยมใช้มีหลายวิธี คือ การเก็บแช่แข็งแห้งซึ่งไรน้ำนางฟ้าไทยจะตายหมด และการเก็บแบบมีชีวิต โดยการใช้ออกซิเจนไรน้ำนางฟ้าจะมีชีวิตอยู่ ซึ่งไรน้ำนางฟ้ามีศักยภาพเป็นอาหารปลาสวยงามทั้งในรูปแบบมีชีวิตและไม่มีชีวิตใช้ในธุรกิจปลาสวยงามได้หลากหลาย
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษาอัตราความหนาแน่นและปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสมต่ออัตรารอดตายของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เก็บรักษาแบบมีชีวิต 2 เพื่อศึกษาชนิดสารละลายที่เหมาะสมของไรน้ำนางฟ้าที่เก็บรักษาแบบไม่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณค่าทางโภชนาการ 3 เพื่อศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมของไรน้ำนางฟ้าที่เก็บรักษาแบบไม่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณค่าทางโภชนาการ
ขอบเขตของโครงการ :เป็นการศึกษาการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยมีชีวิตและไม่มีชีวิตเพื่อเป็นอาหารปลาสัตว์น้ำ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 นำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยที่เหมาะสมเพื่อใช้ในธุรกิจสัตว์น้ำสวยงามและเศรษฐกิจ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพแก่เกษตรกร หรือเป็นการหารายได้เสริม 3 นำความรู้เพื่อเผยแพร่ในวารสารด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับไรน้ำนางฟ้าในประเทศไทยในอดีตเป็นเรื่องที่มีการศึกษากันน้อย เนื่องจากไม่เป็นที่รู้จักและไม่สามารถพบได้ตลอดทั้งปีแต่จะพบได้เฉพาะช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น ส่วนใหญ่สนใจที่จะศึกษาเฉพาะไรน้ำเค็มหรืออาร์ทีเมียเนื่องจากนิยมนำตัวอ่อนมาใช้ในการเพาะเลี้ยงและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนเช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา โดยเฉพาะปลาทะเล ในการอนุบาลและเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดพบว่าตัวอ่อนเหล่านี้จะสามารถอยู่รอดในน้ำจืดได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น (Wallace and Snell, 1991) แต่เมื่อมีการค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดแรกของประเทศไทย และเป็นชนิดแรกของโลกในปี พ.ศ. 2541 คือ ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae ; Sanoamuang et al., 2000) ที่จังหวัดหนองบัวลำภู (ละออศรี, 2541) ได้จุดประกายความหวังต่อวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความต้องการอาหารธรรมชาติที่จะมาทดแทนอาร์ทีเมียซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ปัจจุบันความสามารถในการผลิตอาร์ทีเมียกลับลดลงส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้กลับสูงมากทุกปี ในปี พ.ศ. 2542 มีการค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลกอีก 2 สปีชีส์ คือ ไรน้ำนางฟ้าไทยและไรน้ำนางฟ้าสยาม ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยพบไรน้ำนางฟ้า 3 สปีชีส์ นอกจากนี้ยังพบว่าไรน้ำนางฟ้าทั้ง 3 สปีชีส์นี้จัดเป็นสัตว์ที่พบเฉพาะถิ่น (endemic species) ในประเทศไทยเท่านั้น (ละออศรีและคณะ, 2542) ไรน้ำนางฟ้านอกจากจะเป็นอาหารธรรมชาติของสัตว์น้ำแล้วชาวอีสานยังนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง รู้จักกันในชื่อแมงหางแดง แมงเหนี่ยวแมงน้ำฝน ฮวกขอ ฯลฯ ทั้งนี้พบว่าไรน้ำนางฟ้าไทยมีโปรตีนและคุณค่าทางโภชนาการอื่น ๆ สูงเหมาะสมกับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามเพื่อใช้ในการเร่งสีได้อีกด้วย ลักษณะการกินของไรน้ำนางฟ้าไทยคือการกรองกินอาหารที่มีขนาดเล็กกว่าปากได้แก่ แบคทีเรีย สาหร่ายขนาดเล็ก โปรโตซัว และโรติเฟอร์ นอกจากอาหารดังกล่าวมีการศึกษาปริมาณสาหร่ายคลอเรลลา รำละเอียด และสไปรูลินาผง ซึ่งการใช้อาหารผสมทั้ง 3 ชนิดร่วมกัน มีผลให้ไรน้ำนางฟ้ามีอัตราการรอดตายสูงกว่าที่สัดส่วนอื่น (Saengphan, 2005) มีการใช้อาหารผงซึ่งมีส่วนประกอบสาหร่ายสไปรูลินาผง 50% ปลาป่น 40% เบตากลูแคน 9% และ วิตามินซี 1% (โฆษิตและคณะ, 2553) นอกจากนี้มีการใช้น้ำหมักชีวภาพ และยีสต์เป็นอาหารแก่ไรน้ำนางฟ้า (โฆษิตและละออศรี, 2550; จามรีและปริญญา, 2555) มีรายงานการนำไรน้ำนางฟ้าไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหารปลาสวยงามและสัตว์น้ำเศรษฐกิจได้แก่ ปลาหมอสี กุ้งก้ามกราม ปลาอะโรวน่า ปลากะพงขาว เป็นต้น (วิกิจและคณะ, 2552; ละออศรีและคณะ, 2549; โฆษิตและคณะ, 2551) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไรน้ำนางฟ้าหากมีการนำไปใช้ในธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะทำให้สามารถลดการนำเข้าอาร์ทีเมียซึ่งเป็นอาหารมีชีวิตที่นิยมใช้ในปัจจุบัน การเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้ายังไม่มีรายงานว่าจะเก็บรักษาอย่างไรเพื่อให้ได้ไรน้ำนางฟ้าคุณภาพส่วนการเก็บรักษาอาหารสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ไรแดง หนอนแดง อาร์ทีเมีย นิยมเก็บรักษาทั้งแบบมีชีวิตและไม่มีชีวิต การเก็บรักษาแบบไม่มีชีวิตจะทำให้สามารถเก็บรักษาได้นานและเมื่อจำเป็นต้องใช้สามารถนำออกมาใช้ได้ทันทีไม่จำเป็นต้องทำการเพาะและเลี้ยงใหม่ ดังเช่น การเก็บรักษาไรแดงในรูปแบบ ใช?วิธีการเก็บโดยการแช?แข็ง วิธีนี้สามารถเก็บไว?ได?นานและยังสดอยู?เสมอ ส?วนมากเป?นไรแดงที่ตาย และวิธีการเก็บในอุณหภูมิตํ่าประมาณ 10 องศาเซลเซียส โดยเติมนํ้าลงไป 50 เปอร?เซ็นต? จะอยู?ได?นาน 4 วัน (กรมประมง, มปป.)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งวิธีการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 การทดลองคือ 1. ศึกษาอิทธิพลของความหนาแน่นและออกซิเจนต่ออัตรารอดตายของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เก็บรักษาแบบมีชีวิต วางแผนการทดลองวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด 2 ปัจจัย ทำการทดลอง 3 ซ้ำ (5X3 Factorial in Completely Randomized Design) ปัจจัยที่ 1 ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง ดังต่อไปนี้ ชุดการทดลองที่ 1 ไรน้ำนางฟ้าไทย 20 ตัว / 100 มิลลิลิตร ชุดการทดลองที่ 2 ไรน้ำนางฟ้าไทย 40 ตัว / 100 มิลลิลิตร ชุดการทดลองที่ 3 ไรน้ำนางฟ้าไทย 60 ตัว / 100 มิลลิลิตร ชุดการทดลองที่ 4 ไรน้ำนางฟ้าไทย 80 ตัว / 100 มิลลิลิตร ชุดการทดลองที่ 5 ไรน้ำนางฟ้าไทย 100 ตัว / 100 มิลลิลิตร ปัจจัยที่ 2 ประกอบด้วย 2 ชุดการทดลองดังต่อไปนี้ ชุดการทดลองที่ 1 ไม่มีออกซิเจน ชุดการทดลองที่ 2 มีออกซิเจน (ออกซิเจนธรรมดา) ชุดการทดลองที่ 3 มีออกซิเจน (ออกซิเจนผง) ชุดการทดลองแต่ละชุดจะเก็บรักษาชุดเวลา 3, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง ตามลำดับจนกว่าไรน้ำนางฟ้าไทยจะตายหมด เมื่อครบช่วงเวลาที่กำหนด นำมานับจำนวนไรน้ำนางฟ้าที่ยังมีชีวิตอยู่ นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ Analysis of variance: ANOVA 2. ศึกษาชนิดสารละลายที่เหมาะสมของไรน้ำนางฟ้าที่เก็บรักษาแบบไม่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณค่าทางโภชนาการ วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ทำการทดลอง 3 ซ้ำ (Completely Randomized Design) ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง ดังต่อไปนี้ ชุดการทดลองที่ 1 น้ำกลั่น ชุดการทดลองที่ 2 น้ำเกลือ ความเข้มข้น 0.9% ชุดการทดลองที่ 3 สารละลายกลูโคส ความเข้มข้น 2% ชุดการทดลองที่ 4 Hank’s balanced salt solution (HBSS) ชุดการทดลองที่ 5 Calcium Free Hank’s balanced salt solution (Ca-F HBSS) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ความชื้น เถ้า และปริมาณแคโรทีนอยด์เมื่อเก็บรักษาไว้ 1 เดือน นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ทางสถิติโดยวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) เพื่อหาความแตกต่างของแต่ละชุดการทดลอง จากนั้นเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลอง โดยวิธีของ Duncan ,s New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 3. ระยะเวลาที่เหมาะสมและการเปลี่ยนแปลงคุณค่าทางโภชนาการ นำผลจากการทดลองที่ 2 ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการดีที่สุด วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ทำการทดลอง 3 ซ้ำ (Completely Randomized Design) ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง ดังต่อไปนี้ ชุดการทดลองที่ 1 เก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นระยะเวลา 0 เดือน ชุดการทดลองที่ 2 เก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ชุดการทดลองที่ 3 เก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นระยะเวลา 6 เดือน ชุดการทดลองที่ 4 เก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นระยะเวลา 9 เดือน ชุดการทดลองที่ 5 เก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นระยะเวลา 12 เดือน ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ความชื้น เถ้า และปริมาณแคโรทีนอยด์เมื่อเก็บรักษาไว้ครบตามระยะเวลานำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ทางสถิติโดยวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) เพื่อหาความแตกต่างของแต่ละชุดการทดลอง จากนั้นเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลอง โดยวิธีของ Duncan ,s New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นการต่อยอดงานวิจัยที่ทำอยู่เพื่อเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าในรูปแบบทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
จำนวนเข้าชมโครงการ :1305 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจามรี เครือหงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวจงดี ศรีนพรัตน์วัฒน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวสุรภี ประชุมพล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายปริญญา พันบุญมา บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด