รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000228
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาวัสดุปลูกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในระบบควบคุม (การปลูกผักในโรงเรือน)
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Growing media for efficiency of vegetable
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ภาษาไทย : วัสดุปลูก, ประสิทธิภาพ, การผลิตพืชผัก, ระบบควบคุมโรงเรือน ภาษาอังกฤษ : growing media, efficiency, vegetable production, green house
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :458400
งบประมาณทั้งโครงการ :458,400.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ความต้องการใช้พืชผัก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการสำหรับใช้บริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น (กระแสเรื่องสุขภาพ) ปริมาณการส่งออกพืชผักสดและผลิตภัณฑ์ผักเพิ่มขึ้นทุกปี การผลิตของประเทศคู่แข่งในการส่งออกที่สำคัญได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียตนาม มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตพืชผักส่วนใหญ่ก็ยังพบปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ผลผลิตต่ำและมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ปริมาณและการกระจายตัวของผลผลิตไม่แน่นอน สารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานในผลผลิตและการผลิตผักที่ปลอดภัยยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค การผลิตพืชผักในระบบควบคุม หรือการปลูกผักในโรงเรือนเป็นการปลูกที่มีระบบการบริหารจัดการ ควบคุม ด้านการปลูกและดูแลรักษา การให้น้ำและปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุมเจริญเติบโตของพืชให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและ คุณภาพสูง ตลอดจนเป็นการผลิตผักให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยจากการสารพิษตกค้างตามมาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้โรงเรือนที่คลุมปิดด้วยมุ้งตาข่ายไนล่อนสีขาวหรือสีฟ้า ขนาดช่องความถี่ 16 x 16 ช่องต่อ 1 ตารางนิ้ว ซึ่งจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารฆ่าแมลงลงได้ ประมาณ 80-90 % การผลิตภายใต้สภาพโรงเรือนเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากสามารถป้องกันความเสียหายจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ป้องกันพืชจากการทำลายของสัตว์ โรค และแมลงศัตรู สามารถกำหนดทิศทางวางแผนการผลิต เร่งการผลิดอกออกผล และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกได้ ด้านประสิทธิภาพการผลิตพืชระบบนี้ เนื่องจากการผลิตพืชผักในระบบควบคุมมีพื้นที่ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชอย่างจำกัด จึงต้องวางแผนการผลิตให้ได้จำนวนรอบการผลิตต่อระยะเวลาหรือจำนวนรุ่นที่ปลูกต่อปีให้มากที่สุด นอกจากการจัดการดูแลให้พืชเจริญเติบโตและผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพดี โดยปกติ ถ้าปลูกด้วยดินนั้น ในแต่ละรุ่นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะต้องมีการพักดินและปรับปรุงดิน เพื่อป้องกันด้านโรคแมลงที่จะสะสมในดินและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เสียโอกาสในการผลิต และนอกจากนี้ในด้านความสม่ำเสมอของความอุดมสมบูรณ์ของดินแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน จึงทำให้การจัดการควบคุมน้ำและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพทำได้ยาก ด้วยเหตุนี้การพัฒนาวัสดุปลูกพืชที่ดีและเหมาะสมกับระบบนี้ เพื่อทดแทนการใช้ดินปลูกตามปกติ จึงมีความสำคัญ ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในระบบควบคุมหรือในโรงเรือนได้ วัสดุปลูกที่มีจำหน่ายทั่วไปในประเทศ โดยมากมักมีส่วนผสมของดิน ขุยมะพร้าว แกลบดิบ และอาจมีปุ๋ยคอกเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยตามสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยเป็นที่สังเกตว่าวัสดุปลูกแต่ละชนิดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากการมีส่วนผสมที่แตกต่างกันในแต่ละชนิดและในแต่ละบริษัท ผู้ผลิต ปัจจุบันวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งจากการสำรวจในช่วงปี พ.ศ. 2541-2542 พบว่า มีวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำ มาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร ในปริมาณรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 600,000 ตันต่อปี (ชัยสิทธิ์และคณะ, 2541) หากมีการนำวัสดุเหลือใช้ดังกล่าวมาศึกษาและพัฒนาเป็นวัสดุปลูก ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่าวัสดุปลูกที่มีจำหน่ายทั่วไป นอกจากจะเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์หรือกำจัดให้หมดไปอย่างเหมาะสมแล้ว ยังเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกิดประโยชน์ทางการเกษตรและลดมลภาวะโดยการจัดการวัสดุเหลือใช้ได้อย่างมีคุณค่ายิ่ง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :6.1 ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีบางประการของวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมกับการเป็นวัสดุปลูก 6.2 เพื่อพัฒนาวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ได้แก่ กากตะกอนหม้อกรองจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล แกลบ ขี้ถ้าแกลบ กาบมะพร้าว เป็นวัสดุปลูกเพื่อการผลิตพืชไม่ใช้ดินในระบบโรงเรือน 6.3 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวัสดุปลูกเพื่อการผลิตพืชไม่ใช้ดินในระบบโรงเรือน
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยและพัฒนานี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติบางประการของวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรได้แก่ กากตะกอนหม้อกรองจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล แกลบ ขี้ถ้าแกลบ กาบมะพร้าว ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุปลูกพืช ด้านทางกายภาพ ได้แก่ ความหนาแน่นรวม ความพรุนช่องอากาศ ความจุในการอุ้มน้ำ ความพรุนรวม และด้านทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรดด่าง ความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนบวก ค่าความเป็นเกลือ ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นของเกลือที่ละลายน้ำ (g/l) สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) เพื่อใช้เป็นแนวทาง และนำมาพัฒนากากตะกอนหม้อกรอง เป็นวัสดุปลูกโดยวิธีการปั้นเม็ดหรือการใช้แรงบีบอัด หรือหาส่วนผสม ให้ได้วัสดุปลูกที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่เหมาะสมเพื่อใช้ปลูกพืชระบบไม่ใช่ดิน หลังจากนั้นจึงนำมาทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุปลูกเพื่อการผลิตพืชไม่ใช้ดินในระบบโรงเรือน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :วัสดุปลูกสำเร็จรูปที่พัฒนามาจากวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่เหมาะสมเพื่อใช้ผลิตพืชทั้งระบบไม่ใช้ดินและการปลูกพืชในกระถางทั้งในการผลิตเชิงพาณิช และงานอดิเรก 11.2 ช่วยลดมลภาวะที่เกิดวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ให้แก่โรงงานและชุมชนในพื้นที่รอบๆโรงงาน เพื่อความยั่งยืนของการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 11.3 เพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ของโรงงาน และชุมชนรอบๆโรงงาน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ความหมายและความสำคัญของวัสดุปลูกต่อพืช วัสดุปลูก(growing media) หมายถึง วัสดุใดที่เลือกมาสำหรับปลูกพืชและทำให้ต้นพืชนั้นเจริญเติบโตได้เป็นปกติ วัสดุอาจเป็นอินทรียวัตถุหรืออนินทรีย์วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างผสมกัน วัสดุปลุกที่ทำจากวัสดุต่างกัน 2 – 3 อย่าง เรียกว่าวัสดุปลูกผสม วัสดุที่ใช้ใสการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด เช่น ในกระถางหรือกะบะเรียกว่า วัสดุปลูกพืชในภาชนะ( วิทยา,2534) วัสดุปลูกมีความสำคัญต่อพืชโดยทำหน้าที่ 4 ประการคือ เป็นที่เกาะยึดเหนี่ยวของรากเพื่อค้ำยันต้นพืชเป็นแหล่งสะสมน้ำแก่พืช ให้อากาศสำหรับรากพืชหายใจและเป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุอาหารให้แก่พืช (Handreck และ Black,1994 ) การทำหน้าที่ดังกล่าวของวัสดุปลูกได้มากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้เป็นการบ่งชี้ถึงความเหมาะสมหรือความอุดมสมบูรณ์ของวัสดุปลูก หน้าที่สามประการแรกมีวามสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางกายภาพ ส่วนประการสุดท้ายเป็นผลลัพธ์จากคุณสมบัติทางเคมีของวัสดุปลูก(Handreck และ Black,1994; Lemaire,1995; Rivier and Caron, 2001) คุณสมบัติของวัสดุปลูก คุณสมบัติของวัสดุปลุกที่จะต้องพิจารณานั้นแบ่งเป็น 3 ด้านหลักๆคือ สมบัติทางกายภาพ(physical) สมบัติทางเคมี (chemical) และชีวภาพ (biological) สมบัติทางกายภาพเป็นลักษณะข้อมูลของวัสดุปลูกที่เกี่ยวกับการ กระจายตัวของส่วนที่เป็นของแข็ง น้ำและอากาศในวัสดุปลูก ซึ่งสามารถใช้กำหนดด้านการจัดการชลประทาน การให้น้ำแก่พืช สมบัติทางกายภาพของวัสดุปลูกได้แก่ ความพรุนรวม(total porosity) ความจุอุ้มน้ำและอากาศ (water and air capacity) ที่ 1 kPa และ 10 kPa ปริมาณน้ำที่เป็นประโยชน์ (available water) สมบัติทางเคมีได้แก่ความเป็นกรด ด่าง (pH) ความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนบวก (cation exchange capacity; CEC) ความจุการตรึงฟอสฟอรัส (P fixing capaaity) และศักยภาพของแร่ธาตุอาหารพืช (nutrient potential) ส่วนสมบัติทางชีวภาพได้แก่ อัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ของอินทรียวัตถุ และสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หรือโทษต่อพืชปลูก (Handreck และ Black,1994; Lemaire,1995; Rivier and Caron, 2001) ลักษณะที่ต้องการของวัสดุปลูกจะต้องนำมาพิจารณา (วิทยา,2534; Handreck และ Black,1994; Lemaire,1995; Rivier and Caron,2001) ประกอบด้วย 1. ปริมาตรของวัสดุปลูกคงสภาพเดิมหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่พืชเจริญเติบโตนั้น วัสดุปลูกจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงปริมาตรเพียงเล็กน้อย ถ้าเป็นอินทรียวัตถุจะต้องไม่มีการยุบตัวอย่างน้อย 4 เดือนหรือก่อนย้ายพืชปลูกหรือเปลี่ยนภาชนะหรือนำไปจำหน่าย 2. สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) การใช้วัสดุปลูกที่มีองค์ประกอบเป็นอินทรียวัตถุจะต้องคำนึงถึง สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนในอัตราที่มีการสลายตัวจะทำให้ไม่มีผลต่อการขาดไนโตรเจนในวัสดุปลูก 3. ความหนาแน่นรวม(bulk density)เป็นความหนักหรือความแน่นของวัสดุปลูกต้องมีค่าที่มีน้ำหนักเบาพอสำหรับการขนย้ายแต่ต้องมีค่ามากพอที่จะไม่ทำให้ต้นพืชล้มง่าย ความหนาแน่นรวมควรมีค่าประมาณ 0.721-0.926 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร 4. การเก็บกักความชื้นและระบายอากาศ หรือ ความพรุนช่องอากาศ วัสดุปลูกจะต้องอุ้มน้ำได้ดีเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืช แต่ขณะเดียวกันต้องมีการควบคุมการระบายอากาศได้ดีด้วย ความชื้นที่อุ้มไว้ไดควรมีค่า 35-50เปอร์เซ็นต์และมีอากาศ 10-20 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร หลังจากให้น้ำแล้ว 5. ความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนบวก (cation exchange capacity; CEC) สมบัตินี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของวัสดุปลูกที่จะดูดซับแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืชให้แก่พืชเมื่อมีความต้องการ สมบัตินี้มีในแร่ดินเหนียวและสารแขวนลอย อินทรียวัตถุหรือฮิวมัสซึ่งบริเวณผิวมีประจุเป็นลบ สามารถดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุบวกของปุ๋ยหรือเกลือที่ละลายน้ำ วัสดุปลูกแต่ละชนิดนั้นมีค่า CEC แตกต่างกัน วัสดุปลูกควรมีค่า CEC คือ10-30 me/ กรัมของวัสดุปลูกแห้ง เพื่อสำหรับไว้ดูดซับธาตุอาหาร ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดการสะสมเกลือที่ละลายได้มากจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อพืช 6. ความเป็นกรดด่าง (pH) ความเป็นกรดด่างของวัสดุปลูกคือค่า pH ของสารละลายที่อยู่รอบๆวัสดุ เพราะว่า pHในสารละลายจะมีการสมดุลแลกเปลี่ยนกับส่วนที่ถูกดูดยึดโดย* ความเป็นกรดด่างมีความสำคัญต่อการปลดปล่อยของธาตุอาหารต่างๆและควบคุมกิจกรรมของจุลินทรีย์ ความเป็นกรดด่าง สำหรับการปลูกพืชทั่วๆไปควรอยู่ระหว่าง 6.2-6.8 และ 5.4-6.0 สำหรับวัสดุปลูกพืช 7. ความสามารถให้ธาตุอาหาร (nutrient potential) สมบัตินี้ขึ้นอยู่กับธาตุอาหารที่อยู่ในวัสดุปลูกและชนิดของพืชที่เจริญเติบโตมีความต้องการปริมาณธาตุอาหารในระดับที่สูงหรือต่ำ สิ่งที่จำกัดความสามารถให้ธาตุอาหารคือ ความเป็นเกลือของสารละลายรอบๆรากพืช ค่าความเป็นเกลือนี้เป็นค่าความเข้มข้นของเกลือที่ละลายน้ำ (g/l) หรือโดยจากการวัดค่าการนำไฟฟ้า (electrical conductivity ; EC) ของสารละลายของวัสดุปลูก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคุณสมบัติที่ต้องการเฉพาะเป็นพิเศษของวัสดุปลูกคือ ต้องมีความเหมาะสมสำหรับเทคนิคในการปลูกพืชนั้น มีคุณภาพสม่ำเสมอในเนื้อของวัสดุปลูก มีความคงทนหรือมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหรือมีการยุบตัวของวัสดุปลูกน้อย หรือมีอายุยาวนานพอสำหรับในการปลูกพืช 1 ครั้ง มีโครงสร้างที่สม่ำเสมอสำหรับการเจริญของพืช มีความหนาแน่นที่เหมาะสม มีการเปียกน้ำได้สม่ำเสมอ โดยเฉพาะการให้น้ำหลังจากวัสดุนั้นแห้ง มีธาตุอาหารและอุ้มน้ำได้เหมาะสม สุดท้ายคือสะอาดและสะดวกในการใช้งาน การปลูกพืชไม่ใช้ดิน การปลูกพืชไม่ใช้ดิน หรือ ไฮโดรโปนิกส์ หมายถึง เทคโนโลยีการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ คือ Hydroponics โดย W.F.Gericke มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เป็นคนตั้งขึ้นจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ Hydro แปลว่า น้ำ และ Ponos แปลว่า ทำงานหรือแรงงาน รวมกันเป็น การทำงานที่เกี่ยวกับน้ำ เขาเป็นคนแรกที่นำเทคนิคการปลูกพืชแบบนี้ไประยุกต์ใช้เพื่อปลูกพืช ในราวต้นศตวรรษที่ 19 จากการทดลองของเขาพบว่าวิธีนี้สามารถปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด อาจแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การปลูกพืชโดยให้ส่วนของรากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง หรือปลูกบนวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดินและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารหรือน้ำปุ๋ย วัสดุที่ใช้ปลูกพืชอาจจะเป็น สารอนินทรีย์ เช่น กรวด ทราย หิน ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้นมา เช่น เพอร์ไลท์ (Perlite) เวอร์มิคิวไลท์ (Vermiculite) ร็อกวูล (Rockwool) หรือสารอินทรีย์เช่น พีท (Peat) มอส (Moss) ขี้เลื่อย เปลือกไม้ เปลือกมะพร้าวสับ ขุยมะพร้าว แกลบสดและถ่านแกลบ เป็นต้น (โสระยา, 2544) การปลูกพืชในโรงเรือน ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมสามารถผลิตพืชผลบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศเป็นอันดับต้นๆของโลก มีหลายครั้งที่เราถูกกีดกันทางการค้าด้วยมาตรการต่างๆ เช่นการปนของผลผลิต สารเคมีตกค้าง เนื่องจากการทำเกษตรสมัยใหม่มีการใช้สารเคมีจำนวนมากเพื่อกำจัดโรคและแมลง ที่สะสมในแปลงปลูก เพราะการปลูกพืชชนิดเดิมๆซ้ำๆ ทำให้เกิดการสะสมของโรคและแมลง ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัด เมื่อสินค้าส่งออกได้น้อยลง และหลายประเทศเริ่มหันมาสนใจเรื่องอาหารปลอดภัยทำให้เราผู้เป็นประเทศเกษตรกรรมต้องผลิตพืชผลทางการเกษตรที่ต้องตระหนักถึงคุณภาพที่ห่วงใยสุขภาพผู้บริโภค และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะการการผลิตพืชที่ปลอดสารพิษ ระบบการผลิตต้องสามารถควบคุมปัจจัยการผลิต การจัดการปุ๋ยและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตตรงต่อเวลา และขนส่งได้เร็ว ดังนั้นจึงมีการพัฒนาการปลูกพืชในโรงเรือนเพิ่มมากขึ้น ดิเรก (2546) ศึกษาพบว่าประเทศไทยมีการปลูกพืชในสภาพควบคุมสิ่งแวดล้อมโดยใช้โรงเรือน 3 รูปแบบ คือ 1) โรงเรือนที่ปิดปังพืชที่ปลูกทั้งหมดที่ควบคุมอุณหภูมิได้ 2) โรงเรือนที่ปิดปังพืชทั้งหมดที่ควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ และ 3) โรงเรือนที่มีหลังคาทรงสูงครอบแปลงปลูก 10. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย ชัยสิทธิ์ ทองจู, จรัล เห็นพิทักษ์ และวีระศรี หวังการ. การศึกษาและพัฒนาวัสดุปลูกจาก วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39 สาขาพืช 5-7 กุมภาพันธ์ 2544. กรุงเทพฯ, 2544, หน้า 20-27 (605 หน้า) ดวงสมร ตุลาพิทักษ์, เทพฤทธิ์ ตุลาพิทักษ์ และแก้วใจ อ้อชัยภูมิ. 2008. การทดสอบประสิทธิภาพของแท่งเพาะชำจากวัสดุเหลือทิ้ง KKU Res J 13 (8) : September 2008 ดิเรก ทองอร่าม. 2546. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. ทัศนุพันธุ์ กุศลสถิตย์. 2542. ความเป็นไปได้ในการใช้เม็ดดินเผาเป็นวัสดุปลูก. ปัญหาพิเศษปริญญาเอก ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 32 น. วิทยา สุริยาภณานนท์. 2534. อาหารและเครื่องปลูกของพืชสวน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 188 น. สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพคุณภาพสูง เอกสารเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดภูมิปัญญา หมอดินเกษตรกรไทย กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูลออนไลน์ [เข้าถึงข้อมูลได้ที่] www.ldd.go.th (10 กันยายน 2557) สำนักงานอ้อยและน้ำตาล. 2553. แหล่งข้อมูลออนไลน์ [เข้าถึงข้อมูลได้ที่] http://www.ocsb.go.th/th/faq/index.php (11 กันยายน 2557) โสระยา ร่วมรังสี. 2544. การผลิตพืชสวนแบบไร้ดิน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 88 น. Gruda,N.,Ch. Sippel and W.H.Schnizler.200
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :6477 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายนพดล ชุ่มอินทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
-ทัศนุพันธุ์ กุศลสถิตย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด