รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000205
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ผลของสารสกัดจากรากบัวต่อการเจริญเติบโตในไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Effects of lotus root extract on the growthin Thai Indigenous Chicken
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :รากบัว(Lotus root), พรีไบโอติก (Prebiotic),โพรไบโอติก (Probiotic), กรดไขมันสายสั้น
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :100000
งบประมาณทั้งโครงการ :5,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :อุตสาหกรรมเกษตร
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันมีการบริโภคเนื้อไก่โดยเฉพาะไก่เนื้อสายพันธุ์พื้นเมืองกันมากขึ้น ทำให้มีการปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดภายในระยะเวลาที่สั้นลงซึ่งข้อเสียของไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมืองคือมีระยะเวลาการเลี้ยงนานและให้ปริมาณเนื้อน้อย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงได้มีผสมสารปฏิชีวนะหรือเภสัชเคมีภัณฑ์เพื่อควบคุมเชื้อโรคในอาหารหรือเร่งการเจริญเติบโตในอาหารสัตว์แต่การใช้สารดังกล่าวเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อก่อโรคเพิ่มจำนวนขึ้นและเกิดการดื้อยาได้ซึ่งทำให้การรักษาโรคเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้นนอกจากนี้การเลี้ยงไก่ด้วยสารปฏิชีวนะยังประสบปัญหาในเรื่องสารตกค้างในเนื้อไก่ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรงและมีผลต่อการส่งออกในอนาคต เนื่องจากสหภาพยุโรปที่มีการเข้มงวดในเรื่องมาตรฐานสุขอนามัยมีการห้ามใช้สารปฏิชีวนะในอาหารเมื่อคำนึงถึงสรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหารของไก่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมสารอาหารที่สำคัญส่วนลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่สะสมกากอาหารที่ไม่ดูดซึมโดยในลำไส้ใหญ่จะมีจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมากทำหน้าที่ย่อยสลายกากอาหารและเปลี่ยนเป็นมูลโดยมีจุลินทรีย์ที่มีผลดีต่อสุขภาพเรียกว่าโพรไบโอติก (Probiotics) เพื่อส่งเสริมให้มีจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่เพิ่มปริมาณมากขึ้นทำได้ด้วยการให้อาหารของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ที่เรียกว่าพรีไบโอติก (Prebiotics) (Olano-Martin et al., 2000) พรีไบโอติกมีคุณสมบัติทนต่อการย่อยในระบบทางเดินอาหารส่วนบนได้เมื่อเคลื่อนมาถึงลำไส้ใหญ่จะเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ใหญ่ซึ่งเมื่อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นำพรีไบโอติกไปใช้จะเกิดการเปลี่ยนรูปพรีไบโอติกด้วยกระบวนการหมัก (Fermentation) ของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกทำให้เชื้อโพรไบโอติกมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลดีระบบการย่อยอาหารของไก่โดยรวม เช่นช่วยให้ผนังลำไส้มีความแข็งแรงสามารถทำหน้าที่ในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารและน้ำได้สมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้เชื้อโพรไบโอติกสามารถผลิตสารปฏิชีวนะที่มีผลทำให้เชื้อก่อโรคลดลงได้ อีกทั้งจุลินทรีย์โพรไบโอติกยังสามารถเปลี่ยนสารพรีไบโอติกเป็นกรดไขมันสายสั้น (Short ChainFatty Acids; SCFA) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการทำงานของเซลล์ร่างกายได้อีกด้วย (ธารารัตน์ ศุภศิริ,2543:บุษบา วิวัฒน์เวคิน, 2543 : ปิยาวัฒก์วสยางกูร, 2548)ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในลำไส้ของไก่เป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของไก่และคุณภาพของเนื้อไก่ตามลำดับ จากที่กล่าวมาในข้างต้นการทดลองในครั้งนี้จึงมุ่งหวังที่จะทดสอบสารสกัดจากรากบัวซึ่งมีสารพรีไบโอติกตามธรรมชาติที่พบมากในท้องถิ่นมาใช้ในการเพิ่มสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก?เนื้อพันธุ์เมืองในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อทดลองใช้เป็นทางเลือกในการที่จะนำไปพัฒนากระบวนการผลิตไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมืองให้ได้คุณภาพต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :เป็นโครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะของสารสกัดสกัดจากรากบัวที่เติมลงในอาหารเพื่อส่งเสริมการเจริญของไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง 2. เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากรากบัวต่อการเจริญของไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง 3. เพิ่มมูลค่าให้กับไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง
ขอบเขตของโครงการ :1. กลุ่มตัวอย่าง 1.1 กลุ่มทดลอง คือ ไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง30 ตัวที่มีการให้อาหารสำเร็จรูปที่มีการเติมสารสกัดจากรากบัว 0.5 และ 1? 1.2 กลุ่มควบคุม คือ ไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง 30 ตัวที่มีการให้อาหารสำเร็จรูปที่ไม่มีการเติมสารสกัดจากรากบัว 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1ตัวแปรอิสระ คือสารสกัดจากรากบัวที่มีการเติมลงไปในอาหารไก่สำเร็จรูป 2.2 ตัวแปรตาม คือ การเจริญของไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง 2.3 ตัวแปรควบคุม 2.3.1 สภาวะแวดล้อมในการเลี้ยงไก่เนื้อ เช่น สภาวะโรงเรือน เป็นต้น 2.3.2 อายุไก่เนื้อ 2.3.3 พันธุ์ไก่เนื้อ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. สารสกัดจากรากบัวที่เติมลงในอาหารไก่ช่วยเพิ่มการเจริญในไก่พันธุ์พื้นเมืองได้ 2. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากรากบัวที่มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นได้ 3. ส่งเสริมการผลิตไก่พันธุ์พื้นเมืองเพื่อนำไปใช้ในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพได้ 4. เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ประวิทย์ วงศ์สุวรรณและคณะ (2555)พบว่าพรีไบโอติกต่างชนิดกันมีผลต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อแตกต่างกันนอกจากนี้การเสริมพรีไบโอติกชนิด Inulin และ FOS ในอาหารไก่มีศักยภาพในการส่งเสริมสมรรถนะการเจริญโตของไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมืองไทยลูกผสมเชิงการค้า“ไก่ตะนาวศรี”เพศผู้ การศึกษาผลของสารพรีไบโอติคต่อการเจริญของแบคทีเรียโพรไบโอติคA. V. Rao(1999: 1442s-1445s) ได้ทำการศึกษาปริมาณของอินนูลินและโอลิโกฟรุคโตสต่อการตอบสนองของ Bifidobacteria พบว่าทั้งอินนูลินและโอลิโกฟรุคโตสถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ และยังพบว่าเป็นซับสเตรตที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญของ Bifidobacteria เกือบทุกสายพันธุ์เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาลกลูโคส ซึ่งปริมาณของอินนูลินและโอลิโกฟรุคโตสที่เหมาะสมที่สุดคือ 4 กรัม/วัน งานวิจัยของ Handan and Robert (2000 : 2682-2684) ซึ่งได้ทำการทดลองความสามารถของการหมักฟรุคโตโอลิโกแซคคาร์ไรด์ ของ Lactic Acid Bacteria และBifidobacteriaบน MRS-FOS agar พบว่ามี 12 สายพันธุ์จาก 16 สายพันธุ์ของ Lactobacillus และ 7 สายพันธุ์จาก 8 สายพันธุ์ของBifidobacteriaที่ให้ผลเป็นบวก และเมื่อนำบางสายพันธุ์ไปเลี้ยงบน MRS-FOSbroth พบว่ามีการเจริญได้ดีโดยวัดค่าจาก การวัดค่า Optical Density(OD) John H Cummings และคณะ (2001:415s-420s) ได้ทำการศึกษาการย่อยสารพรีไบโอติคด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กและเอนไซม์ในตับอ่อน อีกทั้งยังได้ทำการศึกษาการหมักสารพรีไบโอติคโดยแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งสารพรีไบโอติกที่ได้ทำการศึกษาในครั้งนี้คือ อินนูลินและโอลิโกฟรุคโตส จากการศึษาพบว่าทั้งอินนูลินและโอลิโกฟรุคโตสไม่สามารถย่อยด้วยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารแต่จะถูกหมักด้วยแบคทีเรียที่สำคัญในลำไส้ใหญ่ได้แก่ Bifidobacteria และ Lactobacilli ส่งผลทำให้แบคทีเรียดังกล่าวเจริญได้ดีขึ้นและผลิตภัณฑ์สำคัญได้จากการหมักคือ กรดไขมันสายสั้นๆ(Short Chain Fatty Acid) ได้แก่ Acetate, Propionate และ Butyrate Gibson, G.R และ คณะ (1995 : 975-982) พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้จะเพิ่มขึ้นถ้ามีการให้สารที่ส่งเสริมการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์นั้นในการทดลองนี้ได้มีการทดลองให้สารโอลิโกฟรุคโตสและอินนูลิน พบว่ามีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อ Bifidobacteriaขณะที่เชื้อจุลินทรีย์ที่อันตรายและก่อให้เกิดโรค เช่น E. coliและ Clostriduimมีปริมาณลดลง Bifidobacteria หลายชนิดจะช่วยยับยั้งการเจริญของ E. coliและ C. perfringensซึ่งเป็นผลมาจากการหลั่งของ inhibitory substance สารตัวนี้จะไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดด่าง การศึกษาพบว่าคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อเชื้อจุลินทรีย์นั้น จะทำโดยการกดการเจริญของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ที่ถูกยับยั้ง เช่น Salmonella , Campylobacter, Shigellaรวมทั้ง Vibrio cholera Gibson, G.R. และ คณะ (1996 : 38-42)ได้ทำการศึกษา ผลของโอลิโกฟรุคโตสที่ได้จากหัวชิคอรี(ChiFos) จากการศึกษาพบว่าChiFos สามารถทำให้เชื้อ Bifidobacteria เพิ่มจำนวนได้ถึง 70% ของจุลินทรีย์ทั้งหมด และยังพบอีกว่าจำนวนอุจจาระมีจำนวนเพิ่มขึ้นหลังได้รับChiFos ในปริมาณที่มากขึ้น 1-2 กรัม นอกจากนี้ChiFos ยังช่วยให้ร่างกายดูดซับแคลเซียมและเหล็กได้อย่างเต็มที่ ทำให้ลดการเกิดโรคกระดูกผุ ช่วยลดการสะสมของไขมันที่ตับ รวมทั้งลดการสร้างกรดไขมันที่ตับ David, J. A. และ คณะ (1999 : 1431-1433) พบว่าโอลิโกฟรุคโตสและอินนูลิน มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดมะเร็งในลำไส้, ลดคอเรสเตอรอลในเลือด, เพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้และเพิ่มการสังเคราะห์วิตามิน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. อัตราส่วนของสารสกัดสกัดจากรากบัวที่เติมลงในอาหารมีผลต่อการส่งเสริมการเจริญของไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง 2.สารสกัดจากรากบัวที่เติมลงไปในอาหารสำเร็จรูปสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตของไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมืองได้ 3. สามารถเพิ่มมูลค่าให้ไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมืองได้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :รูปแบบการวิจัย ในการทดลองนี้ออกแบบการทดลองแบบ Factorial โดยทำการทดลอง 3 ซ้ำ วัสดุอุปกรณ์ 1. ขวดรูปชมพู่ (Flask) 2. ตะเกียงแอลกอฮอล์ 3. หลอดทดลอง 4. ปิเปต 5. ไมโครปิเปต (micropipette) 6. tip 7. กระดาษฟอยด์ 8. บีกเกอร์ 9. ชุดกรอง 10. โถดูดความชื้น (Desiccator) 11. เครื่องชั่งแบบละเอียด (Sartorius, BP221S) 12. Vortex mixer (Scientific Industries, G-560E) 13. เครื่องวัด pH (pH meter) (Horiba, F-12) 14. Larmina air flow (Ehret, AURA-V) 15. หม้อนึ่งความดัน (Autoclave) (Hyrayama, HV-85) 16. ตู้อบ (Hot air oven) 17. เครื่อง centrifuge (SorVall RC5C Rotor GSA) 18. เครื่อง UV-Vis Spectrophotometer (Shimadzu, UV-160A) 19. Water bath วัตถุดิบ รากบัว, อาหารไก่สำเร็จรูป สารเคมี 1. 0.85%NaCl, 0.1% peptone 2. Glucose (SIGMA) 3. Inulin (SIGMA) 4. Oligofrucetose (SIGMA) สัตว์ที่ใช้ในการทดลอง ไก่พื้นเมืองตัวผู้จำนวน 90 ตัว วิธีการดำเนินงานวิจัย 1. การสกัดสารพรีไบโอติกจากรากบัว 2.1 ทำการล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นแว่นบางๆ นำไปอบให้แห้งด้วยตู้อบลมร้อน (hot air oven) ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง บดให้ละเอียดแล้วนำผงที่ได้ไปกรองด้วยตะแกรงที่มีขนาดของรูตะแกรง 75 ไมโครเมตร 2.2 นำผงที่ได้ไปสกัดด้วยน้ำกลั่นในอัตรา1:30(w/v) ที่ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที 2.3 ทิ้งให้เย็น นำไปปั่นเหวี่ยงโดยเครื่อง Centrifuge ที่ 5,000 รอบต่อนาที เป็นเวลา 15 นาที เพื่อให้ตกตะกอน 2.4 นำส่วนใสที่ได้ไปฆ่าเชื้อโดยการนึ่งในหม้อนึ่งอัดความดันที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 15 นาทีเพื่อเก็บตัวอย่างไว้ใช้ในการทดลองต่อไป 2. ศึกษาผลของสารสกัดจากรากบัวที่เติมลงในอาหารไก่สำเร็จรูปต่อการเจริญของไก่เนื้อพันธุ์ พื้นเมืองตัวผู้ การทดลองนี้ทำในโรงเรือนระบบปิด ทำความสะอาดโรงเรือนรวมทั้งบริเวณรอบโรงเรือน พื้น ผนัง เพดาน พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในคอกและผนังภายนอกโรงเรือน อุปกรณ์การเลี้ยงไก่ โรยปูนขาวรอบๆ โรงเรือนกั้นคอกโดยแบ่งคอกออกเป็น 2คอก รองพื้นด้วยแกลบที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วรมควันปิดคอกใช้ลูกไก่เนื้อเพศผู้อายุ 7 วัน จำนวน 120 ตัว ที่มีความสม่ำเสมอและคัดลูกไก่ที่ไม่สมบูรณ์ออกเหลือ 90 ตัว ฝึกลูกไก่กินน้ำและอาหาร นำอาหารสำเร็จรูปที่มีการเติมสารสกัดจากรากบัวมาทำการในไก่กระทง ทำเติมลงไปในในอัตรา 0.5 และ1.0% ในการวิจัยครั้งนี้ได้สุ่มสัตว์ทดลองให้ได้รับปัจจัยการทดลองตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design ; CRD) โดยมีทั้งหมด 3ทรีทเมนต์ทรีทเมนต์ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ทำการบันทึกน้ำหนักสัตว์ทดลองก่อนการทดลอง และทำการบันทึกผลทุกๆ 7 วัน เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ ให้ไก่กินอาหารและน้ำอย่างเต็มที่ ทำการบันทึกปริมาณการกินอาหารตลอดการทดลองโดยการชั่งน้ำหนักอาหารที่ให้และชั่งน้ำหนักอาหารที่เหลือทุกสัปดาห์ เพื่อหาปริมาณการกินได้ และบันทึกการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของไก่กระทงในแต่ละหน่วยการทดลองโดยการชั่งน้ำหนักไก่กระทงในแต่ละหน่วยการทดลองทุกทุกสัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ทำการสุ่มไก่ซ้ำละ 2 ตัว อดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงชั่งน้ำหนักมีชีวิตและน้ำหนักเนื้อภายหลังการถอนขนพร้อมเอาเครื่องในออกนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธี Analysis of Variance (ANOVA) ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยวิธี วิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS สถานที่ทำการวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม(ย่านมัทรี)มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นโครงการที่นำเอาพืชที่มีอยุ่มากในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
จำนวนเข้าชมโครงการ :480 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายพันธ์ระวี หมวดศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด