รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000243
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :วัฒนธรรมข้าวและการดำเนินวิถีชีวิตชุมชนสู่บทเรียนท้องถิ่นชุมชน ไทยทรงดำ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Rice culture and the way of life of Thai Song Dum local lesson.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :วัฒนธรรมข้าว - การดำเนินวิถีชีวิตของชุมชน- บทเรียนท้องถิ่น
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :165000
งบประมาณทั้งโครงการ :165,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นชาวนาและมีข้าวเป็นอาหารหลักประจำชาติ คนไทยผูกพันกับข้าวทั้งในด้านสังคม ประเพณี และวัฒนธรรม สำหรับการปลูกข้าวในประเทศไทยนั้นจากหลักฐานโบราณคดีได้ชี้ชัดถึงร่องรอยการปลูกข้าวจากหลักฐานที่พบเปลือกข้าวจำนวนมากในเศษเครื่องปั้นดินเผาในหลุมศพที่ตำบลโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีอายุอย่างน้อย 5,000 ปี ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่พบซึ่งนักมนุษยวิทยาบางท่านเรียกสังคมไทยว่า สังคมวัฒนธรรมข้าว (เอี่ยม ทองดี, 2538)ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นชาวนาและมีข้าวเป็นอาหารหลักประจำชาติ คนไทยผูกพันกับข้าวทั้งในด้านสังคม ประเพณี และวัฒนธรรม สำหรับการปลูกข้าวในประเทศไทยนั้นจากหลักฐานโบราณคดีได้ชี้ชัดถึงร่องรอยการปลูกข้าวจากหลักฐานที่พบเปลือกข้าวจำนวนมากในเศษเครื่องปั้นดินเผาในหลุมศพที่ตำบลโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีอายุอย่างน้อย 5,000 ปี ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่พบซึ่งนักมนุษยวิทยาบางท่านเรียกสังคมไทยว่า สังคมวัฒนธรรมข้าว (เอี่ยม ทองดี, 2538) ความสำคัญของข้าวในวิถีชีวิตของคนไทยนั้นผูกพันกันมานานนับแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ในปัจจุบันมีเครื่องไม้เครื่องมือช่วยในการทำนา ซึ่งมีความแตกต่างจากสมัยโบราณ ที่ใช้วัวหรือควายที่ใช้ในการไถนา และใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ บทบาทสำคัญของข้าว ในวิถีแห่งชีวิตคนไทยและคนในเอเชียนั้นมุ่งปลูกข้าวใช้เพื่อการปริโภค ใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนกับปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเช่น เสื้อผ้า ยารักษาโรค หรืออาหารประเภทอื่นๆ “ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทยมาช้านานแล้ว เชื่อกันว่าเริ่มปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) โดยประเทศไทยเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออก และไม่ได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด เห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งพบซากของเมล็ดข้าวโรยอยู่รอบๆ โครงกระดูกที่มีอายุราว 5,600 ปี นอกจากนี้ยังพบเมล็ดข้าวที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่แสดงให้เห็นว่ามีการปลูกข้าวบริเวณนี้มานานกว่า 5,400 ปีมาแล้ว ข้าวผูกพันกับคนไทยอย่างลึกซึ้งและยาวนาน จนมีวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อหลายอย่างตกทอดมาถึงทุกวันนี้ อาทิ ความเชื่อเรื่อง “พระแม่โพสพ” ที่ชาวนาเชื่อกันว่าเป็นเทพธิดาที่ปกปักษ์รักษาข้าว การเคารพบูชาจะทำให้ผลิตผลอุดมสมบูรณ์ มีการทำพิธี “แห่นางแมว” หรือ “บุญบั้งไฟ” เพื่อขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล มีประเพณี “ลงแขกเกี่ยวข้าว” ที่แสดงถึงความสามัคคี ความมีน้ำใจ ร่วมแรงช่วยเหลือกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อผลัดกันเก็บเกี่ยวข้าวให้ทันฤดูกาล ทำให้มีการละเล่น ร้องรำต่างๆ เกิดขึ้น เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงสงฟาง เพลงชักกระดาน หรือการเล่นโยนครกโยนสาก และการเล่นลูกช่วง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีภูมิปัญญาของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับข้าวจำนวนมาก อาทิ พันธุ์ข้าว ซึ่งมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง เช่น พันธุ์ข้าวเบา ข้าวกลาง ข้าวหนัก ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวเหนียวดำ ข้าวแดง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนถูกคัดเลือกเองจากชาวนาทั้งสิ้น ฉางข้าว ในภาคต่างๆ ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุในท้องถิ่น เช่น ฉางขี้ควายผสมโคลนและฟาง ฉางไม้ไผ่ขัดแตะ ฉางไม้ ฉางไม้สัก ฉางสังกะสี ไถ ทำด้วยไม้เกือบทั้งคัน ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยเหล็ก และรถไถ ระหัดวิดน้ำ และกังหันน้ำ ของดั้งเดิมทำด้วยไม้และวัสดุท้องถิ่นทั้งสิ้น แต่ถูกแทนที่ด้วยเครื่องสูบน้ำเกือบหมดแล้ว โม่ และครกตำข้าว ใช้สำหรับสีข้าว ฝาย หรือทำนบ ทำด้วยไม้ ดิน หิน และวัสดุท้องถิ่น และแรงงานจากการลงแขกของคนในหมู่บ้าน ในปัจจุบันการทำนาข้าวเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไปจากเดิม จากการแลกเปลี่ยน เป็นการค้าขายมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เร็วที่สุดและมากที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงระบบนิเวศข้าวในวิถีชีวิตของคนไทยนั้นผูกพันกันมาช้านาน ก่อให้เกิดวัฒนธรรม ขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาชนะ อาหาร พิธีกรรมต่างๆ ซึ่งนับว่าข้าวมีจิตวิญญาณในการดำรงชีวิตตามวิถีไทย เครื่องไม้ เครื่องมือต่างๆ ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม มีความเชื่อในด้านพิธีกรรม ในการทำนาครั้งแรกในบางพื้นที่ยังมีพิธีกรรม ตามความเชื่อดั้งเดิม ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง หรือ ไทยโซ่ง ” คือ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาไทย คนไทยเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ลาว หรือ ลาวโซ่ง เพราะอพยพจากเมืองเดียนเบียนฟู อยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศเวียดนาม ผ่านมายังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้ไทนิยมแต่งกายด้วยสีดำ จึงเรียก ไทยทรงดำ ตามลักษณะเครื่องแต่งกาย ถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณ แคว้นสิบสองจุไทย อยู่ทางตอนเหนือประเทศเวียดนาม ส่วนคำว่า “ โซ่ง ” ที่เรียกกันสันนิษฐานเป็นคำที่มาจากคำว่า “ ซ่วง หรือ ทรง ” แปลว่า กางเกง ไทดำถูกกวาดต้อนและอพยพมาใน ประเทศไทย สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ วิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายอยู่มากมายหลายประเพณียังคงยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวข้องกับผี ได้แก่ ประเพณีเสนต่างๆ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ในขณะเดียวกันก็รับและมีการผสมผสาน กับวัฒนธรรมไทยด้วย เช่น ประเพณีสงกรานต์ การบวช การไปวัดเพื่อทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นต้น เป็นที่น่าสนใจว่าคนไทดำ นับวันเดือนปีตามแบบของเขาเมื่อจะจัดงานพิธีต่างๆ ประเพณีของชาวไทดำอาจจำแนกได้เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต และประเพณีการละเล่น จากที่กล่าวมาถึงความสำคัญของข้าวและวิถีชีวิตที่เกิดจากกระบวนการส่งเสริมช่วงยุคปฏิวัติเขียวที่ได้ทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรชีวภาพเกี่ยวกับข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่รังสรรค์สืบทอดมาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันที่นับวันจะเริ่มลดน้อยถอยลงทั้งเรื่องเกี่ยวกับองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองและสายพันธุ์ของข้าวเอง การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องศึกษาวัฒนธรรมข้าว และวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้เป็นบทเรียนท้องถิ่นเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมให้ยั่งยืนและสามารถพึ่งพาตนเองของชุมชนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสำรวจบริบททางวัฒนธรรมข้าวและการดำเนินวิถีชีวิตชุมชนไทยดำ ตำบลฆะมัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้จากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมข้าวชุมชนไทยดำ ตำบลฆะมัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อสร้างบทเรียนท้องถิ่นวัฒนธรรมข้าวและการดำเนินวิถีชีวิตชุมชนไทยดำ ตำบลฆะมัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวม และเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนศึกษาแบบมีส่วนร่วม (PAR) เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ สัมภาษณ์ สังเกต และสังเกตแบบมีส่วนร่วม เวทีเสวนา ซึ่งแบ่งขอบเขตได้ดังต่อไปนี้ 1 ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาด้านการศึกษาบริบททางวัฒนธรรมข้าวและ การดำเนินวิถีชีวิตชุมชนไทยดำ ตำบลฆะมัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 2 ขอบเขตด้านประชากร ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประกอบด้วยผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา จำนวน 2. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในชุมชน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน 3. ชุมชน ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และบุคคลในชุมชน 3 ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ การวิจัยนี้เน้นการพัฒนาศูนย์กาเรียนรู้ท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม Community Based การวิเคราะห์บริบทชุมชน (Contexlual Analysis) และการวางแผนติดตามและกำหนดตัวชี้วัด (Monitoring Program) โดยชุมชนและองค์กรในท้องถิ่นรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) พร้อมนำขั้นตอนในการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือในการทำงานและวางแผนร่วมกันเพื่อพัฒนาเครือข่ายการมีส่วนร่วมแบบ PIC (Participatory, Increnental ,Collaborative Cooperative Planning) มาใช้ในกระบวนการวางแผนพัฒนาบทเรียนท้องถิ่น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 11.1 ผลผลิต 1. ได้บทเรียนท้องถิ่นในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียนและสอดรับกับความจริงของชุมชนในรูปแบบบูรณาการและสามารถใช้ได้ในพื้นที่จริง 2. ผู้สอน ผู้เรียนในระดับต่างๆ และบุคลากรในชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ทักษะทางด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของข้าวจังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้เครือข่าย นักวิชาการ ครู ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันสร้างบทเรียนท้องถิ่น 4. ได้บทเรียนท้องถิ่นที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเยาวชนและชุมชน 11.2 ผลลัพธ์ 1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์ข้าวและภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ และเครือข่ายการวิจัยแบบมีส่วนร่วม 2. ได้บุคลากรที่มีความสามารถด้านการจัดกระบวนการการเรียนรู้และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3. ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และสืบทอด
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล 1. ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเก็บข้อมูล โดยใช้เทคนิค AIC และPRA สำรวจ สัมภาษณ์เจาะลึก เสวนากลุ่ม การสังเกต การอบรม และทดลองปฏิบัติการตามแนวทางที่ได้ 2. แหล่งข้อมูล 2.1 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลระดับชุมชนเพื่อให้ได้แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้ในการวางแนวทางในการศึกษาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและการอภิปรายอ้างอิง 2.2 ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากรที่ศึกษา และเป็นการศึกษารายละเอียดต่อเนื่องจากข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน 3. กลุ่มประชากร ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในด้านผู้รู้เรื่องข้าวบนพื้นฐานวิถีชีวิตชุมชนไทยดำฆะมัง ครู อาจารย์ นักศึกษา โรงเรียนในชุมชน 4. วิธีการเก็บข้อมูล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 4.1 การจัดเวทีชี้แจงและเตรียมความพร้อมชุมชนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการวิจัยและขอความร่วมมือในการทำวิจัยและเสนอแนะการมีส่วนร่วมของชุมชน 4.2 การศึกษาบริบทชุมชน และบริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนไทยดำฆะมัง 4.3 การศึกษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนไทยดำฆะมังที่เกี่ยวข้องกับข้าว ภายในชุมชนโดยเชื่อมโยงให้เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนไทยดำฆะมังที่เกี่ยวข้องกับข้าว ต่อการดำรงชีวิตและความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งทางชีวภาพและทางกายภาพในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน ของชุมชนและจัดระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน 4.4 การสัมภาษณ์เจาะลึกและเสวนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับภูมิปัญญา การอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนไทยดำฆะมังเกี่ยวกับข้าว 4.5 การสังเกตวิถีชีวิตชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูและการบริหารจัดการ กลไกและปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน 4.6 การจัดทำเวทีนำเสนอข้อมูลการศึกษาด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน และให้ชุมชน ครูอาจารย์ และองค์กรปกครองท้องถิ่น ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและวางแผนการจัดการ 4.7 การจัดทำเวทีระหว่างชุมชน ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เพื่อพิจารณา ฐานข้อมูลที่จะนำไปพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 4.8 การอบรมเชิงปฏิบัติการการสื่อความหมายทางธรรมชาติ/ เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ/ การจัดทำชุดการเรียนรู้เทคนิคเฉพาะทาง และการติดตามประเมินผล 4.9 จัดทำบทเรียนท้องถิ่นระดับชุมชน การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา ซึ่งการจัดทำชุดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีขั้นตอนดังนี้ - วิเคราะห์ชุดการเรียนรู้ว่าสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ จากนั้น เลือกหัวข้อจากเนื้อหาในพื้นที่ และวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ชั้นปี จากนั้นเตรียมสาระการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารความรู้ ประกอบการสอน (สื่อต่าง ๆ ในชุมชน) และประมวลการเรียนรู้ ขณะที่ชุดการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา เริ่มจากเตรียมแผนการสอน Content Process Teaching Process: จิตสำนึก/คุณธรรม จริยธรรม สื่อ/วัสดุ อุปกรณ์ กระบวนการประเมินผล และแหล่งเรียนรู้ 4.10 พัฒนาเป็นบทเรียนท้องถิ่นวัฒนธรรมข้าวไทยดำฆะมัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 5. การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล 5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน การอนุรักษ์ และฟื้นฟู วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน 5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ การสังเกต การทำเวที และการเสวนากลุ่มย่อย โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และจัดระบบข้อมูลและสังเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :4179 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวอาภากร โพธิ์ดง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นายทองแดง สุกเหลือง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด