รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000249
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ฤทธิ์ต้านไวรัสเริมจากสมุนไพรรางแดง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Anti-HSV activities of Ventilago denticulata Willd
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :5000
งบประมาณทั้งโครงการ :5,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :รางแดง (Ventilago denticulata Willd.) เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ Rhamnaceae สามารถพบได้ตามป่าโปร่ง ป่าดิบเขา และป่าเบญจพรรณในทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่พบมากที่สุดในแถบจังหวัดสระบุรีและลพบุรี รางแดงมีชื่อท้องถิ่นที่ชาวบ้านในแต่ละชุมชนเรียกแตกต่างกันออกไป อาทิ เถาวัลย์เหล็ก เถามวกเหล็ก ก้องแกบ กะเลียงแดง เขาแกลบ ฮองหนัง และปลอกแกลบ (สวนพฤกษศาสตร์, 2544) รางแดงเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ที่ได้รับความสนใจในแง่ของการนำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรบำบัดรักษาโรค เช่นเดียวกับพืชในสกุล Ventilago หลายๆ ชนิด โดยพบว่ามีการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรรางแดงมาตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ใบรางแดงนำมาปิ้งไฟชงแทนชาช่วยขับปัสสาวะ ทำให้เส้นเอ็นอ่อน เถาหั่นตากแดดปรุงเป็นยาแก้กระษัย (วิพุธโยคะและคณะ, 2540) ราก แก้กระษัย เถา แก้ร้อนในกระหายน้ำ (นันทวันและอรนุช, 2543) นอกจากนี้มีการศึกษาวิจัยเบื้องต้นทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวพื้นเมืองในจังหวัดเชียงราย พบว่าเมื่อนำมาชงดื่ม มีสรรพคุณแก้ปวดหลัง ปวดเอว และเป็นยาบำรุงกำลัง (ศรีวรรณ, 2544) โรคติดเชื้อซึ่งปัจจุบันมีอุบัติการณ์ติดเชื้อ ความรุนแรงของเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อประเทศทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ก่อให้เกิดการขาดรายได้ ส่งผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เนื่องจากประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้น เหมาะกับการเจริญของเชื้อ ทำให้พบการระบาดของเชื้อได้ง่าย เมื่อเกิดการระบาด ยามีปริมาณไม่เพียงพอ อีกทั้งประชาชานยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส ยังไม่ทราบวิธีการป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงการใช้สารสมุนไพรจากธรรมชาติในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสที่ถูกต้อง อีกทั้งยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อการพึ่งพาตนเองในท้องถิ่นและเป็นการอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้ สืบทอด ตำรับยาสมุนไพรไม่ให้สูญหาย ปัจจุบันมนุษย์เริ่มกลับมาสนใจผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเริ่มมีการตื่นตัวในการรักษาสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณมากมาย สารเคมีในพืชมีฤทธิ์ ป้องกันและต้านจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ขจัดสารพิษ ควบคุมระดับฮอร์โมน ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการยับยั้งหรือต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันอันเป็นสาเหตุในการเกิดโรคมากมาย เนื่องจากประเทศไทย เป็นแหล่งที่ระบบนิเวศมีความหลากหลายของพืชพันธุ์มากมาย ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ใรการดำรงชีพ รวมทั้งใช้บำบัดรักษาโรคมาเป็นระยะเวลานาน การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ถึงสรรพคุณยังขาดข้อมูลการนำสมุนไพรไปใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสซึ่งปัจจัยสถานการณ์การติดเชื้อในปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะไวรัสในกลุ่ม herpesvirus เป็นไวรัสที่พบการติดเชื้อได้บ่อยและพบการติดเชื้อแอบแฝง มักก่อโรคบริเวณเยื่อบุ รอยถลอกของผิวหนังซึ่งพบได้ในช่วงชีวิตของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่และพบในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในจังหวัดนครสวรรค์ (สุภาวรรณ, 2552) มีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย ชาวบ้านใช้สมุนไพรในการรักษาโรค ซึ่งข้อมูลทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านจำนวนมากยังไม่มีรายงานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ถึงประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรค สมุนไพรจึงเป็นที่สนใจในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเนื่องจากในการรักษาโรคบางชนิด ยาที่ใช้ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศมีราคาสูง ยาที่ใช้เป็นสารสังเคราะห์ที่มีความรุนแรงในการใช้งาน เมื่อใช้เป็นเวลานาน อาจเกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย ทำให้เกิดสารตกค้าง เกิดภาวะดื้อยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ป่วยเอดส์ จะมีภาวะการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายเช่น เชื้อไวรัสก่อโรคเริม ปัจจุบันมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น จึงมุ่งศึกษาวิจัยยาต้านไวรัสเริมจากสมุนไพรรางแดง ที่มีฤทธิ์ข้างเคียงน้อย สมุนไพรจึงเป็นหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส เพื่อเป็นองค์ความรู้แสดงข้อมูลให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับไวรัส โดยเฉพาะไวรัสก่อโรคเริม ซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์สูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อมีการติดเชื้อครั้งแรกอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแฝงอยู่ในปมประสาท รอปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นกับภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคล การสูบบุหรี่ รังสี UV ภาวะความเครียด และมลภาวะเป็นพิษ ซึ่งสาเหตุต่างๆเหล่านี้ อาจเป็นสิ่งกระตุ้น ส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อซ้ำและแสดงอาการของโรคได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการวิจัยและพัฒนายารักษาโรคติดเชื้อขึ้นใช้เองโดยพัฒนาจากรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำพืชสมุนไพรรางแดงในท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้นแบบสำหรับรักษาโรคเริม โดยทำการสำรวจ เก็บข้อมูล เก็บตัวอย่างรางแดงในท้องถิ่น ด้วยประโยชน์และสรรพคุณของรางแดงที่มีมากมาย ทำให้ความต้องการสมุนไพรรางแดง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นยารักษาโรค หรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้ประชาชนเข้าใจถึงประโยชน์ โทษและการรักษาเบื้องต้นของโรคติดเชื้อไวรัสอย่างถูกต้อง อีกทั้ง ยังศึกษาภูมิปัญญาต่างๆในการรักษาโรคโดยใช้รางแดง สูตร ตำรับยา เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนา ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากรางแดง เพื่อการพึ่งพาตนเองทางด้านยาและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิต ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะพบต้นรางแดงขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปตามป่าของภาคต่างๆ ในประเทศ แต่การที่จะขุดต้นรางแดงเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาหรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ คราวละมากๆ นั้น ทำให้น่าเป็นห่วงว่าการนำพืชจากป่ามาใช้ทีละมากๆ โดยไม่ระมัดระวังและไม่มีมาตรการควบคุมอาจก่อให้เกิดปัญหาการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติของประเทศได้ในอนาคต ดังนั้นจึงควรสนับสนุนเกษตรกรปลูกและอนุรักษ์ รณรงค์ให้ชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และประโยชน์จากรางแดง และเป็นการสร้างรายได้สู่ชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากรางแดงอย่างยั่งยืนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาข้อมูลสรรพคุณสมุนไพรรางแดงในท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์และการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเป็นยาบำบัด รักษาโรคติดเชื้อ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรรางแดงต่อการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรคเริม
ขอบเขตของโครงการ :ทำการสำรวจโดยศึกษาจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเช่น จากกลุ่มผู้อาวุโสในชุมชนท้องถิ่น หมอยาพื้นบ้าน กลุ่มผู้นำชุมชนเช่น พระสงฆ์ โดยสำรวจข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากรางแดงในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการรักษาโรคติดเชื้อโดยเฉพาะโรคที่ติดเชื้อไวรัสก่อโรคเริม จากนั้นทำการทดสอบรางแดงเพื่อเป็นการยืนยันและเป็นหลักฐานโดยมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน 1 ขอบเขตด้านพื้นที่ ต้นรางแดงที่เก็บจากชุมชนในท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ 2 ขอบเขตประชากร 2.1 ชุมชน (ปราชญ์ชาวบ้าน / ผู้นำชุมชน / แกนนำ / ชาวบ้าน) 2.2 นักศึกษาในรายวิชาโครงการวิจัยทางชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3 ขอบเขตเวลา ระยะเวลาในการศึกษา 12 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 - เดือนกันยายน 2559 4 ขอบเขตเชิงเนื้อหา 4.1 การทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของรางแดงในการยับยั้งเชื้อ (Herpes simplex virus: HSV) 4.2 การบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชาโครงการวิจัยทางชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :2538 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวเรณู อยู่เจริญ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด