รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000236
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนแบบพึ่งตนเอง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The cultural capital development and the local wisdom for develop economy system of the community Self-sufficience
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ทุนวัฒนธรรม (cultural capital) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) เศรษฐกิจชุมชน(economy community)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาสังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :500000
งบประมาณทั้งโครงการ :500,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :นโยบายการพัฒนาของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้พัฒนาประเทศในแนวทางที่มองการพัฒนาบนฐานรากของวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งเป็นทุนเดิมที่มีอยู่ในสังคมไทยเป็นสำคัญเท่าใดนัก แต่กลับให้ความสำคัญกับการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมที่เน้นกระแสบริโภคนิยมเป็นหลัก ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยในแต่ละสมัยได้ตอบสนองโดยดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจตามแนวของธนาคารโลก โดยเน้นการผลิตเพื่อการค้าและส่งออกมากกว่าการผลิตเพื่อยังชีพ ทรัพยากรธรรมชาติถูกระดมเข้าสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ขณะเดียวกันภาคเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานการผลิตของชาวชนบทส่วนใหญ่กลับถูกละเลย ผลที่ตามมาก็คือวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไม่สามารถเป็นตัวกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อีกต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ แนวคิดที่ว่าเศรษฐศาสตร์ควรมีรากฐานบนวัฒนธรรม จึงเป็นอีกแนวคิดที่สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวไทย ซึ่งเป็นแนวคิดบนพื้นฐานของต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิมในสังคมไทยที่ได้สั่งสมและสืบสานต่อกันมาจากรุ่นต่อรุ่น ผ่านการดัดแปลงและปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของประชาชนทั้งในระดับตัวบุคคลและในระดับสาธารณะ เป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมและถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาของชุมชน หรือสังคมนั้นๆ รวมทั้งลักษณะของภูมิประเทศ และทรัพยากรในท้องถิ่น จนทำให้มีพฤติกรรมจารีตและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของชุมชนเอง โดยผ่านการกลั่นกรองจากอดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งการนำมาใช้จะต้องหยิบเอาจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนมาปรับให้เหมาะกับลักษณะของเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งทำให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและกลมกลืนกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ จนกระทั่งก่อเกิดพลังของสังคมหรือชุมชนในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนต่อไปได้ (วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์, 2546) และจะยังผลให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนในระดับฐานราก จนกระทั่งเป็นรากแก้วในการยึดโยงให้ระบบในสังคมสามารถอยู่รอดได้ เป็นผลให้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีบทบาทต่อการพัฒนาในมิติของเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวอำเภอพยุหะคีรี และอยู่ทางทิศใต้ของตัวจังหวัดนครสวรรค์ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ประชากรตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่น มักนิยมปลูกเป็นเรือนใต้ถุนสูงชั้นเดียว ปลูกในลักษณะให้นอกชานหรือชานเรือนติดต่อกันเป็นแพยาว เรียกว่า “เรือนแถว” โดยที่เรือนของพ่อแม่จะอยู่ตรงกลางและต่อออกปีกทั้งซ้ายขวา เป็นของลูก ๆ ของตน บางหลังเป็นแถวยาวหลายสิบเมตร 4-5 ครัวเรือน ชาวเขาทองพื้นเพเดิมเป็นชาวมอญ อพยพมาค้าขายจากเมืองเมาะตะมะ โดยเดินทางข้ามมาทางจังหวัดอุทัยธานีและมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในตำบลนี้ อีกส่วนหนึ่งเป็นไทยอพยพมาจากทางภาคอีสาน ประชากรในตำบลเขาทองมีอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ การทำนาเป็นอาชีพหลัก รองลงมา คือ ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ พื้นที่เป็นที่ราบสูงไม่มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน จึงอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ เมื่อทำนาได้ข้าวแล้วจะแบ่งข้าวไว้กินภายในครอบครัวให้พอตลอดทั้งปี นอกนั้นจึงจะเหลือไว้ขายหรือแลกกับสิ่งของที่จำเป็นจะต้องใช้ ดังนั้น ทุกบ้านจึงจำเป็นต้องมียุ้งไว้เก็บข้าวโดยเฉพาะ สมัยก่อนชาวบ้านกินอยู่อย่างประหยัด หัวไร่ปลายนาจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้ประกอบอาหาร ตอนเย็นหลังจากเสร็จธุระจากไร่/นา ก็จะเก็บผักหาบมาทำอาหารที่บ้าน ไม่ต้องซื้อหา เป็นการประหยัดและปราศจากสารพิษ เหลือจากกินในครอบครัวก็แบ่งให้ญาติและเพื่อนบ้านบ้าง ไม่มีการซื้อขายกัน ขาดเหลืออะไรก็แบ่งกันกินกันใช้ ทำให้เกิดความสามัคคี รักใคร่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในช่วงฤดูฝนชาวบ้านจะทำเสบียงและถนอมอาหารไว้สำหรับฤดูแล้ง และผลิตน้ำตาลจากอ้อยด้วยวิธีธรรมชาติไว้ใช้เองตลอดทั้งปี ปลายเดือนเมษายนชาวบ้านเสร็จจากไร่นา ผู้ชายจะทำอุปกรณ์ในการทำมาหากิน ผู้หญิงที่อยู่กับบ้านจะปั่นฝ้าย ทอผ้า เป็นหัตกรรมในครัวเรือน จึงเห็นได้ว่าชาวบ้านอยู่กันอย่างพอกินพอใช้ ไม่ขัดสน หรือเรียกได้ว่าอยู่กันอย่างเศรษฐกิจพอเพียง จากการลงพื้นที่ของผู้วิจัยร่วมกับนักศึกษาสาขาการพัฒนาชุมชน ในรายวิชาการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนและแนวทางการพัฒนา วิชาการพัฒนาที่ยั่งยืน ฯลฯ พบว่า ในปัจจุบันภายใต้นโยบายการพัฒนาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมที่เน้นกระแสบริโภคนิยมเป็นหลัก ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างรุนแรงในทุก ๆ ด้านและทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งพื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ก็ได้รับผลกระทบและเผชิญกับภาวะวิกฤติเช่นเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ ในทุกส่วนของประทศไทย ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดในการนำทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเขาทองมาพัฒนาและปรับเปลี่ยนสภาพ ทั้งทรัพยากร และองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมให้เพิ่มพูนคุณค่าในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนไป ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยและข้อจำกัดทั้งมวลที่เผชิญอยู่ โดยมีประเด็นคำถามว่า มีความเป็นไปได้เพียงใดภายใต้สภาวะแวดล้อมของระบบสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ทุนทางวัฒนธรรมในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลเขาทอง จะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง โดยอาศัยทุนของตนเองและทุนของชุมชนที่มีอยู่ และใช้พลังศักยภาพของการรวมตัวเป็นองค์กรชาวบ้านเป็นกลไกการผลิตของระบบเศรษฐกิจ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นบ้านของ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นบ้านกับระบบเศรษฐกิจของชุมชนแบบพึ่งตนเอง 3. เพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนแบบพึ่งตนเอง
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีลักษณะของการฝังตัวของทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยาวนาน 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา 2.1 ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นบ้าน ของตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสรรค์ 2.2 พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นบ้านกับระบบเศรษฐกิจของชุมชนแบบพึ่งตนเอง ของตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสรรค์ 2.3 การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นบ้านของ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสรรค์ 3. ขอบเขตด้านเวลา ปีงบประมาณ 2559
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :4214 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจิตราภรณ์ เพ็งดี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด