รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000221
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การวิเคราะห์พัฒนาการคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร TQF ระดับปริญญาตรีเพื่อการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: การศึกษาภาคตัดขวาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :An Analysis of Students Quality Development from TQF Curriculum, Bachelor Degree for Improving to ASEAN Community: Cross Sectional Study, Nakhon sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :60000
งบประมาณทั้งโครงการ :60,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันระบบการศึกษาไทยมีการนำแนวคิดเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Qualification Framework) มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สืบเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และเพื่อเป็นการพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งของการประกันคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ดำเนินการโครงการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันของผู้เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา ทั้งสถาบันอุดมศึกษา ผู้ควบคุมมาตรฐาน และผู้ใช้บัณฑิต ทั้งนี้เพื่อให้มีหลักประกันที่ชัดเจนในคุณภาพของบัณฑิตระดับอุดมศึกษา อีกทั้งเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้แต่ละสถาบันมีการพัฒนาคุณภาพที่สูงขึ้น โดยเริ่มมีการเตรียมการในปี 2545 และได้มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ซึ่งถือเป็นการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF: HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยระดับคุณวุฒิ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระกับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตามระดับคุณวุฒิ (Levels of Qualifications) ซึ่งทุกระดับคุณวุฒิจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ของคุณวุฒิประเทศไทยมีอย่างน้อย 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Morals) 2.ด้านความรู้ (Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical, Communication and Information Technology Skills) โดยแต่ละระดับคุณวุฒิจะมีรายละเอียดของมาตรฐานผลการเรียนรู้ลุ่มลึกตามระดับคุณวุฒิที่สูงขึ้น สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศถูกกำหนดให้พัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่หลักสูตรที่มีพัฒนาในปี 2553 เป็นต้นมา ซึ่งอาจเป็นที่รู้จักในชื่อหลักสูตร TQF และหากนับถึงปัจจุบันปีการศึกษา 2558 มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่พัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติแล้ว จึงเป็นที่น่าสนใจว่านักศึกษาที่เรียนตามหลักสูตร TQF มีพัฒนาการคุณภาพของผู้เรียนเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกในกลุ่มสมาชิกอาเซียน หรือ ASEAN Economics Community: AEC เป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN) ที่มีการร่วมมือกันทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อประชาชนในประเทศสมาชิก และเป็นชุมชนที่มีการเชื่อมโยงระหว่าง สินค้า ประชาชน การลงทุน และนวัตกรรมที่สามารถเดินทางไปมาอย่างไม่มีอุปสรรคทั่วทั้งภูมิภาค โดยมีเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวก ประชาชนอาเซียนสามารถเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน และใช้ทรัพยากรของประเทศสมาชิกได้อย่างสะดวก ง่ายดายมากยิ่งขึ้น (สิรินันทฺ กิตติสุขสถิต, 2555) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีนั้น ย่อมมีผลโดยตรงกับนักศึกษาที่กำลังศึกษาและจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนอกจากความสามารถทางภาษาที่เป็นปัจจัยหลักในการติดต่อสื่อสาร ความสามารถด้านอื่นย่อมเป็นปัจจัยสำคัญด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Competitiveness Study) หากจะพิจารณามาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแล้วนั้นย่อมมีความสำคัญต่อการเป็นทรัพยากรที่มีฝีมือที่จะสามารถก้าวเข้าสู่โลกยุคการค้าแบบแข่งขันอย่างเสรีได้ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าในปัจจุบันผู้เรียนตามหลักสูตร TQF คุณภาพผลการเรียนรู้เป็นไปตามที่คาดหวังของหลักสูตรมากน้อยเพียงใด ซึ่งการวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend analysis) หรือการศึกษาพัฒนาการโดยการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross sectional study) จะสามารถให้คำตอบและจะเป็นข้อมูลที่จะใช้ในการเร่งพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร การบริหารจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน หรือปัจจัยอื่นเพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสามารถประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามความมุ่งหมายของหลักสูตร
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในด้านความรู้ (Knowledge) การสื่อสาร (Communication) และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skills) 2. เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ดังนี้ 1.1 ด้านความรู้ (Knowledge) 1.2 ด้านการสื่อสาร (Communication) 1.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skills) 3. เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของผู้เรียนตามหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเพื่อการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาคุณภาพคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ใน 3 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านความรู้ (Knowledge) เป็นความรู้เกี่ยวกับหลักและทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน ตระหนักในองค์ความรู้และทฤษฎีในสาขาวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ย (GPA) ภาคการศึกษาที่2 ปีการศึกษา 2558 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 1.2 ด้านทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) เป็นความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพพิจารณาจากผลการสอบประกันคุณภาพภาษาต่างประเทศ (Ellis Quiz Test) 1.3 ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skills) เป็น ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ประจำในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและความคิด พิจารณาจากผลการสอบประกันคุณภาพคอมพิวเตอร์ 2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติที่กำลังศึกษาในปี การศึกษา 2558 ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 40 สาขาวิชา กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยภาคตัดขวาง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 10 สาขา รวม 986 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ผลการวิจัยครั้งนี้จะทำให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการคุณภาพผู้เรียนซึ่งพิจารณาจากผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร TQF ระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนคสวรรค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้บริหารระดับคณะ และมหาวิทยาลัยที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผู้เรียน 2. ผลการวิจัยทำให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำแนกตามกลุ่มสาขาซึ่งจะเป็นข้อมูลเชิงลึกในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้สอดคล้องกับสภาพที่เกิดขึ้นจริง 3. ผลการวิจัยจะทำให้ทราบจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในด้านความรู้ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4. ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย และผู้บริหารระดับคณะสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบายพัฒนาคุณภาพนักศึกษาในด้านการสอบประกันคุณภาพภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF: HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระกับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ หลักการสำคัญของ TQF 1. เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการวัด การศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม 2. มุ่งเน้นที่ Learning Outcomes ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต 3. มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน 4. เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี 5. มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใด ๆ ของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้ในสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดหลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายโดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิตซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจเป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ TQF วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ TQF นอกจากจะให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของ TQF ตามที่เสนอข้างต้นแล้ว มีวัตถุประสงค์อื่นที่สำคัญอีก ดังนี้ 1. เพื่อเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชา หรือแต่ละคุณวุฒิ 2. เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเอง โดยบัณฑิตในสาขาสาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯ มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้น ๆ 3. เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations) ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข้งและความพร้อมในการจัดการศึกษา โครงสร้างและองค์ประกอบของ TQF 1. ระดับคุณวุฒิ (Levels of Qualifications) 2. มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ของคุณวุฒิของประเทศไทย 3. มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิ 4. ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละคุณวุฒิ 5. จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรและระยะเวลาในการศึกษา 6. การกำหนดชื่อคุณวุฒิ 7. การเทียบโอนความรู้หรือประสบการณ์ ระดับคุณวุฒิ (Levels of Qualifications) ระดับที่ 1 อนุปริญญา (3 ปี) ระดับที่ 2 ปริญญาตรี ระดับที่ 3 ประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับที่ 4 ปริญญาโท ระดับที่ 5 ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ระดับที่ 6 ปริญญาเอก มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ของคุณวุฒิประเทศไทยมีอย่างน้อย 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Morals) 2. ด้านความรู้ (Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical, Communication and Information Technology Skills) ในบางสาขาวิชาอาจกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ให้มีมากกว่า 5 ด้านก็ได้ เช่น บางสาขาวิชา เน้นทักษะของการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ก็จะเพิ่มมาตรฐานผลเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skills) หรือบางสาขาวิชาต้องการใช้บัณฑิตของสาขาวิชามีมาตรฐานผลการเรียนรู้มากกว่าหรือพิเศษกว่าบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นก็สามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ของระดับที่ 2 ปริญญาตรี 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถจัดการปัญหาทางด้านจริยธรรมและวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม ด้วยวิถีทางที่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างสอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ แสดงออกถึงพฤติกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางค่านิยมและการจัดลำดับความสำคัญ แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ และบูรณาการได้อย่างสมดุลเหมาะสมระหว่างวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลและวัตถุประสงค์ของกลุ่ม เป็นอย่างที่ดีต่อผู้อื่น มีภาวะผู้นำในการทำงาน ในกลุ่มต่าง ๆ ในครอบครัว และชุมชน 2. ด้านความรู้ มีองค์ความรู้ในสาขา/สาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ รู้หลักและทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน ตระหนักในองค์ความรู้และทฤษฎีในสาขาวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ที่เรียนในหลักสูตรวิชาชีพมีความคุ้นเคยกับพัฒนาการล่าสุดฝนระดับแนวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขา/สาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ ในหลักสูตรที่เตรียมนักศึกษาเพื่อปฏิบัติงานวิชาชีพ นักศึกษาจะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ เทคนิค ข้อบังคับ รวมถึงวิธีการปรับปรุงให้ทันตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 3. ด้านทักษะทางปัญญา มีความสามารถในการทำวิจับ เข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล ค้นหาแนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่กว้างขวาง และประยุกต์ข้อสรุปเพื่อแก้ไขปัญหาและข้อโต้แย้งที่แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำจากภายนอก สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนและเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงองค์ความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ภาคปฏิบัติและผลกระทบที่ตามมาจากการตัดสินใจ สามารถประยุกต์ทักษะและความเข้าใจอันถ่องแท้เหล่านี้ในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสาขา/สาขาวิชาที่เรียนสำหรับหลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษาสามารถใช้กระบวนการปฏิบัติงานที่ทำอยู่เป็นประจำได้อย่างเหมาะสม และแยกแยะสถานการณ์ที่ต้องการการแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ พร้อมกับนำเอาความรู้ความเข้าใจในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้เพื่อสนองตอบต่อสถานการณ์เช่นนั้น 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีส่วนช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในกลุ่มที่มีสถานการณ์ไม่ชัดเจน และต้องการนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการดำเนินการ แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องการความสนใจและกล่าวถึงปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อศึกษาปัญหาและข้อโต้แย้งแล้ว สามารถระบุเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมเป็นประจำในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและความคิด การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ การบริการ/การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ "ป้องกัน" ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ (จุลสาร สมศ. ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2544) นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ดังนี้ คาลาดีน (Calardyne, 1998 อ้างถึงใน ชวนจิต เอี่ยมฉ่ำ, 2545: 8-9) ได้กล่าวว่า คำว่า คุณภาพ (quality) และการประกันคุณภาพ (quality assurance) มีคำจำกัดความแตกต่างกัน แต่ก็เกี่ยวเนื่องกันคำว่า คุณภาพเกี่ยวพันกับ คำว่า อะไร (what) ซึ่งจะมีความเกี่ยวโยงไป ถึงมาตรฐานและวัตถุประสงค์ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จ วรภัทร์ ภู่เจริญ (2541: 13) ได้สรุปพัฒนาการของคุณภาพไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ไม่มีการตรวจสอบ โดยอาศัยความไว้วางใจกันในการแลกเปลี่ยนสินค้า ขั้นที่ 2 มีการตรวจสอบ (Inspection) โดยหน่วยตรวจสอบ ตรวจผลิตภ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิดและหลักการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์พัฒนาการ และการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาว คุณภาพของผู้เรียนที่จำเป็นต่อการเป็นประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN Economics Community: AEC พัฒนาการคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตร TQF - ด้านความรู้ (Knowledge) จุดเด่นและจุดที่ต้องพัฒนาของคุณภาพผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา - ด้านการสื่อสาร (Communication) - การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skills)
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยประสานขอข้อมูลทุติยภูมิ จากสำนักและหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ข้อมูลผลการเรียนเฉลี่ย จากฝ่ายทะเบียนและประมวลผล ข้อมูลผลการสอบประกันคุณภาพภาษาอังกฤษ จากศูนย์ภาษา และข้อมูลผลการสอบประกันคุณภาพคอมพิวเตอร์จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีและสารสนเทศ โดยรวบรวมข้อมูลของนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 สาขา แต่ละสาขารวมข้อมูลชั้นปีที่ 1-4 รวม 986 ตัวอย่าง 2. ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูล ทั้งด้านความรู้ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยี 3. วิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ระดับคุณภาพ ผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้โดยการวิเคราะห์ค่า ความถี่ และร้อยละ ส่วนที่ 2 การ วิเคราะห์เพื่อศึกษาพัฒนาการ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของคุณภาพ ผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ด้านความรู้ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยการ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของตัวแปร คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของตัว ระหว่างช่วงเวลาโดยการศึกษาภาคตัดขวางใช้ข้อมูลนักศึกษาปีที่ 1, 2,3 และ 4 และใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated-measure ANOVA) การวิเคราะห์ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ และการวิเคราะห์ โมเดลโค้งพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ส่วนที่ 3 การ วิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของคุณภาพผู้เรียนโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ คาดหวังของหลักสูตร
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :279 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวธิดากุล บุญรักษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด