รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000238
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนาย ทางสังคมวิทยาการเมือง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The guidelines for the development of a participation model of civil society to for Checking and Balance of Power of the Local Administration Organizations as a predictive factor of Political Sociology.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การตรวจสอบการใช้อำนาจ (Checking and Balance of Power)การมีส่วนร่วม (Participation) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (local Administrative)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > โปรแกรมวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :499500
งบประมาณทั้งโครงการ :499,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :รัฐประศาสนศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :หากจะกล่าวถึงการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยทั่วไปจะมี 2 รูปแบบใหญ่ คือ แบบประชาธิปไตยโดยตัวแทน และแบบประชาธิปไตยโดยตรง ในอดีตที่ผ่านมาประเทศต่างๆ เดินตามแนวทางประชาธิปไตยแบบตัวแทนเป็นหลัก ทำให้บทบาทของนักการเมือง หรือตัวแทนมีความสำคัญค่อนข้างมาก ในขณะที่ประชาธิปไตยโดยตรงกลายเป็นรูปแบบที่เป็นอุดมคติในทางปฏิบัติ กล่าวคือแทบไม่มีประเทศใดนำไปใช้ในการบริหารปกครองได้ทั้งระบบ แต่เป็นแนวทางที่การปกครองสมัยใหม่กำลังเรียกร้องนำมาปรับใช้ในการปกครองประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ในกรณีของประเทศไทยการนำตัวแบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนมาใช้ตามแบบของประเทศตะวันตก มีการเลือกตัวแทนมาทำหน้าที่ในทางการปกครองในองค์กรนิติบัญญัติ และองค์การบริหารของส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น ในขณะเดียวกันการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยตรง มีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ ซึ่งสะท้อนจากการออกกฎระเบียบของรัฐให้สอดรับกับแนวทางประชาธิปไตย เช่น ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ.2550 มีการกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนทางการเมืองในทุกภาคส่วน รวมทั้งกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ได้มีการเพิ่มบทบาทของภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ในการบริหารการปกครองประเทศ นักวิชาการไทยหลายท่านก็ได้สนับสนุนและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังที่ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้กล่าวว่า การจะจัดการปกครองอย่างไรก็ตาม จะต้องจัดให้รัฐบาลมีอำนาจ และบทบาทน้อยลง เพื่อที่ประชาชนจะได้มีอำนาจและบทบาทมากขึ้น (Less Government More People) (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2542 : 19) โดยเหตุผลที่มุ่งไปให้อำนาจกับประชาชน เพื่อให้ประโยชน์ทางการปกครองสูงสุดลงสู่ประชาชนอย่างแท้จริง แต่ด้วยโครงสร้างการปกครองของไทย ที่ยังให้อำนาจส่วนกลางมากกว่าส่วนอื่น จึงสวนทางกับหลักการประชาธิปไตยอยู่บางส่วน กล่าวคือ ในการบริหารประเทศภายใน เราใช้ลักษณะแบบรวมอำนาจที่ศูนย์กลาง (Centralization) ส่งผลให้หน่วยงานราชการทุกภาคส่วนจะต้องทำงานโดยยึดแนวทางข้อเสนอจากส่วนกลาง ซึ่งอาจขัดแย้งกับความต้องการของประชาชนได้ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีความพยายามใช้หลักการกระจายอำนาจทางการปกครอง โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรตัวแทนประชาชน อย่างไรก็ตามในการปรับตัวทางการปกครองให้รองรับกับการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการปกครองมีหลายระดับ เช่น การมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ (Cognitive participation) การมีส่วนร่วมที่เป็นลักษณะเปิดเผย (Expressive participation) การมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับองค์กร (Organizational participation) การมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง (Electoral participation) การมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง (Partisan participation) และการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล (Government participation) (Beeghly, 1994 : 392-395) โดยระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเข้าไปทำการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ถึงแม้ว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ประชาชนสามารถเข้าเสนอชื่อเพื่อถอดถอนนักการเมืองที่เห็นว่าข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมืองมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำการทุจริต คอรัปชั่น ในตำแหน่งหน้าที่ แต่ผลที่ออกมาคือเป็นเรื่องที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบค่อนข้างน้อย โดยสถิติที่สะท้อนให้เห็นคือ จำนวนผู้ร้องเรียนชี้มูลความผิดเพื่อให้ตรวจสอบผู้แทนหรือผู้บริหารประเทศในกรณีทุจริตคอรัปชั่นกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในปี 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 120 ครั้ง (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, 2557 : online) ซึ่งถือว่ามีจำนวนที่น้อยมาก ที่ให้ความสำคัญในการสร้างกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and balance) ซึ่งกันและกันระหว่างอำนาจฝ่ายต่างๆ ขาดการมีความรู้สึกการเป็นเจ้าของ(Sense of belonging) ที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะถ้าปล่อยให้อำนาจที่ขาดการตรวจสอบตกอยู่ในมือบุคคลคนเดียว อาจนำไปสู่การปกครองที่ฉ้อฉล คดโกงได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “อำนาจทำให้ฉ้อฉล ยิ่งมีอำนาจมากยิ่งมีความฉ้อฉลมาก”(Power corrupts, absolute power corrupts absolutely) ในความเป็นจริงการมีส่วนร่วมที่ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด ก็คือการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง (Electoral participation) โดยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงสถิติตัวเลขของการไปทำหน้าที่ในการเลือกตั้งในระดับชาติครั้งล่าสุดคือในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งในครั้งนั้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีทั้งหมด จำนวน 46,939,549 คน มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 35,220,208 คน คิดเป็นร้อยละ 75.03 (สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง, 2554 : online) ผลที่ออกมาไม่สามารถบอกได้ว่าประชาชนมีความตระหนักรู้ด้วยตนเองต่อความรับผิดชอบในการเลือกผู้แทนเข้ามาทำหน้าที่ เพราะอาจเกิดจากการถูกบังคับด้วยตัวบทกฎหมายว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และถูกปลูกฝังค่านิยม และความเชื่อว่าหากไม่ไปใช้สิทธิประชาชนจะเสียสิทธิที่ตนพึงมีต่างๆ แต่ไม่มีความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง และผลที่จะตามมาอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังมีหน่วยการประชาสัมพันธ์ที่เน้นการเลือกตั้งเป็นหลัก อาทิเช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งชื่อก็บ่งบอกได้ชัดเจนในตัวอยู่แล้ว ถึงแม้จะมีการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในรูปแบบอื่นๆ แต่ในความเข้าใจของประชาชนส่วนใหญ่จะเข้าใจเพียงว่าการเลือกตั้งเป็นเพียงกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองวิธีเดียวที่พวกเขาเหล่านั้นจะสามารถกระทำได้ ด้วยเหตุต่างๆ เหล่านี้ การกระจายอำนาจทางการบริหาร ในหน่วยการปกครองท้องถิ่น จึงต้องมีรูปแบบการตรวจสอบที่หลากหลาย โดยเฉพาะรูปแบบที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยทางอ้อม ในขณะเดียวกันอาจต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการตกเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่เสียประโยชน์ในการระดมพลเข้าชื่อเพื่อกดดันรัฐบาลได้ง่ายขึ้น ซึ่งการให้อำนาจแก่ประชาชนที่จะใช้กลไกทางกระบวนการยุติธรรม เป็นการเปิดช่องทางให้ประชาชนมีอำนาจในการควบคุมตรวจสอบ แต่ต้องยอมรับว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ขยายบทบาทและอำนาจของประชาชนในการสร้างความพร้อมรับผิดทางการเมืองของผู้ปกครองและผู้แทนกว่าฉบับปี 2540 ดีขึ้นมาก แต่ปัญหาในการใช้อำนาจตรวจสอบของประชาชนขึ้นอยู่กับการที่จะต้อง (1) ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนต้องเข้าไปตรวจสอบโดยคำนึงถึงเรื่องคุณภาพในด้านข้อมูล (2) อาศัยสื่อหรือช่องทางอื่นในการที่จะทำให้ความสนใจทั้งนโยบายและตัวบุคคลมีความต่อเนื่อง ปลายทางจะต้องยอมรับกฎกติกาทางสังคมเป็นตัวตัดสินสุดท้าย หากมองถึงจุดนี้จะเห็นว่าการตรวจสอบการใช้อำนาจจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะการบริหารขององค์กรต่างๆ หากไม่มีการตรวจสอบในรูปแบบที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหาการทุจริต หรือความไม่โปร่งใสในองค์กรได้ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานว่า มีเรื่องทุจริตร้องเรียนทั้งหมด 335 เรื่อง คิดเป็นค่าเสียหายรวม 1,754 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่ มีผู้ร้องเรียนมากที่สุด คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีทั้งสิ้น 139 เรื่อง คิดเป็นค่าเสียหาย 519 ล้านบาท ส่วนงบประมาณปี พ.ศ. 2553 ที่กำลังใช้อยู่ในขณะนี้มียอดวงเงินรวม 1.7 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประมาณ 357,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารเงินงบประมาณสูงขนาดนี้ย่อมเป็นการเปิดช่องทางที่จะนำไปสู่การกระทำที่เป็นการทุจริตได้โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายงานว่าทุจริตมากที่สุด คือ องค์กรบริหารส่วนตำบล รองลงมาคือ องค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อนุรักษ์ นิยมเวช, 2554, หน้า 18) ปัญหาที่สะท้อนถึงการบริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการทุจริต เป็นสิ่งที่เกิดพบได้มาก ดังรายงานของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น การให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบทางการ บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการดุลอำนาจในระดับท้องถิ่นที่ดี แต่รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบหน่วยงานระดับท้องถิ่นไม่มีความหลากหลาย ยังยึดตามกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ซึ่งจากที่ผ่านมาพบว่ายังไม่ทำให้เกิดกระบวนการเข้าไปตรวจสอบได้จริง ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยโดยการรัฐประหารช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2557 มีการยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 และมีการประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ขึ้นมาโดยเนื้อหาไม่มีการรับรองการให้อำนาจกับภาคประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐเหมือนเดิม ทำให้ขาดความชัดเจนในรูปแบบที่ประชาชนจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการตรวจสอบ จากปัญหาข้างต้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบทางการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านสังคมวิทยาการเมือง เพื่อเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงไปสู่ขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการการตรวจสอบ และสามารถนำรูปแบบที่ได้จากผลการศึกษาไปเผยแพร่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่สนใจไปใช้ประโยชน์ได้เป็นลำดับต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อสำรวจรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านสังคมวิทยาการเมือง ที่สามารถทำนายการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บนพื้นฐานของอิทธิพลของปัจจัยทางสังคมวิทยาการเมือง
ขอบเขตของโครงการ :ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัย แบ่งออกตามวิธีการวิจัย ดังนี้ ขอบเขตด้านประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ประชาชนที่มีบทบาทในการมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และความสามารถ มีความชำนาญเกี่ยวกับการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการปกครองส่วนท้องถิ่น และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ประชาชนที่มีบทบาทในการมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ จำนวน 800 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และความสามารถ มีความชำนาญเกี่ยวกับการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่น และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น 4) แนวคิดเกี่ยวกับสังคมวิทยาการเมือง 5) แนวคิดเกี่ยวกับความผูกพันทางการสังคมและการเมือง ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ.2558 ถึง กันยายน พ.ศ. 2559 รวมทั้งสิ้น 12 เดือน ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมวิทยาการเมืองที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบ 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบการทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ การมีส่วนร่วมโดยตรง และการมีส่วนร่วมโดยอ้อม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :444 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวคุณากร กรสิงห์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด