รหัสโครงการ : | R000000215 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรจากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Herbal cosmetic development from medicinal plants in Nakhon Sawan province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | Herbal cosmetic |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 89000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 0.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 19 กุมภาพันธ์ 2559 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 18 กุมภาพันธ์ 2560 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | วิทยาศาสตร์ชีวภาพ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | อาหารจัดเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ส่วนเครื่องดื่มต่างๆ นั้นก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละวันมนุษย์ทุกคนต้องมีการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเป็นประจำ ประกอบกับในปัจจุบันนี้ มีอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายประเภทให้เลือกบริโภค ซึ่งข้อดีก็คือเป็นทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นในการบริโภค แต่ทว่า อาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในรูปของสารปรุงแต่งรสชาติ เช่น โซเดียม น้ำตาล ฯลฯ เป็นจำนวนมาก และหากผู้บริโภคมีการบริโภคเป็นประจำก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย และส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพพลานามัยของมนุษย์ ทำให้เกิดโรค หรือความผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว มนุษย์ในปัจจุบันนี้ จึงเริ่มหันกลับไปสนใจแหล่งวัตถุดิบจากธรรมชาติ ซึ่งได้แก่สมุนไพรนานาชนิดโดยสมุนไพรถูกใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในธรรมชาติที่มีการศึกษาและใช้บริโภคมาช้านานแล้ว เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณในการรักษาโรค เสริมสร้าง และบำรุงร่างกาย ดังนั้นสมุนไพรจึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
จากการสำรวจสมุนไพรที่พบในจังหวัดนครสวรรค์นั้น พบว่า มีความหลากหลายของสมุนไพรหลากหลายชนิด โดยสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณในด้านการรักษาโรค เสริมสร้าง และบำรุงร่างกายแตกต่างกันไป คณะผู้จัดทำ จึงได้เลือกสมุนไพรที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นมาผลิตเป็นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพโดยใช้วิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งนอกจากจะทำให้ประชาชนสามารถนำไปผลิตและบริโภคได้ในครัวเรือนแล้ว ประชาชนยังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้อีกด้วย |
จุดเด่นของโครงการ : | เป็นงานวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมเกษตรกรรมให้มีรายได้จากการพัฒนาผฃิตภัณฑ์สมุนไพรขึ้นมา |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากพืชสมุนไพร
2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ชุมชน
3. เพื่อทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อการบริโภคในครัวเรือนภายในชุมชนหรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ |
ขอบเขตของโครงการ : | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ที่มีขอบเขตของการวิจัยดังนี้
1. ประชากรที่ศึกษา คือ พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์
2. พื้นที่เป้าหมาย คือ บ้านเนื้อร้อน อ.หนองข่าหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
3. ทำการสืบค้นข้อมูลในด้านฤทธิ์ของพืชสมุนไพรที่มีในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อคัดเลือกพืชสมุนไพรที่น่าสนใจและเหมาะสมต่อการนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทต่างๆ
4. ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรแก่ประชาชนในกลุ่มอำเภอเป้าหมาย
5. ช่วงเวลาของการวิจัยตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – เดือนกันยายน 2559
6. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
6.1 พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์
6.2 ฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์
6.3 ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์
6.4 การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์
7. พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งได้มาจากธรรมชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และมีสรรพคุณในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้ พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหาร |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์
2. สถานศึกษานำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์สำหรับการจัดการเรียนการสอน
3. เผยแพร่องค์ความรู้ในเวทีวิชาการและวารสารวิจัย
4. บุคคลที่สนใจ สามารถใช้ประโยชน์จากสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง
5. สร้างรายได้ให้กับชุมชนที่ได้รับการบริการทางด้านวิชาการจากการทำวิจัย |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | ณรงค์ศักดิ์ (2553) พัฒนาครีมและโลชั่นจากสมุนไพร กานพลู ย่านางแดง ยูคาลิปตัส และ สาบหมา สามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดี มีความคงตัวที่ 4 ?C และมีความเป็นพิษต่อเซลล์น้อย
ศศิธร และคณะ (2554) ได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการประทินผิวจากมะขามออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น สบู่ก้อนมะขาม สบู่เหลวมะขาม และโลชันมะขาม
สุมนต์ทิพย์ (2556) ได้ทำการศึกษาและผลิตสบู่สมุนไพรใสกลีเซอรีนผสมสารสกัดสมุนไพร เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันรำข้าว และทำการสกัดสาระสำคัญจากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆเช่น ว่านหางจระเข้ มะกรูด มะขาม ใบบัวบก ฝรั่ง และน้ำผึ้ง และเมื่อนำสบู่มาทำการทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subsitilis, Escherichia coli และ Staphylococcus epidermidis พบว่าทุกสูตรสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ที่ความเข้มข้นของสารต่างๆกันไป ยกเว้นสบู่กลีเซอรีนใสผสมน้ำผึ้งที่ไม่สามารถยังยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | สรรพคุณที่มีอยู่มากมายในพืชสมุนไพรต่อการนำมารักษาสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่ด้วยการขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอย่างแท้จริงในฤทธิ์ของพืชสมุนไพรทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการที่จะนำทรัพยากรพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าในท้องถิ่นของตนเองมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ งานวิจัยนี้จึงได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาและรวบรวมข้อมูลในส่วนของฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาหรือมีผู้ศึกษาไว้แล้ว เพื่อที่ทีมวิจัยจะสามารถคัดเลือกพืชสมุนไพรที่น่าสนใจและนำมาพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร เป็นต้น พร้อมทั้งมีการออกแบบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้สวยงาม และทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆสู่ชุมชนในท้องถิ่นต่อไป |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากพืชสมุนไพร
1. ประชากรที่ศึกษา
- พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์
2.กลุ่มตัวอย่าง
- พืชสมุนไพรทั้งแบบสดและแห้ง ในจังหวัดนครสวรรค์
3. วิธีการศึกษา
ทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรบางชนิด
- ทำการสกัดสมุนไพรที่ได้ทำการคัดเลือกไว้ด้วยตัวทำละลายน้ำนำมาระเหยตัวทำละลายด้วยเครื่อง evaporator เก็บสารสกัดที่ได้ในขวดสีชา และนำไปเก็บรักษาในตู้เย็นเพื่อรอทดสอบ
- นำสารสกัดที่ได้จากพืชสมุนไพรต่างๆและยาปฏิชีวนะ (ตัวควบคุมบวก) มาทำการทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังด้วยวิธี agar well diffusion บ่มเพาะเชื้อ สังเกตวงใส
- นำสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค มาหาค่า Minimal inhibitory concentration (MIC) และ ค่า Minimal bactericidal concentration (MBC)
พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพร
- การสร้างผลิตภัณฑ์กลุ่มทำความสะอาดจากพืชสมุนไพร โดยทำการคัดเลือกพืชสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งเชื้อก่อโรค มาทำการพัฒนาเป็น แชมพู ครีมนวดผม โฟมล้างหน้า สบู่ และโทนเนอร์ เป็นต้น |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | เป็นงานวืจัยที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนที่ทีมวิจัยออกให้บริการวิชาการในดเานการพัฒนาเครื่องสำอางสมุนไพร |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 836 ครั้ง |