รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000246
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาระบบสารสนเทศการประเมินความเสี่ยงการเกิดโรค มือเท้าปากในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The information system development for hand, foot and mouse disease risk assessment in the 3 rd of health network Nakhonsawan province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :450000
งบประมาณทั้งโครงการ :450,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจ่ายได้ และมีแนวโน้ม จะเกิดมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเกิดได้ทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาประเทศ โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคอุบัติ ใหม่ที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses อาการ ของโรค คือ มี อาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็ก ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และปาก มักพบการป่วยในกลุ่ม เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล โดยเฉพำะในพื้นที่ที่ไม่ถูก สุขลักษณะ และอยู่ กันอย่างแออัด ส่วนใหญ่ มีอาการ 3 - 5 วัน แต่ บางรายมีอาการ รุนแรงแลอาจถึงขั้นเสียชีวิต โดยเชื้อ Enterovirus 71 เป็นเชื้อที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งทำให้ เกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิต โดย สถานการณ์การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ใน ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2556 มีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก 45,853 ราย อัตราป่วย 72.18 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 4 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 1 ปี (31.55 %) 2 ปี (25.47 %) 3 ปี (17.10 %) ตามลำดับ ทั้งนี้ภาคที่ มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ (120.84ต่อแสนประชากร) ภาคใต้ (77.51 ต่อแสนประชากร) ภาคกลาง (67.82 ต่อแสน ประชากร)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (47.70 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ โดยสถานที่ที่ พบการระบาดส่วนใหญ่ คือ ศูนย์เด็กเล็ก 19 เหตุการณ์ (37%) โรงเรียนอนุบาล 18 เหตุการณ์ (35%) ชุมชน 13 เหตุการณ์ (25%) สถานสงเคราะห์ 1 เหตุการณ์ (2%) ปี พ.ศ. 2557 มีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก (1 มกราคม 2557 – 23 มีนาคม 2557) 7,872 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 12.39 ต่อ แสนประชากร กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 1 ปี (33.94 %) 2 ปี (24.07 %) 3 ปี (14.55 %)ตามลำดับ ทั้งนี้ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ (14.85 ต่อแสนประชากร) ภาคกลาง (14.71 ต่อแสนประชากร) ภาคใต้ (10.94 ต่อแสนประชากร) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (9.33 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ โดยสรุป สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ของประเทศไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี พื้นที่เขตเครือข่ายสาธารณสุขที่ 3 ประกอบด้วยจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ ก ำแพงเพชร และพิจิตร พบว่า โรคมือ เท้า ปาก เป็น ปัญหาสำคัญในพื้นที่ หากเกิดโรคต้องปิดศูนย์เลี้ยงเด็กเพื่อป้องกันการระบาดของโรคทำ ให้เด็กต้องหยุดเรียน ผู้ปกครองมีความตระหนกตกใจ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาล รวมทั้งการระดมบุคลากรทำความสะอาดสถานที่ เป็นต้น ดังนั้นจึงมี แนวคิดในการนำแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มาใช้เพื่อการดำเนินงาน แก้ปัญหาโรค ตั้งแต่รูปแบบการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินความ เสี่ยงของการเกิดโรคมือ เท้า ปาก มาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการควบคุมและการเฝ้า ระวังการเกิดโรค ซึ่งต้องรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น อายุ อาการ ศูนย์เลี้ยงเด็กที่เกิด โรค เป็นต้น มาวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรค ในเชิงข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเชิงแผนที่ เพื่อ ป้องกันการระบาด และสำมารถสนับสนุนการบริหารจัดการและการตัดสินใจ เพื่อการ ป้องกันและบรรเทาสถานการณ์การเกิดโรคอย่างยั่งยืน
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อสร้างแอปพลิชันประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคมือเท้าปากในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2 เพื่อสร้างเครื่องมือนำเสนอข้อมูลเชิงสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการแสดงสถานที่เสี่ยงและแนวโน้มการเกิดโรคมือเท้าปาก
ขอบเขตของโครงการ :1 ขอบเขตพื้นที่การวิจัยจังหวัดนครสวรรค์ ก ำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานีและชัยนาท 2 ขอบเขตประชากร เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ในศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก (รัฐและเอกชน) 3 ขอบเขตเนื้อหาการวิจัยการสร้างแอปพลิเคชันประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคมือเท้า ปากในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ดังนี้ 3.1 ศึกษาเอกสาร ตำราที่ เกี่ยวข้องกับการเขียน แอปพลิเคชันบน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ การวิเคราะห์และออกแบบ ระบบเชิงวัตถุ การ พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โรคมือเท้าปาก 3.2 รวบรวมข้อมูล สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลความเสี่ยงในการเกิดโรค มือเท้าปาก ในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 (จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานีและชัยนาท) จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ทำการสารวจข้อมูลภาคสนาม จากแหล่งทุติยภูมิ ข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงาน ต่างๆที่เกี่ยวข้อง 3.3 พัฒนาแอปพลิเคชัน ประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเขต เครือข่ายสุขภาพที่ 3 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาปัญหา และวิเคราะห์ปัญหา (2) การวิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยภาษา UML (3) ออกแบบระบบฐานข้อมูล (4) ออกแบบการรับและแสดงผล (5) สร้างแอปพลิเคชันประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคมือ เท้า ปากใน เขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (6) นำแอปพลิเคชัน ไปใช้ ประเมินความเสี่ยงโรคมือเท้าปาก ในเขต เครือข่ายสุขภาพที่ 3 3.4 ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทาง การแพทย์และสาธารณสุข ด้วยการจัดอบรมการใช้ แอปพลิเคชันประเมินความ เสี่ยงการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเขตเครือข่ายสุขภาพที่ 3 บนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :719 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายดนุวัศ อิสรานนทกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นางปัทมนันท์ อิสรานนทกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด