รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000254
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การเพิ่มมูลค่าข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ โดยการผลิตข้าวแดงจากเชื้อรา Monascus purpureus
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The value added of local strain rice in Nakhon Sawan province by red rice production from Monascus purpureus
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ข้าวแดง ข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง กาบา ซิตรินิน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :460000
งบประมาณทั้งโครงการ :410,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ข้าวแดง (อังคัก) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการการผลิตจากการนำข้าวมาผ่านกระบวนการหมักใน รูปแบบ การหมักแบบใช้ของแข็ง (solid-state fermentation) โดยการใช้เชื้อราMonascus sp. สายพันธุ์ต่างๆ โดยข้าวแดงนั้นถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีที่มีประโยชน์ทางการแพทย์มากมายหลายชนิดซึ่งเกิดจากการผลิตโดยเชื้อรา Monascus จากการใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการหมัก (substrate) ดังนั้นข้าวแดงจึงเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในการนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเซีย ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศเหล่านี้ได้นำเอาข้าวแดงมาใช้เป็นอาหารเสริม นำมาบริโภคกัน อย่างแพร่หลาย ข้าวแดงอุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ เช่น กาบา (gamma amino butyric acid; GABA) และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ (antioxidant) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารประกอบกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ได้รับการกล่าวถึงมากมายถึงสรรพคุณที่สามารถช่วยลดระดับความดันในเลือดที่สูง (antihypertension) บำบัดอาการซึมเศร้า (antidepression) และทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ชนิดกลุ่มสารสื่อประสาทประเภทกรดอะมิโน ซึ่งทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยทำให้ผ่อนคลายหลับสบาย และกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และป้องกันการสะสมไขมัน กลุ่มโรคชนิดอื่นๆที่มักจะเกิดขึ้นจากโรคทางพันธุกรรมร่วมกับการใช้ชีวิตในแบบของคนสมัยใหม่ เช่น โรคเบาหวาน (diabetes) และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ก็พบว่าสามารถบำบัดให้ดีขึ้นได้จากการบริโภคข้าวแดง ข้าวเป็นพืชผลทางการเกษตรหลักของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2556-2557 ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีปริมาณส่งออก 10.3 ล้านตัน อันเนื่องจากการปรับลดราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของประเทศคู่แข่ง ทำให้กลไกดังกล่าวนี้ส่งผลต่อเกษตรกร จากข้อมูลของราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา ในปี พ.ศ.2557 เทียบกับปี พ.ศ.2556 พบว่าราคาเฉลี่ยลดลง เช่น ข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ยราคาตันละ 13,782 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.6 โดยปี พ.ศ.2556 ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 15,582 บาท ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวนี้ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจจะปรับลดลงอีกในปี พ.ศ. 2558 เกษตรกรควรที่จะมีการนำข้าวที่มีคุณภาพดีอยู่แล้วมาทำการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ย่อมเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพเป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าวให้สูงยิ่งขึ้น จังหวัดนครสวรรค์ถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือและยังถือว่าเป็นตลาดกลางข้าวเปลือก “ท่าข้าวกำนันทรง” ที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ดังนั้นจึงถือได้ว่า ข้าว คือ พืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรในจังหวัดนคสวรรค์เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นในการทำวิจัยเชิงท้องถิ่นในครั้งนี้จึงเลือกนครสวรรค์เป็นพื้นที่ทำวิจัย (area based) โดยมีข้าวพันธุ์พื้นเมืองในนครสวรรค์เป็นเป้าหมายหลักในการนำมาผ่านการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวแดง อาหารโภชนาการสูงต่อไป แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ยังคงเป็นปัญหาต่อผู้บริโภคข้าวแดงในปัจจุบันนั้นก็คือ การที่เชื้อรา Monascus นั้นมีการผลิตกลุ่มสารทุติยภูมิซิตรินิน (citrinin) ขึ้นในกระบวนการหมัก โดยสารชนิดนี้นั้นจัดเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการทำลายไต (hepato-nephotoxin) ดังนั้นปัญหาดังกล่าวนี้จึงควรได้รับการนำมาวิจัยเพื่อปรับปรุงปริมาณซิตรินินในข้าวแดงให้มีปริมาณลดลงหรือน้อยที่สุด ในการทำวิจัยครั้งจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการลดปริมาณซิตรินินในข้าวแดงได้ เช่น การทดลองใช้ข้าวสายพันธุ์ต่างๆเป็นวัตถุดิบ การใช้เชื้อรา Monascus ต่างสายพันธุ์ในการหมัก รวมถึงนำเชื้อราMonascus สายพันธุ์ที่มีปริมาณการผลิตซิตรินินทีต่ำอยู่แล้วมาทำการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์เพื่อให้ได้ Monascus ที่มีคุณสมบัติเป็นสายพันธุ์กลายที่ปราศจากการผลิตซิตรินิน (citrinin-free mutant strain) เป็นต้น นอกจากนี้การหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตข้าวแดงที่มีปริมาณสารที่มีประโยชน์ทางด้านการแพทย์ที่น่าสนใจ เช่น กาบา (GABA) ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่สำคัญในการทำวิจัยครั้งนี้ ท้ายที่สุดนั้นองค์ความรู้ทีเกิดขึ้นจากการทำวิจัยในครั้งนี้ก็จะถูกถ่ายทอดสู่ชุมชนต่อไปในอนาคต
จุดเด่นของโครงการ :เป็รการเพิ่มมูลค่าเพื่มให้พืชผลทางการเกษตรที่มีการเพาะปลูกอย่างแพร่หลายในจังหวัดนครสวารค์อยู่แล้ว ได้แก่ ข้าว
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาผลของสายพันธุ์เชื้อรา Monascus purpureusและชนิดของข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ในจังหวัดนครสวรรค์ ต่อการผลิตสารกาบา และซิตรินินในข้าวแดง 2. เพื่อศึกษาผลของการปรับปรุงสายพันธุ์เชื้อรา Monascus purpureus ต่อการผลิตสารกาบา และซิตรินินในข้าวแดง 3. เพื่อศึกษาสภาวะทางกายภาพบางประการต่อการผลิตสารกาบา และซิตรินินในข้าวแดงจากการหมักข้าวพื้นเมืองสายพันธุ์ที่เหมาะสมโดยเชื้อรา Monascus purpureus สายพันธุ์ที่เหมาะสม
ขอบเขตของโครงการ :เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนาทดลอง มีขอบเขตของการวิจัยในการศึกษา หาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตกลุ่มสารสำคัญทางการแพทย์ที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น กาบา รวมถึงการหาสภาวะที่ทำให้ปริมาณซิตรินินในข้าวแดงมีปริมาณต่ำที่สุด โดยการทดลองใช้รา Monascus สายพันธุ์ต่างๆ การทดลองใช้ข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ชนิดต่างๆ และการใช้สภาวะทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง เพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตข้าวแดงที่มีคุณภาพสูงและพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดสู่ชุมชนและประชาชนต่อไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ทำให้เกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์มีรายได้เพิ่มขึ้นและมีสุขภาพที่ดีไปพร้อมๆกัน จากการแปรรูปข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ "ข้าวแดง" ซึ่งสามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารเสริมซึ่งออกฤทธิ์ต่อผู้ป่วยในกลุ่มโรคไขมัน และสามารถใช้ข้าวแดงในอุดสาหกรรมอาหารโดยการใช้เป็นสีผสมอาหาร ถือได้ว่าสามารถนำข้าวแดงมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการค้าได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :เรณู และจุลยุทธ (2546) ได้รายงานว่า สายพันธุ์ของเชื้อรา Monascus purpureus มีผลต่อต่อค่าสีแดงและปริมาณของซิตรินินในข้าวแดง และพบว่าการใช้ M. purpureus ATCC 16365 ข้าวหอมมะลิจะให้ค่ามีแดงสูงสุดที่ 632 ยูนิตต่อกรัม ส่วนข้าวแดงที่เกิดจากการหมักโดยใช้ M. purpureus FTCMU ในข้าวซ้อมมือและ M. puupureus BCC 6131 ในข้าวหอมมะลิจะให้ปริมาณซิตรินินสูงสุดและต่ำสุดที่ 4400 ppm และ 105 ppm ตามลำดับ Pattanagul และคณะ (2008) ได้รายงานถึงการปริมาณสารเมไวโอนิน ซิตรินิน และรงควัตถุจากข้าวบาเล่ย์จีนหมักโดยเชื้อรา Monascus sp. หลายสายพันธุ์ โดยพบว่าเชื้อรา Monascus purpureus DMKU เป็นสายพันธุ์ที่สามารให้ปริมาณซิตรินิต่ำที่สุดที่ 0.26 ppm และให้ปริมาณเมไวโอนินสูงที่สุดที่ 25.03 ppm และได้มีการรายงานว่า M. purpureus DMKU เป็นราสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการนำมาหมักกับข้าวบาร์เล่ย์ จีน Kalaivani และ Rajasekaran (2014) ได้รายงานถึงผลการวิจัย การเพาะเลี้ยงเชื้อรา M. purpureus MTCC 1090 และสายพันธุ์กลายซึ่งเกิดจากการนำเชื้อรา M. purpureus MTCC 1090 มาทำการฉายรังสี UV ไนช่วงเวลาที่แตกต่างกันทำให้ได้สายพันธุ์กลายหลายๆสายพันธุ์ เมื่อนำทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์กลายมาทดสอบในอาหารเหลว YPSS เพื่อตรวจสอบการผลิตโมนาโคลิน เค และซิติรินิน พบว่าเชื้อราสายพันธุ์กลาย M. purpureus 254 ไม่พบการสร้างซิตรินินและให้ปริมาณของสารโมนาโคลิน เค สูงที่สุดในกลุ่มของรา M. purpureus ทุกๆสายพันธุ์ในการทดลอง โดยมีปริมาณเท่ากับ 21.79 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ใช้เทคโนโลยีด้านจุลินทรีย์และปัจจัยด้านการหมักเข้ามาช่วย และหา Monascus สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและปลอดภัย - เข้าใจกระบวนการ เข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการผลิตสารโมนาโคลิน เค และกาบา - เข้าใจกระบวนการ เข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการลดปริมาณการผลิตซิตรินิน ปัญหา - ราคาของพืชผลทางการเกษตรที่ลดต่ำลง เช่น ข้าว - การผลิตข้าวแดง ที่อุดมไปด้วยสารสำคัญที่มีประโยชน์หลายชนิดนั้นมักมีการปนเปื้อนด้วยสารซิตรินินซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทดสอบและศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตข้าวแดง - ทดสอบและศึกษาคุณสมบัติของเชื้อรา Monascus sp. สายพันธุ์ที่สามารถผลิตสารสำคัญโมนาโคลิน เค และกาบาได้ในปริมาณสูง ให้ผลผลิตซิตรินินในการหมักน้อยที่สุด และปรับปรุงสายพันธุ์ Monascus sp. เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ต่างๆข้างต้นที่ดียิ่งขึ้น - ทดสอบถึงชนิดของข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ในจังหวัดนครสวรรค์ ว่ามีผลต่อการผลิตสารสำคัญโมนาโคลิน เค, กาบา และ ซิตรินินมากน้อยเพียงใด - ทดสอบหาสภาวะทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ว่ามีผลต่อการผลิตสารสำคัญโมนาโคลิน เค, กาบา และซิตรินินมากน้อยเพียงใด โดยในการหมักนั้นเลือกใช้สายพันธุ์รา Monascus sp. และข้าวสายพันธุ์ที่เหมาะสม
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การทดลองที่ 1 ผลของสายพันธุ์ข้าว และสายพันธุ์ของเชื้อรา Monascus purpureus ต่อการผลิตสาร กาบา (GABA) และซิตรินิน (citrinin) ในข้าวแดง วัตถุดิบและการเตรียมวัตถุดิบ 1. ข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวขาวอากาศ ข้าวพวงทอง และข้าวหอมใบเตย ในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เชื้อรา Monascus purpureus 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Monascus purpureus TISTR 3180 และ Monascus purpureus TISTR 3629 นำเชื้อรา Monascus purpureus ทั้ง 2 สายพันธุ์มาทำการเพาะเลี้ยงบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) จากนั้นนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-10 วัน เพื่อใช้เป็นเชื้อตั้งต้นในการหมัก (inoculum) จากนั้นทำการเตรียมวัตถุดิบข้าวโดยการนำข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่ผ่านการขัดสีแล้วแล้ว ชนิดละ 25 กรัมมาทำการบรรจุลงในถุงโพลีโพพิลีน และทำการเติมน้ำกลั่นปริมาตร 25 มิลลิลิตร ลงไปในแต่ละถุงจากนั้นสวมคอขวดพลาสติกและทำอุดปิดด้วยก้อนสำลี จากนั้นนำไปทำการนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส นาน 15 นาทีภายใต้ความดันสูง ขั้นตอนและวิธีการทดลอง 1. ใช้ cork borer ขนาด 6 มิลลิเมตร มาทำการเจาะที่บริเวณปลายเส้นใยของเชื้อรา Monascus purpureus ที่เจริญเติบโตบนอาหาร PDA และเชื้อรา 2 ชิ้น ลงไปในถุงข้าวนึ่งที่ฆ่าเชื้อแล้วและนำไปบ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 12 วัน จากเมื่อครบระยะเวลาในการหมักแล้ว ให้นำข้าวแดงมาทำการอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 2 วัน จากนั้นข้าวแดงแห้งจำถูกนำมาบดและร่อนผ่านตะแกรงขนาด 80 เมช โดยในการทดลองดังกล่าวนี้เชื้อรา Monascus purpureus แต่ละสายพันธุ์ทดลองกับข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์และทำการทดลองอย่างละ 3 ซ้ำ 2. นำผงข้าวแดงที่ได้มาทำการตรวจสอบหาปริมาณการผลิตสาระสำคัญทั้งกาบา และซิตรินิน ตามวิธีการของ Kono และ Himeno (2000) และ Carvalho และคณะ (2005) ตามลำดับ โดยแต่ละวิธีนั้นมีการนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมต่อการทดลอง 2.1 การหารปริมาณกาบา นำผงข้าวแดง 1 กรัมมาทำการแช่ด้วยตัวทำละลาย 60% เอทานอล ปริมาตร 8 มิลลิลิตร ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำมาทำการกรองผ่านตัวกรองที่มีขนาดรูพรุนเท่ากับ 0.45 มิลลิเมตรและนำไปทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLC ต่อไป 2.2 การหาปริมาณซิตรินิน นำผงข้าวแดง 1 กรัมมาทำการสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซีเตท ปริมาตร 10 มิลลิลิตร และนำไปทำการปั่นหมุนด้วยความเร็ว 250 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำไประเหยด้วยเครื่อง evaporator และทำการละลายสารแห้งกลับด้วยเมทานอล จากนั้นนำมาทำการกรองผ่านตัวกรองที่มีขนาดรูพรุนเท่ากับ 0.45 มิลลิเมตรและนำไปทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLC ต่อไป การทดลองที่ 2 ผลของเชื้อรา Monascus sp. ที่มีการนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ ต่อการผลิตกาบา (GABA) และซิตรินิน (citrinin) ทำการคัดเลือกสภาวะที่เหมาะสมจากการทดลองย่อยที่ 1 ทั้งในส่วนของสายพันธุ์ข้าวและสายพันธุ์ของเชื้อราที่เหมาะสมต่อการผลิตกาบา และให้ผลการผลิตซิตรินินในปริมาณที่ต่ำที่สุด มาทำการทดลองต่อไป โดยการนำเชื้อรา Monascus purpureus สายพันธุ์ที่ให้ผลการทดลองดีที่สุดมาทำการชักนำให้กลายพันธุ์โดยรังสี UV ตามวิธีการของ Kalaivani และ Rajasekaran (2014) 1. ทำการเพาะเลี้ยง M. purpureus สายพันธุ์ที่ได้ทำการคัดเลือกเอาไว้มาทำการเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว PDB นำไปทำการบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นอาหารเหลวที่มีการเจริญของเชื้อมาทำการดูดสารละลายที่มีสปอร์ของเชื้อราแขวนลอยอยู่ปริมาตร 4 มิลลิลิตร มาทำการปล่อยลงในจานแก้วเปล่าที่ฆ่าเชื้อแล้ว จากนั้นนำจานอาหารไปทำการวางในตู้ปลอดเชื้อภายใต้รังสี UV ทำการเก็บจานอาหารในเวลาที่แตกต่างกันที่ 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที จากนั้นนำไปบ่มที่ต่อไปในที่มืดเป็นเวลา 8 ชั่วโมง นำของเหลวที่มีสปอร์ที่ถูกฉายด้วยแสง UV ในเวลาต่างๆกันมาทำการเจือจางเป็นลำดับส่วนแบบ 10 เท่า และนำของเหลวที่แต่ละความเจือจางมาทำการเพาะเลี้ยงในอาหารแข็ง PDA ต่อไป ทำการคัดเลือกสภาวะที่ให้อัตราการรอดของเชื้อราที่ 10 ถึง 0.1% เพื่อนำไปทำการทดลองต่อไป โดยสูตรการหาค่าอัตราการรอดของเชื้อรา คือ %Survival = Number of colonies under UV radiation x 100 Number of colonies in control 2. นำ M. purpureus ที่ผ่านการคัดเลือกมาทำการทดสอบคุณสมบัติในการเป็นสายพันธุ์ที่ปราศจากหรือผลิตซิตรินินน้อยลง ตามวิธีการของ Wang และคณะ (2004) โดยการนำโคโลนีของเชื้อราที่ต้องการทดสอบมาทำการเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว PDB นำไปบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นนำเชื้อรามาทำการลากบนอาหารแข็ง PDA ที่บริเวณกึ่งกลางของจานอาหารให้เป็นเส้นตรงนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นทำการทำการลากเชื้อแบคทีเรียทดสอบ Bacillus substilis ที่มีความเข้มข้น 106 CFU ต่อมิลิลิตร ผ่านข้ามโคโลนีของเชื้อราจากนั้นนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เชื้อกลายพันธุ์ที่แสดงค่าการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทดสอบในอัตราที่ต่ำหรือไม่มีการยับยั้งเกิดขึ้นเลยจะถูกเลือกเพื่อนำไปทดสอบต่อไป 3. นำ M. purpureus ที่ผ่านการคัดเลือกในข้อ 2. มาทำการหมักข้าวสายพันธุ์ที่ได้คัดเลือกจากการทดลองที่ 1 และนำข้าวแดงที่ได้ไปทำการทดสอบหาปริมาณสารกาบา และซิตรินิน ต่อไป การทดลองที่ 3 เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการผลิตสารกาบา และซิตรินินในข้าวแดงจากการหมักข้าวพื้นเมืองสายพันธุ์ที่เหมาะสมโดยเชื้อรา Monascus purpureus สายพันธุ์ที่เหมาะสม นำเชื้อรา Monascus purpureus สายพันธุ์กลายที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจากทดลองที่ 2 มากทำกาหมักในข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือกจากการทดลองที่ 1 ทำการหมักตามวิธีการที่ได้อธิบายไว้ในการทดลองที่ 1 แต่ทำการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิในการบ่มเป็น 4 อุณหภูมิ ที่ 15, 30, 37 และ 45 องศาเซลเซียส จากนั้นนำข้าวแดงมาทำการทดสอบหาปริมาณสารกาบา และซิตรินิน ต่อไป
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การประยุกต์นำจุลินทรีย์เชื้อรามาผลิตข้าวแดงจากการนำข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครสวรรค์มาทำการหมักซึ่งเป็นอาหารที่มีโภชนาการสูง
จำนวนเข้าชมโครงการ :3265 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายธีระยุทธ เตียนธนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายพันธ์ระวี หมวดศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15
นางสาวติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15
นางสาวเรณู อยู่เจริญ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด