รหัสโครงการ : | R000000229 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากดนตรีพื้นบ้านโดยการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วม |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Conservation, Development and Application from Fork Music Cultural by Participatory Learning |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การอนุรักษ์และพัฒนา (Conservation and Development) วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน (Fork Music Culture) การใช้ประโยชน์ (Application) เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participation Learning) |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 500000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 500,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 11 พฤศจิกายน 2558 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 10 พฤศจิกายน 2559 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
สาขาวิชาการ : | สาขาปรัชญา |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | สังคมไทยได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลายของวัฒนธรรมโลกในศตวรรษที่ 21 หรือสังคมยุคโลกาภิวัตน์ และก้าวเข้าสู่สังคมประชาคมอาเซียนเมื่อปี 2558 ส่งผลให้ค่านิยมต่าง ๆ ของคนไทยในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตที่ไม่ได้มีการปรับหรือปรุงแต่งให้เข้ากับภูมิปัญญาไทยให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ผู้ที่รักและรู้คุณค่าในศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยอยู่ในชุมชน การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วอย่างขาดเหตุผล มิได้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและขีดความสามารถของสังคมในเรื่องที่เกี่ยวข้องย่อมมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต ดังนั้นความเข้าใจ รู้คุณค่า และความเป็นมาของวัฒนธรรมของตนย่อมจะทำให้สามารถพิจารณาความเหมาะสมที่จะดำรงรักษา หรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมบางอย่างของตนโดยไม่กระทบต่อความมั่นคงทางสังคมที่รุนแรงเกินไป ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ไว้ว่า
“...นอกจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังสอนให้อนุรักษ์วัฒนธรรมเพราะเป็นสิ่งที่เป็นรากฐานชีวิตของ นักเรียนทุกคน เมื่อรู้ว่าท้องถิ่นของตนมีอะไรดีบ้าง ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ มีการบันทึกสิ่งที่เป็นของมีคุณค่าที่เป็นความคิดของมนุษย์ เป็นจิตวิญญาณของบุคคล ให้ร่วมกันทำงานอนุรักษ์พร้อมๆ กับงานพัฒนาชุมชน...”
และดังพระราชนิพนธ์ เรื่อง เด็กและดนตรี ในหนังสือมณีพลอยร้อยแสงของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ความตอนหนึ่ง ว่า
“...ถึงแม้จะไม่ได้เล่นดนตรีเก่งเป็นอาชีพ แต่เสียงดนตรีจะช่วยกล่อมจิตใจให้สงบร่มรื่นฝึกสมองทำให้มีสมาธิขึ้น การได้เล่นดนตรีเป็นหมู่เป็นการส่งเสริมความ สามัคคี ได้พบปะสังสรรค์กัน ได้สร้างความสัมพันธ์ในฐานะนักดนตรีด้วยกัน ในฐานะเพื่อน ฐานะครูกับศิษย์...”
เนื่องจากจังหวัดนครสวรรค์มีวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านที่โดดเด่นและเข้มแข็งสะท้อนให้เห็นถึงความมีเอกลักษณ์ของจังหวัด ซึ่งจากหลักฐานดังที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทรงบันทึกเหตุการณ์ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประภาสต้นมณฑลนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2449 ว่า “วันที่ 28 สิงหาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) เสด็จพระราชดำเนินผ่านอำเภอเก้าเลี้ยว ได้มีผู้หญิงตีเถิดเทิงประโคมรับเสด็จ” ทำให้ทราบว่า ชาวนครสวรรค์มีการเล่นเถิดเทิงหรือกลองยาวโดยใช้ผู้หญิงเป็นผู้บรรเลงมาแล้วกว่า 110 ปี อย่างไรก็ตาม การสืบทอดดนตรีพื้นบ้านเป็นผลมาจากนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐเป็นสำคัญ แม้สามารถทำให้วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสืบทอดต่อมา แต่กลับทำให้กลายเป็นการแสดงเพื่อการอนุรักษ์อย่างมีแบบแผน ขณะที่ดนตรีพื้นบ้านที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ซึ่งชาวบ้านทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรมค่อย ๆ หมดไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม
การสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยให้เด็กและเยาวชน ได้ตระหนักถึงความเป็นชาติไทย สิ่งสำคัญประการหนึ่ง คือ การได้เรียนรู้ในด้านดนตรีพื้นบ้าน เพราะดนตรีพื้นบ้าน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษไทยโดยได้ผสมผสานภูมิปัญญาในแต่ละเรื่องไว้อย่างกลมกลืนและชาญฉลาด เมื่อเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ถึงความเป็นมา รู้คุณค่า และเกิดทักษะทางด้านดนตรีพื้นบ้าน จะทำให้เกิดความซาบซึ้ง รักและหวงแหน ความภาคภูมิใจและรักท้องถิ่นของตน ทั้งนี้จิตวิญญาณของดนตรีพื้นบ้านซึ่งซึมซับอยู่ในหมู่เด็กและเยาวชนจะเป็นแรงผลักดันสำคัญช่วยรักษา อนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีให้คงอยู่ได้ พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นและกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมโดยทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น เพื่อการคงอยู่แบบยั่งยืนของความรู้และวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน โดยการบันทึกในเชิงวิชาการ และการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดในท้องถิ่นควบคู่ไปกับการใช้ผลงานวิจัยตอบสนองต่อชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่องในรูปของนวัตกรรมชุดการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ได้จริง อันก่อให้เกิดพลังการขับเคลื่อน เกิดการติดอาวุธทางปัญญาแก่ชุมชน และบุคลากรที่ร่วมกิจกรรม เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแห่งการดำรงชีวิตที่สมดุลในทุกมิติ อันจะส่งผลถึงความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของสังคมไทยสืบไป |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาแหล่งวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในจังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากดนตรีพื้นบ้าน |
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตด้านพื้นที่
จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. ศึกษาแหล่งวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในจังหวัดนครสวรรค์
2. กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากดนตรีพื้นบ้าน
3. การสังเคราะห์องค์ความรู้ดนตรีพื้นบ้านในจังหวัดนครสวรรค์ มาพัฒนาบทเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา และสำหรับชุมชน
ขอบเขตด้านเวลา
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | เกิดชุดความรู้ดนตรีท้องถิ่น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในระดับพื้นที่ (P)
พัฒนาศักยภาพของชุมชนในการอนุรักษ์ พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากดนตรีพื้นบ้าน และเสริมสร้างศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ภายในชุมชน เกิดกลไกความร่วมมือในกิจกรรมด้านต่างๆ เช่น ด้านเยาวชน ด้านสุขภาพ ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม สามารถต่อยอดไปสู่การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ ระดับความสำเร็จ คือ (I)
เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายด้านสุขภาพ เครือข่ายด้านวัฒนธรรม นำมาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และเกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนอันเป็นเสมือนดังภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่น (G) |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 9.1 แนวคิดการวัฒนธรรมชุมชน
9.2 แนวคิดเกี่ยวภูมิปัญญาท้องถิ่น
9.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของชุมชน
9.4 แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
9.5 แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 827 ครั้ง |