รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000250
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรแบบมีส่วนร่วม สำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 4
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of a training course on teaching EFL reading based on partcipatory curriculum development approach for the 4th keystage teachers
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :หลักสูตรฝึกอบรม,หลักสูตรแบบมีส่วนร่วม
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :300000
งบประมาณทั้งโครงการ :300,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2551
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2552
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากสภาพของสังคมไทยในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การส่งออกและการขนส่งติดต่อกับต่างประเทศเป็นต้น อาจจะกล่าวได้ว่า ผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอังกฤษดีจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบในด้านการประกอบอาชีพมากกว่าผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ หนทางในการประกอบอาชีพของผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษจะเปิดกว้างกว่าอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นคนไทยเราในปัจจุบันจึงนิยมเรียนภาษาอังกฤษเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพกันเป็นจำนวนมาก ในวงการศึกษาของประเทศไทยจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษที่มีต่อการศึกษา ดังจะเห็นได้จากการที่ภาษาอังกฤษได้รับการบรรจุให้เป็นรายวิชาภาษาต่างประเทศในหลักสูตรทุกระดับของกระทรวงศึกษาธิการ ในการเรียนภาษาอังกฤษ ทักษะการอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมยุคใหม่ซึ่งถือเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารและยุคของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษจะช่วยเสริมให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูปของตำราเรียน หนังสือ วารสาร และจากการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งโดยสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการใช้ทักษะทางภาษาอื่น ๆ อันได้แก่ การฟัง การพูดและการเขียนมากนัก ทักษะการอ่านจึงเป็นทักษะที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้มากที่สุด และคงอยู่กับผู้เรียนได้นานที่สุด (สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. 2532) ดังนั้น ทักษะการอ่านจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในทุกระดับการศึกษา อย่างไรก็ตามในการสอนอ่านเท่าที่ผ่านมา ผลงานวิจัยหลายชิ้นได้สะท้อนให้เห็นว่าสภาพการสอนอ่านภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังประสบปัญหาอยู่อีกมาก โดยพบว่าความสามารถในการอ่านของผู้เรียนยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจแม้ว่าจะได้รับการฝึกฝนมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี อาทิเช่น งานวิจัยของ ประภาศรี ตั้งบรรเจิดสุข (2526) สุมณฑา วิรูหญาณ (2530) อัจฉรา วงศ์โสธร (2532) เทพนคร ทาคง (2537) ซึ่งแม้ว่าจะได้ทำการศึกษาในช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน แต่ก็ได้ข้อค้นพบที่สอดคล้องกันว่าความสามารถในการอ่านของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นยังอยู่ในระดับต่ำ และในส่วนของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายนั้นหากพิจารณาจากผลการสอบวัดความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ทบวงมหาวิทยาลัยจัดสอบปีละสองครั้งในรายวิชาภาษาอังกฤษ (03) ซึ่งประมาณกว่าครึ่งหนึ่งของข้อสอบจะเป็นการวัดความสามารถในทักษะการอ่าน ผลการวิเคราะห์สถิติการสอบจากข้อมูลของสำนักทดสอบกลาง (2547) พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2546 มีการจัดสอบ รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง คะแนนเฉลี่ยของวิชานี้อยู่ระหว่าง 32.40-39.87 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และเมื่อศึกษาโดยละเอียดยังพบอีกว่า จากจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเกือบสองแสนคนหรือสองแสนกว่าคนที่เข้าสอบในแต่ละครั้งนั้น มีนักเรียนประมาณสองถึงสี่หมื่นกว่าคนเท่านั้นที่ได้คะแนนสูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนที่กำลังจะเข้าสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษามีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษไม่ค่อยดีนัก สาเหตุหลักของการที่ผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จในการอ่านดังกล่าว นอกจากจะมาจากการที่ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในตัวภาษาอยู่จัดแล้ว อีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากผู้สอน จากประสบการณ์ในการสอนรายวิชา การสอนอ่านภาษาอังกฤษให้กับนิสิตระดับปริญญาโท ซึ่งผู้ที่มาเรียนส่วนใหญ่เป็นครูประจำการที่สอนตามในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ผู้วิจัยพบว่าครูเป็นจำนวนมากไม่เข้าใจแนวคิดของการสอนอ่าน มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนอ่านที่จำกัด ไม่รู้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตั้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนไม่สอดคล้องกับบทเรียน ไม่จัดทำสื่อประกอบการเรียนการสอน ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการวัดและประเมินผล ดังนั้นหากจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนอ่านของครู แนวทางหนึ่งนั้นคือการฝึกอบรมให้ครูเกิดมโนทัศน์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษ แต่เท่าที่ผ่านมาจะพบว่ามีการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีหลักสูตรที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกอบรมในหัวข้อการเรียนการสอนโดยทั่วไป โดยที่หัวข้อของการสอนอ่านจะเป็นเพียงหัวข้อย่อยของการฝึกอบรม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก นอกจากนี้แล้วหลักสูตรส่วนมากมักจะพัฒนามาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีส่วนร่วมจากบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนี้จึงพบว่าหลักสูตรจำนวนมากไม่สัมพันธ์ และไม่มีประสิทธิภาพ ในแง่ที่ว่าไม่สนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย (Stakeholers) จึงทำให้หลักสูตรนั้นมีคุณภาพต่ำ และให้ผลของความรู้ที่ไม่ยั่งยืน (Taylor,2001) ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรแบบมีส่วนร่วมที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะมาร่วมกันพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะช่วยให้ได้หลักสูตรที่มีความสอดคล้องตรงกับความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยจะก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งคุณภาพของการศึกษาและการฝึกอบรม สามารถช่วยให้ครูพัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวคิดและทักษะในการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น และในขณะเดียวผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการสอนของครู นั่นก็คือ ผู้เรียนที่จะมีพัฒนาการของความสามารถในการอ่านที่สูงขึ้นตามไปด้วย
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรแบบมีส่วนร่วม สำหรับครูผู้สอนระดับช่วงชั้นที่ 4 จุดมุ่งหมายเฉพาะ 1. เพื่อพัฒนาสภาพการสอนอ่านภาษาอังกฤษ 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษ 3. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษ 4. เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการอ่านสอนภาษาอังกฤษ
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :482 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสิริพร ปาณาวงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด