รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000241
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโดยใช้ สารเคมีและการปลูกข้าวอินทรีย์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Comparative Analysis Cost and Return of Chemical Rice and Organic Rice Planting
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ต้นทุน (cost) ผลตอบแทน (return) ข้าวอินทรีย์ (organic rice) ข้าวเคมี (chemical rice)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :101500
งบประมาณทั้งโครงการ :101,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเศรษฐศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีข้าวเป็นพืชเกษตรที่สำคัญและมีการปลูกกันทั่วทุกภาคของประเทศ ในระหว่างปี 2555-2556 มีพื้นที่การปลูกข้าวทั่วประเทศ 64,950,593 และ 64,998,380 ไร่ มีประมาณผลผลิต 27,233,903 และ 28,021,697 ตัน ตามลำดับ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) โดยที่ข้าวนั้นมีความสำคัญในเรื่องของการเป็นอาหาร และเป็นพืชเศรษฐกิจของหลายประเทศเช่น อินโดนีเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น จากการที่ประชากรโลกส่วนใหญ่มีการบริโภคข้าวและมีการส่งออกข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าข้าวมีความสำคัญต่อประชากรส่วนใหญ่ของโลก และเป็นพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของโลก ดังนั้น หากเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตและการตลาดของข้าวแล้วย่อมมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทั้งประเทศที่ทำการผลิตและประเทศที่ต้องนำเข้าข้าวในการบริโภคอีกด้วย ในด้านของความต้องการสินค้าข้าวนั้น นับวันยิ่งมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวของประชากรโลกนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ในช่วงปี 2554-2556 การบริโภคข้าวของประชากรโลกมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับสังคมไทยข้าวมีบทบาทสำคัญ โดยเป็นทั้งอาหารและมีบทบาทในเรื่องของการสร้างงานและสร้างรายได้เข้าประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ข้าวเป็นอาหารหลักสำหรับคนไทยรวมถึงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยอีกด้วย (สมพร อิศวิลานนท์ 2557) พื้นที่ปลูกข้าวของไทยคิดเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทำการเพาะปลูกทั้งประเทศ และมีการใช้แรงงานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การผลิตข้าวของไทยยังเผชิญกับปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาด้านการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศที่มีเพิ่มมากขึ้น ปัญหาเรื่องของต้นทุนค่าแรงงาน และเรื่องของการเสื่อมคุณภาพของสภาพระบบนิเวศ อย่างไรก็ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืนด้วยการลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนการผลิตข้าว ทำให้หลายภาคส่วนให้ความสนใจในประเด็นของต้นทุนการปลูกข้าว ซึ่งต้นทุนการปลูกข้าวส่วนหนึ่งคือเรื่องของปุ๋ย และสารเคมีในการฆ่าแมลง และการปลูกข้าวของชาวนาไทย ส่วนใหญ่ใช้แนวทางในการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมี ซึ่งส่งผลกระทบทั้งตัวเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันผู้บริโภคมีความตื่นตัวเรื่องของคุณภาพชีวิตและห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทำให้การผลิตสินค้าเกษตรที่ใช้สารเคมีเริ่มถูกปฏิเสธและถูกกีดกันจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดกระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย,2550) ซึ่งหนึ่งในอาหารที่ได้รับการตอบรับจากกระแสการบริโภคอาหารปลอดภัยคือข้าวไร้สารเคมีหรือข้าวอินทรีย์ จากกระแสดังกล่าวทำให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีความพยายาม ที่ต้องการส่งเสริมให้ชาวนาไทยหันมาให้ความสนใจกับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์ โดยการทำนาปลูกข้าวอินทรีย์ โดยได้มีการส่งเสริมสนับสนุนและการให้ความรู้แก่เกษตรกรจากหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่หลายประการที่ทำให้การรณรงค์ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เช่น ปัญหาเรื่องของต้นทุนที่สูง กระบวนการผลิต กระบวนการตรวจสอบและการรับรองการเป็นข้าวอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานสากล เป็นต้น จังหวัดอุทัยธานีนั้น เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตร มีอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่และการทำปศุสัตว์ ในระหว่างปี 2555-2556 จังหวัดอุทัยธานีมีพื้นที่การปลูกข้าว 611,230 และ 614,653 ไร่ มีประมาณผลผลิต 378,609 และ 381,371 ตัน ตามลำดับ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) โดยการทำนาส่วนใหญ่ยังเป็นการทำนาโดยใช้สารเคมีอยู่ เนื่องจากเป็นรูปแบบของการทำนาที่ไม่ต้องมีการใช้องค์ความรู้ใดๆ ใช้ความเคยชินในการทำต่อๆ กันมา และชาวนาส่วนใหญ่มีความคิดว่า การทำเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำนา นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ เกษตรกรยังไม่แน่ใจในเรื่องของผลตอบแทนว่าถ้าปลูกข้าวรูปแบบเกษตรอินทรีย์ จะดีกว่าการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีที่ทำอยู่อย่างไร และจะทำให้รายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้จริงหรือไม่อย่างไร ดังนั้น การศึกษาสภาพทั่วไปของการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวอินทรีย์ รวมทั้งการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนและความคุ้มค่าของการปลูกข้าว จะเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ส่งเสริมให้ชาวนาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาที่ได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 ศึกษาสภาพทั่วไปของการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวอินทรีย์ ในเขตพื้นที่ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 2 วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุน ผลตอบแทนและการคุ้มทุนของการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมี และการปลูกข้าวอินทรีย์ ในเขตพื้นที่อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 3 ถ่ายทอดความรู้เรื่องการจดบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการปลูกข้าวพร้อมเสนอแนวทางใน การลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ
ขอบเขตของโครงการ :1 ศึกษาสภาพทั่วไปของการปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี และการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ โดยศึกษาจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้งสองรูปแบบ ของอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 2 ศึกษาโครงสร้างต้นทุนของการปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี และการปลูกข้าวแบบเกษตร อินทรีย์ ทั้งต้นทุนทางการเงิน และต้นทุนในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี และการปลูก ข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ รวมถึงวิเคราะห์ความคุ้มทุนของการปลูกข้าวทั้งสองรูปแบบ 4 ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการจัดทำบัญชีและจดบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับต้นทุนในการผลิต (ต้นทุนการปลูกข้าว) รวมถึงการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ตัวแทนเกษตรกร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :782 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวปราณี ตปนียวรวงศ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นางสาวลักษมี งามมีศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด