รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000213
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยสมุนไพรจากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Herbal essential oils development from medicinal plants in Nakhon Sawan province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :essential oils, Medicinal plants
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :92000
งบประมาณทั้งโครงการ :92,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีพืชสมุนไพรอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์แสดงให้เห็นถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ภายในประเทศ ทั้งนี้การนำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้นเป็นไปได้หลายทิศทาง เช่น การใช้เพื่อบำรุงสุขภาพ ใช้เพื่อการบำบัดอาการของโรคเบื้องต้นหรือแม้แต่โรคร้ายแรงบางชนิด นำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร/เครื่องดื่ม เป็นต้น การทำวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการที่จะนำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการนำพืชสมุนไพรหอมมาใช้เพื่อเสริมความงามไปพร้อมๆกับการบำบัดสุขภาพ (aromatherapy) ดังนั้นพืชหอมสมุนไพรจึงเป็นกลุ่มพืชสมุนไพรเป้าหมายในการทำวิจัยในครั้งนี้ โดยการนำพืชกลุ่มดังกล่าวมาทำการสกัดน้ำมันหอมระเหย (essential oils) ตั้งแต่อดีตคนไทยรู้จักที่จะนำกลุ่มพืชสมุนไพรหอมที่มีน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้มาใช้ประโยชน์กันอยู่แล้ว ดังเช่น การนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ร่วมกับกระบวนการนวดเพื่อคลายอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เพิ่มความกระชับของกล้ามเนื้อหรือผิวหนัง ลดความเครียดจากกลิ่นหอมของสมุนไพร หรือจะเป็นการใช้น้ำมันนวดหอมระเหยร่วมกับการนวดกดจุด ก็จะทำให้เกิดความผ่อนคลายไปพร้อมๆกับการกระตุ้นระบบประสาทส่วนต่างๆ ช่วยให้เลือดลมมีการหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี เป็นต้น ทั้งนี้กลุ่มพืชสมุนไพรหอมนั้นเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีและมักจะมีการปลูกเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ และพืชดังกล่าวนี้ก็จะผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรและมีการบรรจุเป็นหีบห่อที่สวยงามและส่งกลับมาขายยังประเทศไทยในราคาที่ค่อนข้างแพง ทำให้เกิดการเสียดุลให้แก่ชาวต่างชาติ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นวิจัยเพื่อที่จะคัดเลือกพืชสมุนไพรหอมที่มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญและเหมาะสมเพื่อนำมาทำการผลิตน้ำมันหอมระเหย และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนเป้าหมายได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อเพื่อธุรกิจในชุมชนที่เกี่ยวกับการนวดบำบัด เมื่อสามารถผลิตน้ำมันหอมระเหยใช้ได้เองก็จะทำให้เกิดการลดต้นทุนในการประกอบการทำให้มีรายได้มากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :เป็นวานวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมเกษตรกรรมให้มีรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ชุมชน 3. เพื่อทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้เองในธุรกิจนวดบำบัดหรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ที่มีขอบเขตของการวิจัยดังนี้ 1. ประชากรที่ศึกษา คือ พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 2. พื้นที่เป้าหมาย คือ บ้านเนื้อร้อน อ.หนองข่าหย่าง จังหวัดอุทัยธานี 3. ทำการสืบค้นข้อมูลในด้านฤทธิ์ของพืชสมุนไพรที่มีในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อคัดเลือกพืชสมุนไพรที่น่าสนใจและเหมาะสมต่อการนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทต่างๆ 4. ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรแก่ประชาชนในกลุ่มอำเภอเป้าหมาย 5. ช่วงเวลาของการวิจัยตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – เดือนกันยายน 2559 6. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 6.1 พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.2 ฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.3 ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.4 การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 7. พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งได้มาจากธรรมชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และมีสรรพคุณในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้ พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหาร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 2. สถานศึกษานำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์สำหรับการจัดการเรียนการสอน 3. เผยแพร่องค์ความรู้ในเวทีวิชาการและวารสารวิจัย 4. บุคคลที่สนใจ สามารถใช้ประโยชน์จากสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง 5. สร้างรายได้ให้กับชุมชนที่ได้รับการบริการทางด้านวิชาการจากการทำวิจัย
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ปิยะณัฐ (2549) พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากพืชสมุนไพรเทียนข้าวเปลือก เปราะหอม และอบเชย นั้นมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ อัครสิทธิ์ และสุกิจ (2554) ได้ทำการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยว่านกระแจะจันทร์ น้ำมันหอมระเหยว่านธรณีเย็น น้ำมันหอมระเหยสาวหลง และน้ำมันหอมระเหยว่ากระชายดำ และนำมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่า พืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด มีฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :สรรพคุณที่มีอยู่มากมายในพืชสมุนไพรต่อการนำมารักษาสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่ด้วยการขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอย่างแท้จริงในฤทธิ์ของพืชสมุนไพรทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการที่จะนำทรัพยากรพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าในท้องถิ่นของตนเองมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ งานวิจัยนี้จึงได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาและรวบรวมข้อมูลในส่วนของฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาหรือมีผู้ศึกษาไว้แล้ว เพื่อที่ทีมวิจัยจะสามารถคัดเลือกพืชสมุนไพรที่น่าสนใจและนำมาพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น น้ำมันสมุนไพรนวดสปา พร้อมทั้งมีการออกแบบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้สวยงาม และทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆสู่ชุมชนในท้องถิ่นต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรเพื่อการทำสปา 1 ประชากรที่ศึกษา - พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ 2 กลุ่มตัวอย่าง - พืชสมุนไพรทั้งแบบสดและแห้ง ในจังหวัดนครสวรรค์ 3 วิธีการศึกษา ทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรบางชนิด - ทำการสกัดสมุนไพรที่ได้ทำการคัดเลือกไว้ด้วยตัวทำละลายน้ำนำมาระเหยตัวทำละลายด้วยเครื่อง evaporator เก็บสารสกัดที่ได้ในขวดสีชา และนำไปเก็บรักษาในตู้เย็นเพื่อรอทดสอบ - นำสารสกัดที่ได้จากพืชสมุนไพรต่างๆและยาปฏิชีวนะ (ตัวควบคุมบวก) มาทำการทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังด้วยวิธี agar well diffusion บ่มเพาะเชื้อ สังเกตวงใส - นำสารสกัดที่ได้มาทำการทดสอบกิจกรรมในการต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระด้วยวิธีที่เหมาะสม พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร - วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร วิธีที่ 1 นำสมุนไพรที่สนใจและให้ฤทธิ์ทางชีวภาพที่เหมาะสมมาล้างทำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง จากนั้นจึงนำสมุนไพรมาทำการหั่นเป็นแว่นบางๆ นำไปทอดในน้ำมันพืชหรือใช้น้ำมันมะพร้าวโดยการใช้ไฟในระดับที่อ่อนที่สุด ทำการทอดจนเหลืองแยกกากออกนำน้ำมันหอมระเหยมาทำการเก็บไว้ในขวดสีชา วิธีที่ 2 สมุนไพรที่สนใจและให้ฤทธิ์ทางชีวภาพที่เหมาะสมมาล้างทำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง จากนั้นจึงนำสมุนไพรมาทำการหั่นเป็นแว่นบางๆ นำทำการสกัดด้วยตัวทำละลายน้ำโดยการต้มที่ไฟอ่อนๆประมาณ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง แยกน้ำและกากออกจากกัน นำน้ำมาทำการระเหยออกไปให้กลายเป็นไอด้วยเครื่อง evaporator นำน้ำมันที่ได้เก็บใส่ขวดสีชา นำน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดมาทำการผสมกันตามสูตรต่างๆ เพื่อใช้เป็นการน้ำมันนวดเพื่อบำบัดอาการหรือนวดเพื่อเสริมความงาม ตามความพึงพอใจของผู้รับการนวด
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นงานวิจัยที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนที่ทีมวิจัยออกไปให้บริการวิชาการในโครงการ การพัฒนาน้ำมันหอมระเหยพืชสมุนไพรเพื่อการทำสปา
จำนวนเข้าชมโครงการ :2800 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
ดร.ธีระยุทธ เตียนธนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
ดร.ติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นายพันธ์ระวี หมวดศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นางสาวเพชรัชน์ อ้นโต บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
ดร.เรณู อยู่เจริญ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด