รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000242
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของ ผู้สูงอายุจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Public Relations Media Affecting Domestic Health Tourism Behavior of Elder in Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สื่อประชาสัมพันธ์ (Public Relations Media) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism ) ผู้สูงอายุ (Elder)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :100000
งบประมาณทั้งโครงการ :100,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :สารสนเทศศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2556 มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 13.2 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่กำหนดไว้ว่า ประเทศใดมีประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี สัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ จึงจัดได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557) การที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ว่าประชากรมีภาวะสุขภาพที่ดีผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมสันทนาการ การท่องเที่ยว และการทำงานอดิเรก เป็นต้น การท่องเที่ยวจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพ ผู้เดินทางท่องเที่ยวไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเท่านั้น หากรวมถึงประชากรทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่ผู้สูงอายุก็สามารถเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนและเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วย และจำนวนของผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มการท่องเที่ยวมากขึ้นตามสถิติการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลควรพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ ควรมีการส่งเสริมการ จัดรายการนำเที่ยวที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพิ่มจุดบริการนักท่องเที่ยว พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพที่ดี พัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวอย่างละเอียดและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นและดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้เห็นความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากสื่อประชาสัมพันธ์เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยว สื่อมีหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อเว็บไซต์ของหน่วยงาน อาทิ เว็บไซต์ของจังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้นโดยเฉพาะหน่วยงานที่จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความต้องการที่จะท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นจังหวัดที่มีการดำเนินการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนล่างของภาคเหนือและตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของภาคเหนือรองจากเชียงใหม่นับเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก มีประชากรจำนวน 1,071,754 คน และมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 86,546 คน (ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย, 2557) ซึ่งนักท่องเที่ยวสูงอายุเป็นกลุ่มตลาดที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น มีอายุยืนยาว มีสุขภาพแข็งแรงและสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้มากขึ้นหลังเกษียณจากการทำงาน นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นนักท่องเที่ยวที่มีกำลังในการใช้จ่ายเงินเพื่อการท่องเที่ยวสามารถดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ และการหาแนวทางในด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลผู้สูงอายุกับสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงของอายุในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นที่มาของการทำวิจัยเรื่อง สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและรวบรวมแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ 3 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ 4 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงของอายุในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1 ขอบเขตด้านประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 86,546 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณตามสูตร ของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 398 คน 2 ขอบเขตด้านพื้นที่ คือ ทุกอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ 3 ขอบเขตด้านเวลา 1 ปี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :650 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางวชิรา รินทร์ศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย80
นางสาวลักษมี งามมีศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด