รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000235
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of Buddhist organic learning center based on Sufficiency Economy.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนา (development) ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) เกษตรอินทรีย์ (organic) วิถีพุทธ (Buddhist) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :500000
งบประมาณทั้งโครงการ :500,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาปรัชญา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองเป็นไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาความเจริญด้านสารเคมี นำมาใช้กับการเกษตร ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งทำให้เป็นปัญหาที่สำคัญคือ อาหารที่มนุษย์บริโภคเป็นอาหารที่เจือปนด้วยสารพิษ ทำให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคเป็นอันตรายต่อสุขภาพเกิดเจ็บป่วยเป็นอันมาก และต้นทุนการทำเกษตรก็สูงทำให้เป็นปัญหาการขาดทุน มีปัญหาใหญ่สำหรับการทำเกษตรสารเคมี คือ แมลงพัฒนาภูมิต้านทานสารเคมี ผลที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งกับแมลงศัตรูพืช เมื่อมีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงอย่างต่อเนื่อง ก็คือ การพัฒนาภูมิต้านทานสารเคมี ซึ่งเป็นคุณสมบัติทางวิวัฒนาการของแมลงในการเอาดำรงเผ่าพันธุ์ของตัวเอง เพราะการพัฒนาความสามารถในการทนต่อสารเคมีที่มีพิษได้ และถ่ายทอดภูมิต้านทานดังกล่าวสู่ลูกหลาน จะทำให้เผ่าพันธุ์ของแมลงสามารถอยู่รอดได้ จากการศึกษาของนักวิจัยพบว่า เพียง 50 ปีที่เริ่มมีการใช้สารเคมีนั้น มีแมลงมากกว่า 400 ชนิดที่ได้พัฒนาภูมิต้านทานยาฆ่าแมลงชนิดต่างๆ ซึ่งทำให้ต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่เข้มข้นมากขึ้น หรือเปลี่ยนไปใช้ยาฆ่าแมลงชนิดใหม่ เช่น ในกรณีของหนอนเจาะสมอฝ้าย ในช่วงเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2503 ที่มีการใช้สารดีดีทีเพื่อฆ่าหนอน จะใช้สารดีดีทีเพียง 0.03 มิลิกรัม/น้ำหนักตัวของหนอนหนึ่งกรัม แต่เพียง 5 ปีหลังจากนั้น ต้องเพิ่มปริมาณเป็น 1,000 มิลิกรัมจึงจะทำให้หนอนตายได้ (Raven, Berg, Johnson 1993, 500) ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เกษตรกรต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงในปริมาณที่มากขึ้น ห รือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้สารเคมีชนิดใหม่ๆ เพื่อควบคุมกำจัดแมลง แต่ผลก็คือ แมลงศัตรูพืชก็จะเร่งการวิวัฒนาการให้สามารถต้านทานสารเคมีการเกษตรได้เร็วขึ้นด้วย การทำลายสมดุลของระบบนเวศ ไม่เพียงแต่แมลงศัตรูพืชที่ตายลง เมื่อมีการใช้สารเคมีการเกษตร แต่สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะแมลงที่เป็นประโยชน์ ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมศัตรูพืช หรือแมลงผสมเกษร ก็จะได้รับผลกระทบจากสารเคมีการเกษตรด้วยเช่นกัน จากการศึกษาวิจัย พบว่า ศัตรูธรรมชาติ ที่กินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร เช่น แมงมุม ด้วงดิน เต่าทอง ด้วงเพชรฆาต จะมีประชากรลดลงอย่างมากหลังจากที่มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่น เนื่องจากศัตรูธรรมชาติเหล่านี้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสารเคมี และโดยอ้อมจากการที่มีแมลงศัตรูพืชลดลง จนทำให้มีอาหารไม่เพียงพอ แต่หลังจากนั้นไม่นาน แมลงศัตรูพืชจะขยายประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ศัตรูธรรมชาติจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่า จึงจะเพิ่มจำนวนประชากรได้ สมดุลของระบบนิเวศจึงเสียไป ทำให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชขึ้นอีก ดังนั้น จึงกลายเป็นว่า การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ได้ช่วยป้องกันการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้จริง ซึ่งตรงกับผลงานวิจัยในสหรัฐอเมริกา ที่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2488 - 2532 มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพิ่มขึ้นกว่า 33 เท่าตัว แต่อัตราการสูญเสียผลผลิตจากการระบาดของแมลงยังคงอยู่ในระดับ 13% เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง (Raven, Berg, Johnson 1993, 501) นอกจากนี้ แมลงที่ในอดีตอาจไม่ได้เป็นศัตรูพืช เนื่องจากมีศัตรูธรรมชาติควบควบคุมประชากรให้อยู่ในระดับต่ำ แต่เมื่อมีการสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ศัตรูธรรมชาติลดลงจนเกือบหมด แมลงในกลุ่มนี้ก็จะสามารถขยายจำนวนประชากรได้อย่างมากมาย จนกลายเป็นแมลงศัตรูพืชขึ้น เช่น กรณีไรแดงยุโรป ซึ่งไม่เคยพบระบาดในสวนแอปเปิ้ลในสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการระบาดอย่างมากหลังจากที่ได้เริ่มมีการใช้สารเคมีกำจัดแมลง (Raven, Berg, Johnson 1993, 502) การสะสมของสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นไม่ได้คงอยู่เฉพาะในบริเวณพื้นที่การเกษตร แต่มักจะแพร่กระจายออกไปในสิ่งแวดล้อม เพราะน้ำที่ไหลผ่านแปลงเกษตร ที่มีการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะไหลลงไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในระบบนิเวศอย่างกว้างขวาง สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำอาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากสารเคมีเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลต่อระบบภูมิต้านทานของปลา ทำให้ปลาเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ สารเคมีเหล่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งย่อยสลายช้า อาจจะไปสะสมอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตที่อยู่ด้านบนของห่วงโซ่อาหาร เกิดการสะสมของสารพิษในปริมาณที่เข้มข้นขึ้น (biological magnification) ดังตัวอย่างในรูป ซึ่งเป็นการสะสมของ DDT ในห่วงโซ่อาหาร ที่เริ่มจากการปนเปื้อนของ DDT ในน้ำในอัตราเพียง 0.000003 ส่วนในล้านส่วน แต่ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น พวกไรแดง หนอนแดง จะพบว่ามีการสะสมของ DDT ในสัตว์เหล่านี้เพิ่มขึ้นเป็น 0.04 ส่วนในล้านส่วน และในปลาที่กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นอาหาร จะมีการสะสมของ DDT ในตัวปลามากถึง 2 ส่วนในล้านส่วน และเมื่อถึงนกที่กินปลาเป็นอาหาร จะมี DDT สะสมในตัวได้มากถึง 25 ส่วนในล้านส่วนทีเดียว สารเคมีสำหรับการทำเกษตรนี้ มีต้นทุนสูง ทำให้เกษตรกรขาดทุนเป็นหนี้ธนาคาร นายทุน และหนี้นอกระบบ ต่อก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น ความยากจน การฆ่าตัวตาย อาชญากรรมท้วงหนี้ เศรษฐกิจรากหญ้าล่มจม เป็นต้น การพัฒนาปัจจุบันจึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องส่งเสริมการพัฒนาตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้กับสังคมไทย จำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง ให้เห็นและปฏิบัติได้ผลจริงอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการพื้นฟูคุณธรรม จริยธรรม หรือภูมิปัญญาที่เคยมีอยู่คู่สังคมไทยให้กลับคืนมา เป็นสังคม/ชุมชนที่มีความอบอุ่น เอื้ออาทรและพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนในที่สุด จึงได้ทำวิจัยการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนวัดเขาวงษ์พรหมจรรย์ ขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนที่มีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานการเรียนรู้แบบวิถีพุทธ โดยยึดหลักพุทธธรรมให้การดำเนินชีวิต ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนวัดเขาวงษ์พรหมจรรย์ เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐบาลที่ปรารถนาจะพัฒนาเศรษฐกิจของประชาชนรากหญ้าให้ยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืน จะเน้นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาโดยอาศัยและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลต่อกันและทำให้เกิดความสมดุล ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนที่ได้ยึดถือเน้นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่มาโดยตลอด ดังนั้นผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาของชาวบ้านในชุมชนด้านการทำเกษตรอินทรีย์ลดต้นทุน แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน มีสุขภาพดีถ้วนหน้า เศรษฐกิจมั่นคง ประชาชนมีศีลธรรม ทำให้ประเทศชาติเจริญทางจิตใจมากขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการพึ่งพาตนเองอย่างพอเพียง 3 เพื่อให้บริการวิชาการ และส่งเสริมให้เกิดครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงแบบวิถีพุทธ เป็นแหล่งเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์
ขอบเขตของโครงการ :พื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ ประมาณ 16 ไร่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :263 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายธนสิทธิ์ คณฑา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด