รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000208
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้สู่ชุมชน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Product Development from Medicinal Plants for Monetization to Community
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :พืชสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :270000
งบประมาณทั้งโครงการ :270,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :พืชสมุนไพรไทย (Thai Medicinal Plants) จัดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนานในการนำมาใช้เป็นยาบำบัดรักษาอาการของโรครวมถึงการนำมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการประกอบอาหาร คนไทยในสังคมเกษตรกรรมตั้งแต่อดีตจึงสำนึกถึงคุณค่า และใช้ประโยชน์จากสมุนไพรกันอย่างกว้างขวาง และครบทุกมิติ สมุนไพรจึงเป็นองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าและได้รับการสืบทอดสืบกันมา แม้ในบางช่วงเวลาความสนใจที่จะใช้สมุนไพรอาจลดลงไปบ้าง เนื่องจากอิทธิพลของระบบการแพทย์แบบตะวันตก แต่ในภาวะปัจจุบันทั่วโลกได้หันมาใส่ใจกับระบบแพทย์ทางเลือก (Alternative Medical System) ซึ่งเป็นการผสมผสานทั้งระบบแพทย์แผนใหม่และการใช้สมุนไพรแผนโบราณกันอย่างกว้างขวาง และได้นำวิถีแห่งธรรมชาติมาใช้เป็นทางออกด้านสุขภาพอนามัย โดยการส่งเสริมการใช้ ปลูก และแปรรูปสมุนไพรกันอย่างแพร่หลาย จังหวัดนครสวรรค์เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่มีสภาพป่าที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ป่ายังคงมีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ดังนั้นพืชสมุนไพรที่เจริญตามธรรมชาติ ในจังหวัดนครสวรรค์ จึงถูกเลือกเป็นพืชกลุ่มเป้าหมายในการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สะดวกและง่ายต่อการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันทั้งการนำมาบำบัดรักษาอาการของกลุ่มโรคเบื้องต้น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และในรูปแบบของอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้สมุนไพรที่ได้รับความสนใจในการนำมาแปรรูปนั้นต้องเป็นกลุ่มพืชสมุนไพรที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนถึงประสิทธิภาพในการนำมาใช้ประโยชน์รวมถึงเป็นกลุ่มพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่เหมาะสม ในปัจจุบันพืชสมุนไพรจัดได้ว่าเป็นกลุ่มพืชที่ได้รับความนิยมในการมานำมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย เนื่องด้วยสรรพคุณที่มีอยู่อย่างมากมายในพืชสมุนไพร เช่น สารเคมีในพืชสมุนไพรมีฤทธิ์ป้องกันและต้านจุลินทรีย์ก่อโรค ขจัดสารพิษ ควบคุมระดับฮอร์โมน ต้านอนุมูลอิสระ ประกอบกับประเทศไทยที่ถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ย่อมส่งผลให้เกิดความหลากหลายของพืชสมุนไพร การวิจัยในครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ในการที่จะนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายในการนำไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรแก่ประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้และสามารถที่จะพึ่งพาตนเองในการแปรรูปพืชสมุนไพรให้เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อนำมาใช้บำบัดโรคเบื้องต้นที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รวมถึงต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเชิงการค้าเพื่อเป็นการสร้างรายได้ต่อชุมชนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :เป็นงานวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมเกษตรกรรมให้มีรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร และการนำไปใช้ประโยชน์ 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ชุมชน
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ที่มีขอบเขตของการวิจัยดังนี้ 1. ประชากรที่ศึกษา คือ พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 2. พื้นที่เป้าหมาย คือ บ้านเนื้อร้อน อ.หนองข่าหย่าง จังหวัดอุทัยธานี 3. ทำการสืบค้นข้อมูลในด้านฤทธิ์ของพืชสมุนไพรที่มีในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อคัดเลือกพืชสมุนไพรที่น่าสนใจและเหมาะสมต่อการนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทต่างๆ 4. ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรแก่ประชาชนในกลุ่มอำเภอเป้าหมาย 5. ช่วงเวลาของการวิจัยตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – เดือนกันยายน 2559 6. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 6.1 พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.2 ฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.3 ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.4 การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 7. พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งได้มาจากธรรมชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และมีสรรพคุณในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้ พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหาร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ข้อมูลประโยชน์ของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้สารสกัดจากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ ที่วสามารถยับยั้งจุลอนทรีย์ก่อโรคและมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ 3. ได้เครื่องสำอางสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยสมุนไพร และอาหาร/เครื่องดื่มสมุนไพร 4. ชุมชนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างง่ายๆได้ด้วยตัวเอง สร้างรายได้สู่ชุมชน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ณรงค์ศักดิ์ (2553) พัฒนาครีมและโลชั่นจากสมุนไพร กานพลู ย่านางแดง ยูคาลิปตัส และ สาบหมา สามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดี มีความคงตัวที่ 4 ?C และมีความเป็นพิษต่อเซลล์น้อย ศศิธร และคณะ (2554) ได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการประทินผิวจากมะขามออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น สบู่ก้อนมะขาม สบู่เหลวมะขาม และโลชันมะขาม สุมนต์ทิพย์ (2556) ได้ทำการศึกษาและผลิตสบู่สมุนไพรใสกลีเซอรีนผสมสารสกัดสมุนไพร เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันรำข้าว และทำการสกัดสาระสำคัญจากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆเช่น ว่านหางจระเข้ มะกรูด มะขาม ใบบัวบก ฝรั่ง และน้ำผึ้ง และเมื่อนำสบู่มาทำการทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subsitilis, Escherichia coli และ Staphylococcus epidermidis พบว่าทุกสูตรสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ที่ความเข้มข้นของสารต่างๆกันไป ยกเว้นสบู่กลีเซอรีนใสผสมน้ำผึ้งที่ไม่สามารถยังยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ ปิยะณัฐ (2549) พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากพืชสมุนไพรเทียนข้าวเปลือก เปราะหอม และอบเชย นั้นมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ อัครสิทธิ์ และสุกิจ (2554) ได้ทำการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยว่านกระแจะจันทร์ น้ำมันหอมระเหยว่านธรณีเย็น น้ำมันหอมระเหยสาวหลง และน้ำมันหอมระเหยว่ากระชายดำ และนำมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่า พืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด มีฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ ชวนพิศ และสมพงษ์ (2552) ได้ทำการศึกษากรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตชาใบรางจืด พบว่าที่กระบวนการแปรรูปชาใบรางจืดที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง เป็นอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมต่อการอบใบรางจืดและเมื่อนำชาใบรางจืดมาผสมกับน้ำผึ้งและน้ำส้มจี๊ด พบว่า การใช้ชาใบรางจืดในอัตราส่วนร้อยละ 45 นั้นทำให้ผลิตภัณฑ์ชาที่ได้นั้นมีรสชาติ กลิ่น รส เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สุนันทา (2556) ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชาจากเปลือกกล้วยน้ำว้า ซึ่งมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย เช่น ช่วยในการขับถ่ายป้องกันมะเร็งในลำไส้ ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดในสมองตีบ ลดระดับโคเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร จิราภัทร และคณะ (2558) ได้ทำการพัฒนาชาสมุนไพรใบย่านาง 3 สูตร ได้แก่ ใบย่านางล้วน ใบย่านางผสมเก๊กฮวย และใบย่านางผสมใบเตย พบว่าทั้ง 3 สูตรให้ผลการยับยั้งและต่อต้านการเกิดสารอนุมูลได้เป็นอย่างดี นันทิยา และปรีดาวรรณ (2551) ได้ทำการศึกษาการผลิตแยมสับปะรดที่ผสมสมุนไพรหลากหลายชนิด เช่น ผงบุก ขิง และว่านหางจระเข้ เป็นต้น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :สรรพคุณที่มีอยู่มากมายในพืชสมุนไพรต่อการนำมารักษาสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่ด้วยการขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอย่างแท้จริงในฤทธิ์ของพืชสมุนไพรทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการที่จะนำทรัพยากรพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าในท้องถิ่นของตนเองมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ งานวิจัยนี้จึงได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาและรวบรวมข้อมูลในส่วนของฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาหรือมีผู้ศึกษาไว้แล้ว เพื่อที่ทีมวิจัยจะสามารถคัดเลือกพืชสมุนไพรที่น่าสนใจและนำมาพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น ยาสมุนไพร เครื่องสำอางสมุนไพร น้ำมันสมุนไพรนวดสปา และเครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น พร้อมทั้งมีการออกแบบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้สวยงาม และทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆสู่ชุมชนในท้องถิ่นต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยระยะที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากพืชสมุนไพร 1.1 ประชากรที่ศึกษา - พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ 1.2 กลุ่มตัวอย่าง - พืชสมุนไพรทั้งแบบสดและแห้ง ในจังหวัดนครสวรรค์ 1.3 วิธีการศึกษา ทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรบางชนิด - ทำการสกัดสมุนไพรที่ได้ทำการคัดเลือกไว้ด้วยตัวทำละลายน้ำนำมาระเหยตัวทำละลายด้วยเครื่อง evaporator เก็บสารสกัดที่ได้ในขวดสีชา และนำไปเก็บรักษาในตู้เย็นเพื่อรอทดสอบ - นำสารสกัดที่ได้จากพืชสมุนไพรต่างๆและยาปฏิชีวนะ (ตัวควบคุมบวก) มาทำการทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังด้วยวิธี agar well diffusion บ่มเพาะเชื้อ สังเกตวงใส - นำสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค มาหาค่า Minimal inhibitory concentration (MIC) และ ค่า Minimal bactericidal concentration (MBC) พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพร - การสร้างผลิตภัณฑ์กลุ่มทำความสะอาดจากพืชสมุนไพร โดยทำการคัดเลือกพืชสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งเชื้อก่อโรค มาทำการพัฒนาเป็น แชมพู ครีมนวดผม โฟมล้างหน้า สบู่ และโทนเนอร์ เป็นต้น การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรเพื่อการทำสปา 2.1 ประชากรที่ศึกษา - พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ 2.2 กลุ่มตัวอย่าง - พืชสมุนไพรทั้งแบบสดและแห้ง ในจังหวัดนครสวรรค์ 2.3 วิธีการศึกษา ทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรบางชนิด - ทำการสกัดสมุนไพรที่ได้ทำการคัดเลือกไว้ด้วยตัวทำละลายน้ำนำมาระเหยตัวทำละลายด้วยเครื่อง evaporator เก็บสารสกัดที่ได้ในขวดสีชา และนำไปเก็บรักษาในตู้เย็นเพื่อรอทดสอบ - นำสารสกัดที่ได้จากพืชสมุนไพรต่างๆและยาปฏิชีวนะ (ตัวควบคุมบวก) มาทำการทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังด้วยวิธี agar well diffusion บ่มเพาะเชื้อ สังเกตวงใส - นำสารสกัดที่ได้มาทำการทดสอบกิจกรรมในการต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระด้วยวิธีที่เหมาะสม พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร - วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร วิธีที่ 1 นำสมุนไพรที่สนใจและให้ฤทธิ์ทางชีวภาพที่เหมาะสมมาล้างทำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง จากนั้นจึงนำสมุนไพรมาทำการหั่นเป็นแว่นบางๆ นำไปทอดในน้ำมันพืชหรือใช้น้ำมันมะพร้าวโดยการใช้ไฟในระดับที่อ่อนที่สุด ทำการทอดจนเหลืองแยกกากออกนำน้ำมันหอมระเหยมาทำการเก็บไว้ในขวดสีชา วิธีที่ 2 สมุนไพรที่สนใจและให้ฤทธิ์ทางชีวภาพที่เหมาะสมมาล้างทำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง จากนั้นจึงนำสมุนไพรมาทำการหั่นเป็นแว่นบางๆ นำทำการสกัดด้วยตัวทำละลายน้ำโดยการต้มที่ไฟอ่อนๆประมาณ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง แยกน้ำและกากออกจากกัน นำน้ำมาทำการระเหยออกไปให้กลายเป็นไอด้วยเครื่อง evaporator นำน้ำมันที่ได้เก็บใส่ขวดสีชา นำน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดมาทำการผสมกันตามสูตรต่างๆ เพื่อใช้เป็นการน้ำมันนวดเพื่อบำบัดอาการหรือนวดเพื่อเสริมความงาม ตามความพึงพอใจของผู้รับการนวด การวิจัยระยะที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากพืชสมุนไพร 3.1 ประชากรที่ศึกษา - พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ 3.2 กลุ่มตัวอย่าง - พืชสมุนไพรทั้งแบบสดและแห้ง ในจังหวัดนครสวรรค์ 3.3 วิธีการศึกษา ทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรบางชนิด - ทำการสกัดสมุนไพรที่ได้ทำการคัดเลือกไว้ด้วยตัวทำละลายน้ำนำมาระเหยตัวทำละลายด้วย เครื่อง evaporator เก็บสารสกัดที่ได้ในขวดสีชา และนำไปเก็บรักษาในตู้เย็นเพื่อรอทดสอบ - นำสารสกัดที่ได้จากพืชสมุนไพรต่างๆและยาปฏิชีวนะ (ตัวควบคุมบวก) มาทำการทดสอบการ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในทางเดินอาหารด้วยวิธี agar well diffusion บ่มเพาะเชื้อ สังเกตวงใส - นำสารสกัดที่ได้มาทำการทดสอบกิจกรรมในการต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระด้วยวิธีที่เหมาะสม พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากพืชสมุนไพร - ผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร นำส่วนของพืชสมุนไพรที่สนใจและให้ฤทธิ์ทางชีวภาพที่เหมาะสม เช่น เปลือก ใบ เป็นต้น นำชิ้นส่วนดังกล่าวมาทำความสะอาดนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นนำไปอบที่อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสม จากนั้นนำไปบดด้วยขนาดแรงที่เหมาะสมทำการบรรจุใส่ถุง นำไปทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสเป็นคะแนนสำหรับชาแต่ละชนิด - ผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ผสมสมุนไพร นำผลไม้ที่เลือกไว้มาทำการหั่นหรือปั่นแบบหยาบๆ ผสมเพคติน น้ำตาลทรายในอัตราส่วนที่เหมาะสมคนให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำและตั้งไฟอ่อนๆ คนตลอดเวลา ใส่ส่วนประกอบอื่นๆเช่น เกลือ และใส่ผงสมุนไพรที่คัดเลือกไว้ เคี่ยวจนน้ำแห้งและเนื้อแยมหนืด นำไปทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสเป็นคะแนนสำหรับแยมแต่ละชนิด การวิจัยระยะที่ 4 - ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งหมดจะต้องผ่านการนำมาทดสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ตรวจหาจำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิต (total viable aerobic microbial count) ตรวจสอบเชื้อราโดยวิธี plate method ตรวจหาเชื้อก่อโรค (Escherichia coli, Salmonella spp., Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa) (อารีรัตน์, 2542) - ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้ง 4 ชนิด ถูกนำมาออกแบบ packaging ใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สวยงามและทันสมัยเป็นที่ต้องการของตลาดต่อไป
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นงานวิจัยที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนที่ทีมวิจัยออกให้บริการวิชาการทั้งการพัฒนาเครื่องสำอางพืชสมุนไพร การพัฒนาน้ามันหอมระเหยพืชสมุนไพรเพื่อการทำสปา การพัฒนาเครื่องดื่มและอาหารจากพืชสมุนไพร
จำนวนเข้าชมโครงการ :579 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
ดร.ธีระยุทธ เตียนธนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย20
ดร.เรณู อยู่เจริญ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
ดร.ติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายพันธ์ระวี หมวดศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวเพชรัชน์ อ้นโต บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด