รหัสโครงการ : | R000000226 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Identity Development Guideline of The Students of Nakhon Sawan Rajabhat University |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | อัตลักษณ์ของบัณฑิต |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาเทคนิคการศึกษา สาขาวิชาทดสอบและวิจัยทางการศึกษา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 250100 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 250,100.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 11 พฤศจิกายน 2558 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 10 พฤศจิกายน 2559 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาสังคมวิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | สังคมวิทยา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | อุดมการณ์สำคัญตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่บัญญัติไว้ว่า “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาการ เพื่อความเจริญก้าวหน้ามั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู” นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยังมี “อุดมการณ์ราชภัฏ” เป็นเครื่องกำกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีภาพลักษณ์ของการเป็น “มหาวิทยาลัยไทยเพื่อความเป็นไท” ซึ่งมีนัยสำคัญต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัย 4 ประการคือ ประการแรก การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีนัยถึงการตระหนักรู้ถึงคุณค่าว่าอะไรถูก ผิด ชั่ว ดี อะไรควรจะเป็น ไม่ควรจะเป็น รู้ที่จะรักษาคุณค่าดีงามถูกต้องไว้ จึงเป็นแนวทางนำเข้าสู่ความก้าวหน้าในการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในองค์มรรคที่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ ประการที่สอง การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งจิตสำนึกเพื่อชุมชนและสังคม เรียนรู้เข้าใจตนเองและสังคม โดยมีจุดหมายปลายทางที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาชุมชนและสังคม ประการที่สาม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งความมั่งคั่งทางปัญญา มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแก่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสามารถเลือกสรรกลั่นกรองภูมิปัญญาอื่นๆและวิทยาการต่างๆจากทั่วโลก มาปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการและแก้ปัญหาของมหาวิทยาลัยและสังคม สร้างสรรค์ความก้าวหน้าในการพัฒนาองค์ความรู้และการพัฒนาบัณฑิต ประการที่สี่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นไท มีอิสระในการคิด (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2545 : 7-11)
สำหรับในส่วนของการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งได้กำหนดอัตลักษณ์ของบัณฑิตของสถาบันไว้ต่างๆกัน ซึ่ง อัตลักษณ์มีนัยถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความเป็นมาของมหาวิทยาลัย และเจตนารมณ์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสรรค์นั้น ได้กำหนด อัตลักษณ์ของบัณฑิตไว้ 4 คุณลักษณะได้แก่ 1.การทำงานเป็นทีม 2.ชำนาญเทคโนโลยี 3.ซื่อสัตย์ สุจริต และ 4.จิตสาธารณะต่อชุมชนและท้องถิ่น
แต่เท่าที่ผ่านมาคุณภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ยังเป็นข้อสงสัยของสังคม อาทิ คุณภาพของบัณฑิต หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนท้องถิ่น บุคลากรขาดความเอาใจใส่เรื่องชุมชนท้องถิ่นอย่างจริงจัง ผลงานวิจัยมีปัญหาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งการได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอ เป็นต้น (กองบรรณาธิการ. 2542 : 10 – 13 ) สอดคล้องกับกฤษณพงศ์ กีรติกร. (2552 : 1) ที่ได้กล่าวถึงการที่สถาบันอุดมศึกษาหรือ มหาวิทยาลัย ถูก สังคม วิพากษ์ วิจารณ์ และชาว มหาวิทยาลัยก็ วิพากษ์ วิจารณ์ กันเอง อยู่ ต่อเนื่องจากมิติของประโยชน์ (Utilitarian) สถาบัน อุดมศึกษาถูกวิพากษ์ว่าผลิตนักศึกษาไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ขาดความรู้และทักษะของอาชีพและโลกยุคใหม่จากมิติของปัญญาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สามารถเป็นเหมือนประทีปทางปัญญาและสำนึกสังคมอย่างที่คาดหวัง จาก มหาวิทยาลัยในอุดมคติจากมิติของจิตวิญญาณและปฏิสัมพันธ์กับสังคมชาวอุดมศึกษาก็ถูกวิพากษ์ว่ามั่วสุมอยู่แต่ภายในสถาบันอุดมศึกษาไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสังคมขาดนึกและอุดมการณ์ทางสังคมรู้วิชาแต่ไม่รู้สังคมอาจจะเข้ากับสภาวะที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ใช้คำว่า การศึกษาแบบลอยตัว (Non-engaged education) จนกระทั่งปัจจุบันมีการวิพากษ์ว่าอุดมศึกษาอยู่ในสภาพวิกฤติดูไปแล้วเหมือนกับอุดมศึกษาเป็นสิ่งชำรุดทางสังคม (Social defects)
นอกจากนี้จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2557 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เอง ในองค์ประกอบทางด้านการผลิตบัณฑิต พบว่าผลการประเมินโดยเฉลี่ย 2.48 ซึ่งเป็นระดับที่ต้องปรับปรุง และคณะกรรมการมีข้อเสนอแนะภาพรวมเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบัณฑิตไว้ว่า มหาวิทยาลัยมีการกำหนดอัตลักษณ์ของนักศึกษาไว้ทำให้ทุกภาคส่วนดำเนินการตามพันธกิจมุ่งไปสู่การสร้างนักศึกษาให้มีคุณสมบัติตามอัตลักษณ์ที่กำหนด รวมทั้งมีข้อเสนอแนะที่ควรพัฒนา สรุปได้ว่า แผนของมหาวิทยาลัยควรกำหนดธงหรือเป้าหมายการพัฒนาด้านต่างๆไว้ให้ครอบคลุม เพื่อให้แผนเป็นเครื่องมือในการพัฒนามหาวิทยาลัยได้อย่างแท้จริง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานทุกระดับและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2557 : 182-183)
??? จากสภาพการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ควรที่จะต้องทำการศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งยังนำไปสู่การสร้างและพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัยให้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสาธารณะชนต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1. เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2. เพื่อตรวจสอบคุณภาพของตัวชี้วัดอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
3. เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งขอบเขตของการวิจัยตามวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้
ระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของตัวชี้วัดอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น
1) กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร อาจารย์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 17 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง
2) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2558 จาก 5 คณะวิชา ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 คน
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ
3. ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน
4. ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
ตัวแปรแฝงในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 4 ตัวได้แก่ 1.การทำงานเป็นทีม หมายถึง บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีความสามารถที่เป็นนักปฏิบัติงานโดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม เป็นทั้งผู้นำและผู้ตามทีดีในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและอยู่ร่วมกับสังคม ได้เป็นอย่างดี 2.ชำนาญเทคโนโลยี หมายถึง บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีทักษะ มีความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้น ติดต่อสื่อสารและมีการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ให้สูงขึ้น สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี 3.ซื่อสัตย์ สุจริต หมายถึง บัณฑิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ จะต้องเป็นคนที่ซื่อสัตย์ สุจริต ในการทำงาน ไม่คดโกง ไม่สมยอมในการทุจริต ไม่รับผลประโยชน์ที่มิควรได้ ตรงต่อเวลาและซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น อย่างสม่ำเสมอ และ 4.จิตสาธารณะต่อชุมชนและท้องถิ่น หมายถึง บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จะต้องเป็นคนที่มีจิตอาสา รักที่จะช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตให้บริการ รู้จักเสียสละ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนตน รักและให้ความช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชนและท้องถิ่น อย่างสม่ำเสมอ มีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตนเอง ตระหนักถึงปัญหา และรักษาระเบียบวินัยของชุมชนและสังคม
และตัวแปรสังเกต ซึ่งได้แก่ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ระยะที่ 2 การกำหนดแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2558 จาก 5 คณะวิชา ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2558 จาก 5 คณะวิชา ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม จำนวนคณะละ 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 25 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง
2. ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 9 เดือน
3. ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | - |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 896 ครั้ง |