รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000247
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ของการให้บริการขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Spatial Database of Public Transportation Service in Nakhon Sawan Province, THAILAND
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :250000
งบประมาณทั้งโครงการ :250,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :พัฒนาสังคม
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ระหว่างเขตภาคเหนือและภาคกลาง เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างสองภูมิภาค จึงมี ผู้สัญจรผ่าน ไปมาจำนวนมาก กลายเป็นศูนย์กลางด้าน การขนส่ง คมนาคม การค้า การศึกษา และการเกษตร นอกจากนี้จังหวัดนครสวรรค์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ น่าสนใจ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทางให้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก และ เนื่องจากการเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมของภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์จึงมีระบบการขนส่งสาธารณะให้บริการอย่างหลากหลาย ทั้งระบบราง การให้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด รถโดยสารประจำทางภายในจังหวัด รถโดยสารประจำทางขนาดเล็ก (รถสองแถว) ในเขตเทศบาล นครสวรรค์ และรถโดยสารไม่ ประจำทาง รวมไปถึงการให้บริการเรือข้ามฟาก แต่ทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของจังหวัดนครสวรรค์กลับยังไม่เห็นถึง ความสำคัญในการบริหารจัดการระบบการขนส่งสาธารณะเท่าที่ควร ขาดการ เผยแพร่ข้อมูลของแต่ละระบบ เช่น เส้นทางการให้บริการเวลาในการให้บริการ อัตราในการให้บริการ ฯลฯ และขาดการ รวบรวมข้อมูลระหว่างระบบ ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจาย ข้อมูลถูกจัดเก็บด้วยมาตรฐานต่างกัน ทำให้การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะกลายเป็นเรื่องที่ ยุ่งยาก ผู้คนส่วนใหญ่ จึงเลือกเดินทางด้วยรถยนต์ ส่วนบุคคลมากว่าการขนส่งสาธารณะ ดังนั้นจึงจัด ทำระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ การขนส่งสาธารณะใน เขตจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นการรวบรวมการให้บริการขนส่งสาธารณะทั้งระบบไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้มีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ง่ายต่อการสืบค้น และการเดินทาง เป็นประโยชน์ต่อการประกอบการ ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนการเดินทางของ ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เลือกเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สำมารถนำฐานข้อมูลที่ ได้ไปประยุกต์ใช้ ใน การพัฒนาระบบขนส่ง สาธารณะและการท่องเที่ยว ให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเมื่อประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เพิ่มขึ้น จะช่วยลดปัญหาด้านการจราจร ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม และการสูญเสียค่ำใช้จ่ายสำหรับการจัดหาพลังงานของภาครัฐอีกด้วยซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ระบุไว้ถึงการสร้างความเป็นธรรมในสังคม เน้นการเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสำมารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคม และมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 ที่ เน้นการยกระดับการให้บริการด้านการขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่การขนส่งสาธารณะในเขตจัง หวัด นครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อ ศึกษาและ รวบรวมข้อมูลการขนส่งสาธารณะในระบบต่างๆ ในเขต จังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลการ ขนส่งสาธารณะ พร้อมทั้งแสดงเส้นทางการเดินทางที่สั้นที่สุด (Shortest path) 3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการให้บริการขนส่งสาธารณะที่จัดเก็บ ทั้งในรูปแบบของ ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Open data) แผนที่กระดาษ (Paper -based map) และ แผนที่ ทาง อินเตอร์เน็ต (Internet -based map) ของอำเภอต่างๆ ใน จังหวัดนครสวรรค์ 4. เพื่อจัดทำเป็นข้อมูลเพื่อใช้ ในการพัฒนาระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ และ เป็นแนวทางในการส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยวด้วยระบบ ขนส่ง สาธารณะ
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :665 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวพุทธพร ไสว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวอาสาฬห์ อุตตาลกาญจนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด