รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000231
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :DEVELOPMENT OF ACTIVITIES TEACHING WITH INFORMATION TECHNOLOGY MEDIA MODEL FOR CHILDREN WITH SPACIAL NEEDS IN INCLUSIVE SCHOOLS.(Inclusive education for children with special needs)
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :80000
งบประมาณทั้งโครงการ :80,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :พื้นฐานการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สังคมไทยในปัจจุบันมีเด็กพิเศษในระบบการศึกษาแล้วกว่า 4 แสนคน สถิติเด็กในระบบโรงเรียนก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก290584 คนในปี 2555 เป็น409656 คนในปี 2557 โดยในจำนวนนี้เป็นนักเรียนร่วมสังกัด สพฐ. 346276 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีปัญหาในเรื่องการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดคำนวณไม่ถูก ขณะที่มีนักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ 32393 คน (ที่มา :http://www.mcot.net) จากข้อมูลดังกล่าวจำนวนเด็กพิเศษเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังประสบปัญหาการมีโรงเรียนเฉพาะคนพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียนที่มีเพิ่มมากขึ้น การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาให้บุคคลมีความรู้ ความสามารถ มีความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม ให้บุคคลได้แสดงความสามารถตามศักยภาพที่แท้จริงของตนเองออกมา ปัจจุบันการจัดการเรียนร่วมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ดังหมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ ทางการศึกษา มาตรา 10 ที่กล่าวไว้ว่า “การจัดการศึกษาจึงได้กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาว่าให้บุคคลมีสิทธิโอกาสเสมอกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า12 ปี่ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมไปถึงการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้ง 9 ประเภท คือ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างการหรือสุขภาพ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ บุคคลออทิสติก และบุคคลพิการซ้ำซ้อน” ทั้งนี้ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการและบุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสพดวก สื่อบริการความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์ วิธีที่กำหนดในกฎกระทรวง (ศูนย์บริการพิเศาประจำจังหวัดสุโขทัย,2548) และนอกจากนี้พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ยังได้กำหนดให้คนพิการทีสิทธิในการเลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบทางการศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการของบุคคล รวมทั้งให้ได้รับการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้และการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีสาสนเทศเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม 2. เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 ได้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม ที่เหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 2.ผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างทักษะทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม และมีความสุขในการเรียน การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :449 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวกุลรภัส เทียมทิพร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายสุทธิกร แก้วทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายสุภกิจ วิริยะกิจ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด