รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000237
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การจัดการขยะแบบครบวงจรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Integrated Solid Waste Management in Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การจัดการขยะแบบครบวงจร รีไซเคิล วัสดุอัดแผ่นเรียบ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :500000
งบประมาณทั้งโครงการ :500,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases: GHGs) จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในการดำรงชีวิต การใช้พลังงาน ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และนับวันปัญหาดังกล่าวก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเมื่อความแปรปรวนของสภาพอากาศโลกและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลยังส่งผลให้เกิดปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติตามมาอีกด้วย การจัดการขยะมูลฝอยที่ดีย่อมส่งผลถึงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากกการกระทำของมนุษย์เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ขยะมูลฝอย ซึ่งปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในอันดับต้น ๆ และมีปัญหาในการจัดการเป็นอย่างมาก ปี 2556 กรมควบคุมมลพิษ ได้ทำการสำรวจข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศใหม่ทั้งหมด พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ มีจำนวน 26.77 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 2 ล้านตัน โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดแบบถูกต้อง จำนวน 7.2 ล้านตัน (ร้อยละ 27) กำจัดแบบไม่ถูกต้อง 6.9 ล้านตัน (ร้อยละ 26) มีปริมาณขยะมูลฝอยที่ไม่ได้รับการเก็บขนทำให้ตกค้างในพื้นที่อยู่ถึง 7.6 ล้านตัน (ร้อยละ 28) และมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกดึงนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 5.1 ล้านตัน (ร้อยละ 19) การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีความสำคัญ โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 108 ไร่ มีจำนวนนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนมากกว่า 15,000 คน จึงคาดการณ์ปริมาณขยะได้ประมาณ 1.7-1.8 ตันต่อวัน ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังไม่มีการจัดการขยะที่เหมาะสมและครบวงจร โดยไม่มีการคัดแยกหรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้ปริมาณขยะโดยรวมของชุมชนมีปริมาณมากตามไปด้วย 2. ปริมาณขยะที่สามารถนำมาแปรรูปใหม่ได้ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ยังไม่ได้มีการดำเนินการมาใช้ให้เกิดประโยชน์เลย นอกจากการคัดแยกขยะบางส่วนของเจ้าหน้าที่ดูแลความสะอาดไปขายเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าจึงมีแนวคิดในการนำขยะมารีไซเคิลเป็นวัสดุอัดแผ่นเรียบเพื่อนำมาเป็นผนังกั้นใช้ในสำนักงาน 3. การจัดการขยะแบบครบวงจรเพื่อรีไซเคิลเป็นวัสดุแผ่นอัดเรียบเป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการจัดการวัสดุรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งและการจัดการขยะของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการขยะแบบครบวงจรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เพื่อรีไซเคิลเป็นวัสดุแผ่นอัดเรียบ เพื่อการจัดการขยะที่เหมาะสมและนำขยะที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นการลดมลพิษและยังส่งผลถึงการลดปัญหาภาวะโลกร้อนอีกด้วย
จุดเด่นของโครงการ :บริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เพื่อสิ่งแวดล้อมน่าอยู่
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) ศึกษาชนิด ปริมาณของขยะมูลฝอย และการจัดการขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ในปัจจุบัน 2) สร้างต้นแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) สร้างเครื่องมือต้นแบบในการรีไซเคิลขยะเป็นวัสดุอัดแผ่นเรียบ
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านเนื้อหา 1) ศึกษาชนิด ปริมาณของขยะมูลฝอย และการจัดการขยะมูลฝอย การจัดรวบรวม การจัดเก็บในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในปัจจุบัน โดยไม่รวมขยะอันตรายและขยะจากห้องปฏิบัติการ 2) ศึกษาและสร้างต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ 3) สร้างเครื่องมือต้นแบบแปรรูปขยะที่เหมาะสมเพื่อนำมารีไซเคิลได้เป็นวัสดุอัดแผ่นเรียบเพื่อใช้เป็นผนังกั้นภายในสำนักงานของมหาวิทยาลัย โดยทำการทดสอบความแข็งแรง ความสามารถในการดูดซับเสียง ความสามารถในการถ่ายเทความร้อน เป็นต้น ขอบเขตด้านพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านเวลา ระยะเวลาการดำเนินงานวิจัย 12 เดือน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1) ได้ข้อมูลของชนิด ปริมาณของขยะมูลฝอย และการจัดการขยะมูลของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อวางแผนระบบการจัดการขยะที่เหมาะสมแบบครบวงจร และเพื่อการนำขยะมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นเพิ่มเติมในอนาคต 2) ได้ต้นแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรเพื่อนำมาใช้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) ได้เครื่องมือต้นแบบวัสดุอัดแผ่นเรียบที่ได้จากการรีไซเคิลขยะเพื่อใช้เป็นผนังกั้นภายในสำนักงาน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิด ปริมาณของขยะมูลฝอย และการจัดการขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อสร้างต้นแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และสร้างเครื่องมือต้นแบบในการรีไซเคิลขยะเป็นวัสดุอัดแผ่นเรียบ ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้ 2.1 ขยะมูลฝอย 2.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพและเคมีของขยะมูลฝอย 2.3 การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร 2.4 วัตถุดิบการรีไซเคิล : พลาสติก กระดาษ วัสดุผสม กาว 2.5 การออกแบบเครื่องมือต้นแบบในการรีไซเคิลขยะเป็นวัสดุอัดแผ่นเรียบ 2.6 การทดสอบคุณสมบัติ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีความสำคัญ โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 108 ไร่ มีจำนวนนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนมากกว่า 15,000 คน จึงคาดการณ์ปริมาณขยะได้ประมาณ 1.7-1.8 ตันต่อวัน ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังไม่มีการจัดการขยะที่เหมาะสมและครบวงจร โดยไม่มีการคัดแยกหรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้ปริมาณขยะโดยรวมของชุมชนมีปริมาณมากตามไปด้วย 2. ปริมาณขยะที่สามารถนำมาแปรรูปใหม่ได้ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ยังไม่ได้มีการดำเนินการมาใช้ให้เกิดประโยชน์เลย นอกจากการคัดแยกขยะบางส่วนของเจ้าหน้าที่ดูแลความสะอาดไปขายเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าจึงมีแนวคิดในการนำขยะมารีไซเคิลเป็นวัสดุอัดแผ่นเรียบเพื่อนำมาเป็นผนังกั้นใช้ในสำนักงาน 3. การจัดการขยะแบบครบวงจรเพื่อรีไซเคิลเป็นวัสดุแผ่นอัดเรียบเป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการจัดการวัสดุรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งและการจัดการขยะของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการขยะแบบครบวงจรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เพื่อรีไซเคิลเป็นวัสดุแผ่นอัดเรียบ เพื่อการจัดการขยะที่เหมาะสมและนำขยะที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นการลดมลพิษและยังส่งผลถึงการลดปัญหาภาวะโลกร้อนอีกด้วย
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :งานวิจัยเรื่องการจัดการขยะแบบครบวงจรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้กำหนดวิธีการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน มีรายละเอียดดังนี้ 1. การศึกษาชนิด ปริมาณของขยะมูลฝอย และการจัดการขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในปัจจุบัน 1.1 ศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลชนิดและปริมาณขยะมูลฝอย 1.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพและเคมีของขยะมูลฝอย 3.1.3 การรวบรวมข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในปัจจุบัน 2. การสร้างต้นแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2.1 การบริหารจัดการขยะ 2.2 แนวทางการนำขยะมาใช้ประโยชน์ 3. การสร้างและทดสอบเครื่องมือต้นแบบในการรีไซเคิลขยะเป็นวัสดุอัดแผ่นเรียบ 3.1 กระบวนการสร้างเครื่องมือต้นแบบในการรีไซเคิลขยะเป็นวัสดุอัดแผ่นเรียบ 3.2 การทดลองหาค่าอัตราส่วนผสมของเศษพลาสติกกับเศษกระดาษ 3.3 การทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดราบ (มอก. 876-2547) 4. เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
จำนวนเข้าชมโครงการ :797 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวภริตา พิมพันธุ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางมาศสกุล ภักดีอาษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
นางสาวกรรณิการ์ มิ่งเมือง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด