รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000217
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาเครื่องอบผลิตภัณฑ์แผ่นแปะกันยุงสำหรับเด็กวัยทารกจากสมุนไพรไทย 6 ชนิด โดยการประยุกต์การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Heat Treatment Development for Thailand Herbal Mosquito repellent Patches Six Species for Infancy by Application of Hybrid Solar dryer for Mosquito repellent Patches.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ยุง กันยุง สมุนไพร เครื่องอบแห้ง พลังงานแสงอาทิตย์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :90000
งบประมาณทั้งโครงการ :90,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 มกราคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :01 มกราคม 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมอุสาหกรรมวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันพบว่าในโลกนี้มียุงประมาณ 3,450 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบว่ามียุงอย่างน้อย 412 ชนิด มีชื่อเรียกตามภาษาไทยแบบง่าย ๆ คือ ยุงลาย ( Aedes ) ยุงรำคาญ ( Culex ) ยุงก้นปล่อง ( Anopheles ) ยุงเสือหรือยุงลายเสือ ( Mansonia ) และ ยุงยักษ์หรือยุงช้าง ( Toxorhynchites ) ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 มม. บางชนิดมีขนาดเล็กมาก 2-3 มม. และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มม. ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือดก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้ เช่น ยุงยักษ์ เลือดที่กินเข้าไปถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นลงการย่อยจะใช้เวลานานออกไป เมื่อไข่สุกเต็มที่ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน (ปรัชญา สมบูรณ์, 2558) โรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ เจ อี (Japanese Encephalitis) และโรคมาลาเรีย ไข้เดงกี่ และ ไข้เลือดออกเดงกี่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี สายพันธุ์ 2501 (Dengue virus 2501) โดยมียุงลาย เป็นพาหะนำโรค ยุงลายมีลักษณะสีขาวสลับดำ มีแหล่งเพาะพันธุ์คือ แหล่งน้ำขังที่ใสและนิ่ง พบชุกชุมมากในฤดูฝน ใช้เวลาฟักตัวจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 9-12 วัน ยุงลายเป็นยุงที่ออกดูดเลือดตอนกลางวัน น้ำลายของยุงลายจะมีเชื้อไวรัสเดงกี่ปนเปื้อนอยู่ เชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่กระแสเลือดของคนที่ถูกยุงลายกัดได้ พบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ โดยผู้ใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนพบน้อยกว่าเด็ก แต่เมื่อใดถ้าอาการเกิดรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วมักจะพยากรณ์โรคเลวร้ายกว่าผู้ป่วยเด็ก โดยเชื้อไวรัสจะทำให้มีอาการไข้สูง ถ้ามีไข้เพียงอย่างเดียวจะเรียกว่าไข้เดงกี่ แต่ถ้าตรวจเลือดพบภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดออกง่ายและมีการรั่วของพลาสมา จะเรียกว่าไข้เลือดออกเดงกี่ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกเดงกี่อาจมีน้อยมากคือมีไข้เพียงอย่างเดียว หรืออาจรุนแรงมากจนเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนป้องกันไวรัสนี้ การรักษาจึงเน้นที่อาการและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ การติดต่อเกิดจากยุงลาย (Aedes aegypti ) โดยยุงลายตัวเมียจะดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ช่วงที่มีไข้สูง ซึ่งจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือด และเชื้อจะเพิ่มจำนวนในยุงนาน 8-10 วัน จากนั้นเชื้อจะไปสะสมอยู่ที่ต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงลายกัดคนจะมีน้ำลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ปนออกมาด้วยทำให้สามารถ แพร่เชื้อให้คนที่ถูกกัดคนต่อไปได้อายุขัยยุงลายชนิดนี้ประมาณ 30-45วัน โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Japanese encephalitis virus (JEV) ที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากพบรายงานผู้ป่วยครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2476 และพบผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยมียุงรำคาญ เป็นพาหะนำโรค ยุงรำคาญมีสีน้ำตาลหรือดำ เพาะพันธุ์ใน แหล่งน้ำขังนิ่งจะเป็นน้ำสะอาดหรือสกปรกก็ได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการทำนาร่วมกับการทำปศุสัตว์ ยุงชนิดนี้พบชุกชมที่ภาคเหนือถึงร้อยละ 80 ระยะฟักตัวจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยนาน 9-13 วัน ยุงรำคาญมักจะออกหากินในเวลากลางคืน ผู้ติดเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบ เจ อี เป็นได้ทุกช่วงอายุแต่พบมากในเด็กแรกเกิดถึง14 ปี โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน เชื้อไวรัสจะทำให้สมองเกิดการอักเสบ มีโอกาสสมองพิการและเสียชีวิตได้มาก ความสำคัญจึงอยู่ที่การป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ ซึ่งนอกจากจะต้องระวังไม่ให้ยุงกัดแล้ว ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปี สำหรับผู้ที่ติดเชื้อนี้แล้ว ไม่มียารักษาเฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการให้ยาตามอาการและการระวังไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน เมื่อป่วยเป็นโรคนี้แล้วพบว่าอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50 โรคมาลาเรีย หรือ ไข้จับสั่น หรือ ไข้ป่า เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม (Plasmodium spp.) ที่ก่อโรคในมนุษย์มีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ P. falciparum, P. vivax, P. malariae, P. ovale และ P. knowlesi โรคนี้มีประวัติการระบาดมายาวนานกว่า 1,500 ปี จนเมื่อปีพ.ศ. 2423 แพทย์ทหารชาวฝรั่งเศสชื่อ Charles-Louis-Alphonse Laveran ได้ตรวจพบเชื้อพลาสโมเดียมในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ยุงที่เป็นพาหะนำโรคนี้คือ ยุงก้นปล่อง ในสกุล Anopheles ซึ่งเป็นยุงที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลหรือดำ จุดสังเกตคือเวลาเกาะแล้วดูดเลือดจะยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนังประมาณ 45 องศา พบชุกชุมมากในฤดูฝน ช่วงฟักตัวจนถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลาระยะเวลานาน 9-12 วันโดยยุงก้นปล่องสายพันธุ์ dirus จะพบในป่าทึบโดยใช้ แอ่งน้ำขังนิ่ง น้ำสะอาด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และมักจะออกมาดูดเลือดคนในเวลากลางคืน ส่วนยุงก้นปล่องสายพันธุ์ minimus พบบริเวณชายป่า มีแหล่งเพาะพันธุ์คือลำธารที่มีน้ำสะอาดไหลเอื่อยๆ ยุงสายพันธุ์หลังนี้จะออกมากัดคนในช่วงเวลาหัวค่ำจนถึงดึก เด็กที่ได้รับเชื้อจะอาการหนักกว่าผู้ใหญ่ ปัจจุบันมียาฆ่าเชื้อพลาสโมเดียมเฉพาะ แต่พบว่าเชื้อดื้อยาค่อนข้างมาก ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ดีสำหรับป้องกันโรคมาเลเรีย สมุนไพรของประเทศไทยหลายชนิดสามารถป้องกันยุงได้ โดยการสกัดน้ำมันจากสมุนไพรไทย ใช้ ทาผิวหนัง เนื่องจากมีกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ทำให้ยุงบินหนีไปไม่เข้ามาใกล้ (มีคุณสมบัติเป็น repellent) จึงช่วยป้องกันมิให้ยุงกัด สารที่สกัดได้จากพืช เช่น น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันจากต้นน้ำมันเขียว (ยูคาลิปตัส) ใบกระเพรา ต้นสะเดาหรือเมล็ดสะเดา ลูกมะกรูด สะระแหน่ กระเทียม เป็นต้น จากปัญหาข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงได้คิดค้นที่จะพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมเพื่ออบแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพร โดยเลือกกลิ่นสมุนไพรไทย 6 ชนิดขึ้นมา และนำวัตถุดิบสมุนไพรไทยแต่ละชนิดนำมาสกัดน้ำมันและออกแบบสร้างเครื่องอบพลังแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมที่สามารถอบน้ำมันสกัดจากสมุนไพรให้กับแผ่นแปะกันยุงซึ่งสามารถใช้แปะเสื้อทารกวัยแรกเกิดเพื่อกันยุงได้ เพื่อลดการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะให้กับเด็กวัยทารก อีกทั้งลดการใช้สารเคมีในผลิตภัณฑ์กันยุง รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน อีกทั้งยังเป็นการประยุกต์การใช้พลังงานทดแทนให้เกิดประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการ :นำวัตถุดิบสมุนไพรไทยแต่ละชนิดนำมาสกัดน้ำมันและออกแบบสร้างเครื่องอบพลังแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมที่สามารถอบน้ำมันสกัดจากสมุนไพรให้กับแผ่นแปะกันยุงซึ่งสามารถใช้แปะเสื้อทารกวัยแรกเกิดเพื่อกันยุงได้ เพื่อลดการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะให้กับเด็กวัยทารก อีกทั้งลดการใช้สารเคมีในผลิตภัณฑ์กันยุง รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน อีกทั้งยังเป็นการประยุกต์การใช้พลังงานทดแทนให้เกิดประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อออกแบบสร้างเครื่องอบพลังแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมที่สามารถอบน้ำมันสกัดจากสมุนไพรให้กับแผ่นแปะกันยุง 2. เพื่อหาอัตราการใช้พลังงานในการอบแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด 3. เพื่อวิเคราะห์คุณภาพแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด 4. เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องอบพลังแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมที่สามารถอบน้ำมันสกัดจากสมุนไพรให้กับแผ่นแปะกันยุง
ขอบเขตของโครงการ :โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นในกระบวนการอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมให้กับแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด และทดสอบวิเคราะห์คุณภาพแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด โดยการทดสอบและวิเคราะห์ของแพทย์ - ออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมให้กับแผ่น แปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด - ทดสอบสมรรถนะของเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมให้กับ แผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด - วิเคราะห์คุณภาพของแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด - วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็น พลังงานร่วมให้กับแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรไทย 6 ชนิด สำหรับเด็กวัยทารกด้วยเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วม 2. ได้แผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรไทยทั้ง 6 ชนิด 3. เกิดความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับเด็กวัยทารกระหว่างบุคลากรของสถาบันศึกษาและบุคลากรของโรงพยาบาล 4. สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเผยแพร่แก่กลุ่มชุมชนอื่นๆที่สนใจได้ 5. ได้ต้นแบบแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรไทยจากกลิ่นสมุนไพรต่างๆทั้ง 6 ชนิด 6. ได้ผลการวิเคราะห์และทดสอบการคงอยู่ของกลิ่นสมุนไพรและคุณภาพการกันยุง 7. ได้ผลการทดสอบอัตราการใช้พลังงานในการอบแผ่นแปะกันยุงด้วยเครื่องอบพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วม 8. ได้ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องอบแผ่นแปะด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 9. ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้านสมุนไพรไทยสำหรับเด็กวัยทารก 10. ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติหรือตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการที่มีคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิตรวจประเมินงาน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :วิไล รังสาดทอง. 2543. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 500 น. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.36/2546) ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา htpp://www.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps36_46.pdf (20 กรกฎาคม 2547). วาธิณี อินทรพงษ์นุวัฒน์. 2550 การปรับปรุงกระบวนการผลิตหลักของการผลิตข้าวแตนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันทรายหลวง. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร โครงการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สุขฤดี สุขใจ ศึกษาการอบแห้งกล้วยน้ำว้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบอบแห้งกล้วยน้ำว้าด้วยแสงอาทิตย์ เพื่อประเมินสมรรถนะของเครื่องอบแห้งเมื่อใช้พลังงานแสงอาทิตย์และ LPG พบว่า เมื่อทดลองอบแห้งกล้วยน้ำว้า ประสิทธิภาพกฎข้อที่หนึ่งของระบบอบแห้งแปรตามความชื้นเฉลี่ยของกล้วยและอัตราการไหลจำเพาะของอากาศในลักษณะเชิงเส้น และเมื่อทำการทดลองอบแห้งแบบต่อเนื่อง คือ การอบแห้งแต่ละงวดใช้เวลาเท่ากับ 66 ชั่วโมง และการอบแห้งแบบหมุนเวียน คือ แต่ละงวดเฉลี่ยเท่ากับ 6 วัน วันละ 6 ชั่วโมง พบว่า การอบแห้งแบบต่อเนื่องมีความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะสูงกว่าการอบแห้งแบบหมุนเวียน ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของตัวเก็บรังสีมีค่าเฉลี่ย 24.7 % อัตราการไหลของอากาศมีค่า 0.27 kg/s และรังสีรวมของแสงอาทิตย์มีค่าเฉลี่ย 706.3 W/ m2 ณัฐวุฒิ ดุษฎี ศึกษาความเป็นไปได้ในการอบแห้งผลไม้ด้วยเครื่องอบแห้งแบบตู้ โดยใช้พลังงาแสงอาทิตย์มาใช้เสริมร่วมกับพลังงานไฟฟ้า และหาสภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้ง ซึ่งศึกษาผลของตัวแปรต่างๆที่มีต่ออัตราการอบแห้ง คือ อุณหภูมิอากาศร้อนที่ใช้อบแห้ง อัตราการไหลจำเพาะของอากาศ อัตราการไหลเวียนกลับของอากาศ โดยพิจารณาจากคุณภาพของกล้วยน้ำว้าที่อบแห้ง และพลังงานที่ใช้ โดยการทดลองใช้ตู้อบแห้งทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 0.6?1.0?1.0 m2 ตัวเก็บรังสีขนาด 2.5 m2ทำการอบแห้งกล้วยน้ำว้าที่สภาวะต่างๆ พบว่า อุณหภูมิที่ใช้อบแห้งประมาณ 60?C อัตราการไหลจำเพาะของอากาศ คือ 10.5 kg/h-kg dry bananas สัดส่วนการนำอากาศอบแห้งกลับมาใช้ใหม่ประมาณ 90-95 % และเวลาที่เหมาะสมในการอบแห้ง คือ 48 ชั่วโมง จะทำให้ได้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ดี คือ สีไม่เข้ม ผิวจะแห้งสม่ำเสมอ มีการหดตัวน้อย ไส้ไม่แข็งและผิวเป็นมันเยิ้ม ศิรินุช จินดารักษ์ ศึกษาสมรรถนะของเครื่องอบแห้งแบบโมดุล เพื่อการอบปลาหมึกโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลักและใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสริม สำหรับให้ความร้อนแก่อากาศอบแห้ง ซึ่งเครื่องอบแห้งมีการไหลของอากาศแบบบังคับ โดยใช้พัดลมดูดอากาศและมีระบบหมุนเวียนอากาศที่ผ่านการอบแห้งแล้วกลับมาใช้ใหม่ จากผลการทดลองอบแห้ง ณ สภาวะต่าง ๆ พบว่า สภาวะอบแห้งที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งปลาหมึกประมาณ 10 kg ที่ความชื้นเริ่มต้นประมาณ82 % w.b. จนกระทั่งเหลือความชื้นสุดท้ายประมาณ 25 % w.b. รวมเวลาที่ใช้ในการอบแห้ง 14 ชั่วโมง โดยการอบแห้งแบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรกทำการอบแห้งที่อุณหภูมิ 60?C เป็นเวลา 5 ชั่วโมงซึ่งความชื้นจะลดลงเหลือประมาณ 54 % w.b. และอบแห้งต่อในช่วงที่ 2 ที่อุณหภูมิ 40?C เป็นเวลา 9ชั่วโมง อัตราการไหลของอากาศที่ใช้ในการอบแห้ง คือ 0.488 kg/s และอัตราการไหลเวียนกลับของอากาศที่ผ่านการอบแห้งมีค่า 80 % ของอากาศที่ใช้ในการอบแห้งทั้งหมด Joshi and Philip ออกแบบสร้างเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ใช้หัวหอมเป็นวัสดุอบแห้ง ซึ่งเงื่อนไขการทดลอง คือ ทำการอบแห้งเพื่อลดความชื้นของหัวหอมจาก 85 % มาตรฐานเปียกเหลือ 8 % w.b. อุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้ง 60?C ใช้เวลาในการอบแห้ง 4-7 ชั่วโมง ซึ่งระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้ตัวเก็บรังสีขนาด 2 m2 จำนวน 36 ตัวและใช้ไฟฟ้าสำรองในการช่วยเพิ่มอุณหภูมิ วีนัส ทัดเนียม ออกแบบสร้างเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบใช้ไอน้ำเป็นพลังงานเสริม มีความจุ 100 kg ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์จะประกอบด้วยเครื่องอบแห้งจำนวน 4 เครื่อง แต่ละเครื่องประกอบด้วยแผงรับรังสีอาทิตย์ขนาด 73 m2 พัดลมขนาด 2 kW เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างไอน้ำและอากาศและห้องอบแห้ง ทำการอบแห้งผัก ได้แก่ หอมแบ่ง กะหล่ำปลี ขิง ขมิ้น กล้วยดิบ กะเพราและพริก เพื่อลดความชื้นของผักจากความชื้นเริ่มต้น 75-85 % w.b.จนกระทั่งเหลือ 5-10 % w.b. อุณหภูมิที่ใช้ควบคุมในห้องอบแห้งคือ 60?C จากผลการทดลองพบว่า ใช้เวลาในการอบแห้ง 4-6 ชั่วโมง ประสิทธิภาพของตู้อบแห้งมีค่า 43 % ประสิทธิภาพของแผงรับรังสี 53 % พลังงานในการอบแห้งเฉลี่ยต่อวัน 8270 MJ เป็นพลังงานแสงอาทิตย์ 4,545 MJ เป็นพลังงานจากไอน้ำ 3,427 MJ และเป็นพลังงานจากไฟฟ้า 300 MJ งานวิจัยเกี่ยวกับการอบแห้งโดยใช้ปั๊มความร้อน ประทาน รักปรางค์ ศึกษาการอบแห้งด้วยระบบปั๊มความร้อน โดยทำการทดลองอบแห้งมะละกอแช่อิ่มแบบกะ (Batch Drying) ในระบบปิด ปั๊มความร้อนใช้เครื่องอัดไอขนาดมอเตอร์ 1.3 กิโลวัตต์ สามารถทำความเย็นได้ 3.517 กิโลวัตต์ความเย็น หรือ ขนาด 1 ตันความเย็นโดยใช้ R-22 เป็นสารทำความเย็น น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ก่อนอบแห้งอยู่ในช่วง 100-132 กิโลกรัม อุณหภูมิอากาศอบแห้ง 50?C อัตราการไหลเชิงมวลจำเพาะของอากาศ 21 กิโลกรัมอากาศแห้งต่อชั่วโมง-กิโลกรัม มะละกอแห้ง (0.45 kg/s) สัดส่วนอากาศที่ไหลข้ามเครื่องทำระเหย (Evaporator by-pass Air Ratio) เท่ากับ 0.63 หรือ 63 % การอบแห้งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยเริ่มต้นอบแห้ง ที่ขนาดชิ้น 6.35?15?2.54 ลูกบาศก์เซนติเมตร ความชื้นเริ่มต้น 74 % มาตรฐานแห้ง และช่วงที่สองนำมะละกอ แช่อิ่มจากช่วงแรกมาลดขนาดเป็น0.98?0.98?0.98 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วนำไปอบต่อจนเหลือความชื้นสุดท้าย 23 % มาตรฐานแห้ง พบว่า ความสิ้นเปลืองพลังงานเท่ากับ 9.93 เมกะจูลต่อกิโลกรัม น้ำที่ระเหย หรือ SMER (Specific Moisture Extraction) เท่ากับ 0.363 กิโลกรัมน้ำที่ระเหยต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง อัตราการไหลจำเพาะของอากาศต่ำสุด 21.42 กิโลกรัมอากาศแห้งต่อชั่วโมง-กิโลกรัม มะละกอแช่อิ่มแห้ง ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะของระบบปั๊มความร้อน (Coefficient of Performance for heat pump : COPhp) มีค่าระหว่าง 3.71-3.85 และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอบแห้งมะละกอแช่อิ่มทั้งหมดเท่ากับ 12.8 บาทต่อกิโลกรัมน้ำที่ระเหย แยกเป็นค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเท่ากับ 5.3 บาทต่อกิโลกรัมน้ำที่ระเหย ค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาเท่ากับ 1.4 บาทต่อกิโลกรัมน้ำที่ระเหย และค่าใช้จ่ายในการสร้างเครื่องอบแห้งเท่ากับ 6.1 บาทต่อกิโลกรัมน้ำที่ระเหย บัญชา ยาทิพย์ ศึกษาหาแนวทางการอบแห้งที่เหมาะสม โดยใช้ปั๊มความร้อนและใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบใกล้สมดุลของ Soponronnarit โดยพิจารณาถึงความสิ้นเปลืองพลังงาน ซึ่งตัวแปรที่ทำการศึกษา คือ อัตราการไหลจำเพาะของอากาศในช่วง 10-20 m3/min-m3 paddy อุณหภูมิอากาศอบแห้ง 36-50 ?C อุณหภูมิอากาศแวดล้อม 30?C ค่าความชื้นสัมพัทธ์เปลี่ยนแปลงค่าที่ 70 % RH และ 80 % RH ความชื้นเริ่มต้นของข้าวเปลือกอยู่ในช่วง 18-24 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก และระดับความสูงของชั้นข้าวเปลือกเปลี่ยนแปลงที่ 0.5 m และ 1 m ตามลำดับ พบว่า อัตราการอบแห้งขึ้นอยู่กับอัตราการไหลจำเพาะของอากาศ และอุณหภูมิของอากาศอบแห้ง ที่อัตราการไหลจำเพาะของอากาศต่ำ อุณหภูมิสูง จะสิ้นเปลืองพลังงานต่ำ และที่ระดับความสูงของชั้นข้าวเปลือกสูง จะสิ้นเปลืองพลังงานสูง จุดที่เหมาะสมในการอบแห้งคือ ที่อัตราการไหลจำเพาะของอากาศ 12 m3/min-m3 paddy อุณหภูมิ 49 ?C ความสูงของชั้นข้าวเปลือก 0.5 m อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศแวดล้อมเท่ากับ 30 ?C และ 70 %RH ตามลำดับ ใช้เวลาในการอบแห้ง 24 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการอบแห้งข้าวเปลือกโดยลดความชื้นจาก 24 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 14 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก เท่ากับ 61.50บาทต่อตัน จากการศึกษางานวิจัยต่าง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการอบแห้งผักและผลไม้ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และปั้มความร้อน เนื่องจากระบบปั๊มความร้อนมีหลักการทำงานคล้ายกับระบบทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ โดยเป็นการออกแบบสร้างเครื่องอบแห้งและศึกษาทดสอบหาสภาวะที่ เหมาะสมในการอบแห้ง ซึ่งพอสรุปได้ว่า อุณหภูมิอากาศที่ใช้ในการอบแห้งผลไม้ประมาณ 40-65 ?Cสัดส่วนอากาศหมุนเวียนกลับ 80 % นอกจากนี้ พบว่า ในการศึกษาสมรรถนะของเครื่องอบแห้งจะพิจารณาถึงพารามิเตอร์ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ความสามารถในการอบแห้ง ซึ่งกำหนดด้วยค่าอัตราการ อบแห้ง (Drying rate) ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งอธิบายด้วยค่า SMER (Specific Moisture Extraction Rate) และค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ SEC (Specific Energy Consumption)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :งานวิจัยนี้สนใจที่จะศึกษาแนวทางในการนำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ประโยชน์ในการเป็นพลังงานเสริมร่วมกับพลังงานความร้อนที่ได้จากพลังงานไฟฟ้า ในการอบแห้งผลิตภัณฑ์แผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพร เพราะความร้อนเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการอบแห้ง เพราะมีอุณหภูมิประมาณ 35-42?Cเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานและเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการประยุกต์ใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :- ออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมให้กับแผ่น แปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด - ทดสอบสมรรถนะของเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมให้กับ แผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด - วิเคราะห์คุณภาพของแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด - วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็น พลังงานร่วมให้กับแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :คณะผู้วิจัยจึงได้คิดค้นที่จะพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมเพื่ออบแผ่นแปะกันยุงจากสมุนไพร โดยเลือกกลิ่นสมุนไพรไทย 6 ชนิดขึ้นมา และนำวัตถุดิบสมุนไพรไทยแต่ละชนิดนำมาสกัดน้ำมันและออกแบบสร้างเครื่องอบพลังแสงอาทิตย์เป็นพลังงานร่วมที่สามารถอบน้ำมันสกัดจากสมุนไพรให้กับแผ่นแปะกันยุงซึ่งสามารถใช้แปะเสื้อทารกวัยแรกเกิดเพื่อกันยุงได้ เพื่อลดการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะให้กับเด็กวัยทารก อีกทั้งลดการใช้สารเคมีในผลิตภัณฑ์กันยุง รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน อีกทั้งยังเป็นการประยุกต์การใช้พลังงานทดแทนให้เกิดประสิทธิภาพ
จำนวนเข้าชมโครงการ :988 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายถิรายุ ปิ่นทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นางสาวพิมพ์ชนก ปิ่นทอง บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด